X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กท้องเสีย ทำอย่างไรดี? ลูกถ่ายเหลว มีสาเหตุจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง?

บทความ 5 นาที
เด็กท้องเสีย ทำอย่างไรดี? ลูกถ่ายเหลว มีสาเหตุจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง?

คุณพ่อคุณแม่อย่าวางใจนะคะ ลูกหลานท้องเสีย อันตรายกว่าที่เราคิดเยอะจริง ๆ ค่ะ

เด็กท้องเสีย หรืออาการถ่ายเป็นของเหลว โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากการถ่ายที่ผิดปกติ หรืออาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่แสดงถึงความผิดปกติของการขับถ่ายของทารก เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าการที่ลูกของเราท้องเสียถ่ายเหลว นั้นมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง และจะป้องกันหรือรักษาได้อย่างไร ไปดูกัน

 

ทารกท้องเสีย เป็นอย่างไร?

ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มักจะมีการถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะนุ่มและนิ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขากินนมแม่เพียงอย่างเดียว พวกเขาก็จะมีการถ่ายหลายครั้งต่อวัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะสังเกตว่าลูกน้อยของคุณมีอาการท้องเสียหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม หากลูกน้อยของคุณมีอุจจาระที่มีมูก มีจำนวนมากผิดปกติ หรือถ่ายบ่อยผิดปกติก็แสดงว่าพวกเขานั้นท้องเสีย ทั้งการทานนมผสมก็สามารถทำให้ทารกท้องเสียได้เหมือนกันแต่มีโอกาสน้อยกว่า และปริมาณอุจจาระ มูก และอาการต่าง ๆ ก็จะเหมือนกับการถ่ายปกติ ซึ่งสังเกตได้ยากมากเช่นกัน

บทความที่น่าสนใจ : ฝึกลูกขับถ่ายได้ตอนกี่เดือน รู้ได้อย่างไรว่าลูกพร้อมฝึกขับถ่ายแล้ว

 

โรคท้องร่วง กับ ท้องเสีย ต่างกันอย่างไร?

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของคำว่า “ท้องร่วง” และ “ท้องเสีย” ต่างกันอย่างไร ในความเป็นจริงแล้วเป็นโรคที่มีอาการเหมือนกัน แต่ว่าใช้คำเรียกไม่เหมือนกัน โดยแต่ละคนจะเรียกแตกต่างกันออกไป ในทางการแพทย์มักจะเรียกกว่า “อุจจาระร่วง” นั่นเอง

 

เด็กท้องเสีย 3

 

Advertisement

สาเหตุที่ลูกท้องเสีย คืออะไร?

ทารกทุกคนนั้นมีโอกาสที่จะท้องเสียได้ทั้งหมด โดยแต่ละคนนั้นก็จะมีสาเหตุที่ทำให้ท้องเสียแตกต่างกันออกไป มาดูกันดีกว่าค่ะว่าเหตุผลส่วนใหญ่ที่ทำให้ลูกน้อยของเราท้องเสียนั้นมีอะไรบ้าง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

  • การเจ็บป่วยจากไวรัส

แบคทีเรีย เชื้อรา และปรสิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการติดเชื้อที่นำไปสู่อาการท้องเสียในเด็กได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยง หรือเด็กที่ใช้เวลาร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ เป็นเวลานาน ซึ่งพวกเขาสามารถได้รับเชื้อโรคที่แพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสร่างกายกัน หรือของเล่นที่มีการแบ่งปันกัน

 

  • อาหารแข็ง

การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการรับประทานของทารกในช่วงของการเปลี่ยนผ่านระหว่างการดื่มนมเพียงอย่างเดียวสู่อาหารที่เริ่มมีความแข็งเพิ่มมากขึ้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนไหวของลำไส้ โดยอาหารที่มักจะทำให้ทารกท้องเสีย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ กลูเตน ถั่วลิสง และหอย ซึ่งทั้งหมดสามารถทำให้เกิดอาการแพ้อาหาร และความอ่อนไหวต่อระบบย่อยอาหารที่นำไปสู่อาการท้องร่วงได้

 

  • ยา

หากลูกน้อยของคุณต้องรับประทานยา อาทิ ยาปฏิชีวนะ อาจทำให้ปวดท้องและทำให้ถ่ายเหลวได้

 

  • การเดินทาง

ทารกกับผู้ใหญ่นั้นสามารถเกิดอาการท้องร่วงได้เหมือนกันเมื่อมีการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารก หรือเด็กเล็กอาจมีความเสี่ยงที่สูงมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นในการเดินทางที่ต้องใช้เวลานาน จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

 

  • การงอกของฟัน

การงอกของฟันนั้นไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของการที่ทำให้ลูกน้อยของเราท้องเสีย แต่การที่ฟันของพวกเขาเริ่มงอก และพวกเขามีความต้องการกัด หรือคันฟัน พวกเขาจะเริ่มมองหาอุปกรณ์บางอย่าง หรือของเล่นเข้าปาก ซึ่งนั่นเป็นผลทำให้ร่างกายของพวกเขาได้รับเชื้อโรค แบคทีเรียต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายที่นำไปสู่อาการเจ็บป่วยและท้องเสีย

ทั้งนี้ทารกสามารถเกิดอาการท้องเสียได้นอกเหนือจากสาเหตุที่สามารถพบทั่วไป หรือว่าเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยการท้องเสียสามารถเกิดขึ้นได้จากการรับประทานอื่น ๆ เข้าไปในร่างกาย และอาจจะส่งผลทำให้พวกเขามีอาการท้องเสียได้ ดังนี้

 

  • แพ้นม

การดื่มนมวัวอาจทำให้ทารกอุจจาระเหลว หรือท้องเสียได้ ซึ่งในบางคนอาจมีเลือดออกร่วมด้วย ซึ่งจะพบได้ในทารกตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไปที่รับประทานนมผสม หรือไม่ได้รับประทานนมแม่โดยตรง ซึ่งหากลูกของคุณมีอาการท้องเสียจำเป็นจะต้องหลีกเลี่ยงนมที่มีส่วนผสมมาจากนมวัว

 

  • แพ้แลคโตส

แลคโตสเป็นน้ำตาลในนม ทารกหลายคนไม่สามารถดูดซึมแลคโตสได้ ดังนั้นจึงทำให้แบคทีเรียในลำไส้เปลี่ยนแลคโตสเป็นแก๊ส ซึ่งส่งผลทำให้มีอาการถ่ายเหลว และท้องอืด ซึ่งจะเริ่มมีอาการเมื่อลูกน้อยของคุณอายุประมาณ 4-5 ปี และโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดกับเด็กที่มีประวัติครอบครัวที่มีอาการดังกล่าวมาก่อน หรือพันธุกรรมนั่นเอง

บทความที่น่าสนใจ : ลูกแพ้นมทำไงดี? สงสารลูกแพ้นม จะรับมืออย่างไรเมื่อลูกแพ้นม

 

เด็กท้องเสีย 2

 

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เตรียมลูกให้พร้อมด้วยสารอาหารพัฒนาสมองอย่าง DHA ให้ลูกฉลาดสมวัยและมีจิตใจดีไปพร้อมกัน
เตรียมลูกให้พร้อมด้วยสารอาหารพัฒนาสมองอย่าง DHA ให้ลูกฉลาดสมวัยและมีจิตใจดีไปพร้อมกัน

ระดับอาการท้องเสียในเด็ก แบ่งได้อย่างไรบ้าง

อาการท้องเสีย หรืออาการถ่ายเหลวในเด็กนั้นสามารถแบ่งออกเป็นระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป โดยสามารถทำให้คุณทราบได้ว่าระดับไหนที่คุณสามารถรักษาลูกน้อยของคุณได้เองที่บ้าน หรือจำเป็นที่จะต้องนำส่งแพทย์ในทันที โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ไม่รุนแรงมาก : ทารกจะถ่ายเป็นน้ำประมาณ 3-5 ครั้งต่อวัน
  • ระดับปานกลาง : ทารกจะถ่ายเป็นน้ำประมาณ 6-9 ครั้งต่อวัน
  • อาการรุนแรง : ทารกจะถ่ายเป็นน้ำ 10 ครั้ง หรือมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน

ทั้งนี้ความเสี่ยงหลักของการที่ทารกท้องเสียนั้นคือการคายน้ำของร่างกาย หรือการที่น้ำภายในร่างกายถูกรีดออกไปจนหมดผ่านอุจจาระ ซึ่งการที่ทารกอุจจาระเป็นน้ำบ่อยครั้งต่อวันนั้นทำให้ร่างกายของทารกเกิดภาวะขาดน้ำได้

 

โรคท้องร่วง เด็กท้องเสีย ส่งผลกระทบอะไรต่อร่างกายบ้าง?

หากลูกน้อยของคุณมีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง สิ่งแรกที่คุณจะต้องทราบคือพวกเขาจะอยู่ในภาวะขาดน้ำ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทารก เพราะพวกเขาตัวเล็กมากจึงทำให้ภาวะขาดน้ำนั้นมีความเสี่ยงสูงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาลูกน้อยของคุณมีอาการท้องเสีย อาเจียน และมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งจะต้องรีบพาพวกเขาเข้าพบแพทย์ในทันที ทั้งนี้คุณสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นเกี่ยวกับอาการขาดน้ำจากอาการท้องเสียได้ ดังต่อไปนี้

  • ปากแห้ง
  • ผิวแห้ง
  • ไม่ดื่มนม หรือทานอาหาร
  • ทานอาหารเพียงเล็กน้อย
  • ร้องไห้มีน้ำตา
  • ตาบวม
  • ง่วงนอนตลอดเวลา
  • ไม่ตื่นง่าย
  • ไม่มีการถ่ายของเสีย 8-12 ชั่วโมง

 

เด็กท้องเสีย 1

 

ทารกท้องเสีย รักษาอย่างไรดี เด็กท้องเสียทำไง

คุณไม่สามารถหยุด หรือป้องกันอาการท้องเสียของทารกได้ตลอดเวลา แต่คุณสามารถช่วยให้ลูกน้อยของคุณสบายขึ้นได้ โดยคุณสามารถป้องกันภาวะขาดน้ำและอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้เองที่บ้าน โดยส่วนใหญ่แล้ว หากทารกท้องเสียจะดีขึ้นเอง และลูกน้อยของคุณไม่จำเป็นจะต้องเข้าพบแพทย์ ซึ่งคุณสามารถรักษาพวกเขาได้จากที่บ้าน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ระวังเรื่องของการขาดน้ำของทารก คุณสามารถป้อนนมและน้ำให้พวกเขาได้ตามปกติ เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำร่างกายของเด็ก ๆ
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนการรักษาว่าควรให้ทารกดื่มเกลือแร่ หรือมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอย่างไรบ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องเสียในเด็ก
  • เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ พยายามทำให้ผ้าอ้อมของลูกคุณแห้งที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อช่วยป้องกันการเกิดผื่น หรืออาการระคายเคืองแก่ก้นของเด็ก
  • หากลูกน้อยของคุณเริ่มทานอาหารที่มีความแข็งได้แล้ว การให้อาหารที่ช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้ก็ส่งผลทำให้พวกเขาท้องเสียน้อยลงได้เช่นกัน อาทิ แครกเกอร์ ซีเรียบ พาสต้า กล้วย เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องระวังอาหารบางประเภทที่จะทำให้อาการท้องเสียกำเริบขึ้นได้ เช่น นมวัว น้ำผลไม้ อาหารทอด อาหารรสจัด เครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับผู้ใหญ่ และยาแก้ท้องร่วง เป็นต้น

 

ลูกท้องเสียหลายวัน ลูกท้องเสียแบบไหน ถึงจะต้องรีบพาส่งแพทย์ทันที

ถึงแม้ว่าการที่ทารกท้องเสียนั้นจะเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบได้บ่อยทั่วไป แต่ถ้าหากอุจจาระของพวกเขามีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ เป็นสีขาว หรือสีแดง ควรรีบพาพวกเขาเข้าพบแพทย์ในทันที โดยอุจจาระสีต่าง ๆ มีความหมายดังต่อไปนี้

  • อุจจาระสีอ่อน หรือสีขาว มักเป็นสัญญาณของปัญหาทางด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นกับตับ และอาการท้องเสียอย่างรุนแรง
  • อุจจาระสีแดง เป็นสัญญาณของการเตือนว่าภายในร่างกายของทารกนั้นมีเลือดออกอยู่ภายใน

ทั้งนี้รวมถึงอาการที่เด็กเกิดภาวะขาดน้ำ หรือมีการถ่ายเป็นของเหลวมากกว่า 10 ครั้ง หรือมากกว่าต่อวัน ควรนำทารกส่งให้ถึงมือแพทย์ให้ไวที่สุด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ การท้องเสียของเด็ก ๆ นี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลยใช่ไหมคะ เพราะว่าอาจส่งผลต่อชีวิตของพวกเขาได้ ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ตรวจพบอาการผิดปกติของการขับถ่าย หรือการอื่น ๆ ของทารกที่นำไปสู่ภาวะผิดปกติก็ให้รับนำส่งแพทย์ในทันทีนะคะ เพราะว่าจะได้รีบแก้ไข และรักษาได้ทัน เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยของคุณนะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ : 

โรคที่ทารกชอบเป็น ป่วยต้องดูอาการให้ดี บางอาการอาจจะอันตรายกว่าที่คิด

โรคมือ เท้า ปาก ระบาดหนักในเด็กช่วงฤดูฝน พบมากในทารกและเด็กเล็ก

วัคซีนวัณโรค สำคัญต่อทารกแรกเกิดอย่างไร พ่อแม่ต้องรู้

ที่มา : seattlechildrens, healthline, webmd, parents

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • เด็กท้องเสีย ทำอย่างไรดี? ลูกถ่ายเหลว มีสาเหตุจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง?
แชร์ :
  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

    EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

    EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว