อาการ ท้องแข็งเป็นก้อน คืออาการที่คุณแม่ จะรู้สึกเจ็บ หน่วง ๆ ตึง ๆ บริเวณท้องน้อย หัวหน่าว หรือ มดลูก ในระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ โดยอาการก็จะคล้าย ๆ กับตอนปวดประจำเดือน คุณแม่ท้องจะรู้สึกเหมือนมดลูกแข็ง และเกร็งเป็นก้อนกลมขึ้นมาทันที และ “ท้องแข็ง” ท้องน้อยแข็ง ทั้งหมด ไม่ได้แข็งเป็นบางจุดเหมือนตอนที่ลูกขยับตัว เนื่องจากมดลูกขยายตัวขึ้น และขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงทำให้มดลูกบีบ หด รัดตัว เกิดขึ้นได้บ่อยกับคนท้องประมาณช่วงสัปดาห์ที่ 32 หรือในไตรมาสที่สาม ของการตั้งครรภ์ขึ้นไป
ท้องแข็งเป็นก้อนเกิดจากอะไร
มีก้อนแข็งในท้อง ท้องแข็งเป็นก้อนเกิดจากอะไร
- ลูกดิ้นไปถูกมดลูก ทำให้เกิดการบีบตัว
- กินอิ่มมากเกินไป จนเกิดแก๊สในกระเพาะ
- ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย
- เปลี่ยนท่า ลูก นั่ง นอนเร็วเกินไป
- กลั้นปัสสาวะ
- มีเซ็กส์แบบผาดโหน
อาการท้องแข็ง สามารถเกิดขึ้นได้วันละหลายครั้ง แต่โดยปกติแล้ว หากรู้สึกไม่เกิน 6 – 10 ครั้งต่อวัน ก็เรียกได้ว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่มีอะไรต้องกังวล แต่หากอากาดังกล่าว เกิดกับคนท้องที่อายุครรภ์ยังไม่ถึง 5 เดือน ท้องแข็งถี่ ๆ บ่อยครั้ง หรือท้องแข็งเป็นเวลานาน แม้นอนพักแล้ว ก็ยังไม่หาย หรือมีเลือดออกร่วมด้วย อย่าทิ้งไว้นาน ถือว่าอันตรายมาก ๆ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจทำให้ปากมดลูกเปิดมากเกินไป มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด หรือเสี่ยงต่อการแท้งได้
ตั้งครรภ์ ท้องแข็งเป็นก้อน อันตรายไหม
ลดอาการท้องแข็ง ต้องทำอย่างไร
- ระมัดระวังในการลุก นั่ง นอน ให้ทำอย่างช้า ๆ อย่าเปลี่ยนท่าเร็วเกินไป และต้องพักผ่อนมาก ๆ
- อย่ากลั้นปัสสาวะ เพราะการกลั้นปัสสาวะ จะทำให้กระเพาะปัสสาวะที่โดนเบียดอยู่แล้ว ทำงานหนักขึ้น จนอักเสบ เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- งดมีเซ็กส์ เพราะจะทำให้ปากมดลูกถูกกระตุ้น ส่งผลให้มดลูกเกิดการบีบตัวเช่นกัน และน้ำอสุจิก็เป็นอีกตัวการหนึ่ง ที่เร่งให้ปากมดลูกเปิดเร็วขึ้น
- อย่าบิดขี้เกียจบ่อยนัก เพราะทำให้มดลูกหดรัดตัว ทำปากมดลูกเปิดได้ง่าย
- อย่าจับท้องบ่อย เพราะช่วงตั้งท้อง กล้ามเนื้อบริเวณมดลูกจะค่อนข้างอ่อนไหวการจับ การคลำท้องบ่อย ๆ ในช่วงนี้ จึงทำให้กล้ามเนื้อมดลูกแข็งเป็นก้อนขึ้นมาได้ ยิ่งคลำบ่อย มดลูกหดบ่อย ท้องก็ยิ่งแข็งบ่อยตามไปด้วย อันตรายนะเออ
- อย่ายุ่งกับหัวนม ไม่ว่าจะดูด จับ บี้ เสียดสี ถูไถ นวดเฟ้น หรือดึง ช่วงท้อง หน้าอกจะขยายตัวมีความ คัด ตึงและไวต่อสัมผัสไม่ต่างจากมดลูก การสัมผัสแตะต้องหัวนม จะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างฮอร์โมน ทำให้มดลูกเกิดการบีบตัวได้เช่นกัน
- กินผักผลไม้ให้มากขึ้น ลดการกินเนื้อสัตว์ เพื่อไม่ให้เกิดแก็สในกระเพาะ และขับถ่ายง่าย
- อย่าหักโหมทำงานหนัก แม้ความเชื่อของคนโบราณจะบอกว่า ทำงานหนักทำให้คลอดง่าย แต่ถ้าอยู่ในช่วงที่ “ท้องแข็งถี่ ๆ” แล้วล่ะก็ ต้องพักผ่อนให้มาก เพื่อความปลอดภัยของลูกในท้อง
อย่างไรก็ตามถ้าคุณแม่ท้อง ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง หากรู้สึกไม่สบายใจกับอาการท้องแข็ง ก็อย่าชะล่าใจ อย่าทิ้งไว้นาน ต้องรีบไปพบแพทย์ กังวลไว้ก่อน ก็ดีกว่านิ่งนอนใจ จนเกิดอันตรายต่อลูกในท้องนะคะ
คลายข้อสงสัย ท้องแข็งมาก เสี่ยงแท้งไหม
_________________________________________________________________________________________
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแล ทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้าง ที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคล ทั้งเด็กหญิง และเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.lamaze.org
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ตารางน้ำหนัก และขนาดของทารกในครรภ์ ที่จะบอกว่าลูกในท้องแข็งแรงดีแค่ไหน
การเพิ่มน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์ ทำอย่างไรไม่ให้อ้วนไปทั้งแม่ ทั้งลูก
ลูกไม่ดิ้นกี่ชั่วโมงต้องไปหาหมอ ลูกดิ้นกี่ครั้งต่อวัน ลูกไม่ดิ้น อันตรายแค่ไหน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!