X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

มั่นใจเกินร้อย จะถอยยังไง? 5 เคล็ดลับ สอนลูกให้กล้ายอมรับความผิดพลาด

บทความ 5 นาที
มั่นใจเกินร้อย จะถอยยังไง? 5 เคล็ดลับ สอนลูกให้กล้ายอมรับความผิดพลาด

ความผิดพลาด เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของทุกคน พ่อแม่ควร สอนลูกให้กล้ายอมรับความผิดพลาด ล้มได้ แพ้เป็น ไม่ปล่อยให้ความมั่นใจ เป็นภัยทำร้ายตัวเอง

ความผิดพลาด เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของทุกคน ที่ต้องเผชิญกับความผิดพลาดในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น ทำของเล่นเพื่อนพัง เล่นกีฬาแล้วแพ้ หรือเข้าใจผิดกับเพื่อน แต่ปัญหาคือ เมื่อทำผิดแล้วกลับไม่กล้ายอมรับผิด อ้างไม่รู้ไม่เห็น หรืออ้างเป็นความผิดคนอื่น หากเด็กไม่ได้รับการสอนให้เข้าใจและยอมรับความผิดพลาด โตขึ้นไปอาจกลายเป็นคนที่แพ้ไม่เป็น และโทษทุกอย่างนอกจากตัวเอง เราจึงมีวิธี สอนลูกให้กล้ายอมรับความผิดพลาด ไม่ให้ความมั่นใจ กลายเป็นภัยทำร้ายตัวเอง มาฝาก

 

มั่นใจเกินร้อย จะถอยยังไง?

การเลี้ยงลูกให้มีความมั่นใจในตัวเองเป็นสิ่งที่ดี แต่การที่เด็กที่มีความเชื่อมั่นในความคิดและการตัดสินใจของตนเองอย่างมาก จนกระทั่ง ไม่เปิดใจรับฟังความคิดเห็นหรือคำแนะนำของผู้อื่น แต่มักจะยึดมั่นในความคิดของตนเองเป็นหลัก และมองว่าความคิดของตนเองนั้นถูกต้องเสมอนั้นอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตตนเองในวัยผู้ใหญ่ได้ค่ะ

ลักษณะนิสัย “มั่นใจเกินร้อย” เป็นแบบไหน?

  • เถียงคำไม่ตกฟาก
เมื่อมีใครเสนอความคิดเห็นที่แตกต่าง มักจะโต้แย้งอย่างแข็งขัน เพื่อยืนยันว่าความคิดของตนเองนั้นถูกต้อง โดยไม่พิจารณาถึงเหตุผลของอีกฝ่าย
  • ไม่เชื่อฟังคำแนะนำ
มักจะเพิกเฉยต่อคำแนะนำหรือคำตักเตือนจากผู้อื่น เพราะเชื่อมั่นว่าตนเองรู้ดีที่สุด และไม่จำเป็นต้องฟังใคร
  • โทษคนอื่นเมื่อทำผิดพลาด
เมื่อเกิดข้อผิดพลาด มักจะมองหาเหตุผลภายนอก หรือโทษผู้อื่น แทนที่จะยอมรับความผิดพลาดของตนเองและเรียนรู้จากมัน
  • ไม่สนใจมุมมองที่แตกต่าง
ไม่พยายามทำความเข้าใจมุมมองของผู้อื่น หรือมองว่าความคิดเห็นที่แตกต่างนั้นไม่สำคัญหรือไม่ถูกต้อง

Advertisement

ผลกระทบระยะยาว จากนิสัย “มั่นใจเกินร้อย”

  • พลาดโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

เด็กที่ไม่เปิดใจรับฟัง จะพลาดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จากผู้อื่น เพราะจะยึดติดอยู่กับความรู้และประสบการณ์เดิม ๆ ทำให้พัฒนาตนเองได้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น หรืออาจไม่พัฒนาเลยก็ได้ นอกจากนี้ เด็กอาจไม่กล้าลองสิ่งใหม่ ๆ เพราะกลัวว่าจะไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ตนเองคาดหวังไว้

  • มีปัญหากับคนรอบข้าง

การไม่รับฟังและยึดมั่นในความคิดของตนเอง อาจทำให้เด็กมีปัญหากับเพื่อนและคนรอบข้าง อาจถูกมองว่าเป็นคนดื้อรั้น เอาแต่ใจ และไม่ใส่ใจความรู้สึกของผู้อื่น ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งและไม่มีใครคบ

  • พลาดโอกาสในการเติบโต

การไม่ยอมรับความผิดพลาดและไม่เปิดใจเรียนรู้จากผู้อื่น จะขัดขวางการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ เด็กจะไม่สามารถมองเห็นจุดบกพร่องของตนเอง และไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นได้ ทำให้พลาดโอกาสในการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะและมีความเข้าใจโลกอย่างรอบด้าน

สอนให้ลูกกล้ายอมรับความผิดพลาด

5 เคล็ดลับ สอนลูกให้กล้ายอมรับความผิดพลาด “ล้มได้…แพ้เป็น”

สิ่งสำคัญของการ สอนลูกให้กล้ายอมรับความผิดพลาด คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ลูกรู้สึกปลอดภัยที่จะลองผิดลองถูก และเรียนรู้จากประสบการณ์เหล่านั้น

1. สร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยต่อการทำผิดพลาด

  • บอกลูกว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมชาติและเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

แม้แต่ผู้ใหญ่เองก็เคยผ่านประสบการณ์เหล่านี้มาแล้ว ยกตัวอย่างง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น “ตอนแม่หัดทำอาหารใหม่ ๆ ก็เคยทำไหม้เหมือนกัน” หรือ “ตอนพ่อหัดขี่จักรยาน ก็เคยล้มหลายครั้งกว่าจะทรงตัวได้” การทำให้ลูกเห็นว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติ จะช่วยลดความกลัวและความกังวลเมื่อพวกเขาทำผิดพลาด

  • แสดงความเข้าใจและให้กำลังใจเมื่อลูกทำผิดพลาด แทนการตำหนิ

เมื่อลูกทำผิดพลาด สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ คือการควบคุมอารมณ์และแสดงความเข้าใจ เช่น “ไม่เป็นไรนะลูก มันเกิดขึ้นได้” หรือ “หนูคงเสียใจมากใช่ไหม” การตำหนิหรือลงโทษทันที จะทำให้ลูกรู้สึกแย่ กลัวการทำผิดซ้ำ และไม่กล้าเปิดใจพูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้น 

  • ให้ความสำคัญกับความพยายามและความตั้งใจของลูก มากกว่าผลลัพธ์ที่ออกมาเพียงอย่างเดียว

เช่น หากลูกสอบได้คะแนนไม่ดี แทนที่จะตำหนิ ลองถามว่า “หนูได้พยายามอ่านหนังสืออย่างเต็มที่แล้วใช่ไหม?” หรือ“ครั้งหน้าเราลองหาวิธีอ่านหนังสือที่เหมาะกับหนูมากขึ้นไหม?” การให้ความสำคัญกับกระบวนการ จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ที่จะไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และเห็นคุณค่าของความพยายาม

 

2. สอนให้ยอมรับความรับผิดชอบ

  • เมื่อเกิดปัญหา ชวนลูกพูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและบทบาทของตัวเองในเหตุการณ์นั้น

แทนที่จะถามว่า “ใครทำ?” ลองถามว่า “เกิดอะไรขึ้นบ้าง?” และชวนลูกคิดว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นอย่างไร เช่น “หนูคิดว่าหนูมีส่วนทำให้ของเล่นพังตรงไหนบ้าง?” จะช่วยให้ลูกได้ทบทวนการกระทำของตนเอง

  • สอนให้กล่าวคำว่า “ขอโทษ” อย่างจริงใจ

สอนให้ลูกเข้าใจความหมายของการขอโทษ และกล่าวคำนี้ด้วยความรู้สึกผิดจริง ๆ ไม่ใช่แค่พูดตามมารยาท อธิบายว่าการขอโทษเป็นการแสดงความสำนึกผิดต่อสิ่งที่ทำ และเป็นการแสดงความเคารพต่อความรู้สึกของผู้อื่น

ให้โอกาสลูกได้แก้ไขสิ่งที่ทำผิดพลาดด้วยตัวเอง (ภายใต้การดูแล)

เมื่อลูกทำผิดพลาดและส่งผลกระทบต่อผู้อื่น หรือต่อสิ่งของ ให้โอกาสลูกได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เช่น หากทำน้ำหก ก็ให้ช่วยเช็ด หรือหากทำของเล่นเพื่อนพัง ก็ให้ช่วยซ่อมแซม (ถ้าทำได้) การได้ลงมือแก้ไข จะช่วยให้ลูกรู้สึกว่าตนเองสามารถจัดการกับความผิดพลาดได้ และเป็นการเรียนรู้ผลของการกระทำของตนเอง

สอนให้ลูกกล้ายอมรับความผิดพลาด

3. ปลูกฝังทัศนคติเชิงบวกต่อความล้มเหลว

  • อธิบายว่าทุกความล้มเหลวมีบทเรียนซ่อนอยู่

ลองชวนลูกวิเคราะห์ว่าจากความผิดพลาดครั้งนี้ พวกเขาได้เรียนรู้อะไรบ้าง และจะสามารถนำบทเรียนนี้ไปปรับปรุงในครั้งต่อไปได้อย่างไร

  • ยกตัวอย่างบุคคลที่ประสบความสำเร็จแม้เคยล้มเหลวมาก่อน

เล่าเรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์ นักกีฬา หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เคยล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ไม่ยอมแพ้และเรียนรู้จากความผิดพลาด จนประสบความสำเร็จในที่สุด ตัวอย่างเหล่านี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและเปลี่ยนมุมมองของลูกต่อความล้มเหลว

  • สอนให้มองหาบทเรียนและข้อดีจากความผิดพลาด

ฝึกให้ลูกมองความผิดพลาดในมุมที่แตกต่างออกไป เช่น “ถึงแม้ว่าเราจะแพ้เกมนี้ แต่เราก็ได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ จากทีมคู่แข่งนะ” หรือ “ถึงแม้ว่าเค้กที่เราทำจะไม่สวย แต่รสชาติก็ยังอร่อยอยู่เลย” การมองหาข้อดีจะช่วยลดความรู้สึก negative ต่อความผิดพลาด

 

4. ฝึกทักษะการแก้ปัญหา

  • เมื่อเกิดปัญหา ชวนลูกคิดหาวิธีแก้ไข แทนที่จะเข้าไปช่วยทันที

กระตุ้นให้ลูกใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการหาทางออกจากปัญหาด้วยตนเอง โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำหรือตั้งคำถามนำทาง เช่น “เราลองทำแบบนี้ดูไหม?” หรือ “มีวิธีอื่นอีกไหมที่เราจะลองได้?”

  • สนับสนุนให้ลูกลองผิดลองถูกและเรียนรู้จากประสบการณ์

ปล่อยให้ลูกได้ทดลองวิธีการแก้ปัญหาที่คิดค้นขึ้น แม้ว่าอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในครั้งแรก การได้ลงมือทำและเห็นผลลัพธ์ด้วยตนเอง จะเป็นการเรียนรู้ที่มีค่ามากกว่าการบอกให้ทำตามเพียงอย่างเดียว

 

5. สอนให้เปิดใจรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

  • สอนให้ลูกเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง

อธิบายว่าทุกคนมีความคิดและมุมมองที่แตกต่างกัน การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นจะช่วยให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และมองโลกได้กว้างขึ้น

  • กระตุ้นให้ลูกถามคำถามและเรียนรู้จากผู้อื่น

สอนให้ลูกกล้าที่จะถามเมื่อไม่เข้าใจ หรือเมื่อต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สนับสนุนให้ลูกเรียนรู้จากประสบการณ์และความรู้ของคนรอบข้าง

  • เป็นแบบอย่างที่ดีในการรับฟังและเปิดใจต่อความคิดเห็นของลูก

คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นผู้ฟังที่ดีและแสดงความเคารพต่อความคิดเห็นของลูก แม้ว่าบางครั้งจะไม่เห็นด้วยก็ตาม การทำเช่นนี้จะช่วยให้ลูกซึมซับและนำไปปฏิบัติตาม

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

 

คนเราจะมีวิธีรับมือกับความผิดพลาดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนค่ะ สอนให้ลูกกล้ายอมรับความผิดพลาด และเรียนรู้จากความล้มเหลว เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา ความเข้าใจ และกำลังใจ เพื่อให้ลูกเข้มแข็งที่จะเผชิญกับปัญหา ปรับปรุงตัวเอง และก้าวข้ามทุกอุปสรรคไปให้ได้ โดยไม่ให้ความมั่นใจเกินร้อย ย้อนกลับมาเป็นภัยทำร้ายตัวเอง

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

20 สิ่งที่ควรสอนลูกสาว ก่อนที่จะโตเป็นผู้ใหญ่ บทเรียนชีวิตสำหรับลูกสาวยุคใหม่

วิธีสอนลูก เรื่องการคบเพื่อน ป้องกันลูกเดินทางผิด เพราะกลัวเพื่อนไม่คบ

วิธีเลี้ยงลูกให้มี Self-esteem ไม่ยอมให้ใครรังแก และไม่เอาเปรียบใคร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • มั่นใจเกินร้อย จะถอยยังไง? 5 เคล็ดลับ สอนลูกให้กล้ายอมรับความผิดพลาด
แชร์ :
  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว