X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคหูดับ ภัยร้ายจากเนื้อหมูดิบ ถ้าไม่ระวังอาจถึงตาย!

บทความ 5 นาที
โรคหูดับ ภัยร้ายจากเนื้อหมูดิบ ถ้าไม่ระวังอาจถึงตาย!

เรื่องหมู ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว อันตรายกว่าที่คิด เพราะหมู อาจนำพาโรคร้ายมาสู่เรา โดยที่เราไม่ตั้งตัวได้ โรคร้ายที่ว่า ก็คือ โรคหูดับ นั่นเอง

เรื่องหมู ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว อันตรายกว่าที่คิด เพราะหมู อาจนำพาโรคร้ายมาสู่เรา โดยที่เราไม่ตั้งตัวได้ โรคร้ายที่ว่า ก็คือ โรคหูดับ นั่นเอง

 

“โรคไข้หูดับ หรือ โรคหูดับ” เป็นโรคติดเชื้อ ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ ผ่านสุกร หรือ เนื้อหมู ไม่ว่าจะเป็นทางการรับประทาน หรือ การสัมผัส ก็อาจเสี่ยงที่จะติดเชื้อ โรคไข้หูดับ ได้ และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที่ อาจส่งผลให้การติดเชื้อลุกลาม และอันตรายต่อชีวิตได้

 

โรคหูดับ

 

โรคหูดับ คืออะไร ?

โรคไข้หูดับ เป็นโรคที่เกิดในสุกร ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่ปกติจะมีอยู่ในหมูเกือบทุกตัว ฝังอยู่ในต่อมทอนซินของตัวหมู แต่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่เมื่อร่างกายของสุกรอ่อนแอ มีอาการเครียด หรือ เกิดการป่วย จะทำให้แบคทีเรียตัวนี้ เกิดการเพิ่มจำนวน และอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้หมูป่วย และตายได้

 

โรคหูดับ เกิดจากอะไร ?

โรคหูดับ สามารถเกิดได้จากสองทาง ได้แก่

  1. การบริโภค คือ การรับประทาน หรือ การได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผ่านการกินอาหารที่ไม่ได้ถูกปรุงสุก หรือ อาหารไม่สุกดี เช่น ลาบลู่ หรือ ปิ้งย่าง ที่ไม่สุก 100%
  2. การรับเชื้อผ่านร่างกาย คือ การสัมผัสเชื้อโรค หรือ สุกรมีโรค ผ่านบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุตา

 

อาการของโรคหูดับ มีอะไรบ้าง ?

เมื่อผู้ป่วย ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายใน 3 วัน แล้วจะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  1. มีไข้สูง
  2. ปวดเมื่อยตามตัว
  3. ปวดศีรษะ
  4. ปวดตามข้อ
  5. มีจ้ำเลือดตามบริเวณร่างกาย หรือ ผิวหนัง
  6. อ่อนเพลีย ซึม
  7. คอแข็ง
  8. ชัก
  9. มีการเปลี่ยนแปลงทางระดับความรู้สึก

 

เมื่อเชื้อเกิดการเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง และ กระแสเลือด จะทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ และม่านตาอักเสบ และเนื่องจากเยื้อหุ้มสมอง อยู่ใกล้กับประสาทหูชั้นในทั้งสองข้าง เมื่อชื้อลุกลาม จะทำให้เกิดหนอง บริเวณปลายประสาทรับเสียง และปลายประสาททรงตัว ทำให้หูตึง หูดับ จนกระทั่งหูหนวก วิงเวียนศีรษะ และ เดินเซ ไม่สามารถทรงตัวได้

 

อาการทั้งหมดเหล่านี้ จะเกิดขึ้นภายใน 14 วัน หลังจากเริ่มมีอาการไข้ และหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และทันท่วงที ผู้ป่วยจะเริ่มจากการสูญเสียการได้ยิน และอาจเสียชีวิตในที่สุด

 

โรคหูดับ

 

การป้องกันโรคหูดับ ทำยังไง ?

การป้องกันโรคหูดับ สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

  1. ไม่กินเนื้อหมูที่ไม่สุก หรือ สุก ๆ ดิบ ๆ เช่น จิ้มจุ่มที่ไม่สุกดี หรือ ลาบลู่ เป็นต้น
  2. ไม่กินหมูป่วย หรือ หมูที่ตายจากการเป็นโรค ควรเลือกบริโภคหมู ที่มาจากแหล่งผลิต ที่ได้มาตรฐาน
  3. สวมอุปกรณ์ป้องกันเมื่อต้อสัมผัส หรือใกล้ชิดกับสุกร เช่น ถุงมือ เพื่อป้องกันการสัมผัสโรคจากสุกรที่ป่วย
  4. ล้างมือ ล้างเท้า ทำความสะอาดร่างกาย หลังสัมผัสสุกร และเนื้อสุกร
  5. เมื่อมีแผลต้องระวังในการสัมผัสสุกร และเนื้อสุกร ใช้ถุงมือ เป็นการป้องกันที่ดีที่สุด
  6. กำจัดเชื้อจากฟาร์ม ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้สุกรเกิดโรค

 

การรักษาโรคหูดับ

หากมีอาการต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกับการเป็นโรคหูดับ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรงทันที

 

การรักษาโรคหูดับ คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ ในกลุ่มยาเพนนิซิลลิน หรือ ยาเซฟไตร อะโซน เข้าทางหลอดเลือดดำ หรืออาจใช้ยา แวนโคมัยซิน ในผู้ป่วยที่แพ้ ยาเซฟไตร อะโซน และเพนนิซิลลิน

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนที่หายจากโรค อาจมีความผิดปกติหลงเหลืออยู่ เช่น ผิดปกติในด้านการทรงตัว เนื่องจากเชื้อได้เข้าไปทำลายเยื่อหุ้มสมอง หรือ ถ้าเชื้อเข้าไปที่ปลายระบบประสาทตา จะทำให้ม่านตาอักเสบ และทำให้ลูกตาฝ่อ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้ อีกทั้งอาจพบอาการอัมพาตครึ่งซีก ในผู้ป่วยที่หายจากโรคแล้วเช่นกัน

บทความจากพันธมิตร
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
กระเป๋าแม่ลูกอ่อน สำคัญอย่างไร เลือกกระเป๋าแบบไหนให้สะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด
กระเป๋าแม่ลูกอ่อน สำคัญอย่างไร เลือกกระเป๋าแบบไหนให้สะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน

 

อย่างไรก็ตาม โรคหูดับ เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และไม่อันตราย หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงที สำหรับใครที่สงสัย ว่าตัวเองมีอาการคล้ายกับโรคหูดับ ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาทันที ก่อนที่โรคจะลุกลาม และเป็นอันตรายต่อไป

 

 

ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลสินแพทย์

บทความที่น่าสนใจ : 

โรคจากยุง การป้องกันโรคที่เกิดจากยุง โรคไข้ปวดข้อยุงลาย อาการโรค วิธีป้องกันโรคร้ายจากยุง

“โรคกินไม่หยุด” ภัยเงียบที่คุณอาจไม่เคยรู้จัก

5 โรคที่มากับฝน สังเกตลูกมีอาการแบบนี้ไหม พร้อมวิธีป้องกันโรคติดต่อฤดูฝน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Waristha Chaithongdee

  • หน้าแรก
  • /
  • ไลฟ์สไตล์
  • /
  • โรคหูดับ ภัยร้ายจากเนื้อหมูดิบ ถ้าไม่ระวังอาจถึงตาย!
แชร์ :
  • รอดตายเพราะนั่งคาร์ซีท ! อุบัติเหตุรถคว่ำมีเด็ก 6 เดือนในรถ แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บ

    รอดตายเพราะนั่งคาร์ซีท ! อุบัติเหตุรถคว่ำมีเด็ก 6 เดือนในรถ แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บ

  • แนะนำ 10 หนังสือเด็กอ่อน ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด !

    แนะนำ 10 หนังสือเด็กอ่อน ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด !

  • อุทาหรณ์ ! แม่ลืมลูกไว้ในรถ รู้ตัวว่าลูกหายอีกที ก็หมดสติไปแล้ว สุดท้ายช่วยไม่ทัน !

    อุทาหรณ์ ! แม่ลืมลูกไว้ในรถ รู้ตัวว่าลูกหายอีกที ก็หมดสติไปแล้ว สุดท้ายช่วยไม่ทัน !

  • รอดตายเพราะนั่งคาร์ซีท ! อุบัติเหตุรถคว่ำมีเด็ก 6 เดือนในรถ แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บ

    รอดตายเพราะนั่งคาร์ซีท ! อุบัติเหตุรถคว่ำมีเด็ก 6 เดือนในรถ แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บ

  • แนะนำ 10 หนังสือเด็กอ่อน ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด !

    แนะนำ 10 หนังสือเด็กอ่อน ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด !

  • อุทาหรณ์ ! แม่ลืมลูกไว้ในรถ รู้ตัวว่าลูกหายอีกที ก็หมดสติไปแล้ว สุดท้ายช่วยไม่ทัน !

    อุทาหรณ์ ! แม่ลืมลูกไว้ในรถ รู้ตัวว่าลูกหายอีกที ก็หมดสติไปแล้ว สุดท้ายช่วยไม่ทัน !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