X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกควรกินข้าวกี่มื้อ ในแต่ละช่วงวัย กินอะไรได้บ้าง และอาหารอะไรที่ไม่ควรกิน?

บทความ 5 นาที
ลูกควรกินข้าวกี่มื้อ ในแต่ละช่วงวัย กินอะไรได้บ้าง และอาหารอะไรที่ไม่ควรกิน?

ลูกควรกินข้าวกี่มื้อ อาหารแบบไหนที่ลูกสามารถกินได้ และควรเริ่มกินตอนอายุเท่าไหร่ วันนี้เราจะมาคลายข้อสงสัยเหล่านี้ไปพร้อม ๆ กันค่ะ การกินอาหารให้เหมาะสมสำหรับลูกน้อยในช่วงวัยแรกเกิด – 1 ปี ขึ้นไป ถือเป็นสิ่งที่คุณแม่จะต้องใส่ใจรายละเอียดเป็นพิเศษ เพื่อที่ลูกน้อยจะได้มีพัฒนาการด้านโภชนาการที่เหมาะสมและเติบโตได้อย่างสมวัยแข็งแรง ถ้าพร้อมแล้วมาตามไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

ลูกควรเริ่มประทานอาหารช่วงอายุเท่าไหร่?

 

ลูกควรกินข้าวกี่มื้อ

 

สำหรับการให้อาหารรับประทานแก่ลูกน้อย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าให้รอจนกว่าจะใกล้ถึง 6 เดือน เพราะเมื่อลูกอยู่ในช่วงอายุ 6 เดือนแรก จะเป็นช่วงที่ลูกได้รับสารอาหารเพียงพอจากนมแม่แล้ว หลังจากนั้นลูกน้อยควรที่จะได้รับพลังงานและอาหารเสริมจากอาหารตามช่วงวัย แต่ถ้าหากลูกนั้นมีน้ำหนักตัวที่ตัวน้อยกว่าปกติ และคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างเต็มที่แล้ว คุณแม่สามารถให้ลูกรับประทานอาหารก่อนอายุ 6 เดือนได้ค่ะ แต่ไม่ควรต่ำกว่า 4 เดือนค่ะ

 

ลูกควรกินข้าวกี่มื้อ และปริมาณเท่าไหร่?

 

ลูกควรกินข้าวกี่มื้อ

 

อาหารสำหรับเด็ก 6 – 7 เดือน

สำหรับเด็กในช่วงวัยนี้ ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่คุณแม่จะเริ่มแนะนำอาหารอื่น ๆ นอกจากน้ำนมของคุณให้ลูกรับประทานได้แล้วค่ะ ช่วงวัยนี้แนะนำให้เริ่มรับประทานอาหารวันละ 1 มื้อ เริ่มต้นด้วยข้าวบดละเอียด 3 – 4 ช้อนโต๊ะ เนื้อสัตว์ ไข่ ตับ ผัก ผลไม้นิ่ม ซึ่งอาหารทั้งหมดจะต้องผ่านการบดที่ละเอียดนะคะ แต่ถ้าหากเป็นผลไม้นิ่ม สามารถหั่นเป็นชิ้น หรือบดละเอียดก็ได้ค่ะ หากลูกตอบสนองต่อมื้ออาหารได้ดี ก็สามารถเพิ่มปริมาณอาหารขึ้นไปเรื่อย ๆ ควบคู่ไปกับการให้นมแม่ตามปกติ

 

อาหารสำหรับเด็ก 8 – 9 เดือน

สำหรับช่วงวัยนี้ลูกน้อยสามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น สามารถเพิ่มรับประทานอาหารเป็น 1 – 2 มื้อ ควบคู่ไปกับการให้นมแม่ตามปกติได้ ซึ่งอาหารที่ลูกสามารถรับประทานได้ก็จะมีอย่างเช่น

  • เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู ปลา ที่ผ่านการปรุงสุกแล้ว
  • ธัญพืชชนิดต่าง ๆ ซึ่งการรับประทานธัญพืชสำหรับลูกน้อย ควรต้มให้สุก และทำการบดให้ละเอียด เพื่อที่เวลาลูกน้อยรับประทานเข้าไปจะได้ย่อยง่าย และไม่ทำให้ท้องอืด
  • ผัก ควรเน้นให้ลูกน้อยรับประทานผักหลากหลายชนิดและควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน เช่น ตำลึง ฟักทอง แครอท ผักโขม เป็นต้น
  • ไข่ ลูกสามารถรับประทานไข่ได้ แต่ควรปรุงให้สุกดีก่อน และสามารถรับประทานได้ทั้งไข่ไก่ และไข่เป็ดเลยค่ะ
  • ผลไม้ การรับประทานผลไม้ของลูกน้อย แนะนำให้เน้นเป็นการรับประทานแบบอาหารว่างวันละครั้ง เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุก กล้วยน้ำว้า เป็นต้น

 

อาหารสำหรับเด็ก 10 เดือน – 1 ปี

สำหรับช่วงอายุนี้ลูกสามารถเริ่มรับประทานอาหาร 3 มื้อ แทนน้ำนมแม่ได้แล้วค่ะ คุณแม่สามารถให้นมลูกในช่วงก่อนมื้อเช้า หลังมื้อเที่ยง หรือก่อนนอนได้ค่ะ ช่วงวัย 10 เดือน – 1 ปี ลูกก็จะสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น แต่อาหารก็ยังคงมีสัมผัสที่นิ่มอยู่ ไม่ควรแข็งจนเกินไป แนะนำให้คุณแม่บดอาหารให้มีเนื้อสัมผัสเพียงพอแค่หยาบ เพื่อที่จะได้ให้ลูกได้ฝึกเคี้ยว และฝึกกลืนไปด้วยค่ะ แต่ในช่วงนี้คุณแม่อาจจะต้องคอยสังเกตลูกน้อยเวลารับประทานอาหารด้วยนะคะ เพราะลูกอาจจะมีการแพ้อาหารบางอย่างเกิดขึ้นได้

 

อาหารสำหรับเด็กอายุ 1 ปี ขึ้นไป

เมื่อลูกน้อยอายุครบ 1 ปี ขึ้นไป ก็สามารถเริ่มรับประทานอาหารแบบทั่วไปได้แล้วค่ะ และควรได้รับอาหารวันละ 3 มื้อ และจะต้องได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ แต่ก็ยังเน้นอาหารที่มีเนื้อสัมผัสที่นิ่มอยู่นะคะ ไม่ควรแข็งมากจนเกินไป เพื่อที่จะได้กลืนลงคอได้ง่าย และเมื่อสามารถรับประทานได้หลากหลายมากขึ้น คุณแม่ควรระมัดระวังไม่ให้ลูกรับประทานอาหารที่มีโซเดียม และน้ำตาลสูงด้วยนะคะ เช่น น้ำอัดลม ลูกอม ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น เพราะอาจเสี่ยงทำให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน หรือฟันผุ ได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกกินอาหารแช่แข็งได้ไหม ต้องทำอย่างไรให้ลูกกินได้อย่างปลอดภัย ?

 

อาหารสำหรับลูกน้อยที่ไม่ควรกินมีอะไรบ้าง?

 

ลูกควรกินข้าวกี่มื้อ

 

เกลือ

  • การรับประทานอาหารที่ส่วนผสมของเกลือในปริมาณมากนั้นไม่ดีต่อร่าง เพราะจะส่งผลต่อการทำงานของไต ดังนั้น จึงไม่ควรใส่เกลือลงไปในอาหารของลูกน้อย ควรหลีกเลี่ยงเด็ดขาด เพราะเกลือส่งผลกระทบต่อไตที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่เกิดความเสียหายได้

 

นมวัว

  • สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 เดือน ไม่ควรดื่มนมวัวเพราะมีสารอาหารน้อยกว่านมแม่และก็มีโปรตีน โซเดียม และโพแทสเซียมสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบการทำงานของไตทำให้ไตทำงานหนักเกินไปค่ะ

 

ถั่ว

  • ลูกสามารถรับประทานถั่วได้ แต่คุณแม่ควรบดถั่วให้ละเอียดก่อนให้ลูกประทาน และไม่ควรให้ลูกที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี รับประทานถั่วทั้งเม็ด เพราะอาจติดคอ จนเกิดการสำลักได้ค่ะ

 

น้ำตาล

  • ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารต่าง ๆ ที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม, เจลลี่, น้ำผลไม้ และช็อกโกแลต เป็นต้น เพราะอาจจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ และโรคอ้วนขึ้นได้

 

