หมอแนะ หยุดขู่ลูกว่าหมอให้ฉีดยา เพราะเด็กจะไม่ให้ความร่วมมือเมื่อถึงเวลา
หลายๆครอบครัวิอาจจะปวดหัวกับลูกๆเมื่อถึงเวลาที่ลูกดื้อ หรือไม่ยอมฟังเรา หรือบางครั้งอาจจะเป็นเวลาที่เขาไม่ยอมกินข้าว แต่เราเป็นห่วง กลัวเขาจะไม่สบาย
เลยขู่ลูกต่างๆนาๆ วันนี้เรามีเหตุการณ์ และ วิธีการจัดการหลายๆวิธีมาลองให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองทุกท่านได้ลองอ่านกันค่ะ เรามาหยุดการขู่เด็กๆกันดีกว่า
เพราะเนื่องจากเด็กๆจะไม่กลัวแล้ว อาจจะดื้อมากขึ้น หรือเด็กบางคนอาจจะฝังใจกลัวตลอดไป เช่น หยุดขู่ลูกว่าหมอให้ฉีดยา หรือ ตำรวจจะมาจับ หากไม่ทำนู่นทำนี่ตามที่ใจเราต้องการ
หยุดขู่ลูก13
ได้มีสมาชิกเพจเฟสบุ๊คท่านหนึ่งที่ชื่อว่า ลูกคุณไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน ได้ถ่ายภาพประกาศของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า ” หยุด!! ขู่เด็กว่าจะให้หมอจับฉีดยา เพราะเด็กจะไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจ และกลัวการมาพบแพทย์ การรักษาจะทำได้ยากขึ้นค่ะ มาช่วยกันทำให้เด็กมีสุขภาพดีอย่างถูกวิธีกันเถอะค่ะ “
การขู่เวลาที่ลูกดื้อ ว่าถ้าหากไม่เชื่อฟัง จะให้หมอฉีดยานั้น ลูกอาจจะเงียบในวงเวลาหนึ่งค่ะ แต่ความรู้สึกในใจของเขาไม่สามารถลบออกไปได้ง่าย ดังนั้น หากถึงเวลาที่ลูกไม่สบายและจะต้องฉีดยา อาจจะทำให้ลูกงอแงและหวาดกลัว จนในบางครั้งก็ไปทำให้หมอและพยาบาลในโรงพยาบาลที่ต้องการรักษานั้น ทำงานลำบากได้ คุณพ่อคุณแม่เห็นด้วยไหมคะ
แล้วจะทำอย่างไรเมื่อลูกดื้อ หาคำตอบได้ที่หน้าถัดไปค่ะ
วิธีจัดการเมื่อลูกดื้อไม่เชื่อฟัง
มีวิธีการเฉพาะเอาไว้ใช้จัดการกับเด็กดื้อในแต่ละช่วงอายุให้เหมาะสม แต่ก็มีสิ่งสองสิ่งที่คุณต้องจำใส่ใจเอาไว้ในการจัดการกับเด็กดื้อไม่เชื่อ ฟัง สิ่งเหล่านั้นคือ “ทันที” และ “อย่างชัดแจ้ง”
เมื่อลูกดื้อมาก ต้องจัดการทันที!!!
