เมื่อลูกทำผิด ควรลงโทษลูก หรือไม่ การลงโทษทำให้ลูกเป็นคนดีหรือเปล่า?
เมื่อลูกทำผิด ควรลงโทษลูก หรือไม่?
เลี้ยงลูกให้ดี ควรลงโทษลูก หรือไหม ? ซึ่งในความหมายของผม การลงโทษ นั้นหมายถึง…การทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่ทำให้ลูกรู้สึกเจ็บปวด ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย เช่น การตี หรือ การหยิก และทางใจ เช่น การใช้คำพูดดุด่า ต่อว่า หรือ เพิกเฉย หรือแม้กระทั่งการกักบริเวณ โดยใช้คำว่า “รัก” มาต่อรอง โดยคาดหวังว่า ลูกจะกลัว และไม่กล้าทำผิดซ้ำ อีกทั้งยังคาดหวังว่า ลูกจะสำนึกผิด
การลงโทษลูก ด้วยวาจา หรือการเผิกเฉย ช่วยให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นหรือไม่?
ผมเชื่อมโยงจากหนังสือ The geine within (Harry W.Carpenter ผู้เขียน พรรณี ชูจิวงศ์ ผู้แปล) และพบคำตอบที่สอดคล้อง สามารถอธิบาย ทั้งเหตุ และผลได้ว่า ทำไมการเลี้ยงลูกโดยไม่ลงโทษนั้น ถึงดีกว่า และส่งผลดีต่อตัวลูกเองอย่างไร ในอนาคต
ขอกล่าวโดยสรุปครับว่า จิตใต้สำนึกนั้น มีพลัง และขนาดใหญ่กว่าจิตสำนึกมาก ถึงแม้จิตสำนึกจะเป็นตัวควบคุมจิตใต้สำนึกก็ตาม บ่อยครั้งเราจึงมักพบเหตุการณ์ที่เราหักห้ามใจไม่ได้อยู่เสมอ ๆ หรือที่เรียกว่า “อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล”
การลงโทษลูกอาจทำให้ลูกของคุณมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว
เคยไหมครับ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่ดีแต่ก็ยังทำ เช่น คนที่โกรธง่าย ๆ ขี้โมโห ปี๊ดบ่อย ๆ กับคนรอบข้าง ผมเชื่อครับว่า เขาไม่ได้อยากเป็นเช่นนั้นหรอก แต่เขาหยุดที่จะโกรธหรือโมโหไม่ได้ (จิตใต้สำนึกแสดงออกมา) เมื่อได้เวลาผ่านไปจากเหตุการณ์นั้นเริ่มได้สติ (จิตสำนึกเริ่มทำงาน) ก็มานึกเสียใจภายหลัง
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ในช่วงวัยเด็ก จนถึงวัยรุ่น เป็นช่วงระหว่างที่สมองส่วนจิตสำนึกนั้น ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผ่านทางอารมณ์ ที่เกิดจากตัวเราเอง หรือคนรอบข้าง ที่มากระทำกับเรา เช่น โกรธ เกลียด อิจฉา ดีใจ เสียใจ เมื่องอแงก็จะถูกดุ ถูกตี หรือขู่ให้กลัว อารมณ์ลบ ๆ โกรธเกลียดเหวี่ยงวีน เหล่านี้ ถูกบันทึกและจดจำในจิตใต้สำนึก (กลายเป็นบาดแผลทางใจ หรือเกิดเป็นปม) ที่สำคัญคือ จิตใต้สำนึกมีความทรงจำที่ไม่จำกัดอีกด้วย ทำให้เมื่อเจอเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน หรือเหมือนกัน (สะกิดแผลเก่าหรือปม) อารมณ์ความรู้สึกที่ถูกบันทึกไว้นั้น จะถูกเรียกกลับ และแสดงออกมาโดยอัตโนมัติ (โกรธหรือปี๊ดแบบหยุดไม่อยู่)
การถูกดุ หรือขู่ให้กลัว จะถูกบันทึกและจดจำในจิตใต้สำนึก
ดังนั้น การเลี้ยงลูกที่ไม่ลงโทษนั้น ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปม หรือ บาดแผลทางใจ ต่อตัวลูกในอนาคต และไม่ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ในการดำเนินชีวิตโดยทั่วไป คงไม่มีใครอยากให้ลูก กลายเป็นคนที่ใช้อารมณ์เป็นตัวขับเคลื่อนชีวิตใช่ไหมครับ แต่การเลี้ยงลูกโดยไม่ลงโทษนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องตามใจลูกนะครับ ทุก ๆ ครั้งที่ลูกทำผิด หรือ แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว หรือไม่เหมาะสมออกมา คุณพ่อ และคุณแม่ต้องสงบ และอยู่เคียงข้างเขาคุยกับเขา และสะท้อนอารมณ์ให้ลูกรู้ ด้วยการถามเขา หรือบอกเขา เช่น พ่อรู้ว่าลูกหงุดหงิด และโมโห แต่พ่อก็ให้ไม่ได้จริง ๆ พ่ออยู่ตรงนี้ข้าง ๆ ลูกนี่แหละ แต่ให้ลูกทำแบบนี้ไม่ได้จริง ๆ เมื่อเขาสงบ เราจึงค่อยบอกเหตุผล และสอนเขา เพียงเท่านี้ ความรุนแรง หรืออารมณ์ลบ ๆ ก็ไม่ถูกบันทึกและจดจำลงไป ในจิตใต้สำนึกแล้วละครับ….
คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามให้เหตุผลและสอนเขา เพื่อลดความรุนแรงและอารมณ์ด้านลบ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ เกี่ยวกับการ เลี้ยงลูก :
งานวิจัยเผย..พ่อช่วยเลี้ยงลูก สร้างลูกให้ฉลาดและอารมณ์ดี
ลูกอยู่ไม่นิ่ง ชอบปีนป่ายทำอย่างไรดี วิธีทำให้ลูกสงบนิ่ง ไม่ดื้อไม่ซนต้องทำยังไง
รับมืออย่างไร เมื่อคนอื่นวิจารณ์การเลี้ยงลูกของเรา
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!