X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการคนเริ่มท้อง เป็นยังไง ดูยังไงว่าตัวเองท้องหรือไม่ ภาวะตั้งครรภ์ปกติหรือเปล่า

บทความ 5 นาที
อาการคนเริ่มท้อง เป็นยังไง ดูยังไงว่าตัวเองท้องหรือไม่ ภาวะตั้งครรภ์ปกติหรือเปล่า

อาการคนเริ่มท้อง เป็นอย่างไร เพราะผู้หญิงแต่ละคนมักจะแสดงอาการแพ้ท้องแตกต่างกัน โดยเฉพาะในช่วงระยะสัปดาห์แรกนั้น บางคนอาจไม่มีอาการแสดงใด ๆ เลย ในทางกลับกันบางคนอาจจะมีอาการแพ้ท้องหรืออาการอื่นตามมาอย่างหนัก และแพ้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ในวันนี้ เรามี ” 10 สัญญาณ อาการคนเริ่มท้อง ที่ผู้หญิงต้องรู้ ” มาฝากกัน เรามาดูกันค่ะว่า จะสามารถทราบได้อย่างไรบ้าง ว่านี่คือการท้องจริง หรือแค่คิดไปเอง

 

10 สัญญาณ อาการคนเริ่มท้อง ที่ผู้หญิงต้องรู้

หลาย ๆ คำบอกเล่าที่เราเคยได้ยินมาว่า นี่แหละคืออาการคนท้อง แต่ครั้นจะรีบไปตรวจกับแพทย์เลยก็ยังกล้า ๆ กลัว ๆ ซึ่งบางคนอาจจะยังไม่พร้อม แต่บางคนก็ต้องการมีน้องเสียเหลือเกิน อยากบอกว่าให้คุณแม่ใจเย็น ๆ ค่ะ ลองมาดู 10 อาการก่อนว่า คุณแม่มีอาการเหล่านี้หรือไม่

  • ประจำเดือนขาด

ต้องแน่ใจว่าปกติแล้วคุณเป็นคนที่มีประจำเดือนปกติ ไม่มีโรคแทรกซ้อน ซึ่งถ้าหากประจำเดือนขาดไปเกินกว่า 10 วัน นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่ากำลังตั้งท้องแล้วค่ะ

  • รู้สึกคัดเต้านม

มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจากรกและรังไข่จะผลิตไข่เพิ่มมากขึ้น ทำให้หัวนมและลานนมมีสีเข้มขึ้น เต้านมขยายใหญ่ รู้สึกรัดรึง เจ็บ ๆ ตึง ๆ อาการแบบนี้คืออาการของคุณแม่มือใหม่ค่ะ ถ้าท้องสองเป็นต้นไปจะไม่ค่อยรู้สึกแล้ว

  • ตกขาวมากขึ้น

เมื่อรูปร่างหรือสรีรรวมถึงฮอร์โมนในร่างกายมีการปรับระดับสูงขึ้นจึงทำให้ผู้หญิงมีอาการตกขาว มากกว่าปกติ จะเป็นมูกสีขาวขุ่น ไม่ใช่สีเขียว สีเหลือง นะคะ ถ้ามีสีเหล่านี้แสดงว่ากำลังติดเชื้อในช่องคลอดค่ะ

  • เลือดจาง ๆ ออกจากช่องคลอด

หากมีเลือดออกเล็กน้อยกะปริบกะปรอย สีจาง ๆ อย่าเพิ่งตกใจค่ะ เนื่องจากร่างกายกำลังปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงของการปฏิสนธิภายในมดลูก เรียกว่าเลือดล้างหัวเด็กซึ่งเลือดนี้จะหยุดไหลไปเองภายใน 1-2 วัน

 

อาการคนเริ่มท้อง

 

  • ปวดศีรษะ คลื่นไส้

ต้องบอกว่าเป็นอาการพื้นฐานของคนตั้งท้องจะมีอาการปวดหัวในสัปดาห์แรกนั้น แล้วจะค่อย ๆ มีอาการปวดศีรษะบ่อยขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแม่ท้อง บางคนเครียดวิตกกังวลมากเกินไป จนทำให้เกิดอาการวิงเวียน จนความเครียดลงกระเพาะจนอาเจียนออกมา  แต่บางคนแค่ปวดหัวเท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีแก้ปวดหัวอย่างปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์ คนท้องกินยาแก้ปวดอะไรได้บ้าง

  • ปวดหลังล่าง แถวบั้นเอว

ผู้หญิงจะปวดหน่วง ๆ ช่วงบั้นเอว บริเวณหลังล่าง บางคนอาจมีอาการตะคริว ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขยายตัวของกล้ามเนื้อส่วนกลาง ตรงเชิงกรานแถวมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับทารกน้อย จึงทำให้ปวดหลัง และจะปวดเรื่อย ๆ เพราะทารกจะเติบโตขึ้นภายในร่างกายของคุณแม่นั้นเอง

  • รู้สึกหายใจถี่

คนท้องจะรู้สึกหายใจถี่ ๆ เหนื่อยง่าย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกได้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ เพราะลูกน้อยกำลังเจริญเติบโตและต้องการออกซิเจนจากคุณแม่เป็นอย่างมาก ทั้งนี้คุณแม่ควรหายใจลึก ๆ ยาว ๆ เพื่อนำออกซิเจนเข้าไปในร่างกายให้มากขึ้น

  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น

เนื่องจากร่างกายของผู้หญิงที่เริ่มตั้งครรภ์จะสร้างของเหลวมากขึ้น มดลูกที่ขยายต้องการเลือดไปเลี้ยงทารกจึงทำให้ไตทำงานหนักกว่าปกติ กรองเอาของเสียจากปัสสาวะเพิ่มขึ้นตามมาอีกด้วย ทั้งนี้เมื่อมดลูกที่ติดอยู่กับกระเพาะปัสสาวะขยายตัวจึงไปกดทับซึ่งกันและกัน ส่งผลให้คุณแม่ปัสสาวะบ่อยนั่นเอง

 

อาการคนเริ่มท้อง

 

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย

ว่ากันว่า คนท้องอารมณ์แปรปรวน เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงค่ะ ทั้งอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ หงุดหงิดง่าย อ่อนไหว ดราม่าเก่งขึ้น ร้องไห้ง่าย บอกได้เลยว่านี่คือบอกการเข้าสู่สภาวะตั้งครรภ์ในระยะแรก ทั้งนี้คุณพ่อต้องเตรียมรับมือ ทำความเข้าใจโดยไม่ถือสาคุณแม่มือใหม่ อาจจะกินยากขึ้นด้วยนะคะ

  • ท้องอืด ท้องผูก ไม่สบายท้อง

เมื่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น จะส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร และลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้มีการบีบตัวของลำไส้ลดลง ทำให้อาหารย่อยช้าลง เกิดลมในกระเพาะมากขึ้น จึงทำให้ท้องอืดและท้องผูก  ดังนั้นคุณแม่ควรหันมาเริ่มดูแลสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ผัก ผลไม้ นม เพื่อเสริมสร้างร่างกายและลูกน้อยในครรภ์ให้แข็งแรงตั้งแต่เนิ่น ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง: ตั้งครรภ์ 1-3 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

 

อาการคนเริ่มท้อง ต้องดูที่น้ำหนักคุณแม่หรือไม่?

น้ำหนักของคุณแม่ที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์นั้น มีผลมาจากหลายส่วน ทั้งจากลูกน้อยที่ค่อย ๆ เจริญเติบโตภายในครรภ์ของคุณแม่ ทั้งจากรก น้ำคร่ำ ปริมาณเลือด แม้กระทั่งเต้านมที่ขยายใหญ่ขึ้น แต่ก่อนที่จะคิดว่าน้ำหนักจะเพิ่มมากจนคุณแม่หรือลูกในท้องจะอ้วนเกินไปนั้น มีวิธีคำนวณน้ำหนักที่เหมาะสมระหว่างตั้งครรภ์กัน โดยคำนวณจากดัชนีมวลกายของคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ เริ่มต้นจาก น้ำหนัก (กิโลกรัม) ÷ ด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง หลังจากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางด้านล่าง เช่น คุณแม่ที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ระหว่าง 18.5 – 24.9 (น้ำหนักตัวปกติ) ควรมีการเพิ่มน้ำหนักตัวเพิ่มตลอดการตั้งครรภ์เท่ากับ 11.5 – 16 กิโลกรัม และควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 0.4 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารคนท้องไตรมาสแรก 10 อย่าง  คนท้องไตรมาสแรกควรกินอะไรมาดูกัน!

 

ตารางแสดงการเพิ่มน้ำหนัก

ข้อมูลนี้อิงตามคุณแม่ตั้งครรภ์ลูกคนเดียว ส่วนน้ำหนักคุณแม่ตั้งครรภ์ลูกแฝดจะมากขึ้นแต่ก็ไม่ได้เพิ่มเป็นสองเท่า

 

 น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์(ดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์)  น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นช่วงในไตรมาสแรก น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแต่ละสัปดาห์ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (<18.5) 12.5 – 18กิโลกรัม 2.3 กิโลกรัม 0.5 กิโลกรัม
น้ำหนักปกติ (18.5-24.9) 11.5 – 16 กิโลกรัม 1.6 กิโลกรัม 0.4 กิโลกรัม
น้ำหนักตัวเกิน (25-29.9) 7 – 11.5 กิโลกรัม  0.9 กิโลกรัม 0.3 กิโลกรัม
อ้วน (≥30) 5 – 9 กิโลกรัม – 0.2กิโลกรัม

 

อธิบายอย่างง่าย ๆ คือ ค่า BMI ระหว่าง 18.5-24.9 น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 11.5-16 กก.

  • หากคุณแม่มีค่า BMI เท่ากับ 18.5 หรือต่ำกว่า (น้ำหนักตัวก่อน ตั้งครรภ์ ต่ำกว่าเกณฑ์) ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.5-18 กก.
  • ถ้ามีค่า BMI เพิ่มขึ้นระหว่าง 25-29.9 ควรมีน้ำหนักเพิ่มไม่เกิน 7-11.5 กก.
  • แต่ถ้าหากผู้หญิงมีค่า BMI เท่ากับ 30 หรือมากกว่า ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงโรคอ้วน ควรน้ำหนักขึ้น 5-9 กก. นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง: ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับ ” 10 สัญญาณ อาการคนเริ่มท้อง ที่ผู้หญิงต้องรู้ ” ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ การสังเกตตัวเองเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่ไม่ว่าใครก็ไม่ควรละเลยเด็ดขาด เพื่อให้เราสามารถเตรียมตัวได้ดีขึ้น หากแม่ท้องท่านใดรู้สึกว่าน้ำหนักขึ้นมากเกินกำหนด ก็ไม่ควรใช้วิธีอดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก เพราะนั่นจะส่งผลเสียโดยตรงต่อทารกในครรภ์ ทำให้ลูกไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะ โดยสิ่งที่แม่ท้องควรทำก็คือ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมภายใต้คำแนะนำของคุณหมอจะดีที่สุดค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

40 เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้ วิดีโอแนะนำการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ โดย theAsianparent และ The Selection เพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงของคุณแม่มือใหม่

ท้อง 1 อาทิตย์ตรวจเจอไหม ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ตรวจเจอไหม มาดูกัน!

เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์

ที่มา: 1 , 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • อาการคนเริ่มท้อง เป็นยังไง ดูยังไงว่าตัวเองท้องหรือไม่ ภาวะตั้งครรภ์ปกติหรือเปล่า
แชร์ :
  • 6 สัญญาณอาการบวมช่วงตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ อันตรายถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ

    6 สัญญาณอาการบวมช่วงตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ อันตรายถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ

  • ครรภ์ไข่ปลาอุก อาการอันตราย เสี่ยงทำให้คุณแม่ต้องตัดมดลูก

    ครรภ์ไข่ปลาอุก อาการอันตราย เสี่ยงทำให้คุณแม่ต้องตัดมดลูก

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • 6 สัญญาณอาการบวมช่วงตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ อันตรายถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ

    6 สัญญาณอาการบวมช่วงตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ อันตรายถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ

  • ครรภ์ไข่ปลาอุก อาการอันตราย เสี่ยงทำให้คุณแม่ต้องตัดมดลูก

    ครรภ์ไข่ปลาอุก อาการอันตราย เสี่ยงทำให้คุณแม่ต้องตัดมดลูก

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