เมื่อรัฐบาลไทย ประกาศให้มีการเปิดระบบไทยร่วมใจ จองฉีดวัคซีนวันแรก โดยให้ลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับกลุ่มประชาชนทั่วไป ผ่านช่องทางแอปพลิเคชั่นหลาย ๆ ช่องทาง โดยจะเริ่มทำการฉีดในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 เป็นต้นไป
ซึ่งก่อนหน้าที่จะเริ่มเปิดระบบ ก็มีปัญหาให้พบหลายอย่าง เช่น ประสิทธิภาพการรองรับการกดจองสิทธิ์การฉีดวัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคกลุ่มเสี่ยง ก็ทำให้ระบบล่มไปได้เป็นวัน ๆ จนมาถึงการเปิดช่องทางจองผ่านเว็ปไซต์ “ไทยร่วมใจ” ที่เริ่มเปิดให้ จองฉีดวัคซีนวันแรก ตอน 12:00 น. ของวันที่ 27 พ.ค. 2564 หรือวันนี้ และสุดท้ายไม่พ้นสารพัดดราม่าที่เกิดขึ้น ส่วนจะมีดราม่าอะไรบ้างนั้น มาดูกันดีกว่าค่ะ
1. จะมีให้เลือกเยอะไปไหน
จากดราม่ารอบก่อน ๆ ที่ผ่านมา ทำให้รับรู้ว่า การรองรับในการลงทะเบียนต่าง ๆ นั้น จะต้องมีเพียงพอกับความต้องการของประชาชน แต่ในวันนี้ มันจะเยอะไปไหน และที่สำคัญคือ ทุกลิ้งค์นั้น ส่งข้อมูลถึงกันหรือเปล่า แล้วจะเกิดการจองแบบซ้ำซ้อนมั้ย จนเจ้าของทวิตเตอร์รายหนึ่งได้โพสต์ขึ้นมาว่า
“แล้วถ้าประเทศไทยมันมีโรคระบาดเพิ่มอีกสัก 2 – 3 โรค App ที่ลงทะเบียน มันจะไม่เป็นแสนเป็นล้านให้เราลงทะเบียนเพิ่มเลยเหรอ”
จะมีให้เลือกเยอะไปไหน?
2. 1 อำนาจสั่งซื้อ ล้านอำนาจเปิดจอง
อีกหนึ่งดราม่าที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าดราม่าไหน ๆ คือ การเปิดจองผ่านแอปพลิเคชั่นที่เยอะแยะมากมายหลายหน่วยงาน ทั้งของรัฐบาล และเอกชน ต่างก็ให้ความรวมมือกันอย่างเต็มที่ ในขณะที่เจ้าของโพสต์ได้สังเกตุว่า ตอนที่ยังมีวัคซีนอยู่ ก็ยังคงรวบอำนาจ ปิดข้อมูลไม่ให้ใครรับรู้ แต่พอตอนนี้วัคซีนเริ่มหมดสต๊อค กลับปล่อยให้เอกชน และภาครัฐวิสาหกิจเปิดให้ลงทะเบียนกันอย่างเมามันส์ เอ๊ะ!!! อะไรยังไง???
“ถึงวัคซีนจะน้อย แต่เรามีร้อยแอพลงทะเบียนฉีดนะคะ (นี่แค่บางส่วน บางหน่วยงานยังผุดแอพขึ้นมาเองอีก)… ดูสวนทางเนาะ ตอนมีวัคซีน รวบอำนาจข้อมูล แต่พอวัคซีนหมด กลับกระจายช่องทางลงทะเบียน”
รวบอำนาจสั่งซื้อวัคซีน แต่จองวัคซีนมีเป็นร้อยแอป ล้านหน่วยงาน
3. ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก และไหวพริบกันไปเชื่อพี่
เมื่อถึงเวลาแย่งชิงกัน หลายคนย่อมต้องการที่จะลงทะเบียนการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ให้ได้ไวที่สุด แต่หลายคนก็รู้สึกว่า ทำไมฉันต้องมาทำอะไรแบบนี้ จนเจ้าของโพสต์ นำประเพณีไทยบางประเพณีมาเปรียบเทียบ ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไป รับรองคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลกเชื่อเหอะ
“อย่าแปลกใจถ้าอีกหน่อยเด็กไทยกดบัตรคอน (คอนเสริ์ต) เก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก เพราะรัฐบาลส่งอีเว้นชิงเปรตมาให้ฝึกมืออยู่ไม่เคยขาด ตั้งแต่คนละครึ่ง เราชนะ ฯลฯ”
บางครั้งประเพณีชิงเปรตก็ใช้ได้ในบางโอกาสนะ
บทความที่สนใจ : สิงคโปร์ เป็นศูนย์กลางผลิตวัคซีน Covid-19 Pfizer ประจำภูมิภาคอาเชียน
4. ประเทศไทย นักเสี่ยงดวงอันดับหนึ่ง
บางครั้งก็มีโมเมนต์น่ารัก ๆ จะฉีดอันไหนดีจะ เอ หรือจะ บี จะ ฉีดให้ดี ไม่ฉีดให้ดี โอ้ยยิ่งกว่าการเล่นเกม ก็การรอลุ้นวัคซีนนี่แหละจ้า จะให้ลุ้นอะไรไปถึงไหน ถ้าจะรู้ปริมาณที่แน่นอนว่าสั่งอะไรไปเท่าไหร่ ก็กระจายมั้ย หรือไม่งั้นก็ควรเลือกสิ่งที่ดีที่สุดมาซิ ไม่ใช่มาปล่อยให้ลุ้นกันแบบนี้ แค่นี้ก็หัวใจจะวายตายกันหมดแล้ว
“ลงทะเบียนได้ไม่ว่า แต่ต้องมาลุ้นวัคซีนที่ได้ฉีดอีกเหรอ? มันควรเป็น Astra มากกว่า Sinovac”
เราจะไม่บอก ปล่อยให้คุณได้ลุ้นเอา (เพราะเราเองก็ไม่รู้ว่าจะได้ตัวไหนมาฉีดให้)
5. หรือว่าเราคุยกันคนละภาษา ?
ก็เขาแจ้งว่าให้รอ SMS หรือเขาเข้าใจว่า SMS คือการส่งกระแสจิต? เพราะรอแค่ไหน ก็ไม่เห็นจะมีข้อความอะไรเกิดขึ้น สุดท้ายเปิดเข้าไปอีกรอบ ก็ไปเลือกรอบฉีดวัคซีนได้เป็นที่เรียบร้อย สรุปให้รออะไร??? หรือภาษาคุณ กับภาษาเรา มันมีความหมายไม่ตรงกัน???
“ใครลงแล้ว ให้เข้าแอปอีกรอบนึงนะ เพื่อเข้าไปเลือกวัน นี่เพื่อนไม่บอกก็ไม่รู้ เพราะรอบแรกบอกให้รอ SMS”
เข้าใจคำว่า SMS ตรงกันหรือเปล่า หรือที่จริงส่งผ่านโทรจิต
6. สรุปทั้งประเทศ มีงานให้ทำแค่นี้ใช่มั้ย?
เคยลงทะเบียนมาก็สารพัดแอป เจอช่องให้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ทำ บางครั้งกว่าจะหาเจอ ก็เล่นจนตาลาย แต่ “ไทยร่วมใจ” เขาจำกัดความอาชีพของคนในประเทศเอาไว้แบบนี้ แล้วจะเลือกลงยังไงถูก งั้นขอเป็นช่างก่อสร้างแล้วกัน จบ โอเคป่ะ?
“ใครทำแอ๊พ มีงบ้าป่ะ กุเลือกลูกจ้าง แมร่งมีอาชีพขึ้นมาให้แค่นี้”
แล้วจะให้ฉันเลือกอะไร?
บทความอื่นที่น่าสนใจ : ฉีดวัคซีนโควิด 50 รัฐ ในอเมริกา เงื่อนไขของรัฐมีอะไรบ้าง
7. หลอกกันหรือเปล่า แน่ใจนะ?
ไม่เคยมั่นใจ และเชื่อใจใครเท่านี้ อ่านแล้วอ่านอีก อ่านกี่ครั้งกี่หน ทำไมรู้สึกไม่ค่อยเชื่อใจ ย้อนกลับมาถามกับตัวเองว่า ทำไม เพราะอะไร ทำไมเราถึงไม่เชื่อเขาว่าเขาจะฉีดวัคซีนตัวไหนให้ หรือความเชื่อใจ ความเชื่อถือมันได้จางหายไปหมดแล้ว
“วัคซีนที่ได้ฉีดน่าจะเป็นเอสต้าเซเนก้า จากที่อ่านมานะ ไม่รู้ว่าชัวร์แค่ไหนเหมือนกัน”
มีอะไรบ้างที่เชื่อถือได้ ตอบ…..
8. พี่จะเด้งแบบนี้ไม่ได้นะ
อันนี้ไม่รู้เป็นที่ระบบผิด หรือคนกดผิดกันแน่ แต่เราไม่สามารถดึงมือใครมาดมได้ แต่ที่รู้ ๆ คือ เจ้าของโพสต์ต้องไปที่ธัญญาพาร์คแล้วจ้า
“เลือก True digital park ไปโผล่ ธัญญาพาร์คเฉยยยยย”
ผิดที่ใคร ผิดที่ฉัน หรือผิดที่เธอ???
9. มีให้กดเลือก แต่ไม่มีให้กดบันทึก คือไร?
อันนี้เก็บมาเป็นประเด็นดราม่าหลังจากได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เอ๊ะ!!! แล้วคุณจะติดตามผลยังไงล่ะ กดว่ามีอาการโน้น นั้น นี้ ก็ไม่สามารถบันทึกข้อมูลส่งได้ แต่ถ้าหากกดว่าอาการปกติดี ส่งได้ซะงั้น สรุปคือบังคับให้ปกติใช่มั้ย บอกมาเลยจ้า ไม่อยากลำไย
“สรุปที่ฉีดซิโนแวคละไม่พบอาการผิดปกติ เพราะว่าระบบไม่บันทึกสินะ พอกดไม่พบอาการละบันทึกได้คือไร แล้วจะมีช่องอื่นให้เลือกไปทำไม อิระบอบเผด็จการนี่มัน”
แล้วจะส่งข้อมูลยังไง หรือใช้ส่งกระแสจิตเอา?
ที่มา : Twitter
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
กทม. เปิดระบบจองวัคซีนแล้ว !! เริ่มลงทะเบียน 27 พ.ค. นี้
วอร์คอินฉีดวัคซีนโควิด 19 พร้อมให้บริการได้ทันทีทั่วประเทศ
เที่ยวแบบไม่กักตัว ประเทศไหนที่ต้อนรับนักเดินทาง หลังฉีดวัคซีนโควิดแล้ว
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!