หลายครอบครัวที่ลูกต้องเริ่มเข้าสู่วัยมัธยม การวางแผนหรือเลือกเรียนในช่วงชั้นมัธยมต้น ให้กับลูกเป็นอีกเรื่องที่หลายครอบครัวหนักใจ และผู้ปกครองหลายๆ ท่าน น่าจะเคยได้ยินคำว่า หลักสูตร EP หรือ English Program กันมาบ้างแล้ว แต่หลายๆ ท่านคงยังมีข้อสงสัยไม่น้อยว่าจริงๆ แล้ว เจ้า หลักสูตร EP นี้มันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราได้รวบรวมคำถามยอดฮิตจากผู้ปกครองเกี่ยวกับการเรียนหลักสูตร EP เพื่อช่วยตอบทุกข้อสงสัยก่อนที่ผู้ปกครองทุกท่านจะวางแผนการเรียนให้กับลูกๆ
หลักสูตร English Program คืออะไร
หลักสูตร EP หรือ English Program เป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นในหลายๆ โรงเรียนโดยมุ่งเน้น เสริมสร้างทักษะด้านภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียน ใช้หลักสูตรการเรียนการสอน และสาระการเรียนรู้ต่างๆ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยนักเรียนที่เรียนหลักสูตรนี้จะเรียนภาษาอังกฤษ ที่เข้มข้นกว่าภาคปกติ
English Program
EP เรียนเป็นภาษาอังกฤษทุกวิชาหรือไม่
สำหรับหลักสูตร EP นอกจากจะเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากกว่าหลักสูตรไทยปกติแล้ว ยังเรียนบางวิชาเป็นภาษาอังกฤษด้วย เช่น คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังมีบางวิชาที่จำเป็นจะต้องจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยเหมือนเดิม เช่น วิชาภาษาไทย, วิชาประวัติศาสตร์, วิชาพระพุทธศาสนา, วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา และวิชาสังคมศึกษา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การออกแบบหลักสูตรให้วิชาใดสอนเป็นภาษาอังกฤษนั้นก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนด้วย เช่น บางโรงเรียนก็สอนวิชาสังคมศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : รวม Phrasal verb คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่มักเจอบ่อย ในข้อสอบ GAT
ผู้สอนเป็นคนไทยหรือครูต่างชาติ
ครูผู้สอนในหลักสูตร EP โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชาวต่างชาติ หรือหากเป็นครูคนไทยก็ต้องทำการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งครูชาวต่างชาติก็จะสอนในวิชาอื่นที่นอกเหนือจากวิชาภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งก็จะมีทั้งครูชาวอังกฤษ, อเมริกัน, แคนาดา, และออสเตรเลีย เป็นต้น แตกต่างกันไปแต่ละโรงเรียน
หนังสือที่ใช้ประกอบ การเรียนการสอน
หากเป็นวิชาที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ สื่อการเรียนการสอนและหนังสือเรียนจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ยกเว้นวิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษาที่มีเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยและประเพณี วัฒนธรรมไทย ส่วนวิชาอื่นๆ หากสอนเป็นภาษาไทยก็จะยึดหนังสือเรียนตามกระทรวงศึกษาธิการ
English Program course 2
English Program สอบเข้าอย่างไร และเรียนวิชาอะไรบ้าง
สอบเข้าอย่างไร ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง
สำหรับการสอบเข้าเรียนหลักสูตร EP ในโรงเรียนของไทยส่วนใหญ่ จะแบ่งการสอบออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนทดสอบความรู้ทางวิชาการและการสอบสัมภาษณ์ ในส่วนของวิชาการ ข้อสอบเข้าหลักสูตร EP จะทดสอบ 3 วิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์, และ วิทยาศาสตร์ โดยทุกวิชาจะออกข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ส่วนการสัมภาษณ์ก็จะสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดเช่นกัน
เพื่อนร่วมชั้น กิจกรรม และสิ่งแวดล้อมในการเรียนเป็นอย่างไร
