X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ พ่อขอแชร์ประสบการณ์ ที่เคยใช้กับลูกได้ผลมาแล้ว!!

บทความ 5 นาที
วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ พ่อขอแชร์ประสบการณ์ ที่เคยใช้กับลูกได้ผลมาแล้ว!!วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ พ่อขอแชร์ประสบการณ์ ที่เคยใช้กับลูกได้ผลมาแล้ว!!

วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ พ่อขอแชร์ประสบการณ์..ทำอย่างไรให้ลูกน้อยหายขาดจากการติดมือถือ - แท็บเล็ต ลดปัญหาลูกก้าวร้าว สมาธิสั้น และเป็นเด็กเก็บกด

วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ ให้หายขาด

ต้องยอมรับว่า ยุคสมัยนี้คนส่วนใหญ่มักจะติดโทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต โดนเฉพาะคนเป็นพ่อเป็นแม่ จนบางครั้งละลเยการทำหน้าที่ของตนไป พอมารู้อีกทีลูกก็กลายเป็นเด็กติดจอไปแล้ว คราวนี้ก็มาหา วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ ติดแท็บเล็ตกันยกใหญ่

สำหรับคุณพ่อท่านนี้ ที่ใช้ชื่อในพันทิปว่า Midnight_Gee  ขอแชร์ประสบการณ์ เมื่อลูกสาววัย 2 ขวบครึ่งเริ่มติดแท็ปเล็ต และนี่คือมาตรการที่ผมใช้… เรื่องราวมีอยู่ว่า

สาเหตุที่ผมไม่ให้ลูกสาวเล่นสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตนี่ต้องเล่าย้อนไปเมื่อราว 3 ปีก่อน ลูกน้อยยังซุกตัวอยู่ในท้องคุณแม่เป็นเดือนที่ 7 ครั้งนั้นผมมีโอกาสได้ติดรถรุ่นพี่คนหนึ่งไปทำงานที่ต่างจังหวัดด้วยกัน พี่เค้าเลยถือโอกาสพาลูกชายวัย 5 ขวบไปเที่ยวด้วย แต่เนื่องจากเรานัดกันเช้ามากหนูน้อยเลยถูกอุ้มจากเตียงมานอนต่อในรถ

เวลาผ่านไปราวชั่วโมงนึง เด็กน้อยก็ตื่นมาด้วยสีหน้างงๆว่าตัวเองอยู่ที่ไหนมาทำอะไร แต่คำแรกที่เค้าพูดขึ้นมาก็คือ

 

“พ่อ ไอแพดอยู่ไหน”

พ่อเด็กตอบกลับว่า “สวัสดีอาก่อนสิลูก”

เด็กน้อยสวนทันควัน “ไม่ เอาแท็บเล็ตมา”

พ่อเลยเริ่มดุ “เด็กไม่ดี พ่อไม่ให้หรอก”

แล้วเจ้าหนูน้อยก็เริ่มอาละวาดอยู่ที่เบาะหลัง ร้องไห้โวยวาย ทุบเบาะ พลางตะโกน

“เอาแท็ปเล็ตมาๆ หนูเกลียดพ่อแล้ว พ่อไม่รักหนู…จอดรถเดี๋ยวนี้ หนูจะลงตรงนี้”

 

อาละวาดอยู่ได้สัก 2 นาที ตัวพ่อก็ใจอ่อนหยิบแท็บเล็ตส่งให้ เท่านั้นแหละกลายเป็นคนละคน นั่งเล่นเกม เปิดยูทูปดูการ์ตูน เงียบกริบจนผมนึกว่าหลานลงจากรถไปแล้ว

หลังจากที่เด็กน้อยได้แท็บเล็ตไปครอบครองเค้าก็ไม่วางมันอีกเลย ทั้งตอนจอดกินข้าวก็ต้องให้พ่อป้อนเพราะมือไม่ว่าง ทั้งระหว่างรอพ่อประชุมเป็นชั่วโมงก็ไม่มีเสียงบ่นสักแอะ…แท็บเล็ตนี่มันช่างวิเศษจริงๆ

หลังเหตุการณ์นั้นไม่กี่วัน ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับรุ่นน้องคนหนึ่งซึ่งเป็นแพทย์เฉพาะทางจิตเวชเด็ก ผมเล่าเหตุการณ์ที่เพิ่งพบเจอมาให้เธอฟัง คุณหมอถอนหายใจแล้วพูดกับผมว่า “พี่รู้ป่ะ วันๆ นี่หนูไม่ต้องทำอะไร นั่งบำบัดเด็กติดเกม ติดแท็ปเล็ต มือถือนี่แหละ”

ในฐานะที่ผมเป็นว่าที่คุณพ่อผมจึงสนใจฟังเธอเป็นอย่างมาก ขอสรุปให้ฟังสั้นๆ เท่าที่พอจะจำได้ว่า

