ตะขาบ สัตว์ประหลาดร้ายใกล้ตัว อันตรายถึงชีวิตหรือไม่? ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้พบบ่อยมากนัก แต่ก็ประมาทไม่ได้ เรียกได้ว่ารองจากงูที่เห็นเป็นประจำแล้ว ก็ตะขาบนี่แหละที่น่ากลัว
ตะขาบ มีลักษณะยังไง?
ตะขาบ หรือ Centipede พวกมันมีขนาดประมาณ 1 นิ้วถึง 7 นิ้ว โดยมันจะจำนวนขาได้มากถึง 15 คู่ หรือมากถึง 177 ขา และขาของมันมักมีจำนวนเป็นเลขคี่เสมอ โดยทั่วไปแล้ว ลำตัวของตะขาบมักสีเหลืองถึงน้ำตาลเข้ม ในบางครั้งเราก็พบว่ามีสีที่เข้มกว่านั้น โดยที่หัวของตะขาบนั้นมีหนวด 1 คู่มีลักษณะเป็นปล้อง และสามารถส่ายไปมาได้ บริเวณปากของตะขาบนั้นมีลักษณะคล้ายกับก้ามปู และมีต่อมพิษขนาดใหญ่ซ่อนอยู่ ตะขาบมักชอบอาศัยอยู่บริเวณที่มืดและชื้น หรือในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศเปียกชื้น ถึงอย่างนั้นตะขาบยังสามารถอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง หรือทะเลทรายได้อีกด้วย หรือจะเรียกได้ว่า เราสามารถพบตะขาบได้ในทั่วทุกพื้นที่ของโลกนั่นเอง
สถานที่ยอดฮิตที่ตะขาบมักไปซ่อนตัว
ด้วยสภาพอากาศของประเทศบ้านเราที่ร้อนชื้น มักพบตะขาบได้เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว แต่เราก็มักจะไม่พบมันบ่อยนัก เพราะพวกมันเป็นสัตว์ชอบเก็บตัว นาน ๆ เราก็จะเดินไปเจอมันที โดยที่ยอดฮิตที่เรามักเจอมัน มีดังต่อไปนี้
- ห้องเก็บของ
- ท่อระบายน้ำ
- บล็อกซีเมนต์
- ตามซอกตู้หนังสือ
- ด้านหลังของเครื่องใช้ไฟฟ้า
- สวน, ป่าไม้ (ใต้กระถางต้นไม้ ตากใต้ก้อนหิน หรือขอนไม้)
พิษของตะขาบ
ตะขาบ เมื่อรับรู้ถึงศัตรู หรือพบเหยื่อ พวกเขามันกัดเข้าที่เหยื่อก่อนที่จะพ่นพิษเข้าสู่ผิวหนังในทันที โดยการปล่อยพิษนั้นจะถูกปล่อยจากเขี้ยวที่เรียกว่า Forcipule หรือเขี้ยวที่เรียงตัวเป็นแนวโค้ง หรือครึ่งวงกลมที่อยู่รอบหัวนั่นเอง โดยนักวิจัยท่านหนึ่งได้นำพิษของตะขาบไปทำการแยกส่วนประกอบ พบว่าในพิษของตะขาบนั้นมีส่วนประกอบมากกว่า 500 ชนิด ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นสารประกอบที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ เช่น เซโรโทนิน (serotonin) และ ฮีสตามีน (Histamine) นักวิจัยจึงตั้งข้อสังเกตว่า สารเคมีเหล่านี้มักไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาทของมนุษย์
อาการเมื่อถูกตะขาบกัด
ตะขาบ มีเขี้ยว Forcipule หรือเขี้ยวที่เรียงตัวเป็นแนวโค้ง ฟังแล้วดูน่ากลัว แต่ในความจริงแล้ว ยังไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกับอาการร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากการโดนตะขาบกัดเลย โดยเมื่อเวลาเราโดยตะขาบกัดจะมีลักษณะ ดังนี้
-
- ปวดบริเวณแผลที่ถูกกัด
- แผลบวม และแดง
- เลือดออก
- แสบร้อน และคันบริเวณแผล
- มึนงง
- สั่น
- เกิดริ้วสีแดงบนผิวหนัง
- ติดเชื้อบริเวณแผล
- เนื้อเยื่อบริเวณแผลตาย
- ต่อมน้ำเหลืองบวม
ในกรณีที่พบอาการรุนแรงมาก แต่เป็นเคสที่ยากมากที่จะพบ โดยมีการคาดการว่าจะเกิดอาการเหล่านี้
-
- ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
- หัวใจวาย
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- ภาวะที่ร่างกายมีการสลาย ตัวของกล้ามเนื้อลายอย่างเฉียบพลัน (Rhabdomyolysis)
- เลือดออกมากเกินไป
นอกจากนี้ยังมีการคาดการว่าอาจเกิดอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้ยากมาเช่นกัน โดยมีอาการดังนี้
-
- ปวดหัว
- ความวิตกกังวล
- เวียนศีรษะ
