การวัดความฉลาดของผู้ใหญ่คือการวัดไอคิว แต่สำหรับเด็กๆ แน่นอนว่าเราไม่รู้หรอกค่ะว่าลูกฉลาดแค่ไหน แต่สมองของเด็กๆ ในช่วง 3 ปีแรก พัฒนาเร็วมากๆ และมีศักยภาพมากที่สุดแล้ว เนื่องจากสมองพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่แล้ว
เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์เพียง 4 สัปดาห์ สมองของลูกจะสร้างเซลล์ประสาทใหม่ขึ้นมา 250,000 เซลล์ในทุกๆ นาที ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเวลาถึง 3 ปี บวกกับอีกเกือบ 9 เดือนที่อยู่ในท้องของคุณแม่ ในเด็กที่อายุ 3 ขวบนั้น สมองจะพัฒนาเป็น 80% และมีจำนวนเซลล์ประสาทที่มากถึง 1000 ล้านล้านเซลล์ที่เชื่อมต่อถึงกันเลยนะคะ และนี่ก็คือเรื่องน่าทึ่งทั้ง 10 เรื่อง เกี่ยวกับสมองของลูก
1.เด็กทุกคนเกิดมาเร็วไป
มีทฤษฎีหนึ่งที่อธิบายว่า 3 เดือนแรกที่ลูกลืมตาออกมาดูโลก เทียบเท่ากับไตรมาสที่ 4 เพราะเด็กทารกแรกเกิดยังชอบให้พันตัวเหมือนตอนที่ยังอยู่ในถุงน้ำคร่ำ และตอบสนองกับเสียงต่างๆ เหมือนกับตอนที่ยังอยู่ในท้องคุณแม่ แต่ก็มีอีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมและมีวัฒนธรรม การที่เด็กๆ จะต้องคลอดออกมาก่อน เพื่อให้เด็กๆ ชินกับการเลี้ยงลูกจากคนในครอบครัวที่มีหลากหลายคน
แม้เด็กๆ จะถือว่าคลอดออกมาเร็วไปก็ตาม แต่ด้วยสรีระแล้ว สมองและกะโหลกของเด็กๆ ก็เป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์มาก เนื่องจากขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ แต่สามารถยืดหยุ่นได้ดีเมื่อต้องคลอดผ่านอุ้งเชิงกรานของคุณแม่ นั่นก็หมายความว่าสมองของเด็กๆ ยังไม่ได้พัฒนาเต็มที่ หรือจะเรียกได้ว่าทารกแรกเกิดนั้นเกิดมาพร้อมกับสมองที่ยังไม่พัฒนาและอ่อนไหวต่อสิ่งเร้าทั้งหลายนั่นเองค่ะ
2.เด็กเกิดมาพร้อมกับเซลล์ประสาทใหม่
เด็กที่ไม่มีอาการผิดปกติทางสมอง จะคลอดออกมาพร้อมกับเซลล์ประสาทจำนวน 100 พันล้านเซลล์ มากกว่าเกือบ 2 เท่าของผู้ใหญ่ ทั้งที่มีขนาดสมองเล็กกว่าครึ่ง เซลล์ประสาทจำนวนมหาศาลนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นมากต่อการเรียนรู้ในช่วงขวบปีแรกของเด็กๆ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตอนที่เด็กๆ มีอายุ 3 ขวบ แต่เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ประสาทที่แข็งแรงเท่านั้นที่จะยังคงอยู่ ส่วนเซลล์ประสาทที่อ่อนแอก็จะแทนที่ด้วยสารสื่อนำประสาทแทน
3.สมองจะพัฒนาเร็วที่สุด ในช่วงระหว่างแรกเกิดถึง 3 ขวบ
สมองคืออวัยวะที่เติบโตเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย สมองของเด็กแรกเกิดจะมีขนาดเล็กกว่าสมองของผู้ใหญ่ถึง 1 ใน 3 และใน 90 วัน สมองจะโตขึ้นเป็น 2 เท่า หรือประมาณ 55% ของขนาดที่โตเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมองส่วนท้าย (cerebellum) ที่ควบคุมในเรื่องของการเคลื่อนไหว จะเติบโตมากที่สุด ในระยะเวลาเพียง 3 เดือน สมองส่วนนี้จะโตถึง 110% ของขนาดตอนแรกเกิด
4.พลังงานส่วนใหญ่ที่เด็กๆ เอาไปพัฒนาสมอง
60% ของการเผาผลาญพลังงานทั้งหมด (ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการบริโภคกลูโคส) ของเด็กๆ จะนำไปพัฒนาสมอง เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ที่ใช้พลังงานเพียง 25% เท่านั้นค่ะ
5.สมองของเด็กๆ เตรียมพร้อมที่จะพูดก่อนที่จะรู้คำศัพท์ด้วยซ้ำ
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันที่ทำการเก็บข้อมูลจากเด็กอายุ 7 เดือน พบว่ามีการทำงานของสมองในส่วนของการพูด ก่อนที่เด็กๆ จะพูดได้เสียอีกค่ะ ซึ่งหลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่าสมองมีการทำงานในขั้นที่เรียกว่า การวิเคราะห์โดยการสังเคราะห์ โดยสมองจะเก็บข้อมูลและคาดการณ์การเคลื่อนไหวในการพูดเสียงต่างๆ คำต่างๆ ในการพูด และเตรียมพร้อมเมื่อถึงคราวที่จะต้องพูดจริงๆ
6.เด็กสองภาษามีการทำงานของสมองด้านจัดการที่ดีกว่า (EF)
เด็กๆ สามารถเรียนรู้ภาษาต่างๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติและมีศักยภาพ แต่เด็กที่ถูกเลี้ยงตั้งแต่ 2 ภาษาขึ้นไปนั้น จะมีทักษะการทำงานของสมองด้านจัดการที่ดีกว่าเมื่อโตขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของสมาธิเพื่อแก้ปัญหาที่ขัดแย้ง หรือพูดได้ว่าเด็กสองภาษาจะมีสมาธิดีกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่ากว่าในการเรียนและการทำงาน
7.การสัมผัสช่วยเสริมสร้างสารสื่อนำประสาท
เด็กทารกที่ได้รับการสัมผัสทางกายเป็นประจำ เช่น การอุ้มหรือการกอด จะมีสารสื่อนำประสาทระหว่างเซลล์ประสาทที่แข็งแรงมากขึ้นและดีขึ้น กลับกันเด็กที่ไม่ค่อยได้รับการสัมผัสจะส่งผลเสียแก่ร่างกาย ตั้งแต่ในเรื่องของน้ำหนักที่ไม่ค่อยขึ้น จนกลายเป็นตกเกณฑ์ ไปจนถึงในเรื่องของความบกพร่องทางด้านอารมณ์ เช่น มีความวิตกกังวลและเป็นโรคซึมเศร้าได้
งานวิจัยจากเด็กจำนวน 92 คน อายุตั้งแต่ 7-9 ปี พบว่า เด็กที่ถูกเลี้ยงจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองจะมี ฮิปโพแคมพัส (Hippocampus) ซึ่งเป็นสมองในที่ทำหน้าที่ในด้านความจำและทิศทาง ที่หนากว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงมาแบบไม่ใกล้ชิดไม่ได้รับการสัมผัส สมองส่วนฮิปโพแคมพัสยิ่งหนา ยิ่งทำให้ความจำดี มีสมาธิ เรียนรู้ได้ดีค่ะ
8.สมองเด็กจดจำกลิ่นคุณแม่ได้
กลิ่นของคุณแม่และการสัมผัสเป็นตัวกำหนดว่า สายสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่และลูกเป็นยังไง และจะเกี่ยวกับฮอร์โมนออกซิโทซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนในเรื่องของความรู้สึกภูมิใจและความรักค่ะ มีงานวิจัยว่าเด็กทารกแรกเกิดจะถูกดึงดูดจากลิ่นน้ำคร่ำของคุณแม่ ซึ่งมีผลให้เด็กสามารถหาหัวนมคุณแม่เจอได้นั่นเอง เด็กที่โตไวจะชอบกลิ่นของเต้านมคุณแม่ยังไงละคะ
9.เด็กติดพ่อติดแม่ดีเเล้ว
คุณแม่อาจจะเคยกังวลเกี่ยวกับเรื่องที่ลูกติดคุณแม่ ไม่ยอมห่าง กว่าจะแงะตัวออกไปไหนมาไหนได้เป็นเรื่องอยาก อาจจะดีใจนะคะ เนื่องจากเด็กๆ ที่ติดคุณแม่นั้น หมายความว่าลูกมีพัฒนาการด้านความทรงจำระยะยาวแล้วละค่ะ
เจอโรม เคเกน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแนะนำว่า ประมาณเดือนที่ 9 เด็กๆ จะไม่อยากจากคุณพ่อคุณแม่ไปไหน หรือเรียกง่ายๆ ว่ายึดติดกับคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งการพัฒนาในเรื่องนี้ จะส่งทางด้านอารมณ์ของเด็กๆ ต่อเหตุการณ์ต่างๆ ต่อไปค่ะ
10.สภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติช่วยปกป้องสมองของเด็กๆ
งานวิจัยเด็กทารกแรกเกิดที่ต้องรักษาตัวจากโรคสมองขาดออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยง (hypoxic-ischemic encephalopathy) จากโรงพยาบาลเด็กลอสแองเจลิส พบว่าเมื่อสมองขาดออกซิเจน ร่างกายจะลดอุณหภูมิลงเพื่อป้องกันเซลล์ประสาทเสียหาย หากไม่ได้รับการรักษา สมองของเด็กๆ อาจจะพิการ หรือมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ค่ะ
ที่มา mentalfloss
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 วิธีพัฒนาสมองลูกรัก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
พัฒนาการของสมองลูกน้อยในครรภ์
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!