ในการเรียนหลักสูตร EP โดยทั่วไปแล้ว เพื่อนๆ ร่วมชั้นก็จะเป็นนักเรียนไทยทั้งหมด เนื่องจากยังมีบางวิชาที่ทำการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยอยู่ เพื่อนๆยังพูดคุยกันโดยใช้ภาษาไทยทั้งหมด อย่างไรก็ตาม หลักสูตรก็จะสนับสนุนการสื่อสารภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมเช่น การแสดงและบรรยายผลงานเป็นภาษาอังกฤษ การเล่นเกมส์ การแข่งขันเล่านิทานเป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น แต่นักเรียนก็ยังได้เข้าร่วมในกิจกรรมที่สื่อถึงความเป็นไทยที่จัดโดยโรงเรียนได้ตามปกติ เช่นกิจกรรมทางศาสนาและเทศกาลต่างๆ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : รวมกิจกรรม ! เสริมทักษะด้าน ศิลปะเด็ก ง่าย ๆ ลงมือทำได้ที่บ้าน
เมื่อเรียนจบ EP ระดัยมัธยมต้น สามารถเรียนต่อมัธยมปลายอะไรได้บ้าง
จริงๆ แล้ว หลังจากเรียนจบมัธยมต้นในหลักสูตร EP น้องๆสามารถเลือกเรียนต่อได้หลากหลายมาก ทั้ง การเรียนต่อในหลักสูตรนานาชาติที่เปิดรับสมัครในระดับชั้นมัธยมปลาย เช่น MUIDS, SPIP, KMIDS เป็นต้น หรือการเรียนต่อในโรงเรียนเดิมแต่ยังคงเรียนต่อในหลักสูตร EP หรือน้องๆ หลายคนก็เลือกที่จะไปสอบแข่งขันต่อในต่างโรงเรียน ดังนั้น ขึ้นอยู่ที่ตัวของน้องๆ เองว่าสนใจศึกษาต่อในรูปแบบใด
ในกรุงเทพมหานคร มีโรงเรียนไหนบ้างที่มีการจัดรูปแบบการเรียนการสอนหลักสูตร EP ในระดับมัธยมต้น ซึ่งในรายชื่อข้างล่างนี้ได้ถูกจัดเรียงตามกลุ่มโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน หากคุณพ่อ คุณแม่กำลังมองหาโรงเรียนให้น้องๆ คนเก่งอยู่ ถูกใจโรงเรียนไหน ก็เก็บไว้พิจารณากันได้เลย
English Program course. 3
รวมรายชื่อโรงเรียนรัฐบาล ในกทม. ที่เปิดสอนหลักสูตร EP ม.ต้น
- เทพศิรินทร์
- เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
- เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
- ทวีธาภิเศก
- นวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
- โพธิสารพิทยากร
- มัธยมวัดนายโรง
- มัธยมวัดสิงห์
- วัดนวลนรดิศ
- สิริรัตนาธร
- สตรีวิทยา
- สตรีวิทยา 2
- สวนกุหลาบ
- สวนกุหลาบ ธนบุรี
- สามเสนวิทยาลัย
- ศึกษานารี
- โยธินบูรณะ
English Program.
รวมรายชื่อโรงเรียนเอกชน ในกทม. ที่เปิดสอนหลักสูตร EP ม.ต้น
- กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- กรุงเทพวิเทศศึกษา
- กรพิทักษ์ศึกษา
- กว่างเจ้า
- กสิณธรอนุสรณ์
- คริสต์ธรรมศึกษา
- จินดามณี
- ฉัตรวิทยา
- เซนต์โยเซฟคอนแวนต์
- ฐานปัญญา
- ดรุณพัฒน์
- บางกอกทวีวิทย์
- บางกอกแอ็ดเวนต์
- บูรพาพัฒนศาสตร์
- ปิยพัฒน์
- ไผทอุดมศึกษา
- เด็กสากล
- เด็กสากลนิมิตใหม่
- เทพสัมฤทธิ์วิทยา
- อัสสัมชัญ
- ยุวทูตศึกษา
- เลิศหล้า
- เลิศหล้าถนนกาญจนาภิเษก
- เลิศหล้าถนนเกษตร-นวมินทร์
- สารสาสน์เอกตรา
- สารสาสน์วิเทศนิมิตใหม่
- สารสาสน์วิเทศบางบอน
- สารสาสน์วิเทศธนบุรี
- สารสาสน์วิเทศสายไหม
- สารสาสน์พิทยา
- ศิริวัฒน์วิทยา
- ศรีวิกรม์
- อุดมศึกษา
- อัสสัมชัญธนบุรี
- มัธยมปัญญารัต์
- อัสสัมชัญหลักสูตรภาษาอังกฤษ
- พระหฤทัยคอนแวนต์
- วัฒนาวิทยาลัย
- พระมารดานิจจานุเคราะห์
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : การวางแผนการศึกษา : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
รวมรายชื่อโรงเรียนเครือสาธิตในกทม. ที่เปิดสอนหลักสูตร EP ม.ต้น
- สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม)
- ดรุณสิกขาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
- สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
หลักสูตร EP ของทุกโรงเรียนจะใช้หลักสูตรการเรียนการสอนและสาระการเรียนรู้ต่างๆ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหัวข้อที่เรียนจะไม่ได้แตกต่างกันมาก ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรโรงเรียนให้แน่นขึ้น
อ่านประสบการณ์จริงของคุณแม่ที่ให้ลูกเรียน iep
iep คืออะไรคะ สำหรับหลักสูตรอนุบาล
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
รวมค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติปี 2023 ผู้ปกครองเตรียมเงินรอเลย!
หลักสูตร IB โรงเรียนนานาชาติ คืออะไร มีที่ไหนบ้างในประเทศไทย
7 โรงเรียนสอนดนตรีสำหรับเด็ก ที่ตอบโจทย์ เด็ก ๆ หลายคนต้องมาเรียน
ที่มา : (ignitebyondemand)
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!