คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คน คงจะกังวล เมื่อลูกเริ่มรับประทานอาหารที่หลากหลายมากขึ้น ลูกจะแพ้หรือเปล่า อาหารชนิดนี้จะเริ่มทานตอนไหน จะเป็นอันตราย หรือมีสารปนเปื้อนหรือไม่ ยิ่งเป็นอาหารทะเลแล้ว ยิ่งกังวลเข้าไปใหญ่ เพราะมีคนจำนวนมาก ที่แพ้อาหารทะเล เนื้อปลา เป็นอาหารทะเลที่ทานง่ายที่สุด ที่ลูกซึ่งเพิ่งเริ่มหัดเคี้ยว จะสามารถกินได้ด้วยตัวเอง วันนี้เรามีคำตอบว่า ทารกกินปลาได้ไหม ลูกเริ่มกินปลาได้เมื่อไหร่ พร้อมเมนูปลาสำหรับทารก
ทารกกินปลาได้ไหม เด็กเล็กกินปลาได้ไหม ?
ถึงแม้ว่า ปลา เป็นสัตว์ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงและเป็นหนึ่งในอาหารทะเลยอดนิยม เนื่องจากมีโปรตีนที่ดี และ อุดมด้วยไขมันเป็นโปรตีน ซึ่งในเนื้อปลาจะเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย และ มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไขมันจะมีอยู่บ้าง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของปลา อย่างในปลาน้ำจืดจะมีไขมันไม่มากนัก ยกเว้นพวกปลาสวาย หรือปลาสลิดตากแห้ง
ส่วนปลาทะเล ก็จะมีไขมันอีกประเภทซึ่งจะแตกต่างจากปลาน้ำจืด พวกที่เป็นกรดไขมันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เราพบว่า มันมีคุณค่าในแง่ของการลดการจับตัวของเกล็ดเลือด และ อาจจะช่วยในการป้องกันโรคต่าง ๆ อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจหรือไขมันในเลือดสูง นอกจากนั้น เครื่องใน ตับปลา ก็จะมีน้ำมันและวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน เป็น วิตามิน A D E K และ แร่ธาตุ โดยเฉพาะ ในตัวปลาบางชนิดที่เรารับประทานได้ ก็จะได้แคลเซียมด้วย
คำถามสำหรับ คุณพ่อ คุณแม่ มือใหม่ ที่ว่าทารกกินปลาได้ไหม ลูกเริ่มกินปลาได้เมื่อไหร่ พร้อมเมนูปลาสำหรับทารก เห็นหลาย ๆ คนบอกว่าอย่าเพิ่งให้ลูกเริ่มกินเลยรอให้อายุ 1 ขวบก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเกิดอาการแพ้อาหาร แต่บางคนบอกว่าลองให้ลูกได้กินอาหารเลย หลังจากลูกน้อยอายุครบ 6 เดือน แล้วแบบนี้พ่อแม่ควรทำอย่างไร ให้ลูกกินเลยดีไหม หรือว่าต้องรอไปก่อน
ควรเริ่มให้ลูกกินปลาได้เมื่อไหร่
จากการศึกษาหนึ่งระบุว่า คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกทานปลาที่ปรุงสุกได้ตั้งแต่อายุ 4 – 6 เดือน แต่ทางสถาบัน American Academy of Pediatrics (APP) ได้แนะนำว่า ควรให้ลูกน้อยได้กินปลาหลังจากที่คุณได้ลองให้ลูกลองทานอาหารแข็งบ้างแล้ว เช่น ผัก หรือผลไม้ค่ะ นอกจากนี้ ก่อนที่คุณแม่จะให้ลูกได้ลองทานอาหารเสริมแนะนำให้ลองปรึกษาคุณหมอก่อน เพื่อที่คุณหมอจะได้ประเมินได้ว่าน้องพร้อมที่จะรับทานอาหารแข็งได้หรือยัง
บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กเล็กกินอาหารทะเลได้ตอนกี่เดือน วิธีให้ลูกเริ่มทานอาหารทะเลอย่างถูกวิธี
วิธีเริ่มต้นให้ลูกทานปลา
ให้คุณพ่อคุณแม่ลองหั่นปลาที่สุกแล้วออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือจะบดก็ได้ อย่าลืมเสิร์ฟพร้อมกับผักด้วยนะคะ ลูกจะได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน จากนั้นให้ลองสังเกตอาการดูว่าลูกแพ้หรือไม่ โดยดูว่าผิวของลูกมีการออกผื่นแพ้หรือเปล่า มีอาการแพ้ทันทีที่กินบ้างไหม เช่น อาการบวม อาเจียน ท้องเสีย หรือหายใจลำบาก หากลูกน้อยมีอาการเหล่านี้แนะนำว่าให้รีบไปพบคุณหมอทันทีค่ะ
