X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด

บทความ 8 นาที
ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด

เมื่อคืนวานนี้ ได้มีประเด็นร้อนแรกเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส โควิด-19 จากทางเพจ FB : Drama-addict ที่มีการแจ้งเรื่องเข้ามาจากคุณตา หรือคุณตุ๊กตา ถึงการเสียชีวิตของเพื่อนสาวคุณจูน หลังจากไปฉีดวัคซีน ตามโควต้าของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นผลกระทบจากการทานยาคุมกำเนิด กับตัววัคซีนที่ฉีดเข้าไป จนทำให้เกิดเหตุสลดดังกล่าว จึงเป็นที่ถกเถียงกันว่า ห้าม… กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด หรือไม่ แล้วมียาตัวไหนที่จะมีความเสี่ยงเช่นเดียวกันนี้อีก

 

ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด

เมื่อช่วงวันที่ 28 พฤษภาคม ทางเฟสบุ๊คเพจ Rattanaporn Pornprachawat ได้เปิดเผยข้อมูลไทม์ไลน์ของการฉีดวัคจนเป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์สลดดังกล่าว

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2564 ที่ผ่านมา คุณตา และคุณจูน ได้ไปรับการฉีดวัคซีน Sinovac ซึ่งเป็นโควต้าของบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากมีบุคลากรทางการแพทย์อยู่ในครอบครัว และได้รับการฉีดครบทั้ง 2 โดสแล้ว แต่ไม่มีอาการใด ๆ จึงทำให้ทั้ง 2 ตัดสินใจเข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อการป้องกัน

ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด

วันที่ 14 พ.ค. 2564 คุณจูน และคุณตา ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19

 

คุณตา และคุณจูน ได้ทำการนั่งพักประมาณ 30 นาที หลังจากทำการฉีดวัคซีน เพื่อสังเกตอาการข้างเคียงก่อนจะกลับ โดยคุณจูนนั้นได้บอกว่าตนเองไม่ได้มีอาการอะไรเกิดขึ้น ในขณะที่คุณตา มีอาการมึนหัวเล็กน้อย และเมื่อไม่มีอาการอะไรร้ายแรง ทางเจ้าหน้าที่จึงได้ทำการนัดฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 แล้วให้กลับบ้านได้

  • วันที่ 19 พ.ค. 2564 คุณจูนได้โทรไปขอลางาน โดยให้เหตุผลว่ารู้สึกไม่ค่อยสบาย และส่งข้อความทางไลน์ในช่วงเย็นว่าได้ทำการแอดมิทที่โรงพยาบาลแล้ว เนื่องจากมีอาการวูบ ใจสั่นก่อนจะเป็นลม ซึ่งยังได้บอกอีกว่า อาการเป็นลมนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในชีวิต
ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด

วันที่ 19 พ.ย. 2564 เมื่อคุณจูนมีอาการหน้ามืด ใจสั่น จนต้องเข้าแอดมิทที่ รพ.

ทางโรงพยาบาลได้ให้แอดมิทรอดูอาการก่อน โดยระหว่างนั้นได้ทำการตรวจเลือด X-Ray ปอด EKG วัดความดันทุก 2 ชั่วโมง และตรวจโควิด ซึ่งผลทุกอย่างออกมาเป็นปกติดี มีเพียงแค่ความดันต่ำเพียงอย่างเดียว ดังนั้นทางแพทย์จึงวินิจฉัยว่า สาเหตุน่าจะเกิดจากความดันต่ำ เครียด ออฟฟิศซินโดรม พักผ่อนน้อย และแนะนำให้ออกกำลังกายให้มากขึ้น

  • วันที่ 20 พ.ค. 2564 จึงได้กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้าน
ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด

วันที่ 20 พ.ค. 2564 ได้รับการตรวจผลเป็นปกติดี ให้กลับบ้านได้

  • วันที่ 22 พ.ค. 2564 ได้มีการพูดคุยข้อความผ่านทางไลน์ถึงอาการของคุณจูน แล้วรับคำตอบว่าอาการดีขึ้น ยกเว้นช่วงเวลาที่ต้องขึ้น-ลงบันได

ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด

 

  • วันที่ 27 พ.ค. 2564 ช่วงเวลาประมาณ 07:30 น. ทางแฟนของคุณจูน ได้โทรแจ้งกับคุณตุ๊กตาว่า ได้มีการปั๊มหัวใจคุณแล้ว 6 รอบ สุดท้ายชีพจนกลับมาอีกครั้งในการช็อตคลื่นไฟฟ้าครั้งที่ 7 แต่ช่วงเวลานั้นจำเป็นจะต้องให้ยาจำนวนมากกับทางคุณจูน และจึงพาไปทำ CT Scan

โดยทางแฟนคุณจูนได้เล่าว่าช่วงเช้าได้ยินเสียงดังโครมครามจากห้องน้ำ จึงได้รุดไปดู แล้วพบคุณจูนนอนทรุดอยู่ที่พื้น พร้อมข้าวของที่กระจัดกระจาย คาดว่าน่าจะพยายามทำเสียงดัง เพื่อให้ได้ยิน และช่วงที่เรียกรถพยาบาลให้มารับนั้น คุณจูนมีอาการนิ่งไป จึงทำการปั๊มหัวใจรอ

  • กลับมาที่โรงพยาบาล เมื่อผลตรวจ CT Scan ออกมา ก็พบว่าเจอลิ่มเลือดในปอด (PE) และจำเป็นจะต้องใส่เครื่อง ecmo

*** หมายเหตุ ecmo เป็นเครื่องที่ช่วยทำงานแทนหัวใจ และปอด มักจะใช้ในเคสที่อวัยวะอ่อนแอเกินไปจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ***

  • ตอนเวลาประมาณ 18:00 น. ของวันเดียวกัน คุณจูนได้เสียชีวิตลง เนื่องจาก ร่างกายไม่รับกับเครื่อง ecmo ที่ใส่ไป

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ดราม่าการ จองฉีดวัคซีนวันแรก เพจไทยร่วมใจ กับสารพัดดราม่า

 

ข้อสันนิษฐานที่เกิดขึ้น และมีความเป็นไปได้

ในขณะที่คุณตาเองนั้นก็มีอาการเจ็บหน้าอกข้างซ้ายเป็นเวลา 3 -4 วัน จึงได้โทรปรึกษากับทางแพทย์ Cardio ที่รู้จักกัน แล้วมีการเล่าถึงเหตุการณ์ของคุณจูนให้ฟัง โดยคำถามแรกที่อาจารย์แพทย์ได้ถามคือ “น้องเค้ากินยาคุมมั้ย เพราะการกินยาคุมนั้น มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดสูงอยู่แล้ว การฉีดวัคซีนอาจจะเพิ่มโอกาสทำให้เกิดลิ่มเลือดได้สูงขึ้น”

ซึ่งข้อมูลตรงนี้ ถือว่าเป็นข้อมูลที่ใหม่มาก เนื่องจากข้อมูลจากเตือนเรื่องการเตรียมตัวก่อนไปฉีดวัคซีนนั้น ไม่มีบทความไหน หรือข้อแนะนำไหน ที่กล่าวถึงกรณีของยาคุม และอาจจะเป็นเพราะเป็นโรค เป็นไวรัส เป็นวัคซีนใหม่สำหรับเราทุกคน จึงไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเราได้บ้าง

 

เสียงสะท้อนจากประชาชนตัวเล็ก ๆ

อีกทั้งคุณตาเอง ยังได้กล่าวในเนื้อหาที่ลงผ่านทางเฟสบุ๊คส่วนตัวอีกว่า “เข้าใจว่าวัคซีนเป็นวัคซีนใหม่ ปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่มีต่อร่างกาย หรือต่อยาที่เราทานในร่างกาย ยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัด แต่การที่มีผู้ได้รับวัคซีน เกิดอาการข้างเคียงต่าง ๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบควรที่จะรวบรวมข้อมูล และสรุปออกมาเป็นคำแนะนำ อย่างกรณีเคสของคุณจูน”

และยังกล่าวต่ออีกว่า “แล้วที่ สปสช. ประกาศว่ากรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง ที่ต้องรักษาตลอดชีวิต จ่ายไม่เกิน 4 แสนบาท ถามว่าทุกเคสที่เกิด มีเคสไหนบ้างที่ระบุว่า “สาเหตุเกิดจากวัคซีน” จำเป็นมั้ยที่จะต้องฉีดปุ๊บแล้วตายเลย ถึงจะอยู่ในเคสนี้ได้”

“คนที่ร่างกายปกติ สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว พอได้รับวัคซีนแล้วเสียชีวิต ก็น่าจะชัดเจนอยู่แล้วว่าวัคซีนมีส่วน และร่างกายแต่ละคนใช้ระยะเวลาไม่เท่ากันอยู่แล้ว และได้ขอให้อย่าให้มีเคสแบบคุณจูนเกิดขึ้นอีกเลย”

 

ข้อมูลเบื้องต้น

จากกรณีดังกล่าวทางเพจ Drama-addict จึงได้สอบถามไปทางสูตินารีแพทย์เกี่ยวกับประเด็นที่เกิดขึ้น โดยมีการสรุปประเด็นได้ดังนี้

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด

เพจ Drama-addict ออกมาเตือน

  1. คนที่ทานยาคุมทุกคน มีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอยู่แล้ว ต้องหมั่นสังเกตอาการ เช่น ขาบวมร้อน (dvt) เหนื่อยง่ายขึ้น ชีพจรเต้นเร็ว หน้ามืด แน่นหน้าอก ไอเป็นเลือด (pe) หรือปวดหัวอ่อนแรง (venous sinus thrombosis)
  2. การปฏิบัติตัว ต้องหมั่นทานน้ำเยอะ ๆ มีการขยับตัว หรือออกกำลังกายเป็นประจำ
  3. แจ้งแพทย์ทุกครั้งก่อนฉีดวัคซีน
  4. วัคซีนยังไม่มีข้อมูลการเกิดลิ่มเลือดได้มากกว่าคนที่ยังไม่ได้ฉีด

(อ้างอิงตาม evidence base จาก trial ที่บราซิล และข้อมูลที่ชิลี : เกิดปัญหาลิ่มเลือดอุดตันน้อยมาก ในวัคซีนอย่าง AZ หรือ J&J แต่กลไกของวัคซีนทั้งสองชนิดนี้ ต่างกับของซิโนแวค จึงยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะมีความเป็นไปได้กับวัคซีนชนิดนี้หรือไม่)

เคสนี้จำเป็นที่จะต้องสอบสวนถึงสาเหตุในแง่ของยาคุม กับการฉีดวัคซีน และลิ่มเลือด ดังนั้นควรให้คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในราชวิทยาลัย นำข้อมูลของประเด็นนี้มาวิเคราะห์ ว่าเราควรให้คำแนะนำเกี่ยวกับยาคุม และการฉีดวัคซีนได้อย่างไร

 

การคุ้มครองผลกระทบจากการฉีดวัคซีนเรื่องจริงหรือแค่ภาพลวงตา ?

จากเคสดังกล่าวทำให้เราต้องย้อนกลับมาดูถึงการคุ้มครองดูแลเรื่องผลกระทบที่เกิดจากการฉีดวัคซีน เพราะทุกครั้งที่เกิดเคสลักษณะใกล้เคียงกันนี้ มักจะถูกระบุว่าเป็นสาเหตุจากสุขภาพเป็นหลัก แต่หากจะมองย้อนกลับมาว่า วัคซีนที่ฉีดเข้าไปนั้น เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวหรือไม่ และความคุ้มครองที่แท้จริงคืออะไร

เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นจากการระบุผลการตรวจ ไม่มีข้อมูลใด ที่จะออกมาบอกว่า อาการที่เกิดขึ้น หรือเคสการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลมาจากวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 แล้วอะไรคือการคุ้มครอง อะไรที่ส่วนที่ สปสช. หรือแม้แต่ประกันชีวิต ประกันโรคโควิด ประกันคุ้มครองอาการอันเนื่องจากวัคซีนโควิด คุ้มครองกันแน่ มันคือการคุ้มครองจริง หรือเพียงแค่จกตาหลอกไปวัน ๆ

 

อะไรคือทางเลือกของประชาชนคนไทย ?

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เราสามารถมองย้อนถึงคุณภาพชีวิตของคนไทย ในสิทธิการเข้าถึงทางเลือกของการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะกับบุคลากรทางแพทย์ และคนใกล้ชิด ที่ ณ ปัจจุบันเหมือนเป็นการบีบคอบังคับว่าจะต้องใช้วัคซีนตัวนั้น ตัวนี้ โดยที่เราไม่มีสิทธิ์ในการเลือก หรือกำหนดเองได้

ในขณะที่วัคซีนทางเลือกอย่าง วัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ประชาชนที่มีความต้องการจำเป็นจะต้องจ่ายเงินเอง ในขณะที่หลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ต่างก็ได้รับวัคซีนฟรี และมีวัคซีนทางเลือก สิทธิ์ของการใช้ชีวิต ดูแลสุขภาพ ของตัวเอง ได้อย่างอิสระ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า คนที่มีรายได้น้อย แม้จะเป็นประชนชนคนไทยก็ตาม จะไม่มีสิทธิ์ในการเลือก เพื่อสุขภาพ และชีวิตของตนเองเลยงั้นหรือ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ทัวร์ฉีดวัคซีน คนไทยแห่จอง แพ็คเกจเที่ยวไป ฉีดไป ทำได้จริงหรือ?

 

ผู้ที่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

  1. ผู้ที่แพ้วัคซีนอย่างรุนแรง
  2. ผู้ป่วยขั้นวิกฤติ
  3. ผู้ป่วย HIV
ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด

ผู้ที่มีความเสี่ยงกับโรคต่าง ๆ เหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน

 

ทั้งนี้ทางแอดอย่างเสริมถึงผู้ที่จำเป็นจะต้องทานยารักษาเฉพาะโรคอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคซึมเศร้า ผู้ที่ต้องใช้ฮอร์โมนเพศหญิง หรือกลุ่มผู้ที่ต้องทานยาอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน ให้เข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ก่อน เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง และพยายามสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง อย่าหยุดทานยาเอง เพราะอาจจะมีผลกระทบตามมาได้ค่ะ

 

ทั้งนี้ ทางเพจ TheAsianparentThailand ขอแสดงความเสียใจ กับครอบครัวผู้เสียชีวิตด้วยนะคะ และทางเพจก็หวังว่า เคสของคุณจูน จะเป็นบทสะท้อนถึงปัญหาการจัดการ และการดูแลประชาชนคนไทย ที่จะสามารถเข้าถึงระบบการประกันสุขภาพ และมีทางเลือก หรือช่องทางที่มีประสิทธิภาพให้กับตนเองได้มากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

 

ที่มา : Drama-addict , tookta.rojana , ไทยรู้สู้โควิด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็ก 3 เดือนก็ติดโควิดได้ ! อาการโควิดในเด็ก สังเกตยังไงดี มีสิ่งไหนที่คุณแม่ควรรู้

แม่ท้องติดโควิด-19 ทำพิษเสียชีวิตระหว่างคลอด แต่ลูกรอด

เบลเยียมระงับใช้วัคซีน โควิด “Johnson & Johnson” กับคนอายุต่ำกว่า 41 ปี

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Arunsri Karnmana

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด
แชร์ :
  • ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ สรุปผลการใช้ยาคุมกำเนิดกับการรับวัคซีนโควิด-19

    ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ สรุปผลการใช้ยาคุมกำเนิดกับการรับวัคซีนโควิด-19

  • วอร์คอินฉีดวัคซีนโควิด 19 พร้อมให้บริการได้ทันทีทั่วประเทศ

    วอร์คอินฉีดวัคซีนโควิด 19 พร้อมให้บริการได้ทันทีทั่วประเทศ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ สรุปผลการใช้ยาคุมกำเนิดกับการรับวัคซีนโควิด-19

    ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ สรุปผลการใช้ยาคุมกำเนิดกับการรับวัคซีนโควิด-19

  • วอร์คอินฉีดวัคซีนโควิด 19 พร้อมให้บริการได้ทันทีทั่วประเทศ

    วอร์คอินฉีดวัคซีนโควิด 19 พร้อมให้บริการได้ทันทีทั่วประเทศ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