- สูญเสียสติ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเมื่อถูกตะขาบกัด
ถึงแม้ว่าการถูกจะตะขาบกัดนั้นจะไม่ได้มีอาการรุนแรงถึงชีวิต หรือเป็นไปได้ยากที่จะพบอาการรุนแรง แต่ถึงอย่างไรก็ตามการถูกตะขาบกัดนั้นอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่คุณอาจไม่รู้ตัว โดยภาวะแทรกซ้อนจากการถูกตะขาบกัดอาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อ หรือจากความเสียหายต่อผิวหนัง และเนื้อเยื่อบริเวณที่ถูกกัด ซึ่งเบื้องต้นแพทย์จะฉีดยากันบาดทะยัก และสั่งยาปฏิชีวนะให้กับคุณ แต่หากอาการของคุณแย่ลง หรือไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง (มักพบอาการอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น มีไข้ เกิดริ้วสีแดงบริเวณใกล้แผล หรือแผลส่งกลิ่นเหม็น) ให้พบแพทย์ทันที หรือในบางคนอาการเกิดอาการแพ้พิษของตะขาบ ส่งผลทำให้เกิดอาการคันรุนแรง เวียนศีรษะ ผื่นขึ้น อาจมีอาการบวมที่บริเวณริมฝีปาก คอ หรือลิ้นร่วมด้วย คุณก็ควรจะไปพบแพทย์ในทันทีเช่นกัน
วิธีการรักษาเมื่อถูกตะขาบกัด
การถูกตะขาบกัด อย่างที่เขียนไว้ข้างตนคืออาการไม่ได้รุนแรงมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ และคุณสามารถปฐมพยาบาลตัวเองเบื้องต้นได้ ดังนี้
- ใช้ความร้อนในการเจือจางพิษ เมื่อถูกตะขาบกัด คุณควรรีบระบายพิษออกให้เร็วที่สุดเพื่อให้พิษไม่กระจายตัวไปในผิวหนังเป็นวงกว้าง การประคบร้อน หรือการแช่แผลในน้ำร้อนจะช่วยหยุด และเจือจางพิษในผิวหนังได้
- เมื่อถูกกัดมาสักระยะหนึ่ง บริเวณแผลของคุณจะเริ่มมีอาการบวม และแดง คุณสามารถใช้แพ็กน้ำแข็ง หรือผ้าสะอาดห่อน้ำแข็งประคบที่บริเวณแผลเพื่อบรรเทาอาการบวมแดงได้
- การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ เมื่อถูกตะขาบกัดคุณจะปวดบริเวณแผลเป็นอย่างมาก โดยคุณสามารถใช้ยา บรรเทาอาการปวด เช่น อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ พาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นต้น หรือยาต้านการอักเสบอย่าง ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นั่นเอง ในกรณีที่ต้องการทานยาเพื่อบรรเทาอาการคุณควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญก่อนรับประทานทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของคุณ
- หากพบอาการรุนแรง หรืออาการคุณไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วันให้ปรึกษาแพทย์ทันที คุณอาจต้องใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ซึ่งต้องอยู่ในการสั่งของแพทย์เท่านั้น
บทความที่น่าสนใจ : สัตว์มีพิษกัด ต้องทำอย่างไร สอนวิธีปฐมพยาบาล และ สอนลูกน้อยให้รู้จักสัตว์ร้าย
ถึงแม้ว่าตะขาบนั้นเราจะไม่ได้พบเจอบ่อยมากนัก หรือว่าอาการหลังถูกกัดจะไม่ได้รุนแรง เราก็ควรที่จะระมัดระวังตัวเองให้ดี หมั่นเก็บบ้าน ทำความสะอาดให้เรียบร้อย เพื่อที่น้องจะได้ไม่เข้าไปอาศัยอยู่ หรือแม้แต่กิจกรรมในสวนที่คุณอาจไปรบกวนตะขาบโดยไม่รู้ตัวและถูกกัดเข้า คุณควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที หรือหากมีอาหารที่ดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นก็ควรพบแพทย์ในที เพราะการที่ไม่เคยพบบุคคลที่มีอาการรุนแรงจนถึงเสียชีวิตมาก่อน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่เป็นนะคะ
ที่มา : pattayaunlimited, pestworld, medicalnewstoday, healthline
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!