X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ยาปฏิชีวนะ ทำให้ท้องยากจริงหรือเปล่า มาอ่านดูให้รู้กัน !

บทความ 5 นาที
ยาปฏิชีวนะ ทำให้ท้องยากจริงหรือเปล่า มาอ่านดูให้รู้กัน !

ยาปฏิชีวนะ หลายคนต้องกินเพื่อรักษาโรค ว่าแต่ยาชนิดนี้มีผลต่อการตั้งครรภ์จริง ๆ หรือ

ยาปฏิชีวนะ เป็นยาที่รักษาโรคหรืออาการที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย บางคนอาจกำลังรับประทานยาชนิดนี้เพื่อรักษาโรคอยู่ มีใครเคยได้ยินบ้างไหม ว่าการรับประทานยาปฏิชีวนะทำให้ท้องได้ยาก วันนี้เราจะพามาไขคำตอบ ว่าเรื่องนี้จริงเท็จแค่ไหน ใครที่สงสัยว่าเรื่องนี้จริงหรือไม่ สามารถติดตามอ่านได้จากบทความนี้

 

ยาปฏิชีวนะคืออะไร

ยาปฏิชีวนะ เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขัดขวางการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย มักใช้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างอาการเป็นหนอง หรือต่อมทอนซิลอักเสบ ซึ่งบางคนมักเข้าใจผิด คิดว่ายาปฏิชีวนะคือยาแก้อักเสบ ความจริงแล้ว ยาเหล่านี้คือยาคนละชนิดกัน ยาปฏิชีวนะ ไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวด หรืออาการอักเสบได้ รวมทั้งไม่สามารถช่วยฆ่าเชื้อไวรัสได้ โดยปกติแล้ว หมอจะเป็นคนสั่งให้รับประทานเอง หากคนไข้หยุดทานก่อนเวลาที่กำหนด อาจทำให้ร่างกายดื้อยา และไม่หายจากโรคนั้น ๆ

 

ใครต้องกินยาปฏิชีวนะบ้าง

คนที่มีแผล หรือเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาอาการ เช่น คนที่มีสิวเรื้อรัง เป็นสิวรุนแรง รักษาสิวไม่หายสักที เป็นโรคหนองในเทียม เป็นโรคแผลพุพอง เป็นต้น ซึ่งคนป่วยกลุ่มนี้ ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายมากยิ่งขึ้น และกันไม่ให้เชื้อกระจายไปสู่คนอื่น นอกจากนี้ หากติดเชื้อที่ไต ปอดบวม หรือเซลล์เนื้อเยื่อในร่างกายอักเสบ ก็อาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะด้วย เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อน และบรรเทาอาการของโรค

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไม การรับประทานยา จึง มีผลต่อลูกในท้อง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 74

 

ยาปฏิชีวนะ ทำให้ท้องยากจริงหรือไม่

ยาปฏิชีวนะ ทำให้ท้องยากจริงหรือไม่ (ภาพโดย jcomp จาก freepik.com)

การทานยาปฏิชีวนะ ทำให้ท้องยากจริงหรือไม่

หลาย ๆ คน อาจกำลังทานยาปฏิชีวนะกันอยู่ หรืออาจจะกำลังรับประทาน และก็เกิดความกังวล ว่ายาชนิดนี้จะทำให้ท้องได้ยากหรือเปล่า บางคนคิดว่ายาปฏิชีวนะจะทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ วันตกไข่ไม่คงที่ หรือมีผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน หากใครกังวลอยู่ก็ทำใจให้สบายได้เลย เพราะในตอนนี้ ยังไม่มีงานวิจัยที่บ่งชี้ ว่าการกินยาปฏิชีวนะ ทำให้มีลูกได้ยาก

 

แม้ว่าจะเคยมีผู้หญิงที่กินยาปฏิชีวนะ และไม่สามารถตกไข่ได้ตามปกติ แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ความผิดปกตินี้ เกิดจากยาปฏิชีวนะจริง ๆ และก็ยังไม่มีงานวิจัยไหน ๆ ที่สนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้ และถ้าจะพูดให้ถูก การติดเชื้อในร่างกายและไม่ได้รับการรักษานี่แหละ ที่อาจส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ได้มากกว่าการกินยาปฏิชีวนะ หากเรากินยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย อาจช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู และส่งผลดีต่อการเจริญพันธุ์ก็เป็นได้

 

อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน ยาปฏิชีวนะนั้น สามารถส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ของผู้ชายได้ จากงานวิจัยชี้ว่า ยาปฏิชีวนะชนิดเตตราไซคลิน เพนิซิลลิน หรืออีรีโทรมัยซิน ส่งผลให้ประสิทธิภาพของน้ำอสุจิลดลง และมีผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอสุจิ ดังนั้น หากคุณผู้ชายจะรับประทานยาปฏิชีวนะ ก็อย่าลืมถามคุณหมอ เกี่ยวกับผลข้างเคียงหรือผลเสีย ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างรับประทานยา

 

คนท้องกินยาปฏิชีวนะได้หรือเปล่า

หากว่าท้องอยู่แล้วต้องกินยาปฏิชีวนะ ก็สามารถกินได้ เพียงแต่ว่าคุณหมออาจสั่งจ่ายยาให้แบบเฉพาะ หากอยู่ในช่วงไตรมาสแรกที่ตั้งครรภ์ หมอจะเลือกแค่ยาบางชนิดให้ เนื่องจากยาปฏิชีวนะบางตัว อาจส่งผลต่อตัวอ่อนทารกในท้อง และอาจทำให้เกิดอันตรายในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งยาปฏิชีวนะที่คนท้องอ่อนกินได้ ก็คือยาในกลุ่มเพนิซิลลิน ซึ่งเป็นยาที่ช่วยรักษาการติดเชื้อทางช่องปาก ทางเดินหายใจ ทางหู ทางเดินปัสสาวะ ทางเดินอาหาร บริเวณผิวหนัง และบริเวณช่องคลอด ส่วนยาในกลุ่มเตตราไซคลินและอีรีโทรมัยซิน อาจมีผลต่อกระดูกและฟันของเด็ก หรืออาจทำให้เด็กตัวเหลือง จึงไม่ควรรับประทาน ดังนั้น หากตั้งครรภ์อยู่ หรือแพ้ยาชนิดไหน ก็อย่าลืมบอกหมอตอนซักประวัติด้วยนะคะ

 

ยาปฏิชีวนะ ทำให้ท้องยากจริงหรือไม่ 2

ยาปฏิชีวนะ ควรกินตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด ไม่เพิ่มปริมาณยาเอง หรือหยุดกินยา หากแพทย์ไม่ได้สั่ง (ภาพโดย 8photo จาก freepik.com)

 

คำแนะนำในการรับประทานยาปฏิชีวนะ

เมื่อคุณหมอสั่งจ่ายยาชนิดนี้มาให้รับประทาน เราอาจปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

  • หากกำลังกินยาชนิดอื่นอยู่ อย่าลืมบอกหมอ เพราะยาบางตัวอาจทำปฏิกิริยากันจนเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
  • รับประทานยาตามที่หมอสั่ง อ่านฉลากยาให้ดี และทำตามข้อแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • หากทานยาติดต่อกันหลายวัน และไม่มีทีท่าว่าอาการจะดีขึ้น ให้เข้าปรึกษาหมอ
  • หากกำลังท้องหรือมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว อย่าลืมบอกให้หมอทราบ
  • สอบถามหมอเกี่ยวกับผลข้างเคียงจากการใช้ยาให้ละเอียด
  • หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างรับประทานยา ให้บอกหมอ
  • ไม่แอบกินยาของคนอื่นเด็ดขาด เพราะปกติหมอจะจ่ายยาให้ตามชนิดของเชื้อโรคและโรคที่คนไข้เป็น
  • ไม่หยุดทานยาเองหากหมอไม่ได้สั่ง

 

ความเสี่ยงในการรับประทานยาปฏิชีวนะ

หากเราป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับเชื้อแบคทีเรีย และต้องรับประทานยาเพื่อรักษาโรค ในระหว่างการรับประทานยา เราอาจเกิดอาการแพ้ยา เช่น มีผื่นคัน ผิวหนังไหม้หรือลอก เป็นต้น นอกจากนี้ เราอาจมีอาการดื้อยา จนต้องเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่นแทน และในกรณีที่ร้ายแรง ยาปฏิชีวนะอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน หรืออาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น เราจึงควรใช้ยาชนิดนี้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียตามมา

 

การเข้าใจผิด คิดว่ายาปฏิชีวนะคือยาแก้อักเสบ และมักจะหามารับประทานเองบ่อย ๆ เพื่อบรรเทาอาการป่วยนั้น ไม่ก่อให้เกิดผลดี เพราะอาจทำให้อาการป่วยรุนแรงมากขึ้น ทางที่ดีไม่ควรทานยาชนิดนี้เอง หากต้องการใช้ยาจริง ๆ ก็ควรเข้าปรึกษาคุณหมอก่อน เพื่อให้ได้รับข้อแนะนำในการรับประทานยาอย่างถูกต้องนะคะ

 

ที่มา : 1 , 2 , 3 , 4

บทความที่เกี่ยวข้อง :
ความเครียด ทำให้มีลูกยากจริงหรือไม่ ความเครียดมีผลกับการตั้งครรภ์จริง ๆ หรือ
คนท้องต้องรู้ การตกไข่ และตัวช่วยให้ท้องง่าย เทคนิคทำให้ท้องได้ง่าย!
การรักษาผู้มีบุตรยาก ทำอย่างไรให้ท้องได้สักที คำแนะนำแม่ท้องยาก

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ยาปฏิชีวนะ ทำให้ท้องยากจริงหรือเปล่า มาอ่านดูให้รู้กัน !
แชร์ :
  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