X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องแบบไหน ควรรีบไปโรงพยาบาล?

บทความ 5 นาที
เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องแบบไหน ควรรีบไปโรงพยาบาล?

ไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการเจ็บท้องเตือน และ เจ็บท้องคลอด เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด พร้อมวิธีสังเกตอาการแบบไหนที่ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที

หนึ่งในความสงสัยยอดฮิตของคุณแม่ใกล้คลอดก็คืออาการ “เจ็บท้อง” ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าใกล้จะได้เห็นหน้าเจ้าตัวน้อยแล้ว เมื่อคุณแม่เริ่มเจ็บท้องเตือน อีกกี่วันถึงจะได้เวลาคว้ากระเป๋าไปโรงพยาบาล? บทความนี้จะช่วยคุณแม่ไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการเจ็บท้องเตือน และ เจ็บท้องคลอด เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด พร้อมวิธีสังเกตอาการแบบไหนที่ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที 

 

เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด

โดยทั่วไปอาการเจ็บท้องสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ เจ็บท้องเตือน (เจ็บท้องหลอก) และเจ็บท้องจริง (เจ็บท้องคลอด)

  • เจ็บท้องเตือน เป็นอาการที่เกิดขึ้นโดยคุณแม่จะยังไม่คลอดเร็วๆ นี้ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการเจ็บท้องเตือนไปจนถึงวันคลอดนั้นแตกต่างกันไปในคุณแม่แต่ละราย ขึ้นอยู่กับลักษณะของอาการเจ็บท้องและสุขภาพโดยรวมของคุณแม่เอง หากคุณแม่สงสัยว่า เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด จึงไม่สามารถระบุได้ว่า หลังจากมีอาการเจ็บท้องเตือนแล้วจะคลอดภายในกี่วันค่ะ
  • เจ็บท้องจริง เมื่อเจ็บท้องเตือนถี่ขึ้น รุนแรงขึ้น จนกลายเป็นอาการเจ็บท้องจริง ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าใกล้ถึงกำหนดคลอดแล้ว และเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ควรเตรียมตัวเดินทางไปโรงพยาบาลค่ะ

 

อาการเจ็บท้องเตือนเริ่มเมื่อไหร่

อาการเจ็บท้องเตือน (Braxton Hicks contractions) มักจะเริ่มรู้สึกได้ในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ หรือประมาณเดือนที่ 8 เป็นต้นไปค่ะ อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางท่านอาจเริ่มรู้สึกได้เร็วกว่านั้น ตั้งแต่ไตรมาสที่สองก็เป็นได้

ในช่วงใกล้คลอด หรือประมาณสัปดาห์ที่ 36 เป็นต้นไป มดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดลูกจริง โดยจะมีการบีบตัว เป็นครั้งคราว และเคลื่อนต่ำลง เพื่อให้ศีรษะของลูกน้อยลงสู่อุ้งเชิงกรานมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เองที่อาจกระตุ้นให้คุณแม่รู้สึกถึงอาการเจ็บท้องเตือนได้บ่อยขึ้นและชัดเจนขึ้น

ดังนั้น การรู้สึกถึงอาการเจ็บท้องเตือนในช่วงเดือนที่ 8 หรือใกล้คลอด จึงเป็นเรื่องปกติที่ร่างกายกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดจริง แต่สิ่งสำคัญคือการสังเกตลักษณะอาการ เพื่อแยกแยะจากอาการเจ็บท้องจริงที่จะนำไปสู่การคลอดต่อไปค่ะ

 

Advertisement

เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด

 

เจ็บท้องเตือนเจ็บแบบไหน

อาการเจ็บท้องเตือนนั้นมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากอาการเจ็บท้องคลอดจริงค่ะ โดยคุณแม่จะรู้สึกได้ ดังนี้

อาการเจ็บท้องเตือน

มดลูกแข็งตัวเป็นก้อน
  • เมื่อคลำบริเวณหน้าท้อง จะรู้สึกว่ามดลูกมีการบีบตัวแข็งขึ้นมาเป็นก้อนอย่างชัดเจน แต่จะไม่รุนแรง
มดลูกจะบีบตัวไม่สม่ำเสมอ
  • ทั้งความถี่และระยะเวลาในการบีบตัวจะไม่คงที่ บางครั้งมาถี่ บางครั้งเว้นนาน
ปวดตึงบริเวณท้องน้อย
  • อาการปวดมักจะรู้สึกตึงๆ หน่วงๆ บริเวณท้องน้อยเป็นหลัก หรืออาจรู้สึกทั่วๆ ท้องก็ได้ แต่ไม่รุนแรง
เจ็บแต่ละครั้งจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ
  • โดยทั่วไปประมาณ 30 วินาทีถึง 2 นาที แล้วก็จะหายไป
เป็นๆ หายๆ
  • อาการเจ็บท้องเตือนจะไม่ต่อเนื่อง จะมาเป็นครั้งคราวแล้วก็หายไปเอง
อาการดีขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่าทาง
  • อาการเจ็บท้องเตือนมักจะดีขึ้นหรือหายไปเมื่อคุณแม่เปลี่ยนท่าทาง เช่น จากนั่งเป็นเดิน หรือจากการนอนพัก ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บท้องเตือนได้
ไม่มีน้ำเดิน
  • ไม่มีอาการน้ำคร่ำรั่วหรือไหลออกมาจากช่องคลอด
ปากมดลูกไม่เปิด
  • หากมีการตรวจภายใน ปากมดลูกจะไม่พบการเปิดขยายตัว
คล้ายปวดประจำเดือน
  • คุณแม่อาจรู้สึกคล้ายอาการปวดประจำเดือน แต่จะไม่มีเลือดหรือมูกปนเลือดออกมาจากช่องคลอด

 

เจ็บท้องจริง เจ็บแบบไหน

 

เจ็บท้องจริงเจ็บแบบไหน

อาการเจ็บท้องจริง หรืออาการเจ็บท้องคลอดนั้น จะแตกต่างจากเจ็บท้องเตือนอย่างชัดเจน และเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายกำลังเข้าสู่กระบวนการคลอดลูกแล้ว โดยมีลักษณะดังนี้

อาการเจ็บท้องจริง

มดลูกแข็งตัวและเจ็บอย่างสม่ำเสมอ
  • คุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกแข็งตัวเป็นจังหวะ และมาพร้อมกับอาการเจ็บท้องที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ มีช่วงเวลาที่ปวดและช่วงเวลาที่คลายตัวเป็นรอบๆ ที่แน่นอน
เจ็บนานขึ้น
  • ระยะเวลาที่มดลูกบีบตัวและรู้สึกเจ็บจะนานขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละครั้ง อาจเริ่มจากไม่กี่วินาทีแล้วค่อยๆ ยาวนานขึ้น
เจ็บถี่ขึ้น
  • ความถี่ของการเจ็บท้องจะถี่ขึ้นเรื่อยๆ ช่วงเวลาพักระหว่างการเจ็บจะสั้นลง
เจ็บแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ความรุนแรงของอาการปวดจะมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ทุเลาลง
ปวดร้าวจากหลังลงมาท้อง
  • อาการปวดมักจะเริ่มจากบริเวณแผ่นหลัง แล้วค่อยๆ ร้าวลงมาที่ส่วนบนของมดลูก และลงมาที่ท้องน้อย
อาการปวดไม่ลดลงเมื่อเคลื่อนไหว
  • ตรงกันข้ามกับเจ็บท้องเตือน การเคลื่อนไหวร่างกายจะไม่ทำให้อาการปวดลดลง และอาจทำให้รู้สึกเจ็บมากขึ้นด้วยซ้ำ
มีมูกเลือดสีแดงสด
  • อาจมีมูกเลือดที่มีสีแดงสดไหลออกมาทางช่องคลอด ซึ่งเป็นสัญญาณว่าปากมดลูกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและเปิดตัว
มีอาการน้ำเดิน (ถุงน้ำคร่ำแตก)
  • อาจมีของเหลวใสๆ คล้ายปัสสาวะ ไม่มีกลิ่น ไหลออกมาจากช่องคลอด ซึ่งเรียกว่า น้ำเดิน อาจจะค่อยๆ ไหลซึม หรือไหลออกมาเป็นจำนวนมากก็ได้
ปากมดลูกจะเปิดขยาย
  • การตรวจภายในจะพบว่า ปากมดลูกมีการเปิดขยายตัว อย่างต่อเนื่อง

 

เจ็บท้องแบบไหน ควรไปโรงพยาบาล?

