X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รู้ลึกเรื่องการทำ "อาหารทารก" ที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด

บทความ 5 นาที
รู้ลึกเรื่องการทำ "อาหารทารก" ที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด

พอลูกน้อยอายุได้สัก 6 เดือน คุณแม่มักจะเฟ้นหาอาหารทารกที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ให้ลูกน้อยของคุณ แต่อาหารทารกในท้องตลาดก็มีราคาสูงเหลือเกิน ถ้าทำเองได้ก็คงประหยัดเงินได้โขอยู่ แต่อาหารทำเองจะยังคงคุณค่าทางโภชนาการเหมือนที่วางขายกันไหม หรือต้องใส่อาหารเสริมและวิตามินอะไรเพิ่มบ้าง

รู้ลึกเรื่องการทำ “อาหารทารก” ที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด

รู้ลึกเรื่องทำอาหารทารก

รู้ลึกเรื่องการทำ “อาหารทารก” ที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด

จริง ๆ แล้ว นอกจากอาหารทารกทำง่ายและประหยัดเงินได้มากโขแล้ว มันยังทำให้มีประโยชน์สูงสุดได้ด้วย

ประโยชน์ที่ได้จากการทำอาหารเองให้ลูกน้อย

  • หาวัตถุดิบไม่ยากและวิธีทำก็ง่ายมาก ไม่ยุ่งยาก
  • ปรุงรสให้ถูกปากลูกน้อยได้ตามใจชอบ อยากใส่อะไรก็ใส่ได้ขอให้สะอาดปลอดเชื้อและมีคุณค่าทางอาหารที่ทารกต้องการเท่านั้นเอง เหมือนอาหารทำทานเองที่บ้านที่มีรสชาติถูกปากทุกคน หาซื้อที่ไหนไม่ได้
  • ประหยัดเงินเพราะสามารถเตรียมให้พอดีกับที่ลูกต้องการในแต่ละมื้อได้ ไม่มีของเหลือทิ้ง
  • เลือกวัตถุดิบที่สดใหม่ปลอดสารตามที่ต้องการ
รู้ลึกเรื่องการทำ อาหารทารก ที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด

นอกจากอาหารทารก จะทำง่าย และประหยัดเงินแล้ว มันยังทำให้มี ประโยชน์สูงสุดได้ด้วย

อาหารสมอง

Advertisement

ชีวิตคนในสังคมปัจจุบันนี้ที่มีการแข่งขันสูงและทุกคนต้องใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด ทำให้พ่อแม่หลายคนที่ยังต้องทำงานอยู่คิดว่าตัวเองคงไม่มีเวลาทำอาหารให้ลูกน้อยเองและไม่รู้ว่าคุณทำอาหารที่มีโภชนาการสูงให้ลูกได้ในราคาที่ถูกกว่าอาหารที่วางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตได้ง่าย ๆ

เริ่มด้วยเกร็ดความรู้เบื้องต้นง่าย ๆ สำหรับพ่อแม่ที่อยากทำอาหารให้ลูกน้อยเอง

  • เอา ผักผลไม้ต่าง ๆ ที่คุณอยากให้ลูกลิ้มลองมาบดหรือปั่นรวมกับนมธรรมดาหรือนมสูตรสำหรับทารกหรือน้ำก็ได้ แล้วก็แบ่งให้พอดีกับแต่ละครั้งที่ต้องใช้ แล้วแช่แข็งไว้ วิธีนี้ช่วยให้คุณประหยัดเวลาเตรียมอาหารลูกได้และยังสะดวกใช้เวลาเดินทางอีกด้วย
  • ทำอาหารของตัวคุณและของลูกน้อยไปพร้อม ๆ กัน ช่วยให้คุณประหยัดเวลาได้มากขึ้นและไม่เหนื่อยเกินไป
  • อาหารบางอย่างที่ผู้ใหญ่ทานได้ทารกก็ทานได้เช่นกัน ขอแค่อย่าใส่เครื่องปรุงรสก็พอ

คำถามคาใจสำหรับพ่อแม่ที่อยากทำอาหารให้ลูกเอง

  • ใช้อุปกรณ์ครัวที่มีอยู่แล้วได้เพราะวิธีทำอาหารทารกส่วนมากจะเป็นการทำให้อาหารพวกผักผลไม้ ซีเรียล และธัญพืชต่าง ๆ สุกและนิ่มลง ด้วยการนึ่งหรือใช้เตาไมโครเวฟ แล้วบดหรือปั่นให้เป็นเละ แต่ต้องระวังไม่ให้มีเมล็ดหรือกากพอที่จะติดคอลูกได้ และถ้าแบ่งอาหารที่ทำไว้แล้วใส่ภาชนะเล็ก ๆ อย่างที่ทำน้ำแข็งแช่แข็งไว้สำหรับใช้มื้อต่อไปหรือไว้ใช้ตอนเดินทางก็จะสะดวกมากขึ้น  อย่าลืมหาภาชนะเล็ก ๆ ที่เป็นแก้วมีฝาปิดไว้สำหรับเก็บอาหารที่กินไม่หมดไว้ป้อนลูกมื้อต่อไปด้วย
  • หลังจากทำให้นิ่มแล้วบดหรือปั่นให้เหลวแล้ว ก็ปรุงแต่งรสชาติได้ตามใจให้มีสารอาหารครบถ้วนที่ทารกต้องการ
  • การนึ่งหรือใช้ไมโครเวฟเป็นวิธีเตรียมอาหารทารกที่ยังคงคุณค่าทางโภชนาการไว้ได้ดีที่สุด

ทารกเป็นวัยที่ยังไม่มีภูมิต้านทานโรคที่ดีพอ ดังนั้นถ้าคุณมีเครื่องล้างจานที่มีระบบฆ่าเชื้อโรคด้วยการนึ่งจะกำจัดเชื้อโรคที่ติดอยู่ตามช้อนหรือใบมีดของเครื่องบดปั่นได้ดี วิธีนี้ทำให้คุณมั่นใจ 100% ว่าอุปกรณ์เตรียมอาหารทุกอย่างที่ใช้ปลอดเชื้อจริง ๆ

 

อาหารทารกทำเอง

อาหารทารกทำเอง

ปัจจัยอื่นที่ต้องใส่ใจเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูก

  • ทีนี้คุณก็เห็นแล้วว่าการทำอาหารทารกนั้นง่ายกว่าที่คิดไว้มาก แต่คุณก็ยังต้องพิถีพิถันในการตระเตรียมผักผลไม้ที่นำมาทำอาหารให้แน่ใจว่าสะอาด เพื่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรงและปลอดจากเชื้อโรคต่าง ๆ เพราะทารกน้อยไม่มีภูมิต้านทานโรคที่ดีพอนั่นเอง
  • ปอกเปลือกผลไม้ออกให้หมดและดูให้แน่ใจว่าไม่มีเมล็ดหลงเหลืออยู่ อย่างที่รู้กันดีว่าเด็กทารกยังไม่มีภูมิต้านทานโรคที่แข็งแกร่งพอที่จะรับมือกับสารเคมีป้องกันศัตรูพืชที่ตกค้างสะสมอยู่ตามเปลือกผลไม้ ส่วนเมล็ดที่เล็กมากก็อาจติดคอเด็ก ทำให้เสียชีวิตได้
  • งดน้ำตาลและเครื่องปรุงรสทุกชนิด อาหารสำหรับเด็กที่จะปรุงแต่งรสชาติด้วยน้ำตาลได้ ต้องเป็นอาหารสำหรับเด็กที่โตพอที่จะร่วมโต๊ะอาหารแบบเดียวกับผู้ใหญ่ได้เท่านั้น
  • น้ำผึ้งมีประโยชน์ก็จริง แต่ไม่เหมาะสำหรับเด็กอ่อนที่อายุยังไม่ถึง 3 ขวบ
  • ห้ามเด็กวัยก่อน 1 ขวบ ทานไข่ดิบ ๆ เป็นอันขาด เพราะเด็กอาจแพ้ได้ แต่ถ้าเป็นไข่คนที่ทำให้สุกแล้วสำหรับเด็กอายุระหว่าง 8 – 10 เดือนก็อนุโลมได้
  • กุมารแพทย์ไม่แนะนำให้เด็กต่ำกว่า 3 ขวบกินเนยถั่ว เพราะบางคนแพ้ถั่วจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • งดให้นมวัวกับเด็กวัยต่ำกว่า 1 ขวบ
  • ถ้าอยากให้ลูกลองอาหารใหม่ ๆ ค่อย ๆ ให้ลองทีละอย่าง แล้วเว้นไปอีกสัก 3-4 วันถึงให้ลองตัวใหม่ จะได้รู้ว่าอาหารทารกตัวไหนที่ทำให้เด็กแพ้หรือย่อยยาก
  • งดเว้นผลไม้พวกเบอร์รี่ทุกชนิดและองุ่น เพราะเมล็ดจากผลไม้พวกเบอร์รี่และเปลือกองุ่นทำให้เด็กติดคอและเสียชีวิตได้ ยกเว้นสตรอเบอร์รี่ที่ได้ปั่นอย่างละเอียดแล้ว แต่ที่ดีที่สุดคืองดไปเลยเพื่อความปลอดภัย
  • พ่อแม่ไม่ต้องรีบให้ลูกเริ่มทานเนื้อสัตว์เพื่อเสริมสร้างโปรตีนเพราะทารกได้รับโปรตีนอย่างพอเพียงไม่ว่าจะจากนมแม่หรือนมผงสูตรสำหรับทารก พอครบ 1 ขวบ ก็สามารถดื่มนมสูตรเดียวกับที่ผู้ใหญ่ดื่มได้ จึงไม่ต้องเป็นกังวลในเรื่องนี้
  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำผลไม้ทำให้ผลไม้นิ่มลงหรือปั่นรวมไปกับผลไม้ให้ลูกดื่ม เพราะในน้ำผลไม้มีส่วนผสมของน้ำตาลสูงมาก ซึ่งจะทำให้เด็กฟันผุ
รู้ลึกเรื่องการทำ อาหารทารก ที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด

น้ำผึ้งมีประโยชน์ก็จริง แต่ไม่เหมาะสำหรับเด็กอ่อนที่อายุยังไม่ถึง 3 ขวบ

อะไรที่เด็กชอบกินและมีประโยชน์

เมื่อคุณรู้วิธีเตรียมอาหารทารกด้วยตัวเองและรู้ว่าอะไรที่ไม่ดีต่อลูกน้อยแล้ว คุณก็ควรจะรู้ด้วยว่าอะไรที่ดีและเด็กชอบกิน ความจริงแล้วเด็กมักจะชอบทุกอย่าง แต่คุณคือคนตัดสินใจเลือกว่าอะไรดีที่สุดสำหรับลูก

  • อโวคาโด เป็นตัวเลือกอันดับแรกเพราะนอกจากจะอร่อยแล้วยังบดปั่นได้ง่ายและที่สำคัญคือมีคุณค่าทางอาหารสูง
  • ลูกแพร์และแอปเปิล เป็นผลไม้ที่หาได้ง่าย ราคาไม่สูงมาก ควรมีติดบ้านสำรองไว้ นึ่งหรือเข้าเวฟให้นิ่มแล้วทำให้เละก่อน
  • ถั่วเขียวและผักประเภทถั่วธัญพืชควรนึ่งแล้วนำมาบดให้เละผสมน้ำหรือนมสำหรับทารก ถ้าใช้อาหารทารกสูตรนี้ ต้องใช้ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง
  • ลูกพีชและลูกพลัมต้องเอามานึ่งหรือเวฟก่อนแล้วตระเตรียมตามต้องการ
  • ถั่วต่าง ๆ ที่ไม่ใช่สีเขียวต้องล้างให้สะอาด ทำให้สุกหมดทุกเม็ด แล้วบดให้เละผสมน้ำนิดหน่อย เพิ่มรสชาติและสารอาหารด้วยคอตเตจชีสลงไปก็ได้
  • กล้วยหอมที่ใช้ป้อนเด็กต้องเป็นกล้วยหอมที่สุกจนเกือบงอมแล้วเท่านั้น
  • ถ้าอยากให้ลูกทานโอ๊ตมีลอบแห้งต้องเทนมลงไปเพื่อทำให้นิ่มลง
  • อย่าลืมว่าโอ๊ตมีลที่แพ็คขายเป็นถุงมีน้ำตาลผสมอยู่เยอะมาก
  • ฟักทองเป็นแหล่งวิตามินและสารอาหารที่หลากหลายและมีโภชนาการสูง ถ้าคุณหาซื้อฟักทองปลอดสารที่บดเละแล้วไม่ได้ คุณก็ต้องทำให้นิ่มด้วยวิธีนึ่งหรือเวฟ แล้วมาบดให้เละเหมือนผักผลไม้อื่น ๆ เช่นกัน
อาหารทารก

ย่าลืมว่าโอ๊ตมีลที่แพ็คขายเป็นถุงมีน้ำตาลผสมอยู่เยอะมาก

The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

บทความที่เกี่ยวข้อง :

Healthy Children.org – Starting Solid Foods

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สูตรอาหารเสริมสำหรับเด็กที่เพิ่งหย่านม

อาหารเสริมก่อนนอน ช่วยให้ลูกหลับดีขึ้น

3 สารอาหารสำคัญ สุดยอดเคล็ด(ไม่)ลับ เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย ให้เขาเก่งกว่าใคร

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • รู้ลึกเรื่องการทำ "อาหารทารก" ที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด
แชร์ :
  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว