ผลวิจัยชี้ เด็กโตกว่า 2 ขวบไม่มีความจำเป็นต้องนอนกลางวัน
ทำไมต้องบังคับให้ลูกนอนกลางวันด้วยนะ นอนกลางวันดีจริงหรือ? เมื่อ ผลวิจัยชี้ เด็กโตกว่า 2 ขวบไม่มีความจำเป็นต้องนอนกลางวัน
ช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงที่เด็กนอนกลางวันในแต่ละวัน ส่งผลต่อทั้งพฤติกรรมและการเรียนรู้กับเด็กอย่างคาดไม่ถึง แต่จะทำอย่างไร เมื่อลูกรักไม่ชอบและไม่ยอมนอนกลางวันเลย เรามีคำแนะนำเกี่ยวกับการนอนกลางวันของลูกมาฝากค่ะ
ช่วงเวลานอนกลางวันของลูก ถือเป็นช่วงเวลาทองของคนเป็นพ่อแม่ เพราะนั่นคือเวลาสำหรับทำงานบ้าน เตรียมมื้อเย็น หรือเป็นเวลาส่วนตัวที่คุณจะได้พักผ่อน หรือทำอะไรให้ตัวเองบ้าง
แต่สำหรับพ่อแม่บางคนความพยายามที่จะให้ลูกนอนกลางวันไม่ใช่เรื่องง่าย ในขณะที่พ่อแม่อีกหลายคนมองว่า การนอนกลางวันของลูกหมายถึง การที่ลูกจะนอนดึกขึ้นในเวลากลางวัน แต่ที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญต่างบอกเสมอว่า การนอนกลางวันของเด็กนั้นเป็นสิ่งจำเป็น
จนกระทั่ง…
มีงานวิจัยจากสหรัฐ กล่าวว่า การนอนกลางวันหลังจาก 2 ขวบไปแล้ว ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับที่ลดลงของเด็กเล็ก
และจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ได้เชื่อมโยงคุณภาพการนอนหลับที่ลดลงนี้ กับปัญหาสุขภาพและปัญหาพฤติกรรม เช่น พัฒนาการล่าช้า โรคอ้วน และปัญหาทางอารมณ์ของเด็ก
นอนกลางวัน สำคัญไฉน
เด็กนอนน้อยเสี่ยงพัฒนาการช้า อารมณ์ร้าย ผลการเรียนตกต่ำ
เด็กที่ไม่นอนตอนกลางวัน โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ ตั้งแต่ 3-4 ขวบ ลงมามักจะมีอาการอิดโรย และแสดงอาการหงุดหงิดตอนบ่ายและตอนเย็น สดชื่นน้อยกว่าเด็กที่นอนกลางวันแล้วตื่นมาทำกิจกรรมกับคุณครูในภาคบ่าย เพราะเด็กเล็กยังต้องการเวลาในการพักผ่อนหลังจากทำกิจกรรมมาตลอดช่วงเช้า คุณครูจึงพยายามหาวิธีที่จะเชิญชวนและจัดเวลาให้เด็กนอนกลางวันกัน
อาการที่แสดงว่าเด็กพักผ่อนไม่พอ คืออารมณ์หงุดหงิดง่ายในเรื่องไม่เป็นเรื่อง ซึมเหม่อลอย ไม่อยากออกกำลังกายวิ่งเล่นยามเย็น คราวนี้ยุ่งกันใหญ่ เวลาเริ่มไม่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตเสียแล้ว ถึงเวลารับประทานอาหารเย็นก็แทบจะนั่งหลับ แล้วนอนในช่วงเย็น ตื่นมาตอนพลบค่ำ จากนั้นกว่าจะเข้านอนอีกทีก็ดึกมาก พอนอนดึกมากก็ตื่นสาย พอตื่นสาย กลางวันเวลาคุณครูให้นอนก็ยังไม่ง่วง บ่ายซึม ตกเย็นเอาอีกหลับช่วงเย็น วนเวียนอยู่อย่างนี้
