X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก ทำอย่างไรให้ขับถ่ายเป็นปกติ

บทความ 5 นาที
ทารกท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก ทำอย่างไรให้ขับถ่ายเป็นปกติ

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า ทารกท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ควรทำอย่างไรดี เด็กวัยแรกเกิดบางคนอาจจะถ่ายวันละหลาย ๆ รอบ ในขณะที่เด็กบางคนไม่ถ่ายนาน 3-4 วัน หรือมากกว่านั้น การขับถ่ายปกติของทารกเป็นอย่างไร ทารกไม่ถ่ายนานแค่ไหน จึงจะเรียกว่าท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ทารกไม่ถ่าย ควรทำอย่างไร วันนี้ theAsianparent จะพามาหาคำตอบ

 

สุขภาพและการขับถ่ายของเด็กแรกเกิด

การดูแลสุขภาพของทารกแรกเกิด สิ่งหนึ่งที่สามารถประเมินได้ว่าสุขภาพของลูกน้อยสมบูรณ์ดีหรือมีความผิดปกติหรือไม่ นั่นก็คือการสังเกตจากผ้าอ้อมของลูก ลูกปัสสาวะ หรืออุจจาระกี่ครั้งต่อวัน ของเสียที่ขับออกมาบนผ้าอ้อมมีสีอะไร เป็นปกติหรือไม่ ซึ่งความถี่ในการเปลี่ยนผ้าอ้อมก็สามารถบ่งชี้ถึงภาวะขาดน้ำ อาการท้องผูก สีของอุจจาระก็เป็นตัวชี้วัดโรค และความผิดปกติภายในของทารกได้ด้วย

ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระของทารกแรกเกิดในสัปดาห์แรกไม่มีความแน่นอน ขึ้นอยู่กับนมที่ทารกดื่มเข้าไป โดยทั่วไป เด็กทารกที่ดื่มนมแม่ จะมีการขยับตัวของลำไส้ที่มากกว่า ทำให้มีความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระที่มากกว่าเด็กทารกที่ดื่มนมผง แต่เมื่อมีการเปลี่ยนจากการดื่มนมแม่ ไปเป็นนมผสม หรือนมผง ลักษณะของอุจจาระ ความถี่ในการขับถ่าย และเปลี่ยนผ้าอ้อมก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย

 

การขับถ่ายอุจจาระครั้งแรกของทารกแรกเกิด

การขับถ่ายครั้งแรกของทารกแรกเกิดจะมีดำ หรือเขียวเข้ม มีลักษณะเหนียวหนืดเหมือนดินน้ำมัน และไม่มีกลิ่น เกิดจากสสารที่ถูกย่อยระหว่างที่ทารกยังอยู่ในครรภ์ อุจจาระสีดำนี้ จะถูกขับถ่ายออกมาในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรกของชีวิตทารก เรียกว่า “ขี้เทา” (Meconium) ไม่ว่าจะได้รับนมแม่หรือไม่ การขับถ่ายช่วง 1-3 วันแรก ก็จะเหมือนกัน โดยมีดำ หรือเขียวเข้มก่อน จากนั้นจึงค่อยขับถ่ายออกมาเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีเหลือง หรือสีเขียวเหลือง ในช่วงประมาณวันที่ 4 หลังคลอด จากการที่ร่างกายมีการย่อยน้ำนม

 

ทารกท้องผูก

 

Advertisement

ทารกท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน เกิดจากอะไร

อาการท้องผูกในทารกเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่สำหรับทารกแรกเกิดไปจนถึง 6 เดือนนั้น ลูกอาจมีความเสี่ยงที่จะท้องผูกจากหลาย ๆ อย่าง เช่น การแพ้โปรตีนในน้ำนมจากอาหารที่คุณแม่รับประทานและส่งต่อผ่านน้ำนมไปยังลูกน้อย หรือการคลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารของลูกยังเจริญไม่เต็มที่และย่อยอาหารยังไม่สมบูรณ์ รวมไปถึงภาวะลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด จึงส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกขึ้นได้