น้ำผึ้ง

  • ถึงแม้ว่าน้ำผึ้งจะเป็นความหวานที่มาจากธรรมชาติ แต่น้ำผึ้งก็จะมีแบคทีเรียบางชนิดปะปนอยู่ เช่น Botulinum toxin ซึ่งแบคทีเรียตัวนี้อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กได้  ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี รับประทานน้ำผึ้งนะคะ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ข้อมูลที่เรานำมาฝากกันวันนี้ หวังว่าจะช่วยให้คุณแม่มือใหม่คลายข้อสงสัยกันได้นะคะว่าสรุปแล้ว ลูกควรกินข้าวกี่มื้อ ในแต่ละช่วงวัย การให้เด็กทารกเริ่มที่จะกินอาหารอื่น ๆ นอกจากน้ำนมแม่ คุณแม่จะต้องใส่ใจรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย เช่น ไม่ควรปรุงอาหารรสจัด จะต้องบดอาหารให้ละเอียดตามช่วงวัยของลูก เพราะเมื่อลูกเริ่มโตขึ้น ก็จะต้องให้ลูกได้ฝึกการเคี้ยวอาหารด้วยตัวเอง และอาจจะต้องคอยสังเกตเวลาที่ลูกกินอาหารว่าจะมีอาการแพ้อาหารเกิดขึ้นไหม เป็นต้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้สำหรับคุณแม่ทุกคนนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกน้อยกินอาหารบดได้เมื่อไร ? ชามบดอาหารเด็ก ดีอย่างไร ทำไมต้องซื้อ!

น้ำผลไม้สำหรับเด็กอายุ 3 ขวบ ลูกกินน้ำผลไม้แบบไหนได้บ้าง?

อาหารเย็นสำหรับเด็ก ให้ลูกกินแบบไหน? ส่งผลดีต่อสุขภาพ

ที่มา : hellokhunmor, enfababy, enfababy

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Suttida Butdeewong

  • หน้าแรก
  • /
  • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • /
  • ลูกควรกินข้าวกี่มื้อ ในแต่ละช่วงวัย กินอะไรได้บ้าง และอาหารอะไรที่ไม่ควรกิน?
แชร์ :
  • โฉมใหม่ S-26 GOLD PRO-C3 สูตรที่พัฒนากว่าสูตรเดิมไปอีกขั้น* ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน และบี แล็กทิส สิ่งดีๆ ที่คุณแม่เลือก
    บทความจากพันธมิตร

    โฉมใหม่ S-26 GOLD PRO-C3 สูตรที่พัฒนากว่าสูตรเดิมไปอีกขั้น* ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน และบี แล็กทิส สิ่งดีๆ ที่คุณแม่เลือก

  • หมดกังวลเรื่องพัฒนาการของเด็กผ่าคลอด ด้วย 2 สิ่งสำคัญที่แม่ผ่าคลอดต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    หมดกังวลเรื่องพัฒนาการของเด็กผ่าคลอด ด้วย 2 สิ่งสำคัญที่แม่ผ่าคลอดต้องรู้

  • แม่ผ่าคลอดพร้อมมั้ย? เตรียมให้พร้อมตั้งแต่วันแรก ด้วยการสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอดพร้อมส่งเสริมภูมิคุ้มกัน
    บทความจากพันธมิตร

    แม่ผ่าคลอดพร้อมมั้ย? เตรียมให้พร้อมตั้งแต่วันแรก ด้วยการสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอดพร้อมส่งเสริมภูมิคุ้มกัน

  • โฉมใหม่ S-26 GOLD PRO-C3 สูตรที่พัฒนากว่าสูตรเดิมไปอีกขั้น* ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน และบี แล็กทิส สิ่งดีๆ ที่คุณแม่เลือก
    บทความจากพันธมิตร

    โฉมใหม่ S-26 GOLD PRO-C3 สูตรที่พัฒนากว่าสูตรเดิมไปอีกขั้น* ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน และบี แล็กทิส สิ่งดีๆ ที่คุณแม่เลือก

  • หมดกังวลเรื่องพัฒนาการของเด็กผ่าคลอด ด้วย 2 สิ่งสำคัญที่แม่ผ่าคลอดต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    หมดกังวลเรื่องพัฒนาการของเด็กผ่าคลอด ด้วย 2 สิ่งสำคัญที่แม่ผ่าคลอดต้องรู้

  • แม่ผ่าคลอดพร้อมมั้ย? เตรียมให้พร้อมตั้งแต่วันแรก ด้วยการสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอดพร้อมส่งเสริมภูมิคุ้มกัน
    บทความจากพันธมิตร

    แม่ผ่าคลอดพร้อมมั้ย? เตรียมให้พร้อมตั้งแต่วันแรก ด้วยการสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอดพร้อมส่งเสริมภูมิคุ้มกัน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว