ทารกในครรภ์ น้ำหนักขึ้นสัปดาห์ละกี่กรัม ตลอด 9 เดือนในท้องแม่ อัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักทารกในครรภ์นั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์ค่ะ โดยทั่วไป น้ำหนักของทารกจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นในไตรมาสแรก และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสที่สองและสาม โดยจะเพิ่มสูงสุดในสัปดาห์ที่ 35 จากนั้นน้ำหนักทารกจะเพิ่มขึ้นช้าลงเมื่อใกล้ถึงกำหนดคลอด
ทารกในครรภ์ น้ำหนักขึ้นสัปดาห์ละกี่กรัม
|
อายุครรภ์ |
นำ้หนักขึ้น (ก.) ต่อสัปดาห์ |
8 สัปดาห์ |
7 กรัมต่อสัปดาห์ |
12 สัปดาห์ |
15 กรัมต่อสัปดาห์ |
16 สัปดาห์ |
29 กรัมต่อสัปดาห์ |
20 สัปดาห์ |
59 กรัมต่อสัปดาห์ |
30 สัปดาห์ |
175 กรัมต่อสัปดาห์ |
35 สัปดาห์ |
215 กรัมต่อสัปดาห์ |
36 สัปดาห์ |
188 กรัมต่อสัปดาห์ |
40 สัปดาห์ |
168 กรัมต่อสัปดาห์ |
ขนาดทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์
คุณแม่ต้องการที่จะมั่นใจว่าลูกกำลังเจริญเติบโตตามปกติ จึงต้องติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่ทราบประมาณการน้ำหนักและขนาดของทารกในแต่ละช่วงอายุครรภ์ เพื่อเตรียมตัวสำหรับการคลอด และหากขนาดทารกไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน อาจเป็นสัญญาณของภาวะผิดปกติที่คุณหมอต้องทำการตรวจสอบเพิ่มเติม
ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อขนาดทารกในครรภ์ ได้แก่ พันธุกรรม สุขภาพคุณแม่ โภชนาการแม่ท้อง และและจำนวนทารกในครรภ์ ซึ่งคุณหมอจะตรวจสอบขนาดของทารกได้จากการอัลตร้าซาวด์ และการตรวจภายในค่ะ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดทารก
- พันธุกรรม ขนาดตัวของพ่อแม่มีผลต่อขนาดของทารก หากพ่อแม่ตัวเล็กก็มีแนวโน้มที่ลูกจะตัวเล็กเช่นเดียวกัน
- โภชนาการ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วนจะช่วยให้ทารกเจริญเติบโตได้ดี
- สุขภาพของแม่ โรคประจำตัวบางชนิด เช่น เบาหวาน อาจทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าและตัวเล็กได้
- จำนวนทารก หากตั้งครรภ์แฝด ทารกแต่ละคนอาจมีขนาดเล็กกว่าทารกครรภ์เดี่ยว
วิธีตรวจสอบขนาดทารก
- การอัลตร้าซาวด์ เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดในการตรวจสอบขนาดและพัฒนาการของทารก
- การตรวจภายใน แพทย์จะตรวจขนาดของมดลูกเพื่อประมาณขนาดของทารก
น้ำหนักทารกในครรภ์ แต่ละสัปดาห์
คุณแม่อยากรู้แล้วใช่ไหมว่า ลูกน้อยในท้องคุณแม่แต่ละสัปดาห์ควรมีน้ำหนักเท่าไหร่ เพื่อดูว่า ขนาดตัวลูกในครรภ์เป็นไปตามพัฒนาการหรือไม่ ลูกในครรภ์ตัวเล็กไปไหม ทารกโตช้า หรือตัวเล็กกว่าอายุครรภ์หรือเปล่า สามารถเทียบได้จากตารางด้านล่างนี้
|
อายุครรภ์ |
ความยาว (ซม.)
(ศีรษะถึงก้นกบ) |
นำ้หนัก (ก.) |
8 สัปดาห์ |
1.57 ซม. |
20 กรัม |
9 สัปดาห์ |
2.30 ซม. |
27 กรัม |
10 สัปดาห์ |
3.1 ซม. |
35 กรัม |
11 สัปดาห์ |
4.1 ซม. |
45 กรัม |
12 สัปดาห์ |
5.4 ซม. |
58 กรัม |
13 สัปดาห์ |
6.7 ซม. |
73 กรัม |
|
(ศีรษะถึงปลายเท้า) |
|
14 สัปดาห์ |
14.7ซม. |
93 กรัม |
15 สัปดาห์ |
16.7 ซม. |
117 กรัม |
16 สัปดาห์ |
18.6 ซม. |
146 กรัม |
17 สัปดาห์ |
20.4 ซม. |
181 กรัม |
18 สัปดาห์ |
22.2 ซม. |
223 กรัม |
19 สัปดาห์ |
24.0 ซม. |
273 กรัม |
20 สัปดาห์ |
25.7 ซม. |
331 กรัม |
21 สัปดาห์ |
27.4 ซม. |
399 กรัม |
22 สัปดาห์ |
29.0 ซม. |
478 กรัม |
23 สัปดาห์ |
30.6ซม. |
568 กรัม |
24 สัปดาห์ |
32.2 ซม. |
670 กรัม |
25 สัปดาห์ |
33.7 ซม. |
785 กรัม |
26 สัปดาห์ |
35.1 ซม. |
913 กรัม |
27 สัปดาห์ |
36.6 ซม. |
1055 กรัม |
28 สัปดาห์ |
37.6 ซม. |
1210 กรัม |
29 สัปดาห์ |
39.3 ซม. |
1379 กรัม |
30 สัปดาห์ |
40.5 ซม. |
1559 กรัม |
31 สัปดาห์ |
41.8 ซม. |
1751 กรัม |
32 สัปดาห์ |
43.0 ซม. |
1953 กรัม |
33 สัปดาห์ |
44.1 ซม. |
2162 กรัม |
34 สัปดาห์ |
45.3 ซม. |
2377 กรัม |
35 สัปดาห์ |
46.3 ซม. |
2595 กรัม |
36 สัปดาห์ |
47.3 ซม. |
2813 กรัม |
37 สัปดาห์ |
48.3 ซม. |
3028 กรัม |
38 สัปดาห์ |
49.3 ซม. |
3236 กรัม |
39 สัปดาห์ |
50.1 ซม. |
3435 กรัม |
40 สัปดาห์ |
51.0 ซม. |
3619 กรัม |
41 สัปดาห์ |
51.8 ซม. |
3787 กรัม |
น้ำหนักทารกมากหรือน้อยเกินไปส่งผลต่อการคลอดอย่างไร
น้ำหนักของทารกในครรภ์เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการคลอดค่ะ น้ำหนักที่มากหรือน้อยเกินไปอาจเกิดความเสี่ยงต่อคุณแม่และลูกน้อยได้ ดังนี้
น้ำหนักทารกมากเกินไป (Macrosomia)
- ความเสี่ยงต่อคุณแม่
- ความเสี่ยงต่อลูกน้อย
- บาดเจ็บ: ทารกอาจได้รับบาดเจ็บขณะคลอด เช่น กระดูกไหปลาร้าหัก
- ขาดออกซิเจน: การคลอดยาก อาจทำให้ทารกขาดออกซิเจนได้
- น้ำตาลในเลือดต่ำ: หลังคลอด ทารกอาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- โรคอ้วน: ทารกที่มีน้ำหนักมากตั้งแต่เกิด มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนในอนาคตได้มากกว่า
น้ำหนักทารกน้อยเกินไป (Small for Gestational Age หรือ SGA)
- ความเสี่ยงต่อลูกน้อย
- คลอดก่อนกำหนด: ทารกที่มีน้ำหนักน้อยมักจะคลอดก่อนกำหนด
- ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ: เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ปอด และสมอง
- ติดเชื้อ: ทารกมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจติดเชื้อได้ง่าย
- เจริญเติบโตช้า: หลังคลอด ทารกอาจเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
ปัจจัยที่ส่งผลให้น้ำหนักทารกผิดปกติ
- พันธุกรรม: ขนาดตัวของพ่อแม่มีผลต่อขนาดของทารก
- โภชนาการ: การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ อาจทำให้น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
- สุขภาพของแม่: โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
- การสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกมีน้ำหนักน้อย
- ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์: เช่น รกเกาะต่ำ รกหลุด
วิธีเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์
การเพิ่มน้ำหนักของลูกน้อยในครรภ์นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ใช่แค่การทานอาหารบางชนิดเท่านั้น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม และการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
อาหารที่ควรเน้นในแต่ละไตรมาส
แม้ว่าคุณแม่ต้องการสารอาหารที่ครบถ้วนในทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์ แต่ก็มีอาหารบางชนิดที่ควรเน้นเป็นพิเศษในแต่ละช่วงค่ะ
- ไตรมาสแรก (1-12 สัปดาห์)
เป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่างๆ ของทารกในระยะเริ่มแรก สารอาหารที่ควรเน้นในช่วงนี้ได้แก่ กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 อาหารที่แนะนำได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม (ผักโขม คะน้า) ถั่วต่างๆ เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม
- ไตรมาสที่สอง (13-27 สัปดาห์)
ช่วงนี้ทารกเริ่มสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ คุณแม่ควรเน้นแคลเซียม โปรตีน ไอโอดีน ซึ่งมีอยู่ในนมและผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม ถั่ว, เนื้อสัตว์ ปลา อาหารทะเล
- ไตรมาสที่สาม (28-40 สัปดาห์)
ช่วงนี้ทารกเติบโตอย่างรวดเร็ว ต้องการสารอาหารจำนวนมากเพื่อพัฒนาสมองและร่างกาย ควรเน้นทุกกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนและไขมันดี แนะนำให้คุณแม่รับประทานเนื้อสัตว์ ปลา ถั่ว อโวคาโด น้ำมันมะกอก
การฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ ไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณแม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ หากพบความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ จะสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที รวมถึงได้รับคำแนะนำวิธีเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ที่เหมาะสมกับคุณแม่แต่ละท่านด้วยค่ะ
ที่มา : babycenter, perinatology , โรงพยาบาลพญาไท
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ท้องแข็งเป็นก้อน แบบนี้อันตรายไหม ลดอาการท้องแข็งได้อย่างไร
ลูกในครรภ์โตช้าน้ำหนักน้อยเพราะอะไร?
ลูกไม่ดิ้นกี่ชั่วโมงต้องไปหาหมอ ลูกดิ้นกี่ครั้งต่อวัน ลูกไม่ดิ้น อันตรายแค่ไหน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!