TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ให้นมลูก กินยาคุมฉุกเฉินได้ไหม มีผลอะไรกับทารกหรือเปล่า

บทความ 5 นาที
ให้นมลูก กินยาคุมฉุกเฉินได้ไหม มีผลอะไรกับทารกหรือเปล่า

ในช่วงระหว่างการให้นมลูก มีความเป็นไปได้ที่คุณแม่อาจลืมคุมกำเนิด เลยสงสัยว่าจะพึ่งยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินได้ไหม มาดูคำตอบกันค่ะ

ความว้าวุ่นใจของคุณแม่ให้นมนั้น นอกจากจะเป็นเรื่องลูกไม่กินนม เข้าเต้าไม่ได้ หรือให้เจ็บเต้าเจ็บหัวนมแล้ว ก็มีเรื่องอาหารการกินระหว่างช่วงเป็นคุณแม่ให้นมนี่แหละค่ะที่มักจะก่อคำถามขึ้นมาในใจ และไม่ได้เจาะจงไปที่อาหารหรือเครื่องดื่มเท่านั้นนะคะ “ยา” ที่รับเข้าสู่ร่างกายก็สร้างความพะว้าพะวงได้ไม่แพ้กัน โดยเฉพาะเรื่องของการกินยาคุมกำเนิดหลังคลอด ถ้ายังไม่พร้อม…แต่พลาด ในช่วง ให้นมลูก กินยาคุมฉุกเฉินได้ไหม มีผลอะไรกับทารกหรือเปล่า ต้องทำความเข้าใจค่ะ

ให้นมลูก กินยาคุมฉุกเฉินได้ไหม

แม่ให้นมควรคุมกำเนิดอย่างไร ให้นมลูก กินยาคุมฉุกเฉินได้ไหม

ก่อนจะตอบคำถามว่า ให้นมลูก กินยาคุมฉุกเฉินได้ไหม ขอชวนคุณแม่ทำความเข้าใจก่อนค่ะว่า แม่ให้นมสามารถคุมกำเนิดได้ด้วยวิธีไหนบ้าง ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์มักแนะนำคุณแม่ให้ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งจะช่วยคุมกำเนิดไปในตัวได้ถึง 90-95% แต่ก็สามารถใช้วิธีอื่น ๆ ที่ไม่กระทบต่อการให้นมลูกได้ ดังนี้

  • ถุงยางอนามัย

เหมาะกับคุณแม่ให้นมที่ไม่ต้องการใช้ฮอร์โมน มีเพศสัมพันธ์ไม่บ่อย และต้องการคุมกำเนิดระยะสั้

  • กินยาคุมกำเนิด 

ยาคุมกำเนิดที่เหมาะกับแม่ให้นมบุตร ได้แก่ ชนิดฮอร์โมนเดี่ยว(Progestin-only pill) เนื่องจากยาคุมชนิดนี้มีเพียงฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และ ไม่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำนม คุณแม่จึงสามารถมั่นใจได้ว่าการผลิตน้ำนมจะไม่ลดลงและไม่ส่งผลเสียต่อลูกน้อยค่ะ

  • ยาฉีดคุมกำเนิด (DMPA)

มี 2 ชนิด คือ แบบ 1 เข็ม คุมกำเนิดได้ 3 เดือน และแบบ 1 เข็ม คุมกำเนิดได้ 1 เดือน โดยไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำนม ซึ่งคุณแม่สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่ 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด หรือภายใน 7 วันหลังรอบเดือนมา

  • ยาฝังคุมกำเนิด (Implant)

ยาคุมชนิดนี้มีฮอร์โมน Progestin ชนิดเดียว จึงไม่ส่งผลต่อปริมาณน้ำนม ซึ่งยาฝังคุมกำเนิดมี 2 ประเภท คือ ชนิด 1 หลอด (Nexplanon) คุมกำเนิดได้ 3 ปี ชนิด 2 หลอด (Jadelle) คุมกำเนิดได้ 5 ปี การฝังยาคุมจะฝังบริเวณท้องแขนด้านในเหนือข้อศอกเล็กน้อย มักฝังภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือน หรือภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด หากเกินกว่านี้ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนทุกครั้ง

  • ห่วงคุมกำเนิด (IUD)

เป็นการคุมกำเนิดที่ไม่มีผลต่อปริมาณน้ำนมเช่นกัน โดยในปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ ชนิดมีฮอร์โมน (Levonogestrel IUD) คุมกำเนิดได้ 5 ปี และชนิด Copper (Copper IUD) สามารถคุมกำเนิดได้ 10 ปี ซึ่งช่วงปลอดภัยในการใส่ห่วงคืออย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อให้มดลูกเข้าอู่ให้เรียบร้อยก่อน ลดโอกาสห่วงคุมกำเนิดทะลุ

ยาคุมฉุกเฉินคืออะไร

แล้ว “ยาคุมฉุกเฉิน” คืออะไร

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน หรือ Emergency Contraceptive Pills เป็นยาที่กินหลังจากมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ อาทิ

  • การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
  • การถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • การคุมกำเนิดด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง
  • การคุมกำเนิดล้มเหลว เช่น ถุงยางอนามัยชำรุด

“ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน” จึงใช้เมื่อ “จำเป็น” เท่านั้น และไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินแทนยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดกินสม่ำเสมอ เนื่องจากยาคุมฉุกเฉินมีปริมาณฮอร์โมนสูง เสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้มาก ทั้งยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ต่ำกว่าด้วย

 

ยาคุมฉุกเฉิน มีแบบไหนบ้าง

ปกติยาคุมฉุกเฉินจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ยาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนรวม ชนิดยาต้านโพรเจสติน และยาคุมฉุกเฉินชนิดที่มีเฉพาะฮอร์โมนโพรเจสติน ซึ่งชนิดที่นิยมใช้มากในประเทศไทยคือ ยาคุมฉุกเฉินชนิดที่มีเฉพาะฮอร์โมนโพรเจสติน (Progestin-only emergency contraceptive pills) ค่อนข้างได้รับความนิยมมากในประเทศไทย มีทั้ง ยาคุมฉุกเฉินแบบ 1 เม็ด ขนาด 1.5 มิลลิกรัม และแบบ 2 เม็ด ขนาดเม็ดละ 0.75 มิลลิกรัม

 

ให้นมลูก กินยาคุมฉุกเฉินได้ไหม กินยังไง

ยาคุมฉุกเฉินชนิดที่มีเฉพาะฮอร์โมนโพรเจสตินที่นิยมในบ้านเรา ซึ่งคุณแม่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปนั้น จะมีลักษณะเป็นกล่อง 1 กล่องมี 1 แผง แต่ละแผงมียาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด ซึ่งในแต่ละเม็ดประกอบไปด้วยยาที่เป็นฮอร์โมนขนาดสูง ลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel)

ซึ่งวิธีกินที่ถูกต้อง คือ กินเม็ดแรกให้เร็วที่สุดหลังมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกัน อย่างน้อยที่สุดคือไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมง และกินเม็ดที่ 2 หลังจากเม็ดที่ 1 ภายใน 12 ชั่วโมง

  • หากกินยาเม็ดที่ 1 หลังมีเพศสัมพันธ์ ภายใน 24 ชม. จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 85%
  • หากกินยาเม็ดที่ 1 หลังมีเพศสัมพันธ์ ภายใน 72 ชม. จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 75%

และไม่ควรกินเกิน 4 เม็ด หรือ 2 กล่องต่อเดือน เนื่องจากการใช้ยาคุมฉุกเฉินบ่อย ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงความผิดปกติที่รังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูก รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงในการตั้งครรภ์นอกมดลูกด้วย

ส่วนประเด็นข้อสงสัยเรื่อง ให้นมลูก กินยาคุมฉุกเฉินได้ไหม คำตอบคือ กินได้ โดยไม่ต้องงดการให้นมแม่ หรือปั๊มนมทิ้ง เนื่องจากปริมาณฮอร์โมนที่ผ่านเข้าสู่น้ำนมมีน้อยมาก คุณแม่จึงสามารถให้นมแม่ได้ตามปกติโดยไม่ส่งผลต่อทารกค่ะ

ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉิน

ให้นมลูก กินยาคุมฉุกเฉิน มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

การกินยาคุมฉุกเฉินของคุณแม่ให้นมนั้น ไม่เกิดผลข้างเคียงในแง่ของปริมาณน้ำนม และไม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยค่ะ แต่อาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้บ้างประการ เช่น

  • มีเลือดคล้ายประจำเดือนออกผิดปกติ หรือออกกะปริบกะปรอย
  • ตกขาวเป็นสีน้ำตาล มักเกิดในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากรับกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
  • ประจำเดือนอาจคลาดเคลื่อนไปบ้าง โดยมาเร็วหรือมาช้าไปราว 1 สัปดาห์ แต่ส่วนใหญ่มักมาตรงเวลาค่ะ
  • อาจเกิดอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ตึงเต้านม คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องช่วงล่าง ประจำเดือนมาก

ส่วนในช่วงระหว่างการให้นมลูก กินยาคุมฉุกเฉินมีผลอะไรกับทารกหรือเปล่า ต้องบอกว่า หากคุณแม่กินยาตามขนาดที่แนะนำในฉลากยา อาจไม่พบอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง และปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยานี้ทำให้เกิดทารกพิการ ทั้งในกรณีที่การใช้ยาล้มเหลวแล้วเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น และในเคสของเป็นทารกที่กินนมแม่ค่ะ

 

อย่างไรก็ตาม ยาคุมฉุกเฉินนี้ไม่สามารถคุมกำเนิดได้ 100% นะคะ รวมถึงยังไม่สามารถการันตีได้อย่างแท้จริงว่าจะไม่ส่งผลต่อลูกน้อยเลย ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนตัดสินใจกินยาคุมกำเนิดหลังคลอด และหากไม่มีเหตุฉุกเฉินซึ่งจำเป็นต้องกินยาชนิดนี้จริง ๆ แนะนำว่าคุณแม่ควรคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ๆ ซึ่งวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดก็คือการใช้ถุงยางอนามัยนั่นเองค่ะ

 

ที่มา : สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ , www.bedee.com , www.phyathai.com , pharmacy.mahidol.ac.th

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ให้นมลูก กินมะม่วงได้ไหม ส่งผลอะไรต่อลูกหรือเปล่า

หัวนมสั้น ให้นมลูก ได้ไหม? วิธีแก้ไขและท่าให้นมของแม่หัวนมสั้น

เป็นมั้ย? ให้นมลูกหิวบ่อย เปิดเหตุผลที่คุณแม่หลังคลอดหิวง่าย กินบ่อย

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
โฉมใหม่ S-26 GOLD PRO-C3 สูตรที่พัฒนากว่าสูตรเดิมไปอีกขั้น* ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน และบี แล็กทิส สิ่งดีๆ ที่คุณแม่เลือก
โฉมใหม่ S-26 GOLD PRO-C3 สูตรที่พัฒนากว่าสูตรเดิมไปอีกขั้น* ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน และบี แล็กทิส สิ่งดีๆ ที่คุณแม่เลือก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

จันทนา ชัยมี

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • ให้นมลูก กินยาคุมฉุกเฉินได้ไหม มีผลอะไรกับทารกหรือเปล่า
แชร์ :
  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • หย่านมยังไงไม่ให้น้ำหนักพุ่ง! แจกสูตร คุมอาหารหลังหย่านม แบบเห็นผลจริง

    หย่านมยังไงไม่ให้น้ำหนักพุ่ง! แจกสูตร คุมอาหารหลังหย่านม แบบเห็นผลจริง

  • เต้าแข็งเป็นก้อน ระวังท่อน้ำนมอุดตัน! สัญญาณอันตรายที่แม่ให้นมต้องรู้

    เต้าแข็งเป็นก้อน ระวังท่อน้ำนมอุดตัน! สัญญาณอันตรายที่แม่ให้นมต้องรู้

powered by
  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • หย่านมยังไงไม่ให้น้ำหนักพุ่ง! แจกสูตร คุมอาหารหลังหย่านม แบบเห็นผลจริง

    หย่านมยังไงไม่ให้น้ำหนักพุ่ง! แจกสูตร คุมอาหารหลังหย่านม แบบเห็นผลจริง

  • เต้าแข็งเป็นก้อน ระวังท่อน้ำนมอุดตัน! สัญญาณอันตรายที่แม่ให้นมต้องรู้

    เต้าแข็งเป็นก้อน ระวังท่อน้ำนมอุดตัน! สัญญาณอันตรายที่แม่ให้นมต้องรู้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว