X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ยาคุมเม็ดฉุกเฉิน ไม่ควรกินกี่ครั้ง พร้อมเหตุผลที่แพทย์แนะไม่ควรใช้บ่อย

บทความ 5 นาที
ยาคุมเม็ดฉุกเฉิน ไม่ควรกินกี่ครั้ง พร้อมเหตุผลที่แพทย์แนะไม่ควรใช้บ่อย

ยาคุมเม็ดฉุกเฉิน อีกหนึ่งการแก้ปัญหาที่ทั้งคนทั่วไปและแพทย์แนะนำพร้อมย้ำเสมอว่า "ควรใช้ในกรณีที่ฉุกเฉินหรือพลาดจริงๆ" เพราะนั่นคือวิธีการคุมกำเนิดที่ควรใช้หลังการมีเพศสัมพันธ์ทันที เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผน ซึ่งไม่ควรนำมาใช้คุมกำเนิดตามปกติและไม่ใช้วิธีที่ดีในการวางแผนครอบครัวด้วย!

 

ในอดีตเคยมีการเรียกยาเม็ดจำพวกนี้ว่า "ยาคุมหลังร่วมเพศ" หรือ "ยาคุมชั่วคราว" หรือแม้กระทั่ง "Morning After" ที่เป็นชื่อเรียกที่ชวนให้คนเข้าใจผิด และนำไปสู่การใช้ยาแบบผิดวัตถุประสงค์ ที่แฝงมาด้วยผลข้างเคียงในร่างกายของผู้หญิงเราในระยะยาว

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ไม่ใช่การคุมกำเนิดแบบธรรมดาที่คุ้นเคยอย่างเช่น ยาเม็ด 21 เม็ด หรือ ยาเม็ด 28 เม็ด แต่เป็นการผลิตขึ้นมาโดยมีสูตรเฉพาะเพื่อให้ผู้หญิงไว้ใช้ในช่วงที่เกิดปัญหาและไม่มีความประสงค์หรือต้องการตั้งครรภ์เท่านั้น

ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย จะมีชื่อที่คุ้นหูอยู่บ่อยครั้ง อาทิ โพสตินอร์, มาดอนนา, แมรี่พิงค์ ที่มีจำนวน 2 เม็ด โดยยาจะมีปริมาณของลีโวนอร์เจสเตรลที่ 0.75 มิลลิกรัม และแบบ 1 เม็ด ที่รู้จักในชื่อของเมเปิ้ลฟอร์ท, แทนซี่ วัน ที่มีปริมาณยาลีโวนอร์เจสเตรลประกอบอยู่ที่ 1.5 มิลลิกรัม ที่ให้ประสิทธิภาพครอบคลุมไม่ต่างจากชนิด 2 เม็ด แถมยังให้ความสะดวกสบายในแง่ที่ไม่ต้องแบ่งเวลากินให้ลืม

หมายเหตุ : วิธีกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉินชนิดเม็ดให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การกินยาให้ไวที่สุดหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ทันที โดยไม่ควรเกิน 72 ชม. ทางการแพทย์เน้นย้ำเรื่องการใช้ยาคุมฉุกเฉิน โดยได้ให้เหตุผลว่าถึงแม้จะเป็นการคุมกำเนิดที่ช่วยในการควบคุมการตั้งครรภ์ แต่ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าจะปลอดภัย 100% นอกจากนี้ยังไม่รองรับโรคติดต่อที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์อีกด้วย

บทความที่น่าสนใจ ราคายาคุมฉุกเฉิน แต่ละยี่ห้อเท่าไหร่บ้าง เทียบราคาอย่างละเอียด

 

ยาคุมเม็ดฉุกเฉิน ไม่ควรกินกี่ครั้ง พร้อมเหตุผลที่แพทย์แนะไม่ควรใช้บ่อย

 

ถอด 5 ข้อสงสัย ทำไม ยาคุมเม็ดฉุกเฉิน ถึงไม่ควรใช้เกินที่แพทย์แนะ

  1. ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน เมื่อเทียบกับวิธีการคุมกำเนิดชนิดอื่นแล้ว นับเป็นการคุมกำเนิดที่ประสิทธิภาพต่ำ และไม่ควรใช้ติดต่อกัน
  2. ยาคุมกำเนิดชนิดฉุกเฉินมีปริมาณของฮอร์โมนที่ค่อนข้างสูงมาก สูงกว่ายาคุมปกติ (21 หรือ 28 เม็ด) อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงและอาการผิดปกติต่างๆ เช่น อาการคลื่นไส้, อาเจียน, เวียนหัว, ประจำเดือนเลื่อน
  3. ยาฉุกเฉินยิ่งใช้บ่อยยิ่งทำให้ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดต่ำลงเรื่อยๆ เท่ากับว่าโอกาสในการตั้งครรภ์ก็จะเพิ่มมากขึ้น
  4. ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน มีหน้าที่ป้องกันการตั้งครรภ์ ด้วยวิธีการยับยั้งไข่ตก ทำให้การเคลื่อนตัวของอสุจิช้าลง รวมไปถึงขัดขวางการฝังตัวอ่อน นั่นหมายความว่า ถ้าเกิดวันที่กินยาเป็นวันหลังไข่ตก เท่ากับว่าไม่มีประโยชน์อะไรที่จะป้องกัน
  5. ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินทั้งแบบ 1 หรือ 2 เม็ด ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ และมีทางเลือกที่ดีกว่าในการคุมกำเนิด อาทิ ถุงยางอนามัย, ยาเม็ดคุมกำเนิดรายเดือน, การฝังยาคุม หรือ ห่วงอนามัย เป็นต้น

 

รวมความเชื่อแบบผิดๆ ที่มีต่อ “ยาคุมเม็ดฉุกเฉิน”

อย่างที่บอกข้างต้นว่ามีหลายครั้งที่มีความเข้าแบบผิดๆ ว่า การกินยาคุมฉุกเฉินหลังการมีเพศสัมพันธ์ จะทำให้ไม่ท้อง ซึ่งเป็นการเข้าใจแบบเหมารวมที่ผิด เพราะยาฉุกเฉินมีหน้าที่แค่ “ช่วยลดโอกาสในการตั้งครรภ์จากเดิมเท่านั้น” 

นอกเหนือไปกว่านั้นยังมีบางคนเข้าใจว่า “การกินยาคุมชนิดนี้สามารถทำให้เกิดภาวะแท้งได้” ซึ่งความเชื่อและความเข้าใจข้อนี้ก็ปิดเช่นกัน อย่างที่บอกว่ายาตัวนี้เพียงแค่ช่วยลดโอกาสในการตั้งครรภ์ แต่ถ้าร่างกายของเราถึงวันไข่ตก แถมยังมีการปฏิสนธิของตัวอสุจิเข้าไปแล้วด้วย ก็เปลืองเงินเปล่า

หลายคนเคยตั้งคำถามว่า “การที่มีเลือดออกกะปริบกะปรอยหลังการกินยาฉุกเฉินนั้น เป็นเรื่องที่อันตรายหรือไม่” ต้องตอบก่อนว่าด้วยตัวยานั้นมีการปรับฮอร์โมนแบบฉับพลัน ซึ่งการกระตุ้นของยาตัวดังกล่าวย่อมส่งผลข้างเคียง โดยในบางครั้งอาจมีเลือดกะปริบกะปรอยทันทีหลังกินยา, ประจำเดือนมาเร็วหรือช้ากว่าปกติ, ประจำเดือนหมดไวกว่าปกติ ซึ่งอาการดังกล่าวนับเป็นผลข้างเคียงโดยปกติ แต่ถ้าหากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายวัน นานเกินสัปดาห์ หรือในเดือนถัดไปยังมีอาการเหมือนเดิม ควรไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัย

 

ยาคุมเม็ดฉุกเฉิน ไม่ควรกินกี่ครั้ง พร้อมเหตุผลที่แพทย์แนะไม่ควรใช้บ่อย

ยาคุมฉุกเฉิน สรุปแล้วเป็นอันตรายหรือว่าปลอดภัย?

ข้อมูลจากสถาบันสูตินรีแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (American College of Obstetrics and Gynecology : ACOG) เคยศึกษาและวิจัยผลกระทบข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยพบว่าการใช้อย่างถูกวิธีและใช้เฉพาะกรณีฉุกเฉินจริงๆ ย่อมไม่ก่อผลกระทบใดที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ นอกจากนี้ “องค์การอนามัยโลก” ยังได้บรรจุยาคุมเม็ดฉุกเฉินไว้ในบัญชียา พ.ศ.ปี 2539 ด้วย

แต่ในขณะเดียวกันก็มีคำเตือนสำหรับผู้ที่มีประวัติโรคลมชัก, โรคหัวใจ, เลือดแข็งตัว หรือโรคที่เกี่ยวเนื่องกับเส้นเลือดหัวใจ ควรปรึกาาแพทย์ก่อนการใช้ยา หรืออาจจะปรับใช้ยาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนเดี่ยวที่มีความปลอดภัยกว่าแบบผสม แต่อย่างไรก็ตามตั้งแต่มีการผลิตและใช้ยามา ยังไม่พบว่ามีรายงานการเสียชีวิตหรืออาการแทรกซ้อนอื่นที่ร้ายแรงจากการใช้ยาฉุกเฉินนี้

เคยมีการตั้งคำถามว่า “จริงหรือไม่ที่ผู้หญิงหลายคน หันมาใช้ยาคุมฉุกเฉิน” ซึ่งได้คำตอบว่าเป็นจำนวนมากจริง โดยมักเป็นประเทศในแถวยุโรป เนื่องจากการจำหน่ายยาที่อยู่ในรูปแบบง่ายต่อการใช้, มีฮอร์โมนต่อเม็ดที่สะดวกต่อการกิน อีกทั้งยังมีใบกำกับยาชัดเจนที่ถูกต้อง สำหรับแพทย์และผู้ที่ต้องการใช้ยา

 

เพราะยาคุมฉุกเฉินถูกผลิตขึ้นมา เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้เพื่อช่วยลดโอกาสในการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ, การถูกล่วงละเมิดทางเพศ-ข่มขืน, การฉีกขาดของถุงยางอนามัยระหว่างร่วมรัก ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงในอนาคต หรือต้องการคุมกำเนิดในระยะยาว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมและปลอดภัยจะดีกว่า

 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

ราคายาคุมฉุกเฉิน แต่ละยี่ห้อเท่าไหร่บ้าง เทียบราคาอย่างละเอียด

ยาคุมกำเนิดแบบฉีด อีกหนึ่งทางเลือกป้องกันการตั้งครรภ์ที่ได้ผลดี!

ยาคุมฉุกเฉินเม็ดเดียว ผลลัพธ์ไม่ต่างกับแบบ 2 เม็ด

 

ที่มา (1) (2) (3)

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ยาคุมเม็ดฉุกเฉิน ไม่ควรกินกี่ครั้ง พร้อมเหตุผลที่แพทย์แนะไม่ควรใช้บ่อย
แชร์ :
  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

    คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

  • มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

    มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

    คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

  • มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

    มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