จากการศึกษาพบว่า เด็กชาวจีนมากเกิน 500 คน ที่มีอายุระหว่าง 9-11 ปี กับคำถามว่าพวกเขากินปลาจำนวนกี่ครั้งในเดือนที่ผ่านมา กับคำตอบให้เลือกคือ “ไม่เคย” กับ “อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง” ในเด็กอายุ 12 ปี ทำแบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาทักษะด้านภาษาและไม่ใช่ภาษา
ในกลุ่มเด็กที่บอกว่ากินปลาทุกอาทิตย์มีคะแนนวัดไอคิวได้ 4.8 สูงกว่าเด็กที่ตอบว่าไม่กินปลาหรือกินน้อย โดยทีมนักวิจัยไม่ได้ถามเด็ก ๆ ว่าปลาชนิดไหนที่พวกเขากินบ้าง ในขณะที่กลุ่มที่ตอบว่าทานปลาไม่บ่อย จะมีคะแนนไอคิวอยู่ที่ 3.3
ส่วนคำตอบจากครอบครัวเด็ก ๆ เกี่ยวกับคุณภาพการนอน พบว่า เด็กที่กินปลาเป็นประจำจะมีคุณภาพการนอนที่ดีกว่า เพราะไม่มีเรื่องรบกวนในระหว่างที่นอนหลับ
ในข้อดีที่เกิดขึ้นทำให้กลุ่มนักวิจัยแนะนำไปยังพ่อแม่ผู้ปกครองให้เพิ่มปลาเข้าไปในเมนูอาหารของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นปลาทู ปลาดอลลี่ ปลาแซลมอน และเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าเนื้อปลาง่ายต่อการหั่น และมีกระดูกน้อย เด็ก ๆ เริ่มกินปลาได้ตั้งแต่อายุเริ่ม 2 ขวบ
เด็กกินปลาแล้วดีไหม ทำไมทารกจึงควรกินปลา
ปลาเป็นแหล่งอาหารชั้นยอดสำหรับทารก เพราะมันอุดมไปด้วยโปรตีน และกรดไขมันที่จำเป็น มีโอเมก้า 3 ซึ่งมีส่วนที่ช่วยในการเสริมสร้างและพัฒนาสมอง พบใน ปลาทู ปลาแซลมอน นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี และแมกนีเซียมด้วยเช่นกัน แต่ให้ระวังปลาที่มีสารปรอทสูง เช่น ปลาแมกเคอเรล ฉลาม ปลาทูน่า ปลากระโทงดาบ เป็นต้น ปลาพวกนี้ไม่แนะนำให้ทารกกินค่ะ เพราะสารปรอทจะเข้าไปยับยั้งหรือทำลายการทำงานของระบบประสาทได้
ผลการศึกษาพบว่า เด็กที่กินปลาอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้งหรือมากกว่า จะทำให้การนอนดีขึ้น และผลทดสอบระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าเด็กที่ไม่กินปลาหรือกินน้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง
เด็กกินปลาแซลมอนได้ไหม
คำตอบคือ ได้ค่ะ ถึงแม้ว่าปลาแซลมอนจะไม่ใช่ปลาเนื้อขาว แต่ปลาแซลมอน เป็นหนึ่งในปลาที่มีโอเมก้า 3 สูงชนิดหนึ่ง โดยกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่ที่ 1.3 – 1.9 กรัม ต่อ เนื้อปลา 100 กรัม และยังเป็นปลาที่มีความเสี่ยงปนเปื้อนสารปรอทในปริมาณที่ต่ำอีกด้วย
ตัวอย่าง เมนูปลาสำหรับลูกน้อย
- เมนูซุปปลา
- เมนูปลากับผักรวม
- มันบดปลาแซลมอน
- เมนูปลาทูสำหรับลูกน้อย เช่น ข้าวต้มปลาทู ปลาทูทอด (สำหรับลูกน้อยวัย 8 เดือนขึ้นไป)
อย่าลืมนะคะ ปลาที่ควรนำมาปรุงให้ลูกกินควรเป็นปลาสดเท่านั้น และควรเลือกปลาเนื้อขาว อย่างเช่น ปลาทู ปลาดอลลี่ และเลือกปลาที่ไม่เข้าข่ายปลาที่มีสารปรอทสูง มาดูสองเมนูที่คุณแม่สามารถนำปลาชนิดอื่น ๆ มาประยุกต์ได้ตามความชอบ แต่ต้องระวังก้างด้วยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกกินแต่ไข่ กินไข่ทุกวัน เป็นอันตรายไหม ควรกินอย่างไรถึงจะเหมาะสม?