  1. เด็กมักจะสมาธิสั้น เพราะแท็บเล็ตสามารถตอบสนองความต้องการได้รวดเร็วดั่งใจ เพียงปลายนิ้วสัมผัส อยากเปลี่ยนเกม อยากเปลี่ยนไปดูการ์ตูนตอนอื่น เรื่องอื่น เพียงลากนิ้วเบาๆ ก็ได้ดั่งใจแล้ว เด็กๆ จึงไม่ได้เรียนรู้การรอ การตั้งใจดูหรือเล่นอะไรตั้งแต่ต้นจนจบ
  2. เด็กมักก้าวร้าว อันนี้ขึ้นกับว่าเล่นเกมที่มีความรุนแรงเกินวุฒิภาวะรึเปล่า เด็กมักจะจดจำสิ่งที่ตัวละครในเกมทำไปเล่นในชีวิตจริงบ้างโดยลืมไปว่า คนจริงๆนั้นเจ็บได้ เสียใจได้ ตายได้ และไม่สามารถกดรีเซ็ทได้เหมือนในเกม ส่วนที่ก้าวร้าวอีกแบบคือ ติดเกมมากจนแสดงออกแบบก้าวร้าวเพื่อให้ได้เล่นเกม แล้วผลที่ได้คือพ่อแม่ก็ยอมให้เล่น เด็กจึงจำว่าต้องก้าวร้าวแล้วจะได้เล่น
  3. เด็กมักจะเก็บกด หมกมุ่น และขาดการปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เข้าหาใครไม่เป็น ผูกสัมพันธ์กับคนอื่นไม่เป็น เพราะขาดการเรียนรู้กระบวนการเหล่านี้ เนื่องจากเกมและแอปฯ ต่างๆ ไม่ได้สอน

 

ผมตั้งใจฟังคุณหมอเล่าแล้วก็ตั้งปฎิญาณตนเลยว่าจะไม่ให้เหตุการณ์แบบนั้นเกิดขึ้นกับครอบครัวเราเด็ดขาด

แต่เมื่อเวลาผ่านไป ลูกน้อยของเราโตขึ้นทุกวันๆ แม้ว่าตัวผมกับภรรยาจะไม่ได้ให้ลูกเล่นมือถือ แท็บเล็ต แต่เรานี่แหละที่ใช้มันให้ลูกเห็นทุกวัน จนวันนึงเค้าก็เอ่ยปากขอว่า “หนูอยากดูเอบีซียูทูปค่ะ” แล้วเราก็เปิดให้เค้าดูเพราะหวังว่าการฟังเพลงภาษาอังกฤษนั้นจะเป็นประโยชน์กับเด็ก

แล้วเด็กน้อยก็เริ่มขอดูทุกคืนก่อนนอน ยิ่งนับวันยิ่งขอดูบ่อยขึ้นถี่ขึ้น เล่นโทรศัพท์เป็นมากขึ้น เริ่มกดเลือกเพลงเองเป็น กดหยุด กดเปลี่ยนเพลงเป็น จนผมเริ่มรู้สึกว่าเด็กน้อยเริ่มติดมันเข้าแล้ว

 

ผมจึงเป็นฝ่ายเริ่มคุยกับภรรยาอย่างจริงจังเพื่อออกมาตรการหักดิบ ด้วยการงดเล่นโทรศัพท์ให้ลูกเห็น ห้ามลูกจับโทรศัพท์และแท็ปเล็ตของพ่อกับแม่เด็ดขาด ไม่ว่าลูกจะขอร้อง อ้อนวอน หรือร้องไห้โวยวายก็ห้ามใจอ่อน

ทั้งตัวพ่อและแม่ปฎิบัติตามมาตรการนี้ได้เป็นอย่างดี ถึงขั้นที่ผมต้องไปแชทไลน์คุยงาน ตอบลูกค้าในห้องน้ำนานเกือบชั่วโมงก็เคยทำมาแล้ว ทั้งต้องพยายามหาสิ่งอื่นมาดึงดูดความสนใจของเค้า ไม่ว่าจะพาเล่นกีตาร์ ร้องเพลง ปั่นจักรยาน เล่นการ์ดคำศัพท์ อ่านนิทาน ซึ่งต้องใช้เวลาเยอะกว่าการส่งแท็บเล็ตให้เค้าเล่นอย่างแน่นอน

เวลาผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ ผลที่ได้คือ เด็กน้อยเข้าใจแล้วว่าโทรศัพท์มึไว้ใช้งาน ใช้คุยงาน ใช้คุยกับคนที่เราคิดถึง ไม่ได้มีไว้เล่นไว้ดูการ์ตูน และไม่เคยขอเล่นอีกเลย แถมหลายครั้งที่เห็นปู่เล่นแท็บเล็ตยังเข้าไปเรียกปู่ว่า “ปู่ๆๆ มาเล่นกับหนูดีกว่า” แล้วก็ชวนปู่ไปวาดรูป อ่านนิทาน สนุกสนานตามธรรมชาติของเด็ก

