X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

Hirschsprung’s disease คือ ? โรคลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด เป็นอย่างไร

บทความ 5 นาที
Hirschsprung’s disease คือ ? โรคลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด เป็นอย่างไร

โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิดคืออะไร ลําไส้โป่งพองในทารก อันตรายแค่ไหน การรักษาลำไส้โป่งพอง เป็นอย่างไร

Hirschsprung’s disease คือ ? อันตรายกับทารกมากน้อยแค่ไหน ทำไมเด็กถึงเป็นโรคนี้ขึ้นมาได้ วันนี้theAsianparenth Thailand จะพาทุกคนไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ Hirschsprung’s disease คือ โรคอะไรกันแน่ รักษาอย่างไรถึงจะหาย

 

Hirschsprung’s disease คือโรคอะไร

Hirschsprung’s disease อ่านว่า เฮิร์ชสปริง hirschsprung disease คือ เป็นโรคลำไส้มีการอุดตันตั้งแต่กำเนิดในเด็กที่พบบ่อยในเด็กวัยทารกแรกเกิด ที่พบในทารกเพศชายมากกว่าหญิง สามารถพบได้จนถึงวัยเด็กโต โรคนี้จำเป็นต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด หากไม่รักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากลำไส้อุดตันรุนแรง จนถึงขั้นลำไส้แตกทะลุได้

Hirschsprungs disease คือ

ภาพ : https://aderonkebamidele.com

 

โรค Hirschsprung เกิดจากอะไร?

สาเหตุของโรคนี้เกิดจากพยาธิสภาพของลำไส้ใหญ่ที่ผิดปกติคือไม่มีเซลล์ปมประสาทในลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ทำให้ลำไส้ส่วนที่อยู่เหนือส่วนที่ผิดปกตินี้เกิดการอุดตันและโป่งพองออกมา มีผนังหนาขึ้นและทำให้อุจจาระผ่านลำไส้ส่วนที่ผิดปกติไปได้ยาก จนเกิดการคั่งสะสมของอุจจาระและลมในลำไส้เป็นจำนวนมาก จึงพบลำไส้โป่งพองขึ้น ผู้ป่วยจึงมีอาการท้องอืดมาก

 

Hirschsprung’s disease คือ อาการ อะไร

hirschsprungdisease คือ

อาการสำคัญที่สังเกตได้ง่าย ๆ คือ

  • ทารกแรกเกิด ไม่ถ่าย ขี้เทาใน 48 ชั่วโมง มีอาการท้องอืดมาก อาเจียน
  • ไม่ถ่ายต้องสวนทวารเป็นประจำ บางรายถ่ายเหลวกระปริบกระปรอย
  • พบลำไส้แตกทะลุ มีอาการท้องอืดมาก ไม่ผายลม ไข้ขึ้นสูง ซึม
  • การใช้ปรอท หรือนิ้วก้อยกระตุ้น จะช่วยให้ท้องอืดน้อยลง
  • พบความผิดปกติร่วมบ่อย เช่น กลุ่มอาการดาวน์ ภาวะผิดรูปของทวารหนัก
  • ประวัติใรครอบครัว พบได้ร้อยละ 10 มักพบในผู้ป่วยที่ลำไส้โป่งพองชนิดกลุ่มยาว

 

คุณหมอจะวินิจฉัยโรค Hirschsprung ได้อย่างไร?

หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้นคือ ทารกแรกเกิดไม่ถ่ายขี้เทาหลังจากเกิดมาภายใน 2 วัน ทารกและเด็กที่โตขึ้นมามีอาการ ท้องผูกบ่อย ท้องอืดมาก ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา โดยคุณหมอจะซักถามประวัติอาการโดยละเอียดและตรวจร่างกายเพิ่มเติม คุณหมออาจใช้ปรอทกระตุ้นทางทวารหนักดูการขับถ่ายขี้เทาในทารกแรกเกิด ใช้นิ้วก้อยหรือลูกโป่งสวนทวารหนักขนาด 10 ซีซี หากพบว่าทารกมีอุจจาระและลมพุ่งออกมาอย่างแรงทางรูทวารหนัก จะเป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ได้

นอกจากนี้ คุณหมออาจส่งตรวจเพิ่มเติมด้วยการเอกซเรย์สวนแป้งทางทวารหนัก (Barium enema) หากพบบริเวณของลำไส้ที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างส่วนที่มีและไม่มีเซลล์ปมประสาท หรือทำการส่งตรวจชิ้นเนื้อจากผนังกล้ามเนื้อของลำไส้ไปตรวจทางพยาธิวิทยาจะไม่พบเซลล์ปมประสาทตรงบริเวณลำไส้ส่วนที่มีความผิดปกติ ก็สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างชัดเจน

 

การรักษาลำไส้โป่งพอง

การดูแล วิธีรักษาโรค Hirschsprung ทำได้อย่างไร?

  • ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยโรคนี้จะได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเอาลำไส้ส่วนที่ไม่มีเซลล์ปมประสาทออกและดึงลำไส้ส่วนที่ปกติมาต่อบริเวณทวารหนัก
  • ปัจจุบันการผ่าตัดในผู้ป่วยบางรายสามารถทำได้ตั้งแต่แรกเกิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดค่ะ

 

Hirschsprungs disease คือ

ภาพ : https://www.dailymail.co.uk

 

หากไม่ทำการรักษาโรค Hirschsprung จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างไร?

หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยเด็กที่เป็น โรค Hirschsprung อาจมีอาการรุนแรง โดยพบว่าทารกไม่ถ่ายอุจจาระและไม่ผายลมเลย มีไข้ขึ้นสูง จนถึงขั้นลำไส้แตกทะลุเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

การปฐมพยาบาลในการผ่าตัด

วิธีปฐมพยาบาลก่อนการผ่าตัด

  • สวนอุจจาระเพื่อบรรเทาลำไส้อุดตัน ลำไส้อักเสบ เตรียมความสะอาดก่อนการผ่าตัด
  • การสวนล้างลำไส้ด้วยน้ำเกลือ

 

วิธีปฐมพยาบาลหลังการผ่าตัด

  • ระวังอย่าให้สายยางเหลืองหลุด เพราะลำไส้อาจจะผลุบเข้าไปในช่องทองได้ ควรเอาไว้ 10 – 14 วัน แล้วค่อยนำออก
  • กรณีผ่าตัดเสร็จในครั้งเดียว ล้างแผลด้วยเบตาดีน ผสมน้ำเกลือ หลังขับถ่ายอุจจาระ
  • ป้องกันอาการระคายเคือง ให้ใช้วาสลีนทา
  • หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ แพทย์จะนัดมาเพื่อขยายก้น

 

คำแนะนำก่อนกลับบ้าน

  • ถุงรองรับอุจจาระ ชนิดปลายเปิด ใช้ได้นาน 3 – 5 วัน เพราะสามารถเทอุจจาระทิ้งได้
  • ควรเลือกใช้ถุงให้เหมาะกัยผู้ป่วย
  • หลังอาบน้ำแล้ว ซับหรือเช็ดผิวหนังให้แห้ง
  • แกะเทปชั้นในของถุงออก แล้วครอบบนลำไส้ แกะเทปส่วนที่เหลือกดกับผิวหนังให้แน่น ไล่ลมในถุงออก ปิดปลายให้เรียบร้อย
  • เปิดปลายถุงเทอุจจาระออก เมื่อมีอุจจาระจำนวนมาก เพื่อป้องกันถุงแตก
  • เปิดปลายถุงระบายลมออก เพราะถุงอาจจะแตกได้
  • เปลี่ยนถุงอุจจาระ เมื่อพบการรั่ว
  • หากลำไส้ที่โผล่ออกมา มีสีคล้ำมากกว่าปกติ เลือดออก หรือยาวออกมาผิดปกติ ถ่ายเป็นน้ำ ควรรีบพามาพบแพทย์ทันที

 

หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการที่น่าสงสัยว่าอาจเป็นโรค Hirschsprung ได้ ควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อจะได้รับวินิจฉัยให้ชัดเจน จะได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุดที่สามารถทำได้ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ผนังหน้าท้องไม่ปิด สาเหตุการเกิด gastroschisis ที่ทำให้ลูกต้องทรมานตั้งแต่แรกเกิด

โรคตับในเด็ก จากใจของแม่ที่ลูก 9 เดือน ป่วยเป็นตับแข็งระยะสุดท้าย

พ่อสูบบุหรี่ ผลต่อลูก รุนแรงกว่าที่คิด ทารกอยู่ใกล้บุหรี่ อันตราย!

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • Hirschsprung’s disease คือ ? โรคลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด เป็นอย่างไร
แชร์ :
  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