เมื่อคุณแม่ไม่มีเวลามากพอจะเตรียมอาหารอยู่บ่อยครั้ง หลายครั้งจึงอาจต้องมองหาอาหารแช่เย็น หรือทำอาหารแช่เย็นเอาไว้เผื่อใช้งาน ลูกกินอาหารแช่แข็งได้ไหม เพราะจำเป็นต้องให้ลูกกิน แต่ก็เป็นห่วงว่าอาจมีอันตราย จะให้ลูกกินอาหารแช่แข็ง แช่เย็น อย่างไรจึงจะปลอดภัยมากขึ้น มาอ่านกันเลยดีกว่า
ลูกกินอาหารแช่แข็งได้ไหม
ผศ.ดร.วรรณวิมล อารยะปราณี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมีและวัสดุ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้กล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากอาหารแช่แข็ง โดยเจาะจงไปที่ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุอาหาร แล้วนำไปอุ่น เนื่องจากหากกล่องทำจากพลาสติก และเมลามีน (Melamine) เมื่อโดนความร้อนจะทำให้ละลาย ส่งผลให้มีสารเคมีปะปนกับมื้ออาหารของลูกน้อยได้ ในปัจจุบันผู้ปกครองบางคนอาจมีความเข้าใจว่าเมลามีนสามารถทนความร้อนได้ แต่โดยทั่วไปหากนำไปอุ่นไม่ถึง 5 นาที เมลามีนก็ปนเปื้อนในอาหารได้เช่นกัน
โดยสารปนเปื้อนนี้หากลูกน้อยกินไปเรื่อย ๆ จนเกิดการสะสมภายในร่างกาย แน่นอนว่าจะมีข้อเสียตามมาแน่นอน นอกจากอาการเจ็บป่วย สารเหล่านี้ยังเป็นสารกระตุ้นให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคร้าย โดยเฉพาะโรคมะเร็ง และแม้การทำอาหารแช่เย็นเอาไว้ล่วงหน้า เพื่อแก้ปัญหาคุณแม่มีเวลาไม่พอ แต่การกินอาหารที่อุ่นจากการแช่เย็นบ่อย ๆ ไม่ได้ดีต่อตัวของลูกเลย อย่างไรก็ตามอาหารแช่เย็นควรเป็นทางเลือกในบางเวลาเท่านั้น ควรเน้นการทานอาหารที่สดใหม่มากกว่า
บทความที่เกี่ยวข้อง : รีวิว 5 อาหารสำหรับเด็ก 2023 ยี่ห้อไหนสารอาหารครบถ้วน ราคาสบายกระเป๋า เช็กเลย
วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care
อาหารแช่เย็นที่เหมาะกับเด็กเล็ก
โดยปกติแล้วการทำอาหารเพื่อนำไปแช่เย็นให้ลูกกินนั้น ควรมีหลักการในการเลือกทำอาหารที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษาด้วย คือ ควรเป็นอาหารที่ทานได้ง่าย ย่อยได้ง่าย เช่น ผักต่าง ๆ หรือผลไม้ เช่น เมนูกล้วย และแอปเปิล เป็นต้น ไม่ควรมีการปรุงแต่งรสชาติใด ๆ เลย แม้กระทั่งเกลือ หรือน้ำตาล สำหรับเด็กเล็กนั้น หากต้องทานอาหารที่ผ่านการแช่เย็น เราแนะนำว่าให้เลี่ยงการกินเนื้อสัตว์จะดีที่สุด เพราะเนื้อสัตว์มีโอกาสพบเจอเชื้อโรค และพยาธิมากกว่าผักผลไม้ ซึ่งอาจควบคุมได้ยากจากการแช่เย็นนั่นเอง โดยเรามีตัวอย่างแนะนำเมนู ดังนี้
- ฟักทอง ใบตำลึง และข้าวตุ๋น : นำผักทั้ง 2 อย่างไปนึ่งจนสุกก่อน แล้วนำมาปั่นรวมกับข้าวตุ๋น จากนั้นให้นำไปแช่แข็งได้
- แอปเปิล และมันเทศ : นำมันเทศกับแอปเปิลไปนึ่งให้สุกดีก่อน แล้วค่อยนำมาปั่นรวมกันให้ละเอียด เพื่อทานได้ง่าย จากนั้นนำไปแช่แข็ง
- บรอกโคลี หอมใหญ่ และข้าวตุ๋น : นำบรอกโคลี หอมใหญ่ และข้าวตุ๋น ไปต้มตุ๋นรวมกันก่อนให้ดูดีน่ารับประทาน แล้วค่อยนำไปปั่นแช่แข็ง
- ข้าวกล้องตุ๋น และกล้วยน้ำว้า : เริ่มจากการนำข้าวกล้องตุ๋น และกล้วยน้ำว้าสด ให้เอาผิวกล้วยไม่เอาแกนกลาง ไปปั่นให้เข้ากัน จากนั้นนำไปแช่แข็ง
