X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม ฉีดแล้วอันตรายหรือเปล่า ฉีดได้ตอนไหน

บทความ 5 นาที
คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม ฉีดแล้วอันตรายหรือเปล่า ฉีดได้ตอนไหน

แม่ท้องหลาย ๆ คน ต่างก็เป็นกังวลใจ และสงสัยว่า คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม ถ้าท้องอยู่ควรจะฉีดวัคซีนหรือเปล่า ฉีดเข้าไปแล้วลูกจะเป็นอันตรายหรือไม่ วันนี้ theAsianparent Thaland จะพาคุณแม่ท้องทั้งหลาย มาทำความรู้จักกับวัคซีนโควิดในไทย ว่ามียี่ห้อไหนบ้างที่คนท้องฉีดได้บ้าง และหลังจากฉีด เราควรดูแลตัวเองอย่างไร

 

คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

งานวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกาชี้ว่า คนท้องและคนที่กำลังให้นมลูก ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ และโมเดอร์นา มีภูมิคุ้มกันในร่างกายเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มคนทั่วไปหลังจากฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ ซึ่งเด็กในท้อง ก็ได้รับภูมิคุ้มกันด้วยเหมือนกันกับแม่ ซึ่งนี่ ก็ถือว่าเป็นข่าวดี สำหรับแม่ท้องหลาย ๆ คน ที่กำลังตัดสินใจ ว่าควรจะเข้ารับการฉีดวัคซีนดีไหม

 

 

คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม ฉีดยี่ห้อไหนดี

สำหรับวัคซีนให้คนท้องอยู่หลัก ๆ มี 2 สูตร คือ สูตรไขว้ (ซิโนแวคกับแอสตร้าเซนเนก้า) และสูตรแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม โดยจากการสำรวจทั่วประเทศพบว่า มีคนท้องอยู่ทั้งหมด 5 แสนราย ซึ่งทางรัฐบาลก็ได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะเร่งฉีดวัคซีนให้คนท้องให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังมีหลาย ๆ ที่ ที่เปิดให้บริการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้กับคนท้องและคนสูงอายุ หากคุณแม่สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เลยค่ะ

 

Advertisement

คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม

 

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด

คนท้องบางคนที่เข้ารับการฉีดวัคซีน อาจมีอาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนคล้ายคนทั่ว ๆ ไป คือ มีอาการไข้ เหนื่อยเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว และปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งอาการเหล่านี้ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลใจ คุณแม่สามารถทานยาและนอนพักเพื่อให้อาการทุเลาลงได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีไข้สูง ใจสั่น ชัก หมดสติ ปวดหัวรุนแรง รวมทั้งมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีตุ่มน้ำพองขึ้นตามร่างกาย และมีอาการบวมทั่วร่างกาย ให้รีบไปโรงพยาบาลทันทีนะคะ

 

คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม

 

วิธีดูแลตัวเองในช่วงโควิดสำหรับแม่ท้อง

แม้ว่าคุณแม่จะฉีดวัคซีนกันไปแล้ว แต่ก็ยังคงต้องดูแลตัวเองให้ดี เพราะวัคซีนโควิด ไม่ได้ช่วยป้องกันโควิด แต่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน และช่วยไม่ให้เราติดโรคได้ง่าย ซึ่งคุณแม่สามารถดูแลตัวเองในระหว่างนี้ ได้ดังนี้

  1. ไม่เข้าใกล้คนอื่น โดยเฉพาะคนที่ไม่สบาย แต่ก็ควรแสดงออกอย่างเหมาะสม ไม่ทำท่าทางรังเกียจผู้อื่น
  2. ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย หรือจับสิ่งของต่าง ๆ เช่น อาหาร สัตว์เลี้ยง ใบหน้า จมูก ผ้าอ้อมเด็ก เป็นต้น
  3. เมื่อต้องการไอหรือจาม แต่ไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัยอยู่ ให้ใช้กระดาษทิชชูปิดปากตอนไอจาม แต่หากไม่มีกระดาษทิชชู ก็ให้ไอจามใส่ข้อศอกแทน
  4. หมั่นสำรวจตัวเองอยู่เสมอ ว่ามีไข้ หรืออาการแปลก ๆ หรือไม่ หากต้องการวัดอุณหภูมิร่างกาย ก็ไม่ควรทำหลังจากการออกกำลังกาย เพราะเป็นช่วงที่อุณหภูมิในร่างกายลดลงผิดปกติ
  5. หมั่นทำความสะอาดสิ่งของใช้ที่คนสัมผัสบ่อย ๆ เช่น ลูกบิดประตู สวิตช์ไฟ เคาน์เตอร์วางของ โทรศัพท์ แป้นพิมพ์ หรืออ่างล้างมือ เป็นต้น
  6. สวมหน้ากากอนามัยปิดจมูกและปากอยู่เสมอ เมื่อต้องออกไปข้างนอก
  7. ไม่ไปในที่คนเยอะ หรือในที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
  8. หากอยู่นอกบ้าน ให้หมั่นทำความสะอาดมือด้วยเจลล้างมือ

 

คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม

 

หากคุณแม่ติดโควิดลูกในครรภ์จะติดไหม

ในเด็กแรกเกิดที่มีเชื้อโควิด-19 ถือว่าพบได้น้อยมากเพียง 2-5 % ของคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วโลก และส่วนใหญ่ไม่ได้เจอในคุณแม่ที่ติดเชื้อนะคะ  แต่ก็ยังไม่มีผลวิจัยที่ชัดเจนว่า ทารกได้รับเชื้อช่วงไหนกันแน่ ระหว่างช่วงตั้งครรภ์หรือว่าเป็นหลังคลอด นอกจากนี้ ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อโควิด-19 จะทำให้เกิดโอกาสแท้งด้วยนะคะ โดยส่วนใหญ่อาการของทารกเมื่อติดเชื้อโควิด-19 จะน้อยมากหรือแทบไม่มีอาการอะไรเลยค่ะ แต่หากคุณแม่เกิดติดเชื้อในช่วงอายุครรภ์อยู่ไตรมาสที่ 3 แล้ว ก็อาจจะทำให้อาการของคุณแม่อยู่ในระดับรุนแรงได้ ในกรณีนี้จึงจะส่งผลเสียต่อลูกในครรภ์ด้วย

 

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ตามปกติหลังมีอายุครรภ์ครบ 12 สัปดาห์หรือ 3 เดือน ส่วนคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่แนะนำให้ฉีดคือคุณแม่ที่มีอาการแพ้วัคซีนจากเข็มแรกอย่างรุนแรง หรือคุณแม่ที่มีข้อห้ามจากแพทย์ที่ทำการดูแลโดยตรงค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
แม่ท้องอยากรู้ ฉีดวัคซีนโควิดตอนท้อง มีข้อห้ามและข้อระวังอะไรบ้าง ?
5 วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก เสริมเกราะป้องกันในช่วง โควิด-19 และฝุ่น PM 2.5
วัคซีนโควิด ChulaCov19 เทียบชั้น ‘ไฟเซอร์ – โมเดอร์นา’ ฝีมือของคนไทย

ที่มา : bangkokhospital, synphaet, petcharavejhospital

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม ฉีดแล้วอันตรายหรือเปล่า ฉีดได้ตอนไหน
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว