วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารก
วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารก ลูกโตตามเกณฑ์ไหม การเจริญเติบโตของทารกที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ สามารถวัดได้อย่างไร? ลูกตัวเล็กไปไหม น้ำหนักน้อยไปหรือเปล่า แม่จะรู้ได้อย่างไรว่า ทารกแข็งแรง เติบโตตามเกณฑ์
การเจริญเติบโตของทารกที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ สามารถวัดได้อย่างไร?
ในช่วงวัยทารกของลูกน้อยคุณพ่อคุณแม่จะสังเกตว่าลูกมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก เราสามารถติดตามการเจริญเติบโตของลูกได้ด้วยการ ชั่งน้ำหนัก วัดความยาว และวัดเส้นรอบศีรษะ ซึ่งบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่าลูกมีการเจริญเติบโตที่ปกติหรือไม่ วันนี้หมอมาสรุปวิธีการสังเกตดังนี้ค่ะ
วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารกจะรู้ได้อย่างไรว่า ทารกแข็งแรงโตตามเกณฑ์
1.วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารกจากน้ำหนักตัว
การชั่งน้ำหนักเด็กทารกโดยเฉพาะในวัยแรกเกิดควรถอดเสื้อผ้าและผ้าอ้อมออกให้หมด ชั่งที่เครื่องชั่งเดียวกัน ในเวลาเดิม เพื่อการเปรียบเทียบอย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตน้ำหนักของลูกได้ดังนี้
- ในช่วงวัย 1 สัปดาห์แรกเกิด ทารกอาจมีน้ำหนักตัวลดลงได้แต่ปกติจะไม่เกิน 10% ของน้ำหนักแรกเกิด หลังจากนั้นน้ำหนักจะขึ้นวันละประมาณ 20 ถึง 50 กรัมไปจนถึงอายุ 3-6 เดือน
- ที่อายุ 4-5 เดือน น้ำหนักตัวทารกจะเป็น 2 เท่าของแรกเกิด
- ที่อายุ 1 ปี น้ำหนักตัวทารกจะเป็น 3 เท่าของแรกเกิด
โดยอาจมีความแตกต่างกันบ้าง ดังตารางน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยมาตรฐานของเด็กอายุ 1-2 เดือนด้านล่างนี้ค่ะ
น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยตามเกณฑ์มาตรฐานของเด็กตามช่วงอายุ 1 – 12 เดือน
ข้อมูลจาก : สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารกจากน้ำหนักตัว
2.วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารกจากความยาว
เนื่องจากเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีจะยังยืนเองไม่ได้หรือเมื่อยืนได้ก็ยังไม่อยู่นิ่ง การวัดความสูงจะวัดในท่านอนจึงเรียกว่า “ความยาว” ซึ่งจะบอกการเจริญเติบโตได้ดี โดยในช่วงแรกของการขาดอาหาร น้ำหนักอาจลดลง แต่ความยาวจะยังไม่เปลี่ยนแปลง คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตความยาวของลูกได้ดังนี้
- ในช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน
เด็กหญิงควรตัวยาวขึ้น >/ 16 cm
เด็กชายควรตัวยาวขึ้น >/ 17 cm
- เด็ก 6-12 เดือนควรยาวเพิ่มขึ้นอีก >/ 8 cm
หรือเมื่ออายุ 1 ปีความยาวควรจะเป็น 1.5 เท่าของแรกเกิด
ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักและส่วนสูงของเด็ก ขึ้นอยู่กับ พันธุกรรม เชื้อชาติ อาหาร และการเลี้ยงดู หากเด็ดมีโรคประจำตัวบางชนิด หรือ ภาวะโภชนาการบกพร่องก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
ความสูงของเด็กตามช่วงอายุ ข้อมูลจาก : สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารกจากความยาว
3. วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารกจากเส้นรอบศีรษะ
เส้นรอบศีรษะจะเป็นตัวบ่งถึงการเจริญเติบโตของสมองเด็กโดยอ้อม ซึ่งขนาดเส้นรอบศีรษะของเด็กขึ้นอยู่กับพันธุกรรมด้วย และควรพิจารณาการปิดของกระหม่อมทั้งหน้าและหลังว่าปกติหรือไม่
- โดยกระหม่อม หน้าจะปิดที่อายุ 9-18 เดือน
- ส่วนกระหม่อมหลังจะปิดที่อายุ 3-4 เดือน
หากทารกมีเส้นรอบศรีษะเล็กอาจมีสมองเล็กและกระหม่อมปิดเร็วกว่าปกติ ทารกที่มีภาวะผิดปกติ เช่น มีน้ำในสมองจะมีความดันในศีรษะเพิ่มขึ้นทำให้เส้นรอบศีรษะใหญ่และกระหม่อมกว้าง ปิดช้า
- โดยปกติเส้นรอบศีรษะของทารกแรกเกิดจะประมาณ 35 cm
- ที่อายุ 4 เดือนจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 40 cm
- เมื่ออายุครบ 1 ปีจะอยู่ที่ประมาณ 45 cm
- หรือเส้นรอบศีรษะในช่วงทารกแรกเกิดถึง 1 ปีจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 1 cm ต่อเดือน
หากต้องการดูภาวะการเจริญเติบโตของเด็กไม่ควรดูที่การวัดเพียงค่าเดียวหรือครั้งเดียว แต่ควรติดตามทั้งน้ำหนักความยาวและเส้นรอบศีรษะเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ และเปรียบเทียบกับกราฟ การเจริญเติบโตมาตรฐานตามวัยของเด็กที่อยู่ในช่วงอายุและเพศเดียวกันว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติหรือไม่และมีแนวโน้มเป็นอย่างไร ซึ่งคุณแม่คุณพ่อสามารถติดตามได้โดยดูจากกราฟด้านล่างนี้จากสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารกจากเส้นรอบศีรษะ
วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารกจากเส้นรอบศีรษะ
วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารกจากเส้นรอบศีรษะ
วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารกจากเส้นรอบศีรษะ
วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารกดังที่กล่าวมานี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคุณพ่อคุณแม่ แต่หากสงสัยว่าลูกมีภาวะที่ผิดปกติในการเจริญเติบโตก็ควรปรึกษากุมารแพทย์นะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
พาลูกหาหมอฟันครั้งแรก พาลูกไปหาหมอ ตรวจสุขภาพทารก ฉีดวัคซีนทารก แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร
10 เรื่องยอดฮิตของทารก รวมทุกคำถามที่พ่อแม่อยากรู้และสงสัยมากที่สุด!
ลูกแรกเกิดถึง 1 ปี นอนกี่ชั่วโมง กินนมตอนไหน อึบ่อยไหม ฉี่น้อยหรือเปล่า ไม่รู้ไม่ได้!
พาลูกไปเที่ยวต้องเตรียมอะไรบ้าง วิธีจัดกระเป๋าแม่ลูกอ่อน พาทารกเดินทาง เตรียมของลูกไปเที่ยว ต้องมีอะไรบ้าง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!