ในปัจจุบันเด็กคือความหวังของประเทศชาติในอนาคต ครูในฐานะแม่พิมพ์ของชาติจึงจำเป็นต้องสอนให้ผู้เรียนฉลาด ทั้งด้านศาสตร์วิชาและศิลปะแห่งการคิดสร้างสรรค์ให้พร้อมในคนเดียว ปริศนาแห่งความกังวลใจของครูถูกเปิดด้วยกุญแจสำคัญอย่าง STEM กับ STEAM เครื่องมือสำคัญในการใช้กับผู้เรียนยุคนี้
STEM กับ STEAM มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?
ความแตกต่างของ 2 คำนี้ที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดก็คงเป็นตัว A ที่เพิ่มเข้ามา ซึ่งคำถามก็คือ A มีความสำคัญอย่างไรบ้างในการนำมาเพิ่มลงใน STEM ความจริงก็คือมันมาจากคำว่า ART อีกหนึ่งวิชาที่ช่วยเข้ามาเพิ่มทักษะให้แก่ผู้เรียน โดยผ่านการต่อยอดมาจาก STEM จึงได้กลายเป็น STEAM ถือเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม เข้าไว้ด้วยกัน ผสมผสานรวมเข้ากับศิลปะที่จะช่วยกระตุ้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ การสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ๆ เพิ่มความสุขในการเรียนรู้ สู่การเติบโตอย่างมีสมดุล
ถือเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างมากในศตวรรษ 21 ที่คุณครูทุกคนควรเรียนรู้ และนำมาปรับใช้กับการสอนในห้องเรียนจริง ซึ่งเชื่อว่าการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยความคิดสร้างสรรค์ จะนำไปสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีในอนาคตได้ และถ้าคุณครูลองมองย้อนกลับไป จะพบว่าในหลายกิจกรรม เขาจะมีกระบวนการที่ต้องใช้ทั้งทักษะทั้งทางความคิด และการออกแบบร่วมกัน
อย่างเช่นกิจกรรมที่ฝึกให้ผู้เรียนปั้นแป้งเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามจินตนาการของเด็กเพื่อทำขนมบัวลอย หรือกิจกรรมว่าวสร้างสรรค์ ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบโครงว่าวเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีขอบเขตกำหนด ทำให้เด็ก ๆ พัฒนาความคิดของตัวเองได้รวดเร็วมากขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : พาไปดู โรงเรียนสาธิตพัฒนา ฝ่ายมัธยม กับแนวคิดปั้นเด็กให้เก่งตามความถนัด
อย่างที่เราทราบกันดีในศตวรรษ 21 นั้น เรื่องของทักษะการคิดถือเป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ซึ่งการใช้แนวคิดในการรับมือกับปัญหา และนำเสนอทางออกของปัญหาต่าง ๆ นั่นก็ล้วนต้องอาศัยทักษะการคิดชั้นสูง หากจะอ้างอิงตามแนวคิดพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ระดับการเรียนรู้แล้ว ก็ต้องอาศัยการทำงานของสมองเป็นหลัก
เพื่อให้จดจำข้อมูลและข้อเท็จจริง ก่อนนำมาสู่การทำความเข้าใจและนำข้อมูลไปปรับใช้ในสถานการณ์อื่นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม จากนั้น จึงนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ เพื่อให้สามารถวางแนวทางแก้ปัญหาได้ดี ในการต่อยอดสร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา ซึ่งเหตุผลต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นล้วนต้องอาศัยบุคลากรที่มีทักษะของ STEAM ครบทุกมิติค่ะ
ดังนั้น ถ้าจะพูดให้ชัดเจน กระบวนการเรียนรู้แบบ STEAM ควรเริ่มสอนสอดแทรกในห้องเรียนตั้งแต่ช่วงปฐมวัยเลย เพื่อให้ผู้เรียนคุ้นชินกับทักษะการคิด และการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ โดยสามารถเริ่มจากประเด็นเล็กน้อยใกล้ตัวได้เลย แล้วค่อย ๆ นำไปสู่ปัญหายิ่งใหญ่ระดับประเทศ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิดเป็น แก้ปัญหาได้ รู้วิธีนำพาตัวเองและประเทศชาติให้รอดพ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างได้ผล
เด็กไทยรุ่นใหม่ต้องมีทักษะจาก STEM กับ STEAM ครบทุกมิติ
ก่อนจะเริ่มแนวทางการปั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่าง เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และสำนักโครงการที่จัดการเรียนรู้ สำนักงานบริหารพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. ที่มุ่งเน้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงการศึกษาไทยอย่างเป็นรูปธรรม จึงจำเป็นต้องปูพื้นฐานตั้งแต่เนิ่น ๆ ในเรื่องแนวคิดของ STEAM โดยโฟกัสไปที่ ตัว A ที่เป็นตัวย่อมาจาก ART ที่ได้เพิ่มเข้ามา โดยมีความจำเป็นในฐานะทักษะใหม่ที่เด็กมัธยมไทยต้องเรียนรู้
บทความที่เกี่ยวข้อง : รวมค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติปี 2023 ผู้ปกครองเตรียมเงินรอเลย!
จากบทความของ ดร.วิสูตร โพธิ์เงิน ได้อธิบายเกี่ยวกับ STEAM สั้น ๆ ว่า STEAM คือแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ที่ได้นำศิลปะมาบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ เข้าด้วยกัน เป็นการนำแนวคิด STEAM มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่าน บริบท (Context) การสร้างสรรค์ (Creative Design) และการจับใจความสำคัญ (Emotional Touch) ซึ่งการออกแบบกิจกรรมสร้างสรรค์ สิ่งสำคัญในการออกแบบมีอยู่ 4 ประเด็น คือ การบูรณาการ ความแปลกใหม่ การเจาะลึกเนื้อหา และความเป็นพลวัต
จากทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เยาวชนในตอนนี้จำเป็นต้องมีทักษะด้าน ART โดยเฉพาะ จึงได้เพิ่ม A เข้ามา ซึ่งการมีความคิดสร้างสรรค์ ในทางที่สร้างสรรค์จริง ๆ ก็คือ ความคิดที่หลากหลายมุมมอง หลากหลายทิศทาง สามารถคิดได้กว้างไกล ซึ่งความคิดนี้จะนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ รวมไปจนถึงการคิดค้นวิธีแก้ปัญหาให้สำเร็จได้ด้วยตนเองด้วยค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
หลักสูตร EP คืออะไร มาทำความรู้จักกับหลักสูตร English Program
การศึกษาพิเศษ (SPED) คืออะไร เหมาะกับเด็กประเภทไหนมากที่สุด
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
ที่มา : aksorn, salika
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!