X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คอเรสเตอรอล ในอาหารที่เรากินอาจไม่ได้ร้ายอย่างที่เคยคิด

บทความ 3 นาที
คอเรสเตอรอล ในอาหารที่เรากินอาจไม่ได้ร้ายอย่างที่เคยคิด

คณะกรรมการด้านโภชนาการในสหรัฐอเมริกายอมรับว่า จริง ๆ แล้ว คอเรสเตอรอลในอาหารอาจไม่ได้ทำให้เส้นเลือดอุดตันอย่างที่เคยเข้าใจกัน

คอเรสเตอรอล ในอาหารที่เรากินอาจไม่ได้ร้ายอย่างที่เคยคิด

คอเรสเตอรอล

เราอยู่กับข้อมูลที่ว่า คณะกรรมการ ด้านโภชนาการในประเทศสหรัฐอเมริกา ยอมรับว่า จริง ๆ แล้ว คอเรสเตอรอล ในอาหารที่เรากินอาจไม่ได้ร้ายอย่างที่เคยคิด

แต่เราอาจเข้าใจอะไรบางอย่างผิด!

สมาคมหัวใจอเมริกันและวิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจอเมริกันยืนยันว่า ปริมาณคอเรสเตอรอลในอาหารอาจไม่ได้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระดับคอเรสเตอรอลในเส้นเลือด หลังพบว่าการควบคุมปริมาณคอเรสเตอรอลที่กินเข้าไปไม่ได้ช่วยลดคอเรสเตอรอลตัวหลักในเส้นเลือด (LDL) อย่างมีนัยสำคัญ

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นทั้งสารสเตอรอยด์ ลิพิด และ แอลกอฮอล์ พบในเยื่อหุ้มเซลล์ของทุกเนื้อเยื้อในร่างกายและถูกขนส่งในกระแสเลือดของสัตว์ คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ไม่ได้มากับอาหารแต่จะถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย จะสะสมอยู่มากในเนื้อเยื้อของอวัยวะที่สร้างมันขึ้นมาเช่น ตับ ไขสันหลัง สมอง และผนังหลอดเลือดแดง (atheroma) คอเลสเตอรอลมีบทบาทในกระบวนการทางชีวเคมีมากมาย

"การชมลูกไม่เป็น" ก็อาจเป็นอันตรายในการเติบโตทางใจของลูกเช่นกัน

“การชมลูกไม่เป็น” ก็อาจเป็นอันตรายในการเติบโตทางใจของลูกเช่นกัน

ในอดีต-ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคอเลสเตอรอลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจหลอดเลือด และภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด (Hypercholesterolemia) แต่กลุ่มนักโภชนาการบำบัดบางกลุ่มอ้างว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค และภาวะดังกล่าวนั้น เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ส่งผลให้ของเสียของน้ำตาล นั่นก็คือ CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) ทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในหลอดเลือด กัดเซาะผนังหลอดเลือดจนเสียหาย ร่างก่ายจึงต้องส่งคอเลสเตอรอลมาซ่อมแซมผนังหลอดเลือดที่เสียหาย

ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังให้เป็นเป็นวิตามินดี เมื่อโดนแสงแดด คอเลสเตอรอลจะพบมากในไข่แดง เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล ค่อนข้างสูง ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการ

ไขมันดี คืออะไร ?

ไขมันดี (High-Density Lipoprotein: HDL) คือ ไขมันคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำหน้าที่กำจัดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) ที่สะสมอยู่ตามหลอดเลือด แล้วส่งไปที่ตับเพื่อกำจัดออกจากร่างกาย การบริโภคไขมันดีในปริมาณที่เหมาะสมจึงช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจได้

ทั้งนี้ ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มเข้ารับการตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด โดยระดับไขมันดีที่ปกติควรอยู่ประมาณ 40-60 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากอยู่ในระดับ 60 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป จะยิ่งส่งผลดีต่อร่างกาย แต่จะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเมื่ออยู่ในระดับต่ำกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

คอเรสเตอรอล ในอาหารที่เรากินอาจไม่ได้ร้ายอย่างที่เคยคิด

อ่านชัด ๆ ฟังให้เข้าใจอีกที อย่าสับสนนะคะ LDL คือ คอเรสเตอรอลที่เกาะผนังหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและอุดตัน เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ ถือเป็นคอเรสเตอรอล “ตัวร้าย” ของจริง แต่คอเรสเตอรอลที่อยู่ในอาหาร เช่น ไข่ ปลาหมึก หรือตับไก่ ไม่ได้เข้าไปเพิ่มคอเรสเตอรอลในเลือดโดยตรงค่ะ งดทานไปก็ไม่ได้ช่วยลด LDL เท่าไรอยู่ดี

เมื่อได้รับข้อมูลอย่างนี้แล้ว คณะกรรมการด้านโภชนาการในสหรัฐอเมริกาจึงปรับเปลี่ยนคำเตือนเรื่องคอเรสเตอรอลเสียใหม่ เดิมเคยแนะนำว่าไม่ควรกินคอเรสเตอรอลเกินวันละ 300 มิลลิกรัม แต่ในคู่มือแนวทางโภชนาการที่ดีของคนอเมริกันฉบับปี 2015 ไม่ได้จำกัดว่าห้ามกินเยอะเกินกี่มิลลิกรัมแล้ว

อย่างไรก็ดี รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาเตือนว่า ถึงไม่ห้ามแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าสนันสนุนให้กินเยอะ ๆ ควรกินแต่พอประมาณจะดีกว่า ส่วนคนที่มีคอเรสเตอรอลสูงอยู่แล้วยังต้องปรึกษาคุณหมอให้ดีก่อน

คอเรสเตอรอล ในอาหารที่เรากินอาจไม่ได้ร้ายอย่างที่เคยคิด

เราควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลเสียต่อร่างกายเหล่านี้ ได้แก่

  • ข้าวขาว, ธัญพืชที่ขัดสีแล้ว
  • ไขมันแข็ง, ไขมันทรานส์ที่ใช้ทำพวกคุกกี้ ครีมเทียม เนยเทียม
  • น้ำตาล
  • โซเดียม

คอเรสเตอรอล ในอาหารที่เรากินอาจไม่ได้ร้ายอย่างที่เคยคิด

ขณะเดียวกัน ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ให้มากขึ้น ได้แก่

  • ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี
  • ผัก, ผลไม้
  • นม, โยเกิร์ต, ชีสประเภทพร่องหรือขาดมันเนย

รู้แล้วก็อย่าลืมปฏิบัติตามด้วยนะคะ… ด้วยความห่วงใยจาก theAsianparent ค่ะ

The Asianparent Thailand

เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความจากพันธมิตร
หมดกังวลเรื่อง ผิวแตกลาย จบทุกปัญหาผิวคุณแม่ตั้งครรภ์ ด้วย EVE'S OIL
หมดกังวลเรื่อง ผิวแตกลาย จบทุกปัญหาผิวคุณแม่ตั้งครรภ์ ด้วย EVE'S OIL
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง

ที่มา : uk.style.yahoo.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

ไขมันในเลือดสูงในเด็กอ้วน อันตรายที่พ่อแม่อย่ามองข้าม

น้ำตาล: ภัยร้ายใกล้ตัวลูก

อาหารไขมันต่ำอันตราย เหมือนกัน อาหารโลว์แฟต โลว์แคล อันตรายต่อลูกในท้อง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ขวัญชนก ธนาภิกรกุล

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • คอเรสเตอรอล ในอาหารที่เรากินอาจไม่ได้ร้ายอย่างที่เคยคิด
แชร์ :
  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 95 ลิ่มเลือดอุดตันอันตรายของแม่ท้อง

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 95 ลิ่มเลือดอุดตันอันตรายของแม่ท้อง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 95 ลิ่มเลือดอุดตันอันตรายของแม่ท้อง

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 95 ลิ่มเลือดอุดตันอันตรายของแม่ท้อง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