ในช่วง เดือนที่ 8 และ 9 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการหดเกร็งของมดลูกได้บ่อยขึ้น ซึ่งอาการปวดอาจรุนแรงขึ้นจนใกล้ถึงกำหนดคลอด หากมีอาการดังต่อไปนี้ ถือเป็นสัญญาณสำคัญที่ควรรีบเดินทางไปโรงพยาบาลทันที

  • เจ็บท้องถี่และรุนแรงขึ้นปวดท้องเป็นจังหวะ ทุก 5 นาที หรือถี่กว่านั้น และความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • มีน้ำเดิน ถุงน้ำคร่ำแตก รู้สึกเหมือนมีน้ำอุ่นๆ ไหลออกจากช่องคลอด ไม่ว่าจะไหลซึมหรือไหลพรวด
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด มีเลือดสีแดงสดไหลออกมา ไม่ใช่แค่มูกเลือด เล็กน้อย
  • ลูกดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้น รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยกว่าปกติอย่างชัดเจน หรือไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นเลย
  • อาการผิดปกติรุนแรงอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะรุนแรง ตาพร่ามัว จุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ที่รู้สึกไม่สบายตัวมาก

เจ็บท้องจริง

เจ็บท้องจริงอีกนานไหมถึงจะคลอด

ในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แรก การเจ็บท้องคลอดจริงจนกระทั่งปากมดลูกเปิดขยายเต็มที่ มักใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 8-12 ชั่วโมง หรืออาจนานกว่านั้นได้ในบางราย สำหรับคุณแม่ที่เคยคลอดบุตรแล้ว ระยะเวลานี้อาจสั้นลง

ระยะเวลาจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะหลักๆ ดังนี้

ระยะเวลาในการคลอดธรรมชาติ

ระยะที่ 1

สัญญาณเตือน

(ระยะปากมดลูกเปิด)

  • ปากมดลูกจะค่อยๆ เปิดขยาย ทีละน้อย เพื่อให้ทารกสามารถเคลื่อนตัวผ่านออกมาได้
  • ท้องแรก อาจใช้เวลาโดยเฉลี่ย 8-12 ชั่วโมง หรือนานกว่านั้น
  • ท้องหลัง มักใช้เวลาน้อยกว่า อาจอยู่ที่ 4-8 ชั่วโมง หรือเร็วกว่านั้น
  • สัญญาณร่วม อาจมีมูกเลือดออกทางช่องคลอด
ระยะที่ 2

เบ่งคลอดลูก

  • เมื่อปากมดลูกเปิดเต็มที่ คุณแม่จะเริ่มมีแรงเบ่ง และช่วยดันลูกน้อยออกมา
  • ท้องแรก โดยเฉลี่ยประมาณ 1-2 ชั่วโมง
  • ท้องหลัง โดยเฉลี่ยประมาณ 20 นาที – 1 ชั่วโมง
ระยะที่ 3

คลอดรก

  • มดลูกจะบีบตัวอีกครั้งเพื่อขับรก (placenta) ออกมา
  • ระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 5-30 นาที

เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 8 การตั้งครรภ์ ขอให้คุณแม่สังเกตสัญญาณของร่างกายอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดอย่างปลอดภัย เมื่อสัญญาณเจ็บท้องเตือนเริ่มเปลี่ยนไปเป็นสัญญาณเจ็บท้องจริง หรือรู้สึกถึงอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

ที่มา : โรงพยาบาลบีเอ็นเอช , hellokhunmor

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

เจ็บท้องเตือน vs เจ็บท้องคลอด เหมือนหรือต่าง สังเกตและรับมืออย่างไร

คนท้อง เจ็บท้องน้อยข้างซ้าย จี๊ดๆ ปวดท้องร้าวไปถึงหลัง อันตรายไหม ?

โหลดฟรี! Checklist เตรียมของไปคลอด จัดกระเป๋าเตรียมคลอด ต้องมีอะไรบ้าง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องแบบไหน ควรรีบไปโรงพยาบาล?
แชร์ :
  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว