แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ไม่เว้นแม้แต่การปล่อยให้ลูกดูทีวี ก็จะได้ผลเสียที่ตามมาพอ ๆ กัน พ่อแม่นั้นจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อพัฒนาการทั้งในด้านความคิดและจิตใจของลูกให้ดี สำหรับใครที่อยากรู้ว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกติดทีวี วันนี้มีคำตอบค่ะ
9 สัญญาณอันตรายที่เจ้าตัวเล็กเป็น “โรคติดทีวี” มากเกินไปแล้ว
หากจะพูดไปแล้ว เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเราเริ่มที่จะติดการดูทีวี สิ่งนี้ก็เป็นอะไรที่ทำให้คุณแม่หลายคนเป็นกังวลใจอยู่เหมือนกัน หรือหากคุณแม่คนไหนที่ยังสงสัยว่า หากลูกมีพฤติกรรมแบบนี้ สิ่งนี้กำลังบ่งบอกว่าลูกของเรากำลังกลายเป็นโรคติดทีวีอยู่หรือไม่ เอาเป็นว่าเรามาดูสัญญาณอันตรายของการติดทีวีไปพร้อมกันเลยดีกว่าค่ะ
ทีวีก็เหมือนกับเครื่องมืออื่น ๆ ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งได้มีบางงานวิจัยที่ออกมาสนับสนุนถึงผลดีของรายการต่าง ๆ ในทีวีที่มีต่อเด็ก เช่น รายการเด็กที่สอดแทรก หรือช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ สำหรับเด็กอายุระหว่าง 3 – 5 ขวบ ซึ่งก็จะช่วยในเรื่องของการศึกษา พัฒนาการด้านสังคม และการเติบโตทางด้านอารมณ์ ของศึกษาของเด็ก ๆ ได้แต่ก็อย่าลืมว่าบางรายการสำหรับผู้ใหญ่ที่เด็กนั่งดูอยู่ก็อาจจะมีภาพและความรุนแรงที่ไม่ดีต่าง ๆ อันจะส่งผลต่อพฤติกรรมลูกได้เช่นกัน และนี่คือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกได้หากนั่งดูทีวีมากเกินไป เอาเป็นว่าเรามาดูสัญญาณอันตรายที่อาจจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยของเรากันได้เลยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูก ๆ ติดทีวี แก้ปัญหานี้ยังไงดี มาดูวิธีรับมือก่อนที่จะสายเกินไป
1. มีปัญหาในการนอน
มีผลการศึกษาเรื่องการนอนของเด็ก ๆ จากมหาวิทยาลัยโอ๊กแลนด์ได้ค้นพบว่า หากใช้เวลาในการดูทีวี 1 ชม.ครึ่ง ก่อนเข้านอน นอกจากทำให้ลูกใช้เวลาในการเข้านอนนานขึ้นแล้ว แสงและกิจกรรมต่าง ๆ ในทีวีอาจไปกระตุ้นสมองของลูกมากเกินไปซึ่งจะส่งผลให้เด็ก ๆ หลับยากขึ้นด้วย
2. มีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า
ตามผลการศึกษาในปี 2015 จาก PLOS ONE เด็ก 2 ขวบที่ดูทีวีมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันนั้น มีโอกาสอย่างมากที่จะมีพัฒนาการทางภาษาที่ช้า เห็นได้ชัดว่าการดูทีวีนั้นไม่ได้มีซับไตเติ้ลหรือการพูดจริง ๆ สำหรับการใช้ชีวิตจริง ๆ ของเจ้าตัวเล็ก
3. มีการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
การมีอาการไม่เป็นมิตรในบางครั้งนั้นถือเป็นเรื่องปกติโดยทั่วไปของเด็ก ๆ แต่ถ้าหากเจ้าตัวเล็กของคุณอยู่ ๆ ก็แสดงอาการก้าวร้าวอย่างรุนแรงในสนามเด็กเล่น นั้นอาจเป็นผลมาจากการดูทีวี ผลการศึกษาในปี 2007 ของ Ambulatory Pediatrics พบว่า เด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 21 – 33 เดือน ที่ได้สัมผัสกับสื่อมากเกินไปนั้น แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและต่อต้าน ดังนั้นพ่อแม่ควรลองหาวิธีลดการดูทีวีของลูกลงเพื่อจะช่วยให้เจ้าตัวเล็กนั้นได้ผ่อนคลาย
4. หยาบคายกับพ่อแม่
อยู่ ๆ เจ้าตัวเล็กที่น่ารักของคุณกลายเป็นเด็กที่พูดจากหยาบคายหรือเปล่า ? เด็ก ๆ ในช่วงนี้ยังอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ และยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าพฤติกรรมแบบไหนที่เป็นที่ยอมรับ การตอบสนองอย่างก้าวร้าวนั้นเป็นเรื่องไม่เป็นไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตัวละครที่เขาชื่นชอบได้แสดงถึงลักษณะเหล่านี้ ซึ่งพ่อแม่ควรสังเกตจากรายการที่ลูกดูและชวนให้ดูรายการอื่นที่อ่อนโยนกว่านี้ หรือหากิจกรรมอื่นให้ลูกได้ทำนอกจากการดูทีวีดีกว่า
5. มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยลง
เด็กเล็ก ๆ ที่นั่งดูทีวีมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันนั้น มีแนวโน้มที่จะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยลง ต่างหากเด็กโดยทั่วไปที่จะไม่นั่งนิ่ง ๆ ได้นาน ๆ ซึ่งเมื่อลูกเป็นแบบนี้มันไม่ใช่เรื่องที่ดีต่อลูกเลย
บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กควรดูทีวีนานแค่ไหน ดูนานเกินไปอันตรายกว่าที่คิด!
6. มีความกลัวมากมาย
ลองคิดดูว่ารายการทีวีที่มีเรื่องราวน่ากลัวนั้นจะส่งผลกระทบมากมายแค่ไหนกับลูก ๆ ของคุณ หรือแม้แต่รายการที่ดูเหมือนว่าไม่มีอะไรสำหรับพ่อแม่ แต่ก็ทำให้เด็กในวัยเตาะแตะนั้นเกิดความกลัวที่กลายเป็นภาพจำกับลูกได้
7. ร้องขอสิ่งต่าง ๆ
โฆษณาในทีวีบางตัวกลายเป็นสิ่งดึงดูดที่ลูกชอบ และสำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ขวบนั้น ไม่สามารถที่จะแยกความแตกต่างระหว่างรายการทีวีและโฆษณาได้อย่างสิ้นเชิง เมื่อเขาต้องการของเล่นเหมือนในทีวีเขาก็จะร้องขอ งอแง และคอยก่อกวนพวกคุณทุกครั้งที่เห็นโฆษณาหรือจนกว่าที่เขาจะได้มันมานั้นแหละ
8. ไม่ให้ความสนใจกับสิ่งอื่น ๆ รอบตัว
เด็กเล็ก ๆ โดยส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาของความสนใจสิ่งต่าง ๆ ที่เขาชอบยาวนาน แต่เมื่อทีวีเข้ามาสู่พัฒนาการในชีวิต ได้มีบันทึกจากการศึกษาพัฒนาการของเด็กในปี 2008 ว่า แม้แต่การเปิดทีวีไว้เฉย ๆ นั้นก็สามารถที่จะรบกวนช่วงเวลาเล่นของเด็ก ๆ ได้ และยังขัดขวางความสามารถในการรวบรวมสมาธิของเด็ก ๆ อีกด้วย
9. ไม่ได้ใช้พัฒนาการตามวัยอย่างเหมาะสม
เด็กเล็กนั้นเมื่อได้ทำกิจกรรมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ หรือได้มีส่วนร่วมในการเล่นที่ใช้จินตนาการ จะทำให้สมองของพวกเขาได้รับการพัฒนาและเรียนรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคมได้ แต่การที่ปล่อยให้ลูกใช้เวลาไปในการดูทีวีมากเกินไป สมองของเด็กจะไม่ได้รับโอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว และเริ่มกลายเป็นคนคิดเองเออเอง ซึ่งผลลัพธ์ของมันอาจทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่ไม่มีแรงกระตุ้น ไม่ได้ใช้พัฒนาการตามวัยได้มากกว่าที่ควรจะเป็น
เมื่อลูกติดทีวีมากจนเกินไป ควรทำยังไงดี?
สำหรับคุณแม่คนไหนที่อยากรู้ว่า หากลูกของเราเริ่มมีนิสัยติดทีวีมากจนเกินไป เราควรต้องจัดการหรือทำยังไงดี เพื่อให้ลูกของเราได้มีเวลาในการทำอย่างอื่นมากขึ้น ซึ่งการที่คุณแม่จะทำให้เด็ก ๆ เลิกดูทีวีนั้นเป็นอะไรที่ทำได้ไม่ยากเลย หากใครทำได้ตามนี้เชื่อเลยว่าเด็ก ๆ จะไม่ติดการดูทีวีแล้วแน่นอน
บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 รายการทีวีสำหรับเด็ก ดูได้ความสนุกควบความรู้ หลากหลายแนว
1. กำหนดเวลาอย่างชัดเจน
คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องกำหนดเวลาในการดูทีวีของลูกไว้อย่างชัดเจน ซึ่งไม่ควรปล่อยให้ลูกดูตลอดเวลา หรือปล่อยให้ลูกทั้งวันทั้งคืน เพราะการที่เราปล่อยให้ลูกดูแบบนั้น สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขาดูกลายเป็นคนติดการดูทีวีตั้งแต่เด็ก ๆ ไปเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นใครที่อยากจะฝึกให้ลูก ๆ ติดการดูทีวีสักที เราก็ควรที่จะกำหนดเวลาการดูทีวีไว้อย่างชัดเจนเลยนะคะ
2. ไม่ควรวางทีวีไว้ในที่ที่มองเห็นง่าย
สิ่งต่อมาที่จะช่วยไม่ให้ลูกของเราติดการดูทีวีได้นั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเปลี่ยนการวางทีวีไว้ในสถานที่ใหม่ ๆ ภายในบ้าน โดยเราอาจจะวางทีวีไว้ในที่ที่ไม่ค่อยโดดเด่น หรือสามารถเข้าถึงได้ยาก เพราะหากเมื่อไหร่ที่เราวางทีวีไว้ในห้องนั่งเล่น หรือที่ที่มองเห็นได้ง่าย สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ อยากดูสิ่งนี้ซ้ำขึ้นมาอยู่เรื่อย ๆ
3. นั่งดูไปพร้อมกับลูกน้อย
ทุกครั้งที่ลูกของเรากำลังนั่งดูทีวีนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะนั่งดูกับลูกไปด้วย คอยบอกและแนะนำเขาไปด้วย เพราะบางทีหากลูกของเราดูในช่องที่ไม่ค่อยเหมาะสมกับวัยของเขา สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ เกิดการเลียนแบบในสิ่งที่ไม่ได้ขึ้นมาได้เหมือนกัน เราจะต้องระวังในเรื่องนี้กันด้วยนะคะ
จากที่เราได้พาคุณพ่อคุณแม่มารู้ถึงพฤติกรรมของโรคติดทีวีแล้วนั้น ต้องบอกเลยนะคะว่าสิ่งนี้เป็นอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องดูแลเอาใจใส่ลูกมาก ๆ เพราะเมื่อไหร่ที่เราปล่อยปละละเลยเรื่องนี้ไป สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เราทำร้ายลูกในทางอ้อมได้เลยค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
มุมมองการเลี้ยงลูกแบบหมอ ๆ จากคุณแม่นุ่น เป็นหมอทั้งบ้าน จัดสรรเวลาให้ลูกยังไง
วิธีการเลี้ยงลูกให้โตไปประสบความสำเร็จ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งผลอย่างไร
เลี้ยงลูกกับสัตว์เลี้ยง ต้องทำอะไรบ้าง? เลี้ยงลูกพร้อมสัตว์เลี้ยงได้จริงหรือ?
ที่มา : pobpad, mamaexpert
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!