คือต้องปรับเวลากันใหม่ ถ่วงเวลาหาอะไรให้ทำก่อน อย่าพยายามให้นอนตอนเย็น ปรับเป็นให้นอนเร็วกว่าปกติ นอนแต่หัวค่ำจะได้ตื่นเช้าได้ ทุกอย่างจะเข้าที่
ความแตกต่างระหว่างการนอนกลางวันและการนอนหลับตอนกลางคืน
happy asian smiling child play with slide in a park
ศาสตราจารย์ Karen Thorpe และทีมวิจัยจาก Queensland University of Technology ได้ศึกษาการนอนกลางวันของเด็กๆ ในศูนย์ดูแลเด็กเพื่อดูว่า เด็กเหล่านั้นอยากจะนอนกลางวันจริงๆ ตั้งแต่แรกหรือไม่
ศาสตราจารย์กล่าวว่า หลังจากอายุสองขวบไปแล้วเด็กจะสามารถควบคุมความต้องการในการนอนกลางวันของตัวเองได้ ดังนั้น การบังคับให้เด็กนอนกลางวัน สามารถส่งผลต่อคุณภาพการนอนตอนกลางคืนได้
“พ่อแม่ไม่ควรคิดว่าการนอนกลางวันเหมือนกับการนอนหลับตอนกลางคืน ดังนั้น การให้ลูกนอนกลางวัน เพื่อหวังที่จะเพิ่มชั่วโมงการนอนให้กับลูกนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้ผล” ศาสตราจารย์กล่าว
“เมื่อร่างกายเขาไม่ต้องการนอนกลางวัน แต่คุณพยายามทำทุกอย่างที่จะให้เขานอนนั้น กลับเป็นการขัดขวางการนอนหลับตอนกลางคืนของลูก”
ทั้งนี้พ่อแม่และผู้ดูแลเด็กจะทราบได้เองว่า เด็กแต่ละคนต้องการนอนกลางวันในวันนั้นหรือไม่ หากเด็กไม่อยากนอน เขาก็ไม่ควรถูกบังคับให้นอน
และศาสตราจารย์ยังเสริมอีกว่า เด็กส่วนใหญ่เมื่ออายุได้ 3 ขวบ ไม่จำเป็นต้องนอนกลางวันอีกต่อไป
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า คุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มคุณภาพการนอนหลับตอนกลางคืนของลูกได้ด้วยการไม่บังคับให้ลูกนอนกลางวัน ในกรณีนี้ คุณแม่มีความคิดเห็นอย่างไร แสดงความคิดเห็นได้ด้านล่างเลยค่ะ
เด็กวัยประมาณ 2 ขวบ…ถือเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ คุณพ่อคุณแม่จึงอาจจะต้องปวดหัวสักหน่อยที่พบว่าลูกไม่ยอมนอน ง่ายๆ เหมือนเมื่อก่อน บางคนง่วงแค่ไหนก็งอแงไม่ยอมนอน ยังฝืนตัวเองอยู่ร่ำไป ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า หากลูกไม่ยอมนอน หรือนอนดึกมากๆ จะส่งผลเสียต่อลูกน้อยอย่างไรบ้าง
1. เช็คเวลานอนกลางวันของลูก
โดยปกติแล้ว เด็กอายุประมาณ 2 ขวบ-3 ขวบจะต้องนอนกลางวัน 1 ครั้งต่อวัน ซึ่งหากลูกนอนกลางวันมากกว่านั้น เช่นนอนรอบเที่ยงหนึ่งครั้ง รอบเย็นอีกหนึ่งครั้ง จะส่งผลให้ลูกไม่ยอมนอนตอนกลางคืนได้นะคะ หากลูกน้อยงอแงไม่ยอมนอน ลองสำรวจเวลาลูกนอนกลางวันดูค่ะ ว่านอนมากไปหรือเปล่า หรือนอนในช่วยใกล้ค่ำเกินไปหรือไม่
2. จัดเวลานอนให้เป็นระบบระเบียบ
เด็กๆ ควรเข้านอนตรงเวลา ดังนั้นคุณควรสอนให้ลูกเข้าใจว่า เวลาไหนคือเวลานอนของเขา ไม่ว่าเขาจะทำอะไรอยู่ เมื่อถึงเวลานอนก็ควรเข้านอน เช่น หากเด็กยังติดเล่นอยู่ อาจบอกลูกอย่างละมุนละม่อมให้เขาเข้าใจว่า เวลานี้เป็นเวลาที่เขาควรเข้านอนได้แล้ว เป็นการฝึกนิสัยมีวินัย และทำให้ลูกรักเข้านอนตรงเวลา รวมทั้งเป็นการตั้งนาฬิกาชีวิตของเด็กๆ ให้เป็นระบบระเบียบด้วยค่ะ
นัก วิจัยมี คำตอบ ให้ ทำ ไมเด็ก ชอบเล่น ตุ๊กตาหมี เล่น ตุ๊กตา หมีมี ประโยชน์ยังไง?
3. เล่านิทานให้ลูกฟังก่อนนอน
การมีกิจกรรมก่อนนอน จะทำให้เด็กๆ ยอมเข้านอนได้ง่ายขึ้น เช่น คุณพ่อคุณแม่อาจจะเล่านิทานให้พวกเขาฟังก่อนนอน หรือพูดคุยกัน เป็นช่วงเวลาแห่งความอบอุ่นร่วมกันบนเตียงนอน เรื่องเหล่านี้อาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องเหนื่อยเพิ่มขึ้น แต่ก็ถือเป็นการลงทุนเวลาและความเหนื่อยที่คุ้มค่า เพราะนอกจากจะทำให้เด็กๆ เข้านอนได้ง่ายขึ้นแล้ว พวกเขายังได้มีช่วงเวลาอบอุ่น ซึ่งช่วยให้ใจของพวกเขารู้สึกปลอดภัย และแข็งแรงด้วยค่ะ
4. จัดห้องนอนให้สบาย
การจัดห้องนอนให้น่านอน เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามนะคะ เพราะหากห้องนอนเต็มไปด้วยสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี นอกจากจะทำให้เด็กๆ นอนยาก นอนหลับไม่สนิทแล้ว อาจจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพของเด็กๆ ด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงต้องพยายามจัดห้องนอนให้มืดสนิท อากาศถ่ายเท สะอาด ไม่มีสิ่งรบกวน เครื่องนอนนุ่มหลับสบาย เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เด็กๆ เข้านอนได้ง่ายขึ้น และหลับสนิทตลอดคืนด้วยค่ะ
5. ไม่ใจอ่อนตามใจลูกมากเกินไป
คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจรักและไม่อยากฝืนใจลูก เมื่อลูกไม่ยอมนอนจึงใจอ่อนและยอมให้ลูกเล่นต่อไป ผลก็คือ เด็กๆ จะเข้านอนดึกมาก บางคนเลยเที่ยงคืนแล้วยังไม่ยอมหลับ ซึ่งส่งผลเสียต่อลูกน้อยอย่างแน่นอนค่ะ คุณพ่อคุณแม่จึงอาจจะต้องใจแข็งสักนิด เพื่อฝึกวินัยให้เด็กๆ ค่ะ
นัก วิจัยมี คำตอบ ให้ ทำ ไมเด็ก ชอบเล่น ตุ๊กตาหมี เล่น ตุ๊กตา หมี มี ประโยชน์ ยังไง?
ที่มา : 1
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
การนอนของลูกนั้นสำคัญไฉน
สร้างนิสัยการนอนของเด็ก
https://www.rakluke.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!