เมื่อลูกมีอาการดื้อขึ้นมา ไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่จะออกคำขู่ที่ไร้น้ำหนักและใช้การอะไรไม่ได้ เช่น “รอพ่อกลับมาบ้านก่อนเถอะ” หรือ “รอให้ออกจากร้านก่อนเถอะ” “ถ้าไม่หยุดจะให้หมอฉีดยาเลย” หรือ “ลูกจำไว้เลยนะว่าคราวหน้าที่ลูกอยากได้…..” เมื่อลูกดื้อไม่เชื่อฟังขึ้นมาก็ต้องได้รับการอบรมหรือโดนทำโทษ คุณต้องให้ลูกได้เรียนรู้โดยทันทีว่าผลของการกระทำที่ไม่ดีเป็นอย่างไร เราจะไม่โต้เถียงกันเรื่องการตีก้นลูกในตอนนี้ แต่ไม่ว่าการลงมือทำนั้นจะเป็นการแยกให้ลูกไปนั่งคนเดียวกับเก้าอี้ การให้ลูกหยุดทำอะไรบางสิ่งหรือออกจากในสถานที่ใดที่หนึ่งอย่างรวดเร็ว การห้ามไม่ให้เล่นของเล่น กินของว่าง หรืออะไรก็ตาม คุณต้องลงมือทำทันที มิฉะนั้นความสำคัญของการพยายามสร้างวินัยให้กับลูกจะลดทอนลงไปตามกาลเวลา (แม้แต่กับเด็กที่โตขึ้นแล้ว)
หยุดขู่ลูกกก
อย่างชัดแจ้ง
การลงโทษเด็กดื้อต้องทำกันอย่างชัดแจ้งและการลงโทษนั้นต้องเหมาะสมกับ ความผิดที่ลูกกระทำลงไป เช่น หากลูกน้อยวัยสี่ขวบไม่ยอมกินข้าว (โดยการทิ้งหรือเอาให้แมวกินแทน) การงดอาหารลูกก็เป็นการลงโทษที่เหมาะสม หากลูกวัยหกขวบไม่ยอมเก็บของเล่นที่เล่นแล้ว คุณก็ยึดของเล่นลูกไปเลยจะได้ไม่มีอะไรต้องเก็บ หากลูกที่ยังเล็กอยู่ดื้อในที่สาธารณะ (พยายามวิ่งพล่านไปมาหรือแสดงอาการหยาบคาย) คุณต้องเอาลูกออกจากสถานที่เหล่านั้นหรือควบคุมโดยการอุ้มไว้หรือจับใส่รถ เข็นเด็ก
หมอโอ๋ หรือ พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร เคยกล่าวไว้ว่า
การสื่อสารเชิงบวก ( ในเชิงจิตวิทยา ) เป็นทักษะที่เราควรฝึก มีหลายแบบ เริ่มตั้งแต่ฟังให้เป็น พ่อแม่ส่วนใหญ่ฟังไม่ค่อยเป็น ลูกพูดอะไรมาก็เตรียมสอน เหมือนโดนโปรแกรมมาว่าพ่อแม่มีหน้าที่สั่งสอนลูก จริงๆ ไม่ใช่ พ่อแม่มีหน้าที่รับฟัง และตั้งคำถามเพื่อให้ลูกคิด ซึ่งการคิดจะผ่านกระบวนการทำให้สมองจดจำ
เรื่องการสื่อสารที่ต้องใช้คำพูด กระทั่งการออกคำสั่ง จริงๆ สั่งยังไงให้ลูกทำโดยที่ไม่รู้สึกว่าถูกสั่ง เป็นศิลปะ และเป็นหลักที่ใช้วิทยาศาสตร์อธิบาย เช่น ไม่กระโดด คำว่า ห้าม อย่า ไม่ ฯลฯ คำเหล่านี้ทำให้สมองทำงานไม่รู้เรื่อง แต่มีเทคนิคสั่งอย่างอื่นทำให้เด็กร่วมมือได้ง่ายกว่า นี่เป็นศิลปะ
หรือการแสดงความคิดเห็นหรือคุยกับลูก บ้านเราชอบใช้คำพูดเชิงลบ หรือ U message “ทำไมไม่รับสาย” แต่จริงๆ ความหมายเหมือนกันกับคำว่า “แม่/พ่อโทรติดต่อลูกไม่ได้เลย” ฝรั่งจะพูดแบบ I message เยอะ แต่เราจะแบบ ทำไมกลับบ้านดึก ทำไมกลับบ้านเอาป่านนี้ จริงๆ เราเป็นห่วงนะ แต่ชอบพูดในสิ่งที่ blame คนอื่น ทำให้เกิดความเจ็บปวด ทำให้รู้สึกแย่ ซึ่งเป็นคำพูดติดปากจริงๆ
จริงๆ การสื่อสารที่ใช้ I message หรือคำพูดจากตัวเรา เช่น “แม่เป็นห่วงมากเลย เห็นลูกบอกว่าลูกจะกลับตอนสองทุ่ม เกิดอะไรขึ้นเหรอลูก” ความหมายเดียวกันกับ “ทำไมกลับบ้านเอาป่านนี้” แต่พอสื่อสารคนละรูปแบบ ความรู้สึกต่างกัน ดังนั้นการสื่อสารเชิงบวกควรเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพราะเกี่ยวข้องกับเรื่องความสัมพันธ์
หยุด ขู่ลูก 1
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา: Mthai
หมอโอ๋
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
ลูกดื้อไม่เชื่อฟัง: พฤติกรรมไม่ดีต้องหยุด!!
สัญญาณอันตรายที่บอกว่า “ลูกติดเกม”
คุยกับลูกโดยใช้คำถามปลายเปิด ช่วยพัฒนาความคิด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!