สำหรับเด็กทารกที่อายุ 6 เดือนขึ้นไป อาจมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น การรับประทานอาหารที่ทำให้ท้องผูก การขาดน้ำที่ทำให้อุจจาระแข็ง การแพ้อาหารบางชนิด รวมถึงการมีปัญหาทางสุขภาพ เช่น ภาวะไฮโปไทรอยด์ หรือโรคเกี่ยวกับระบบเผาผลาญอาหาร และการดื่มนมชงเพียงอย่างเดียว

โดยปกติแล้ว นมวัวมีส่วนประกอบที่เป็นน้ำน้อยกว่านมแม่ และมีโปรตีนที่มีโมเลกุลใหญ่ จึงทำให้ระบบการขับถ่ายของเด็กทำงานหนักและยากกว่าเด็กที่กินนมแม่ ที่สำคัญเด็กเล็กยังมีระบบย่อยอาหารที่ไม่สมบูรณ์มากนัก จึงทำให้ไม่สามารถย่อยโปรตีนจากนมวัวที่มีโมเลกุลใหญ่ได้ดี ซึ่งหากไม่ถ่ายหลายวัน หรือถ่ายน้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ คุณแม่ต้องเริ่มสังเกตลักษณะอุจจาระของลูกว่าเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ดเล็ก ๆ หรือลูกต้องออกแรงเบ่งไหม เพราะหากเข้าข่ายนี้แสดงว่าลูกอาจมีอาการท้องผูกและถ่ายไม่ออก

 

ทารกไม่อุจจาระ ทารกไม่ถ่าย ได้กี่วัน

  • ทารกนมแม่ ปกติแล้วทารกที่กินนมแม่จะถ่ายหลายรอบต่อวัน อาจมากกว่า 3-4 ครั้งต่อวัน จนแม่เข้าใจผิดคิดว่าลูกท้องเสีย ลูกจะถ่ายบ่อยช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ 2-3 สัปดาห์แรก หลังจากนั้น ทารกจะถ่ายน้อยลง บางคนไม่ถ่ายนานถึง 2 สัปดาห์ ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องปกติ ส่วนลักษณะอึของทารกนมแม่ จะนิ่มและมีสีเหลือง
  • ทารกนมผง ทารกที่กินนมผสมอึจะแข็งกว่าและถ่ายไม่บ่อย 3-4 วันถ่ายที ลักษณะอึของทารกนมผง จะออกมาเป็นลำยาว ๆ นิ่ม และมีสีเขียวเทา

 

ทารกไม่อุจจาระ ไม่ถ่าย อาการแบบไหนเรียกท้องผูก

โดยปกติแล้ว เด็กทารกที่ยังกินนมแม่เพียงอย่างเดียว มักจะไม่มีปัญหาเรื่องท้องผูก แต่อาการท้องผูกอาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงที่เริ่มเปลี่ยนไปทานอาหารเสริม ซึ่งอาการที่อาจจะบ่งบอกได้ว่าลูกท้องผูก นอกจากการที่ลูกไม่ถ่ายแล้ว เด็กบางคนอาจจะทำหน้าเหมือนเบ่งอุจจาระแต่ไม่ถ่าย ทารกไม่อุจจาระ เด็กบางคนก็อาจจะร้องไห้ เหมือนเจ็บก้น และรู้สึกไม่สบายตัว ส่วนอาการอื่น ๆ ที่บอกว่าทารกกำลังท้องผูก มีดังนี้

  • ท้องแข็ง
  • กินน้อยลง
  • ไม่ค่อยถ่าย ถ่ายน้อยกว่าปกติ
  • ลูกทำท่าเหมือนปวดท้อง ท้องอืด
  • มีเลือดออก ติดมากับก้อนอุจจาระ
  • ปวดท้อง แต่หายปวดหลังขับถ่าย
  • อุจจาระเป็นก้อนแข็งมีลักษณะคล้ายกระสุน

