TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

6 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก หากพ่อแม่ยิ่งทำ พฤติกรรมลูกยิ่งแย่ลง

บทความ 3 นาที
6 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก หากพ่อแม่ยิ่งทำ พฤติกรรมลูกยิ่งแย่ลง

6 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก ถ้าไม่อยากให้ลูกมีพฤติกรรมที่เหลวร้ายลง พ่อแม่ไม่ควรทำสิ่งเหล่านี้เด็ดขาด เพราะเด็กเป็นวัยที่จดจำและเรียนรู้

ลูก คือ ทุกสิ่งของพ่อแม่ พ่อแม่หลายคนคาดหวังว่าลูกต้องเติบโตขึ้นมาในแบบที่พ่อแม่วางไว้ บางคนบอกว่าลูกฉันต้องเป็นคนที่เรียนเก่ง บางคนบอกว่าลูกฉันต้องเป็นเด็กดี บางคนบอกว่าลูกฉันต้องดีพร้อมทุกอย่าง ทำให้พ่อแม่ต้องพยายามอบรมสั่งสอนลูกในทุกๆ อย่าง ไม่ว่าจะวางกฏระเบียบ วางตารางการใช้ชีวิต คอยผลักดันให้ลูกทำในสิ่งที่ถูกที่ควร แต่บางครั้งพ่อแม่อาจจะหลงลืมไปว่าตัวเองบังคับลูกเกินไปหรือเปล่า หรือเจ้าอารมณ์มากไปไหม หรือว่าอารมณ์ไม่ดีมาก็มาลงที่ลูก หรือว่าลูกไม่ได้ดั่งใจก็ดุด่า ซึ่งพฤติกรรมบางอย่างเหมือนจะอยากให้ลูกปรับปรุงพฤติกรรม แต่กลับกลายเป็นว่าลูกยิ่งแย่ลงไปอีก ถ้าพ่อแม่ไม่อยากทำร้ายลูก ควรเลี่ยง 6 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก เหล่านี้กันค่ะ

6 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก

6 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก

6 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก

1. ตะคอก

พ่อแม่หลายคนบางครั้งคงเผลอตะโกนหรือตะคอกใส่ลูกบ้าง เพราะอารมณ์ชั่ววูบ แต่พ่อแม่รู้ไหมว่าการที่พ่อแม่ทำแบบนี้บ่อยๆ ไม่ได้เป็นผลดีต่อลูกน้อยเลยแต่อย่างใด แน่นอนว่าในช่วงแรกอาจได้ผลจริง ลูกอาจจะสงบและยอมเชื่อฟัง แต่พอทำนานๆ ไป กลับกลายเป็นว่า ลูกจะรู้สึกถึงความเคยชิน รู้สึกไม่สนใจ หรือรำคาญ จนกลายเป็นว่าเด็กเฉยเมยต่อการกระทำของพ่อแม่ เกิดการต่อต้าน และไม่ยอมทำตามที่พ่อแม่บอก

2. จู้จี้จุกจิก

การจู้จี้ เจ้ากี้เจ้าการกับเด็ก เวลาที่ลูกจะทำอะไรพ่อแม่ก็เอาแต่ขัด ห้ามนู้นห้ามนี้ อย่าทำแบบนั้นอย่าทำแบบนี้ หรือว่าบอกว่าลูกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้แบบมากเกินไป โดยที่เด็กไม่ได้ลองพยายามใช้ความสามารถของตัวเองก่อน ทำให้เด็กมีความรู้สึกว่า เขาก็รู้ว่าตัวเองควรทำหรือจัดการอย่างไร แต่ทำไมพ่อแม่ต้องมาคอยจู้จี้จุกจิกด้วย ซึ่งพฤติกรรมของพ่อแม่แบบนี้ อาจทำให้ลูกรู้สึกเบื่อหน่ายและนำไปสู่การทะเลาะกันได้ค่ะ

6 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก

พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก

3. ขู่ลูกบ่อยๆ

การที่พ่อแม่ขู่ลูกบ่อยๆ ซ้ำๆ อาจทำให้ลูกรู้สึกกลัว และหยุดพฤติกรรมดังกล่าวได้ก็จริง แต่การทำแบบนี้ไม่ใช่เรื่องดี ทำให้เด็กเกิดอารมณ์ด้านลบอื่น ๆ เช่น ตกใจ ขยะแขยง เช่น การขู่ว่าถ้าไม่ยอมกินข้าวจะให้หมอมาฉีดยา ถ้าดื้อแม่จะให้ตำรวจมาจับนะ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลเสียต่อลูกมาก เพราะอาจทำให้เด็กเกิดความกังวลและปฏิเสธ ทำให้ลูกขาดความคิดสนร้างสรรค์ ขาดความเชื่อมั่น และลดความไว้วางใจในตัวผู้ใหญ่ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองให้รู้สึกปลอดภัย

อีกทั้งทำให้เด็กเด็กเสียโอกาสในการเรียนรู้ที่จะสร้างวินัยในตนเอง แทนที่จะพัฒนาตนเองให้เลือกทำในสิ่งที่ควรทำและเลือกหยุดในสิ่งที่ควรหยุดโดยตัดสินใจได้ด้วยตนเอง แต่กลับกลายเป็นการหยุดเพราะกลัวหรือหยุดเพราะตกใจ ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาการปรับตัวเพื่อเรียนรู้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ขู่ลูกมากระวังลูกเป็นเด็กขี้กลัว ระวังให้ดีการขู่ลูกอาจจะทำให้ลูกเก็บตัว