เมนูตัวอย่างที่เราหยิบยกขึ้นมาเป็นเพียงแนวทางเท่านั้น คุณแม่สามารถเลือกวัตถุดิบที่มีความเหมาะสมได้เอง โดยเน้นไปที่ของที่ทานง่าย เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย และมีสารอาหาร มีโภชนาการสูง เพราะการนำอาหารไปแช่เย็น บางครั้งอาจเสี่ยงต่อมวลอาหารที่หายไป ส่งผลให้โภชนาการไม่มากเหมือนเดิมได้
หลักการแช่แข็งอาหารสำหรับเด็กอย่างถูกวิธี
เป้าหมายในการนำอาหารลูกไปแช่นั้น เพื่อที่จะทำให้น้ำในเนื้อเยื่อของอาหารเป็นน้ำแข็ง ส่งผลให้จุลินทรีย์ในอาหาร ไม่สามารถนำน้ำไปใช้ได้ การแช่เย็นไม่ได้ทำให้จุลินทรีย์ตาย แต่จุลินทรีย์จะไม่เติบโตระหว่างแช่เย็น ซึ่งจะต้องอยู่ในอุณหภูมิที่ถูกต้องด้วย หากเย็นไม่พอจุลินทรีย์จะสามารถเติบโตได้ต่อ โดยให้ยึดหลักในการแช่แข็งอาหารสำหรับลูก ดังนี้
- กรณีทานอาหารที่ปรุงมาแล้วเหลือ หลังจากลูกทานไม่หมด ให้นำอาหารชนิดนั้น ๆ ใส่ในตู้เย็นทันที ไม่ควรวางทิ้งไว้เสี่ยงเชื้อโรคจากแวดล้อม
- ช่องแช่แข็งควรมีอุณหภูมิมาตรฐานประมาณ -18 องศาเซลเซียสลงไปเท่านั้น ส่วนการวัดอุณหภูมิที่เราแนะนำสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการติดปรอทเอาไว้
- แม่บางคนอาจนำอาหารทั้งกล่องไปอุ่นให้ลูกหลังจากนำออกจากตู้เย็น ตอนแช่ควรใส่อาหารในกล่องพลาสติกชนิด BPA free สำหรับเด็ก และปิดฝาให้แน่นมิดชิด
- หากทำอาหารสำหรับเด็ก และต้องการเก็บไว้นาน ยังไม่ได้ใช้เร็ว ๆ นี้ ควรเขียนวันที่ และเวลาในการเก็บตู้เย็น เพื่อให้หยิบกล่องอาหารมาให้ลูกก่อน – หลังได้ถูกต้องโดยไม่ต้องเสี่ยงอาหารเน่าเสีย
- กรณีที่นำอาหารไปอุ่นให้ลูกทานไปแล้ว และลูกทานใหม่หมดเหลืออีก ไม่ควรนำมาแช่ต่อแล้ว ควรนำอาหารนั้น ๆ ไปทิ้งทันที
วิธีอุ่นอาหารแช่แข็งก่อนนำมาให้ลูกกิน
หลังจากรู้วิธีการนำอาหารไปแช่ให้เย็นให้ลูกแล้ว ต่อมาที่ต้องรู้ คือ การนำอาหารที่แช่มาอุ่นให้ถูกวิธี ก่อนนำไปให้ลูกทาน ซึ่งมีขั้นตอนพื้นฐานที่คุณแม่ควรรู้ ดังนี้
- ก่อนนำไปอุ่นอาจรอให้หายเย็นก่อนระดับหนึ่ง หรือรอให้อาหารละลายก่อน และระวังอาหารที่อุ่นจะร้อนเกินไป สำหรับลูกที่ตักทานได้เองอาจไม่รู้ ทำให้ปากของลูกพองได้
- การอุ่นนั้นให้นำไปอุ่นในเตาไมโครเวฟ หรือจะอุ่นในกระทะบนเตาแก๊สก็ได้ การอุ่นต้องรอจนกว่าจะร้อน และเดือดพอประมาณ หากเป็นกระปุกอาหารสำเร็จรูป สามารถอุ่นโดยตั้งไว้ในน้ำร้อน
- ระหว่างที่ทำการอุ่น หากอุ่นผ่านกระทะคุณแม่ควรคนอาหารให้เกิดการอุ่นทั่วบริเวณ เพื่อป้องกันอาหารไม่อุ่นบางจุด หรือบางจุดร้อนเกินไป
- ระวังการอุ่นอาหารแล้ววางทิ้งไว้จนนานเกินไป เพราะการวางทิ้งไว้ สามารถทำให้เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อจากสภาพแวดล้อมได้
แม้เราจะแนะนำการทำอาหารแช่แข็ง และการอุ่นให้กับคุณแม่ แต่เรายังคงเน้นย้ำเสมอว่า การให้ลูกทานอาหารที่ปรุงสดใหม่ ยังคงดีกว่าการกินอาหารที่แช่เย็นมาก่อนเสมอ เพราะอาหารปรุงใหม่ สารอาหารจะยังอยู่ครบ ไม่มีการสูญเสียน้ำหนัก และโภชนาการไปเหมือนกับอาหารที่นำไปแช่แข็ง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ตารางอาหารทารกและเด็กเล็ก ในแต่ละช่วงวัย พ่อแม่ควรดูแลอาหารการกินลูกอย่างไร
เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง
เด็กเล็กกินปลาหมึกได้ไหม ก่อนให้ลูกลองกินต้องระวังเรื่องไหนบ้าง ?
ที่มา : verywellfamily, babyjourney
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!