 

ทารกท้องผูก

 

ทารกท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน รับมืออย่างไรดี

เมื่อทารกมีอาการท้องผูก ก็จะทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัว และเสี่ยงเป็นโรคบางชนิดในอนาคตได้ ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกมีอาการท้องผูก ควรรีบแก้ไขทันที ซึ่งวิธีการรักษาอาการท้องผูกในทารกนั้น มีดังนี้

  • เลือกโภชนาการย่อยง่ายให้ลูกน้อย

สาเหตุที่ลูกน้อยท้องผูกเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือการที่ระบบย่อยอาหารของลูกยังเจริญไม่เต็มที่และยังย่อยอาหารยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้น การเลือกโภชนาการที่ย่อยง่ายอย่างนมแม่ จึงมีส่วนช่วยบรรเทาอาการท้องผูก และอุจจาระไม่ออกของทารกได้ เพราะนมแม่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นนมย่อยง่าย เหมาะสมกับระบบลำไส้ของลูก อีกทั้งนมแม่ยังมี MFGM และ DHA ที่ช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อเซลล์ประสาท ทำให้พัฒนาการสมองของลูกดียิ่งขึ้น

ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมกับความต้องการของลูก โดยแพทย์อาจจะแนะนำโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนหรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่ย่อยง่าย

 

  • เปลี่ยนอาหารของคุณแม่

ทารกแรกเกิดจนที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียว อาจมีอาการท้องผูกจากอาหารที่คุณแม่รับประทาน เพราะอาหารที่คุณแม่กินเข้าไปนั้น ก็จะส่งผ่านไปยังน้ำนมที่ลูกกินด้วย ดังนั้น คุณแม่ควรเปลี่ยนเมนูอาหาร ไม่กินอาหารจำเจ เน้นการกินอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์มากขึ้น

 

  • ผสมน้ำผลไม้ลงในนม

ทารกที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่สามารถผสมน้ำผลไม้ที่มีซอร์บิทอลลงในนม เพราะมีฤทธิ์เป็นยาระบายธรรมชาติ เช่น น้ำแอปเปิล น้ำลูกแพร์ หรือน้ำลูกพรุนเป็นต้น หรือไม่ก็ผสมลงในอาหารของลูกก็ได้ ประมาณ 30-60 มิลลิลิตรต่อมื้ออาหาร เพื่อช่วยบรรเทาอาการถ่ายไม่ออกของลูก

 

ทารกท้องผูก

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้

 

  • เพิ่มผักผลไม้ในอาหาร

อย่างที่รู้กันว่าผักผลไม้ช่วยแก้อาการท้องผูกได้ หากลูกสามารถกินอาหารได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถผสมผักผลไม้ที่มีกากใยอาหารลงในอาหารของลูก เช่น บรอกโคลี แอปเปิล ลูกพรุน มะละกอสุก หรือลูกแพร์เพื่อให้ลูกกินเพิ่ม และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ลูกท้องผูก เช่น กล้วยห่าม ๆ หรือข้าวขาว เป็นต้น

 

  • ให้ลูกเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น

การที่คุณพ่อคุณแม่ชอบอุ้มลูกนาน ๆ หรือปล่อยให้ลูกอยู่นิ่ง อาจทำให้ลำไส้ของเด็กไม่มีการเคลื่อนไหว ส่งผลให้ลำไส้ไม่บีบตัวหรือถ่ายไม่ออก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกเคลื่อนไหวและขยับตัวมากขึ้น หรืออาจช่วยลูกออกกำลังกายด้วยการยกขาลูกไปมา คล้ายกับการปั่นจักรยานอากาศ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกออกกำลังกายมากขึ้น

 

  • นวดท้องกระตุ้นลำไส้

การนวดแก้ท้องผูกของเด็ก จะช่วยกระตุ้นลำไส้ให้ลูกขับถ่ายง่ายขึ้น โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถใช้มือกดนวดเบา ๆ บริเวณท้องส่วนล่าง ใต้สะดือลงไปประมาณ 3 นิ้วมือ โดยใช้ปลายนิ้วกดลงไปเบา ๆ สัก 2-3 นาที นวดวันละหลายครั้ง จับลูกทำท่าถีบจักรยานอากาศ โดยท่านี้จะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้ลูกถ่ายออกมาได้เร็วขึ้น หรืออาจใช้เบบี้ออยล์นวดด้วยก็ได้จนกว่าลูกจะมีอาการดีขึ้น

 

  • อาบน้ำอุ่น

การอาบน้ำอุ่นสามารถกระตุ้นการขับถ่ายของทารกได้ เพราะน้ำอุ่นจะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย สบายตัว และยังทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องของลูกผ่อนคลายได้ด้วย ทำให้ลดอาการท้องผูกได้นั่นเอง

 

ทารกท้องผูก

 

ทารกไม่อุจจาระ ทารกไม่ถ่าย ควรพบแพทย์หรือไม่

อาการท้องผูกไม่ใช่สาเหตุเดียวที่คุณพ่อคุณแม่กังวล แม้ว่าลูกจะขับถ่าย เป็นประจำ แต่หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตความผิดปกติของสี หรือลักษณะของเสียที่ลูกขับถ่ายออกมา ก็ต้องรีบปรึกษาแพทย์เช่นกัน โดยสามารถสังเกตได้จากลักษณะเหล่านี้

  • อุจจาระมีสีขาว หรือสีเทา
  • ลูกขับถ่ายบ่อยเกินกว่าเด็กทารกทั่วไป
  • อุจจาระมีสีดำ แม้ว่าจะผ่านช่วงขี้เทาไปแล้ว
  • อุจจาระมีสีแดงเข้ม หรือมีเลือดติดออกมาด้วย
  • ทารกที่ดื่มนมแม่ มีอุจจาระมีสีเขียวอ่อน อาจเกิดจากสารอาหารในนมแม่ หรืออาหารที่แม่บริโภคเข้าไป
  • อุจจาระของลูกมีของเหลว หรือเมือกปะปนมาก ลูกอาจมีอาการท้องเสีย ซึ่งเกิดขึ้นได้ในช่วง 2 – 3 เดือนแรก เนื่องจากติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ภาวะขาดน้ำ หรือการติดเชื้อทางเดินอาหาร เป็นต้น

 

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นอาการเช่นนี้ ไม่ควรแก้ปัญหาหรือรักษาด้วยตัวเอง เนื่องจากร่างกายของทารกยังบอบบางมาก อีกทั้งยังไม่ให้สามารถรับประทานอาหารอื่น ๆ ได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับคำแนะนำจะเป็นการดีที่สุด หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยหรือต้องการศึกษาข้อมูลของอาการท้องผูกในทารกมากขึ้น สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่

 

ทารกท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก ทำอย่างไรให้ขับถ่ายเป็นปกติ

ทำไมคุณแม่ผ่าคลอดยุคนี้ ถึงไม่ต้องกังวลเรื่องสุขภาพของลูกผ่าคลอดมากจนเกินไป เข้ามาอ่าน หรือแชร์ประสบการณ์ของเหล่าคุณแม่ผ่าคลอดด้วยกันได้ที่ คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club)

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คลอดก่อนกําหนด อันตรายไหม ส่งผลต่อลูกอย่างไร

ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง อาหาร 6 อย่าง บรรเทาอาการทารกท้องเสีย

ลูกมีอุจจาระผิดปกติ สีอุจจาระแต่ละสีบอกอะไรบ้าง แบบไหนที่ผิดปกติกับลูก

ที่มา :  Pobpad, punnita.com, punnita.com, Enfababy

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ทารกท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก ทำอย่างไรให้ขับถ่ายเป็นปกติ
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว