X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกกินอาหารตกพื้นได้ไหม? ที่เขาว่าตกพื้นแป๊บเดียว ไม่สกปรกจริงหรือไม่?

บทความ 5 นาที
ลูกกินอาหารตกพื้นได้ไหม? ที่เขาว่าตกพื้นแป๊บเดียว ไม่สกปรกจริงหรือไม่?ลูกกินอาหารตกพื้นได้ไหม? ที่เขาว่าตกพื้นแป๊บเดียว ไม่สกปรกจริงหรือไม่?

ลูกกินอาหารตกพื้น “ของตกพื้นแป๊บเดียวเชื้อโรคไม่เห็นหรอก” ไหนใครเคยได้ยินคำพูดแบบนี้บ้าง ว่าอาหาร หรือ ขนมที่ตกพื้น ถ้าตกแป๊บเดียว หรือตกไม่เกิน 5 วิ ไม่สกปรกหรอก เชื้อโรคไม่ทันขึ้นแน่ จริงหรือ? วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบว่า อาหารตกพื้นกินได้ไหม แล้วมันสกปรกเหมือนที่เราคิดรึเปล่า!?

 

ทฤษฏีของตกพื้นไม่ถึง 5 วิ นั้นกินได้ ไม่เป็นอันตราย ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย จนมีคนนำมาตั้งข้อสังเกตว่า ของตกพื้นไม่เกิน 5 วินาที ปลอดภัยจริงหรือไม่ และ ระยะเวลาสั้น และยาว มีผลต่อการเกิดเชื้อโรคหรือไม่

 

food falling on the floor

 

ลูกกินอาหารตกพื้น ไม่เกิน 5 วิ กินได้จริงหรือ?

ในปี 2003 มีการศึกษาชิ้นหนึ่ง ของวิทยาลัยอิลลินอยส์ ได้ทดลองปล่อยเชื้อแบคทีเรีย เอาไว้บนกระเบื้อง ขนาดสี่เหลี่ยม จากนั้นได้วางของกินลงบนกระเบื้อง ภายในระยะเวลาที่แตกต่างกัน จากการทดลองพบว่า เชื้อแบคทีเรีย สามารถปนเปื้อนจากพื้น มายังของกินที่ใช้ทดลอง ภายในระยะเวลา ไม่เกิน 5 วินาที แต่ไม่ได้ระบุแน่ชัดว่า มีเชื้อโรคปนเปื้อนมากน้อยเพียงใด 

 

นอกจากนี้ การศึกษาชิ้นนี้ ยังไม่ได้แสดงผลไว้อีกว่า 70% ของผู้หญิง และ 56% ของผู้ชาย เคยใช้ทฤษฎีการหยิบอาหารตกพื้น ซึ่งขนมหวาน และลูกอม มีแนวโน้มที่จะถูกเก็บขึ้นมากินใหม่ มากกว่าผักต่าง ๆ อีกทั้งผู้หญิงยังมีแนวโน้ม ที่จะหยิบของตกพื้น มากินมากกว่าผู้ชาย

 

ศาสตราจารย์แอนโธนี ฮิลตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อโรค จากมหาวิทยาลัยแอสตัน ได้บอกเอาไว้ว่า อาหารที่ตกพื้นเพียงไม่กี่วินาที จะถูกแบคทีเรียที่เป็นอันตรายปนเปื้อน แต่ไม่ได้หมายความว่า เชื้อโรคจะไม่สามารถย้ายจากพื้น มาติดที่อาหารของเราได้ เพราะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สภาพพื้นผิว ประเภทอาหาร และระยะเวลาที่อาหารตกอยู่ ดังนั้น เป็นไปไม่ได้ ที่การเก็บอาหารที่ตกพื้น จะไม่มีความเสี่ยงกับเชื้อโรคเลย

 

food falling on the floor

 

สรุปเชื้อโรคอันตรายไหม?

ถ้าถามว่าเชื้อโรคอันตรายไหม ต้องบอกว่า บางครั้ง ร่างกายของคนเรา เมื่อได้รับเชื้อเข้าไป แม้เพียง 0.1% ก็อาจมากเพียงพอ ที่จะทำให้ป่วย ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของร่างกายคนเราด้วย อีกทั้งแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ ยังมีระดับความรุนแรง และความอันตรายไม่เท่ากัน บางชนิดอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่มีภูมิคุ้มกัน หรือ ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงพอ เช่น เชื้ออีโคไล

เชื้อโรค ไม่เพียงอยู่ตามพื้น หรือตามสิ่งของต่าง ๆ เท่านั้น แต่เชื้อโรคยังอยู่ใน เนื้อสัตว์ดิบ พื้นที่อับชื้น ตามผิวของเรา หรือ แม้แต่กระจายอยู่ในอากาศ ก็เป็นได้ จนถึงตอนนี้ เราได้คำตอบแล้วว่า อาหารตกพื้นกินได้ไหม? และ การที่เราคิดว่าของตกพื้นเพียงแป๊บเดียว สามารถกินได้อย่างปลอดภัย นั้นไม่เป็นจริงเลย รวมถึงทฤษฏีที่ว่า 5 วินาทีปลอดภัย สามารถทานได้ ก็เช่นกัน และการปนเปื้อน ของเชื้อโรคนั้น ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นผิว ลักษณะของอาหาร ไม่ว่าใครก็ตาม หากคิดที่จะหยิบอาหารที่ตกแล้วขึ้นมาทานละก็ ต้องยอมรับความเสี่ยง และความอันตราย ที่อาจะเกิดขึ้นในภายหลังด้วย เราควรหมั่นรักษาความสะอาดของตัวเรา โดยเฉพาะบริเวณมือ เพราะต้องใช้เพื่อจับอาหารเข้าปากเรานั่นเอง

 

Tips วิธีล้างมือให้สะอาด

  1. เริ่มต้นการล้างด้วย ผ่ามือถูฝ่ามือ จากนั้นถูสบู่เล็กน้อย พอให้มีฟอง แล้วนำฝ่ามือทั้งสองข้าง ประกบกัน ถูให้ทั่วมือ จนรู้สึกได้ว่าสะอาด
  2. ฝ่ามือถูหลังมือ ปาดฟองสบู่จากหน้ามือ มาที่หลังมือ แล้วล้างมือต่อ โดยการใช้ฝ่ามือ ถูหลังมือ และในซอกนิ้วให้สะอาด จากนั้น ทำแบบเดียวกัน สลับข้าง จะช่วยให้เชื้อโรค บริเวณหลังมือที่เรามักมองข้าม หายไปได้
  3. ประกบฝ่ามือ ถูซอกนิ้ว พลิกมือกลับมาประกบกัน ก่อนล้างมือให้สะอาดด้วยการถูกสบู่ในซอกนิ้ว
  4. ฝ่ามือขัดหลังนิ้ว ทำมือกำปั้นข้างหนึ่ง แล้วล้างมือต่อ โดยใช้ฝ่ามืออีกข้าง ขัดถูบริเวณหลังนิ้ว สลับกัน ทำแบบเดียวกันกับอีกข้าง
  5. ถูนิ้วหัวแม่มือ โดยการกางนิ้วหัวแม่มือ ก่อนใช้ฝ่ามืออีกข้างกำรอบ แล้วหมุนวน ด้วยฟองสบู่เป็นวงกลม ทำให้สะอาดเหมือนกันทั้งสองด้าน
  6. ขัดฝ่ามือด้วยปลายนิ้ว แบมือด้านหนึ่ง แล้วใช้ปลายนิ้วมืออีกข้าง ขัดฟองสบู่ตามแนวขวางให้ทั่ว แล้วสลับข้าง ทำเหมือนเดิม
  7. ถูรอบข้อมือ ด้วยการกำมือ รอบข้อมือข้างหนึ่ง แล้วถูวนไปรอบ ๆ จากนั้นเปลี่ยนข้าง ทำเหมือนเดิม จะช่วยให้ข้อมือสะอาด

 

เพียงง่าย ๆ เท่านี้ ก็จะช่วยให้มือของคุณสะอาด ไร้เชื้อโรค และแบคทีเรีย หมั่นทำเป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร รับรองว่าจะช่วยลดปัญหาท้องเสีย หรือ อาหารเป็นพิษได้

 

ที่มาข้อมูล : 1 , 2

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกท้องเสีย อย่าชะล่าใจ อาจอันตรายถึงชีวิต

10 แหล่งเชื้อโรคที่คุณคาดไม่ถึง..ใกล้ตัวลูก

คนท้องกินเกลือแร่ได้ไหม? มาดูวิธีแก้ท้องเสียของคนท้องกัน!!

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Waristha Chaithongdee

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูกกินอาหารตกพื้นได้ไหม? ที่เขาว่าตกพื้นแป๊บเดียว ไม่สกปรกจริงหรือไม่?
แชร์ :
  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

    ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

  • 7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

    7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

app info
get app banner
  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

    ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

  • 7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

    7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