4. พูดมากเกินไป

พ่อแม่บอกคนเป็นนักพูด หรือชอบอธิบาย และอยากสอนลูกจริงๆ จังๆ ให้ลูกได้เข้าใจ แต่ก็อย่าลืมว่าเด็กยังมีความอดทนต่ำ เขาไม่สามารถทนฟังสิ่งที่พ่อแม่ต้องการจะสื่อสารกับลูกได้ยืดยาวมากนัก ซึ่งพ่อแม่เองก็ต้องปรับตัว พูดเฉพาะในส่วนที่สำคัญ พูดเฉพาะในเรื่องที่ต้องการให้ลูกแก้ไขต่างๆ มากกว่าการที่พูดอะไรมากมายยืดเยื้อ เพราะจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกว่า พ่อแม่จะบ่นอะไรนักหนา พูดอยู่ได้ และทำให้เด็กเกิดอารมณ์ ท้ายสุดก็จะเกิดอาการไม่อยากรับฟัง ไม่อยากรับรู้ เกิดการโต้เถียง และบ่ายเบี่ยงที่จะเผชิญหน้าพ่อแม่ เวลาที่ทำอะไรผิด และไม่กล้าบอกพ่อแม่ ทางที่ดีควรปล่อยให้ลูกพูดบ้าง ฟังให้มากขึ้น พูดให้น้อยลงค่ะ

6 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก

พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก

5. พูดให้เด็กรู้สึกอาย

เวลาที่ลูกทำอะไรไม่ได้ดั่งใจพ่อแม่ หรือเวลาที่ลูกทำอะไรผิด พ่อแม่ไม่ควรลงโทษอะไรที่ทำให้เด็กรู้สึกอับอาย การลงโทษแบบนี้คล้ายกับการดุด่า และให้ผลรุนแรงต่อจิตใจเช่นกัน เช่น การเยาะเย้ยให้อับอาย การพูดประชดประชัน การดูถูกโดยการเปรียบเทียบเด็กกับคนอื่นๆ ที่ทำอะไรได้ดีกว่า ให้ถอดเสื้อผ้า ไม่ให้กินอาหาร บังคับให้อยู่ในท่าที่น่าอายให้ทุกคนมองเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ สิ่งเหล่านี้ พ่อแม่ไม่ควรทำเด็ดขาดนะคะ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:ลูกหายไปต้องทำยังไง และสิ่งพ่อแม่ที่ควรสอนลูก หากเกิดพลัดหลงกัน

 

6. การตบตี

การลงโทษด้วยวิธีที่รุนแรงอย่างเช่น การตีเด็กด้วยมือหรือวัตถุบางอย่างเช่น ไม้เรียว เข็มขัด แส้ รองเท้า หนังสือ ไม้บรรทัด ฯลฯ การเตะ การกระชากผม การหยิก เป็นสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำ เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดการเรียนที่เป็นผลดีต่อเด็กแต่อย่างใดค่ะ เพราะจะทำให้เด็กเกิดความเจ็บปวดทางด้านร่างกาย และอาจเกิดบาดแผลในจิตใจด้วย นอกจากนี้ บางประเทศมองว่า การลงโทษเด็กในลักษณะนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน

หากพ่อแม่อยากจะแก้ไขในนิสัยหรือพฤติกรรมไม่ดีกับลูก แนะนำให้ใช้เหตุผลที่ตรงไปตรงมา ไม่ต้องพูดอะไรที่ยืดยาว เช่น มีดเล่นไม่ได้เพราะจะบาดมือหนู ใช่ท่าทีและวาจาที่หนักแน่น ปล่อยให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นและความรู้สึกออกมาบ้าง เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมแล้วควรให้รางวัลเป็นการตอบแทน เช่น กล่าวชมเชย หรือให้รางวัลแบบอื่นเมื่อลูกสองคนเล่นกันด้วยดีไม่ทะเลาะไม่ตีกันในช่วงตลอดสองวันที่ผ่านมา

รวมถึงการเลิกให้ความสนใจเด็ก เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ลูกคนหนึ่งกินอาหารดีอีกคนไม่ค่อยยอมกินเล่นไปเรื่อยๆ แม่ก็อาจชมคนที่กินอาหารดีแต่เฉยๆ ไม่แสดงความสนใจกับลูกคนที่ไม่ยอมกินแต่เขี่ยอาหารเล่นอยู่ โดยไม่จำเป็นต้องดุว่าค่ะ ที่สำคัญ พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก เช่นพูดสอนว่าการพูดปดเป็นสิ่งไม่ดีห้ามทำ แต่พอมีคนที่พ่อแม่ไม่ต้องการพบมาพบ ก็ใช้ลูกออกไปบอกว่า พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน การกระทำแบบนี้ก็เท่ากับสอนลูกว่าที่จริงพูดปดได้

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

คุณคิดว่าตัวเองเป็นพ่อแม่ที่จู้จี้กับลูกไหม

ใช่เลย
คิดว่าไม่นะ
ไม่แน่ใจเหมือนกัน

13944 คนที่ตอบกลับ

โหวต

 

ที่มา: verywellfamily

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ห้ามพ่อแม่ตีลูก ญี่ปุ่นเตรียมออกกฎ! หลังสถิติเด็กถูกทำร้ายพุ่งสูง พ่อแม่ไทยทำบ้างดีไหม?

เด็กดื้อต้องถูกทำโทษ ลงโทษอย่างไรให้ลูกหายดื้อ แต่ทำไมยิ่งทำโทษลูกยิ่งดื้อ!?!

ลูกดื้อมาก ชอบปีนป่ายและไม่เชื่อฟัง ลูกเราผิดปกติไหม?

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • 6 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก หากพ่อแม่ยิ่งทำ พฤติกรรมลูกยิ่งแย่ลง
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว