คงจะไม่มีใครไม่รู้จัก ข้าวโพด ผักรสชาติหวานแสนอร่อย พบเจอได้ตามตลาดหรือตามห้าง รับประทานง่าย หาซื้อไม่ยาก ข้าวโพดเป็นของชอบของใครหลาย ๆ คนมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งคุณแม่บางท่าน ก็อาจจะชอบรับประทานข้าวโพดด้วยเช่น แต่ว่าหากท้องอยู่จะทานข้าวโพดได้หรือเปล่ากันนะ กินแล้วเป็นอันตรายต่อลูกในท้องไหม มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้
ข้าวโพดคืออะไร
ข้าวโพด ถือเป็นธัญพืชที่ได้รับความนิยมอย่างมากในไทย หลาย ๆ คนชอบกินกัน อุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 5 ไฟเบอร์ และแมกนีเซียม ซึ่งข้าวโพดนั้น ไม่เพียงแต่มีคุณค่าทางโภชนาการ แต่ยังมีรสชาติที่อร่อย หวานมัน และเคี้ยวง่าย ซึ่งว่ากันว่า ข้าวโพดมีต้นกำเนิดมาจากประเทศแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ปลูกได้ในสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย ซึ่งในประเทศไทยเอง คนไทยได้เริ่มนำข้าวโพดมาเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากนั้นเป็นต้นมา ข้าวโพดก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ และได้กลายเป็นของทานเล่น และอยู่คู่กับครัวของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน
โดยข้าวโพดปริมาณ 100 กรัม จะให้สารอาหาร ดังนี้
- พลังงาน 96 แคลอรี
- น้ำ 73 เปอร์เซ็นต์
- คาร์โบไฮเดรต 21 กรัม
- น้ำตาล 4.5 กรัม
- โปรตีน 3.4 กรัม
- ไฟเบอร์ 2.4 กรัม
- ไขมัน 1.5 กรัม
- โอเมก้า 3 0.02 กรัม
- โอเมก้า 6 0.59 กรัม
บทความที่เกี่ยวข้อง : ข้าวโพดมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร เด็กเล็กกินข้าวโพดได้ไหม ?
คนท้องกินข้าวโพดได้ไหม กินแล้วได้ประโยชน์อะไร
ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำว่าคนท้องสามารถกินข้าวโพดได้ตามปกติ เพราะข้าวโพด มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่เยอะ และยังช่วยให้ร่างกายแม่และเด็กทำงานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งข้อดีของการรับประทานข้าวโพดนั้น แบ่งเป็นข้อ ๆ ได้ ดังนี้
1. ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
ข้าวโพดเป็นพืชที่มีไฟเบอร์สูง ซึ่งช่วยให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ขับถ่ายได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากว่าช่วงที่ตั้งครรภ์ หลาย ๆ คนก็มักท้องผูก ขับถ่ายไม่สะดวก หากไม่อยากรับประทานยา ก็สามารถหาซื้อข้าวโพดมาทานได้เลย
2. ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ลูกเกิดมาผิดปกติ
ข้าวโพด อุดมไปด้วยกรดโฟลิก ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ลูกน้อยเกิดมาพิการ หรือมีความผิดปกติทางด้านร่างกายอย่างโรคสไปนาไบฟิดา (Spina Bifida) ซึ่งเป็นโรคที่เด็กมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด ที่บริเวณกระดูกสันหลัง หรือไขสันหลัง
3. ช่วยเพิ่มความจำ
ว่ากันว่าการรับประทานข้าวโพด จะช่วยให้คุณแม่มีความจำดีขึ้น แถมยังช่วยให้เด็กในท้องมีพัฒนาการทางสมองที่ดีอีกด้วย ซึ่งแม้ว่าเด็ก ๆ จะยังไม่ลืมตาดูโลก แต่การบำรุงสมองของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ก็เป็นสิ่งที่ดี
4. ช่วยให้เด็กทารกมีสายตาดี
ข้าวโพดมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างสารลูทีน ซึ่งเป็นสารที่อยู่กลุ่มเบตาแคโรทีน และวิตามินเอ มักพบในผักและผลไม้หลาย ๆ ชนิด สารลูทีนนั้นจะช่วยให้ระบบการมองเห็นของเด็กในครรภ์ทำงานได้ดียิ่งขึ้น หากคุณแม่อยากบำรุงสายตาของลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ การรับประทานข้าวโพดก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี
5. อาจช่วยป้องกันมะเร็ง
มีผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า สารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในข้าวโพด จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งบางชนิด นอกจากนี้ ก็ยังอาจช่วยยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้อีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : แจกสูตร 5 เมนูข้าวโพด ทำกินง่ายได้ประโยชน์แบบจัดเต็ม !
6. ช่วยเสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อ
ข้าวโพดอุดมไปด้วยสารซีแซนทีน ซึ่งเป็นสารที่มักพบในพืชผัก หรือผลไม้หลาย ๆ ชนิด อยู่ในตระกูลสารแคโรทีนอยด์ ซึ่งมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อเด็กทำงานได้ดียิ่งขึ้นหลังจากเกิดมา
7. ป้องกันโรคโลหิตจาง
มีข้อมูลชี้ว่าข้าวโพดอุดมไปด้วยวิตามินบี 12 ซึ่งช่วยร่างกายสร้างเม็ดเลือด และป้องกันไม่ให้คุณแม่เป็นโรคโลหิตจางได้ง่าย ๆ ขณะตั้งครรภ์
8. ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกาย
ข้าวโพดเป็นพืชที่มีเบตาแคโรทีน ซึ่งจะถูกเปลี่ยนไปเป็นวิตามินเอหลังจากการรับประทาน เพื่อช่วยให้ผิวมีสุขภาพดี และช่วยให้ระบบการมองเห็นทำงานได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้วิตามินเอในข้าวโพด ก็ยังดีต่อเส้นผมของคุณแม่อีกด้วย
9. ช่วยลดคอเลสเตอรอล
น้ำมันในข้าวโพด จะช่วยให้ร่างกายของคุณแม่กำจัดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีอย่าง LDL ออกจากร่างกาย และช่วยให้ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลดีอย่าง HDL ได้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ข้าวโพดก็ยังมีสารฟีนอลิกอยู่ ซึ่งอาจช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกได้ด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ข้าวโพดจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย แต่คุณแม่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะข้าวโพดมีกรดไขมัน ที่ทำให้อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ รวมทั้ง อาจทำให้ย่อยอาหารได้ยากขึ้นอีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ข้าวโพดหวานผัดเนย เมนูของว่างแสนอร่อย ทำง่าย ๆ อร่อยฟิน !
คำแนะนำในการรับประทาน ข้าวโพด
ตอนนี้ คุณแม่หลาย ๆ ท่านคงนึกอยากกินข้าวโพดกันแล้ว แต่ก่อนจะออกไปซื้อข้าวโพด เราแนะนำให้อ่านคำแนะนำต่อไปนี้ก่อน เพื่อให้คุณแม่รับประทานข้าวโพดได้อย่างอร่อยและได้ประโยชน์สูงสุด
- ไม่ควรเก็บข้าวโพดที่ซื้อมาไว้นานเกินไป ถ้าเป็นไปได้ให้รับประทานให้หมดหลังจากซื้อมาในวันนั้น ๆ
- หากยังไม่ต้องการรับประทานข้าวโพดในทันที ก็ไม่ควรแกะเปลือกของข้าวโพดออกเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ข้าวโพดบูดได้
- หากต้องการเก็บข้าวโพดไว้ในตู้เย็น ควรหาภาชนะสะอาดใส่ข้าวโพด และปิดภาชนะนั้นให้สนิท
- รับประทานข้าวโพดฝัก แทนการรับประทานข้าวโพดกระป๋อง หรือข้าวโพดแช่แข็ง เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน
- ไม่ปรุงรสชาติหวาน หรือใส่น้ำตาลในข้าวโพด เพราะข้าวโพด 1 ฝัก จะมีน้ำตาลอยู่แล้วโดยธรรมชาติ
- หากต้องการต้มข้าวโพดกินเอง ให้แกะเปลือกและไหมข้าวโพดออกให้เรียบร้อย ตั้งหม้อผสมน้ำเกลือให้เดือด และนำข้าวโพดลงไปต้ม 3-4 นาที ไม่ควรต้มนานเกิน 4 นาที เพราะจะทำให้ข้าวโพดแข็ง กินไม่อร่อย
เห็นไหมคะว่าคนท้องก็สามารถรับประทาน ข้าวโพด ได้ เพราะข้าวโพดมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง อีกทั้งยังช่วยบำรุงร่างกายแม่และเด็กอีกด้วย ดังนั้นคุณแม่จึงควรรับประทานข้าวโพดบ่อย ๆ และอย่าลืมต้มให้สุกก่อนรับประทานนะคะ เพื่อความอร่อยและได้ประโยชน์สูงสุดค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ตำข้าวโพด ฟิตหุ่นคุณแม่หลังคลอด อิ่มนี้ไม่เกิน 200 แคล
แชร์ไอเดีย เมนูข้าวโพดอ่อน ผักสีเหลืองที่มีประโยชน์ต่อแม่และเด็ก !
แป้งข้าวโพดทำอะไรได้บ้าง ? 5 เมนูขนมหวาน จากแป้งข้าวโพด อร่อยง่าย ถูกใจลูก
ที่มา : parenting, stylesatlife
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!