X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

หัวใจวายมีอาการเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาหรือไม่ รวมความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจวาย

บทความ 3 นาที
หัวใจวายมีอาการเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาหรือไม่ รวมความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจวาย

หัวใจวาย มีอาการเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาหรือไม่ รวมความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจวาย

อาการหัวใจวายจะเกิดขึ้นได้เมื่อการไหลลเวียนของเลือดไปยังหัวใจนั้นถูกปิดกั้น การอุดตันส่วนใหญ่มักจะเกิดจากไขมัน โคเลสเตอรอล และสารอื่น ๆ ซึ่งก่อตัวเป็นคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงหัวใจบางครั้ง คราบพลัคสามารถแตกและก่อตัวเป็นก้อนที่ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด การไหลเวียนของเลือดที่ถูกขัดจังหวะสามารถทำลายหรือทำลายส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อหัวใจได้อาการหัวใจวายหรือที่เรียกว่ากล้ามเนื้อหัวใจตายอาจถึงแก่ชีวิตได้

 

หัวใจวาย คืออะไร

หัวใจวาย (Heart Failure) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจนั้นสูญเสียการทำงาน จนไม่สามารถที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้ โรคหัวใจวายสามารถเกิดได้ในทุกวัย แต่มักจะพบได้บ่อยในคนสูงอายุโดยเฉพาะในเพศชาย หัวใจวัยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ และความดันโลหิตสูงจนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง โรคหัวใจวายเป็นโรคที่ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้ แต่สามารถที่จะดูแลรักษาควบคุมไม่ให้เกิดอาการทรุดลงหนักไปกว่าเดิมได้

 

อาการหัวใจวาย

อาการของหัวใจวาย เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจนั้นทำงานลดลงเนื่องจากความอ่อนแอ หรือการเสื่อมสภาพ ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดนั้นผิดปกติ และเป็นเหตุให้เลือดไม่สามารถที่จะไหลเวียนนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้ อาการที่มักพบได้แก่

  • อาการหายใจลำบาก ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจสั้น และหายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะหลังจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ หากอยู่ในขั้นที่มีความรุนแรงอาจจะเป็นในระหว่างที่พักด้วย จะยิ่งหนักขึ้นเมื่อผู้ป่วยนอนราบ ซึ่งอาจนำมาสู่การสะดุ้งตื่นกลางดึกเพราะหายใจไม่ออก
  • อาการขาและข้อเท้าบวม อาการขาและข้อเท้าบวมเกิดจากการบวมน้ำ โดยจะมีอาการบวมเกือบตลลอดทั้งวัน ยกเว้นในเวลาช่วงเช้าที่จะไม่รุนแรงมากนัก
  • อาการอ่อนเพลีย อาจจะมีอาการเหนื่อยเกือบตลอดเวลา และอาจจะเป็นลมได้หากทำการออกกำลังกาย

นอกจากนี้แล้ว ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจจะพบได้ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจวายได้ เช่น

  • มีอาการไอเรื้อรัง และจะมีอาการไออย่างรุนแรงมากขึ้นในเวลากลางคืน
  • มีอาการวิงเวียนศีรษะ หรือเป็นลม
  • มีอาการหายใจแล้วมีเสียง
  • มีอาการมึนงง
  • ใจสั่น จากการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
  • ท้องอืด
  • มีความอยากอาหารลดลง
  • น้ำหนักขึ้น หรือลดผิดปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

ควรเรียกหน่วยแพทย์ฉุกเฉินโดยด่วนที่สุด เพราะอาจเป็นอาการหัวใจวายขั้นรุนแรงที่หากรักษาไม่ทันก็อาจเสียชีวิตได้

 

สาเหตุของหัวใจวาย

สาเหตุของหัวใจวายนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แลไม่จำเป็นว่าต้องเกิดขึ้นจากสาเหตุเดียวเสมอไป โดยมักจะมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ ดังต่อไปนี้

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ การอุดตัดของหลอดเลือด เป็นสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และหัวใจวายได้
  • ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงทำให้เกิดแรงดันที่หัวใจมากขึ้น หากติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ก็จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจสูญเสียการทำงาน เป็นสาเหตุของหัวใจวาย
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ คือสาเหตุโดยตรงที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่
  • การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ เช่น ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ซึ่งทำให้การเต้นของหัวใจแปรปรวน
  • ปัญหาที่ลิ้นหัวใจ  ความเสียหายของลิ้นหัวใจ หรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดบริเวณแถวลิ้นหัวใจ ส่งผลให้การทำงานของหัวใจลดลงได้

ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ป่วยอาจจะเกิดหัวใจวายได้หากมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้

  • โรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นอาจจะทำให้ความเสี่ยงโรคความดันโลหิต และโรคหลอดเลือดหัวใจสูงขึ้นได้
  • การใช้ยาบางชนิด ได้แก่ ยารักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยาไพโอกลิตาโซน ซึ่งเป็นยารักษาโรคเบาหวาน ยาแก้ปวดชนิดเอ็น ยารักษาโรคมะเร็ง ยาฆ่าเชื้อ ยารักษาโรคปอด  ยาเหล่านี้อาจจะไปกระตุ้นให้เกิดความเสี่ยงหัวใจวายได้
  • การหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ ส่งผลให้ระดับออกซิเจนในเลือดนั้นต่ำลง และเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อันเป็นหนึ่งในสาเหตุของหัวใจวายได้
  • การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อไวรัสบางชนิดอาจส่งผลรุนแรงให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดตวามเสียหายได้
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่จะทำให้กล้ามหัวใจอ่อนแอลง และเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายได้
  • โรคอ้วน ยิ่งมีน้ำหนักตัวมากก็ยิ่งจะทำมีความเสี่ยงต่อหัวใจวายมากขึ้น

 

การรักษาหัวใจวาย

การรักษาภาวะหัวใจวายเป็นภาวะที่ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถที่จะควบคุมอาการ และป้องกันไม่ให้มีอาการที่รุนแรงมากขึ้นได้ ซึ่งในปัจจุบันอาจจะมีการรักษามากมายหลายวิธีที่จะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้  แต่ก็ต้องทำควบคู่กับการเปลี่ยนรูปแบบของการใช้ชีวิตด้วย เพราะจะช่วยให้อาการหัวใจวายทุเลาลงได้ส่วนหนึ่ง อีกทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงต่ออาการที่ร้ายแรงมากขึ้นได้ด้วย โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด
  • เลิกสูบบุหรี่
  • ควบคุมปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เหมาะสม
  • ออกกำลังกายเป็นประจำเท่าที่สามารถ

นอกจากนี้แล้ว ยังมีวิธีการรักษาที่แพทย์นั้นนิยมเลือกใช้เป็นตัวเลือกต้น ๆ ได้แก่

การใช้ยา ผู้ป่วยส่วนใหญ่นั้นต้องใช้ยาในการรักษาอาการ และอาจจะใช้ยาหลาย ๆ ตัวร่วมกันเพื่อควบคุมอาการ และลดความเสี่ยง ซึ่งยาที่แพทย์มักสั่งจ่ายให้ผู้ป่วย ได้แก่

  • เอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE Inhibitors)
  • ยาปิดกั้นการทำงานของแองกิโอเทนซิน รีเซฟเตอร์ (Angiotensin Receptor Blockers: ARBs)
  • ยาปิดกั้นการทำงานของเบต้า (Beta-Blockers)
  • ยาลดการบีบตัวของหัวใจ (Hydralazine with Nitrate)
  • ยาขับปัสสาวะ (Diuretics)
  • ยาไดจอกซิน (Digoxin)

อย่างไรก็ตาม คุณควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการที่แน่ชัด เพื่อความปลอดภัย และเพื่อรักษาอาการอย่างทันท่วงที

 

หัวใจวายมีอาการเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาหรือไม่ รวมความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจวาย

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนมักเกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหัวใจของคุณระหว่างอาการหัวใจวาย ซึ่งอาจนำไปสู่:

  • จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ (arrhythmias) “ไฟฟ้าลัดวงจร” อาจเกิดขึ้นได้ ส่งผลให้จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ซึ่งบางครั้งอาจรุนแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้
  • หัวใจล้มเหลว. อาการหัวใจวายอาจทำให้เนื้อเยื่อหัวใจเสียหายมากจนกล้ามเนื้อหัวใจที่เหลืออยู่ไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจได้เพียงพอ ภาวะหัวใจล้มเหลวอาจเกิดขึ้นชั่วคราวหรืออาจเป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดจากความเสียหายที่กว้างขวางและถาวรต่อหัวใจของคุณ
  • ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน. โดยไม่มีการเตือน หัวใจของคุณจะหยุดเนื่องจากการรบกวนทางไฟฟ้าที่ทำให้เกิดจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ (arrhythmia) หัวใจวายเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้โดยไม่ต้องรักษาทันที

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อาการต้อกระจกเป็นอย่างไร โรคต้อกระจกคืออะไร รวมความรู้เกี่ยวกับโรคต้อกระจก

โรคPCOS หรือภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ คืออะไร มีวิธีรักษาหรือไม่

โรคทางพันธุกรรม คืออะไรอันรายหรือไม่ ป้องกันได้รึเปล่า?

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : 1 , 2

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kittipong Phakklang

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • หัวใจวายมีอาการเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาหรือไม่ รวมความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจวาย
แชร์ :
  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