 

ข้อคิดหนึ่งของผมจากเหตุการณ์ข้างต้นนี้คือ

“สำหรับเด็กน้อย พ่อกับแม่คือโลกจริงๆ ของเขา ลูกควรจะได้เรียนรู้ทุกอย่างผ่านโลกจริงใบนี้อย่างถ่องแท้ก่อนจะเริ่มไปเรียนรู้โลกเสมือนจากอินเทอร์เน็ต”

 

มือของพ่อแม่มีหน้าที่ประคองมือน้อยๆ ของลูกขีดเขียนตัวหนังสือ และรูปต่างๆ แล้วมือน้อยนั้นก็จะได้รับรู้ทั้งความอบอุ่นจากมือ อ้อมแขน น้ำเสียงของพ่อแม่ไปพร้อมกับการขีดเขียนนั้น ซึ่งคงดีกว่าปล่อยให้มือเล็กๆ นั้นสไลด์ไปบนหน้าจอโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตเพียงลำพัง และสัมผัสได้เพียงไออุ่นจากความร้อนของจอสี่เหลี่ยมอย่างแน่นอน

ครั้งต่อไปที่คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายต้องเลือกว่าจะยื่นกระดาษกับดินสอสีแล้วใช้เวลาร่วมกับเค้า หรือยื่นแท็บเล็ตให้ลูกไปนั่งดูเงียบๆ พึงระลึกไว้สักหน่อยว่าเด็กน้อยที่นั่งอยู่ตรงหน้าคุณนั้นไม่เคยขอคุณมาเกิดเลย มีแต่พ่อๆ แม่ๆ อย่างเราๆ นี่แหละที่นับวันเฝ้ารอวันที่จะได้เห็นหน้าเค้า ดังนั้นจงมอบสิ่งที่มีค่าที่สุดให้เค้าเถิด สิ่งมีค่าที่ไม่ต้องไปหาซื้อที่ไหน…“เวลา”

 

บทความจากพันธมิตร
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ

วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ

 

ลูกติดมือถือ มีผลเสียอย่างไร

สมาคมกุมารแพทย์แห่งญี่ปุ่นออกโปสเตอร์เตือนอันตรายของการใช้โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน ไว้ดังนี้

  1. ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ
  2. ผลการเรียนย่ำแย่ลง
  3. สมรรถภาพทางกายลดลง
  4. สายตาแย่ลง
  5. พัฒนาการทางสมองช้าลง
  6. ความสามารถในการสื่อสารลดลง

ผลกระทบต่อการต้องมองจอโทรศัพท์ทำให้สายตาเสีย นอนหลับไม่เพียงพอ และขาดการออกกำลังกายจนสุขภาพถดถอยลงนั้นเป็นเรื่องที่ทราบกันดี แต่ผลกระทบต่อสมองและการเรียนก็ได้รับการพิสูจน์โดยผลการสำรวจแล้ว

นอกจากนี้ Dana Suskind รองศาสตราจารย์สาขากุมารแพทย์ศัลยกรรมมหาวิทยาลัยชิคาโกกล่าวว่า ภาษาคืออาหารสำหรับการพัฒนาสมองทารกในช่วง 2-3 ปีแรกของชีวิต หากพ่อแม่ติดมือถือ มัวแต่จดจ่อกับสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่นๆ ก็จะไม่ได้พูดคุยกับลูกมากพอ ซึ่งการพูดคุยนั้นสำคัญต่อพัฒนาการสมองของเด็กอย่างมาก ทารกที่พ่อแม่พูดคุยด้วยจะสามารถสะสมคำศัพท์ในหัวและเรียนรู้ได้เร็วกว่าทารกที่ถูกปล่อยให้นั่งอยู่ท่ามกลางความเงียบค่ะ

 

ที่มา: pantip

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

มีลูกใช้เงินเท่าไหร่ เลี้ยงลูก 1 คน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

Youtube Kids เปิดบริการในไทย ชูฟีเจอร์เด่น พ่อแม่คุมเนื้อหา และจํากัดเวลาดูได้

พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่พาลูกล้มเหลว ควรทำแบบนี้!

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ พ่อขอแชร์ประสบการณ์ ที่เคยใช้กับลูกได้ผลมาแล้ว!!
แชร์ :
  • ลูกติดมือถือ แท็บเล็ต จะแก้ปัญหายังไงดี?

    ลูกติดมือถือ แท็บเล็ต จะแก้ปัญหายังไงดี?

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • ลูกติดมือถือ แท็บเล็ต จะแก้ปัญหายังไงดี?

    ลูกติดมือถือ แท็บเล็ต จะแก้ปัญหายังไงดี?

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