ปลาที่ไม่ควรให้ลูกกิน
เด็กเล็กควรหลีกเลี่ยงปลาบางชนิดเนื่องจากอาจเกิดการแพ้หรือความเสี่ยงต่อสุขภาพ ปลาที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่
- ปลาฉลาม
- ปลากระโทงดาบ
- ปลาอินทรี
- ปลาฉนาก
- ปลาไทล์ฟิชจากอ่าวเม็กซิโก
- ปลาทูน่า เนื่องจากเนื้อสัมผัสของปลาอาจทำให้สำลักได้
เพราะเป็นปลาที่มีสารปรอทในระดับสูง เช่นเดียวกับอาหารอื่น ๆ ควรตรวจดูอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ ควรกินปรุงปลาที่ปรุงสุกแล้ว เนื่องจากปลาที่ปรุงไม่สุกอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้
เมนูที่ 1 ซุปปลา
ส่วนผสม
- ปลาสุกที่เอาก้างออกแล้ว 1 ถ้วย
- นมแม่หรือนมผง 1/4 ถ้วย
- เครื่องปั่นหรือเครื่องเตรียมอาหาร
วิธีทำ
- นำปลาที่เตรียมไว้มาผสมเข้ากับนมแม่แล้วปั่นรวมกัน
- เติมรสชาติของผักเข้าไปตามที่ต้องการ
- ตักเสิร์ฟลูกน้อยได้เลยจ้า
เมนูที่ 2 ปลากับผักรวม
ส่วนผสม
- ปลาสุกที่เอาก้างออกแล้ว 1 ถ้วย
- นมแม่หรือนมผง 2 ช้อนโต๊ะ
- ถั่วปรุงสุก 1 ช้อนโต๊ะ
- แครอท 1 ช้อนโต๊ะ
- มันฝรั่งหวาน 1 ช้อนโต๊ะ
- เครื่องปั่นหรือเครื่องเตรียมอาหาร
วิธีทำ
- นำปลาที่เตรียมไว้มาผสมเข้ากับนมแม่ ถั่ว แครอท มันฝรั่งหวาน แล้วปั่นรวมกัน
- หากข้นเกินไปอาจเติมนมเพิ่มได้
ปลาเป็นแหล่งโภชนาการที่ดีสำหรับทารกและเด็กเล็ก เพราะอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาสมองและระบบประสาทของลูกน้อย นอกจากนี้ยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น สังกะสี เหล็ก และไอโอดีน ปลาเป็นตัวเลือกที่ดีในการทำให้ลูกได้กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการแต่ยังคงรสชาติอร่อยอีกด้วยค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เมนูปลาสลิด เด็ก ๆ ทานได้ สูตรอาหารไทยพื้นบ้าน ทำง่าย อร่อยโดนใจ !!
8 เมนูอะโวคาโด สำหรับลูกน้อย มีประโยชน์แถมอร่อย ทำได้เองที่บ้าน
ให้ลูกกินแอปเปิ้ลอย่างไรได้ประโยชน์ตั้งแต่เล็กถึงโต?
ที่มา : verywellfamily
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!