เรื่อง(ไม่)ลับ สิ่งที่แม่ผ่าคลอดอยากบอก กับคนที่ไม่เคยผ่า

คลอดธรรมชาติ หรือ ผ่าคลอด ถ้าให้แม่ท้องต้องเลือกก็ดูจะตัดสินใจยากเหมือนกันค่ะ เอาเป็นว่ามาดู เรื่อง(ไม่)ลับ สิ่งที่แม่ผ่าคลอดอยากบอก กับคนที่ไม่เคยผ่า กันก่อน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในปัจจุบันการเลือก “วิธีผ่าคลอด” ของคุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละคนนั้นเป็นที่ถกเถียงกันมากค่ะว่าแบบไหนดีกว่า ระหว่าง “คลอดธรรมชาติ” กับการ “ผ่าคลอด” โดยประเด็นที่ถูกยกมาเปรียบเทียบนั้นล้วนเป็นความกังวลของคุณแม่เกี่ยวกับการผ่าคลอดและการคลอดธรรมชาติ คือ “ความเจ็บตอนคลอด” กับ “การฟื้นตัวหลังคลอด” ซึ่งสำหรับคุณแม่หลายๆ คน การผ่าคลอดอาจเป็นประสบการณ์ที่แตกต่าง แต่ก็เต็มไปด้วยความรักและความสุขเช่นกัน วันนี้เรามี สิ่งที่แม่ผ่าคลอดอยากบอก กับคนที่ไม่เคยผ่า ที่รวบรวมมาจาก “กลุ่มเฟซบุ๊ก HerKid รวมพลคนเห่อลูก” มาแชร์กันค่ะ

คลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด ต่างกันยังไง ?

ก่อนจะไปดูความคิดเห็นรวมถึง สิ่งที่แม่ผ่าคลอดอยากบอก กับคนที่ไม่เคยผ่า อยากชวนคุณแม่มาเน้นย้ำความแตกต่างระหว่างการคลอดธรรมชาติ กับการผ่าคลอดกันอีกครั้งค่ะ

  • การคลอดธรรมชาติ (Natural birth)

หรือเรียกอีกอย่างว่า “active birth” คือ การคลอดลูกแบบปกติโดยคุณแม่เบ่งคลอดเองทางช่องคลอด ไม่มีการผ่าตัด เป็นการคลอดหลังจากครบกำหนดอายุครรภ์ประมาณ 37 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 42 สัปดาห์ ซึ่งทารกจะอยู่ในท่ากลับศีรษะแล้วจะค่อยๆ เคลื่อนตัวมายังอุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมคลอดแบบธรรมชาติ

  • การผ่าคลอด (C-Section)

เป็นการคลอดที่ใช้การผ่าตัดทางหน้าท้อง โดยปกติแล้วการคลอดวิธีนี้จะเหมาะกับคุณแม่ที่มีเชิงกรานแคบ ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ หัวใจทารกเต้นผิดปกติ สายสะดือสั้น รกเกาะต่ำ ครรภ์แฝด ครรภ์เป็นพิษ มีภาวะฉุกเฉิน หรือคุณแม่มีปัญหาทางด้านสุขภาพที่ไม่พร้อมต่อการคลอดเองตามธรรมชาติ ทั้งนี้ ในการผ่าคลอดจะมีการบล็อกหลัง หรือดมยาสลบ ซึ่งทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกัน ดังนี้

  1. การดมยาสลบ เป็นการระงับความรู้สึกที่จะทำให้หมดสติ หรือไม่รู้สึกตัว ซึ่งจะทำโดยวิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยหลังคมยาสลบแล้วคุณแม่จะหมดสติ ไม่รู้สึกเจ็บ และไม่รู้สึกตัวตลอดการผ่าตัดจนกระทั่งหมดฤทธิ์ยา

ข้อดี

  • ระหว่างที่ผ่าคลอด คุณแม่จะไม่รู้สึกตัว จึงทำให้ไม่ต้องกลัวและไม่เครียดในระหว่างที่ผ่าคลอด
  • วิสัญญีแพทย์สามารถควบคุมการหายใจ และระบบไหลเวียนได้อย่างเหมาะสม

ข้อเสีย

  • ปวดแผลมากกว่าการบล็อกหลัง เนื่องจากยาสลบจะไปกดสมองไม่ให้รับรู้ความเจ็บปวด แต่ระบบประสาทไขสันหลังยังทำงานอยู่ เมื่อหมดฤทธิ์ยาจึงรู้สึกปวดแผลมาก
  • อาจมีอาการระคายคอ เจ็บคอ เสียงแหบ ไอ เนื่องมาจากการสอดท่อช่วยหายใจ
  • ยาแก้ปวดและยาดมสลบอาจส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบลอ หรือเวียนศีรษะในช่วงพักฟื้นลังผ่าคลอด
  • ในบางกรณี ยาสลบอาจส่งผลถึงลูกน้อย ทำให้การประเมินหลังคลอดทำได้ช้ากว่าปกติ
  1. การบล็อกหลัง เป็นการฉีดยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ เพื่อทำให้รู้สึกชาเฉพาะบริเวณกลางลำตัวไปจนถึงขา ในขณะผ่าตัดคลอด ช่วงบนลำตัวจะยังมีความรู้สึก สามารถรับรู้และสื่อสารได้

ข้อดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • คุณแม่จะยังรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา โดยไม่รู้สึกเจ็บปวด สามารถเห็นหน้าและได้ยินเสียงร้องของลูกน้อยได้ทันทีตั้งแต่แรก
  • ฤทธิ์ของยาชาจะไปกดระบบประสาท ทำให้หลังผ่าคลอดอาจจะยังไม่เจ็บแผลในทันที

ข้อเสีย

  • หลังผ่าคลอด อาจมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน
  • จะยังไม่สามารถขยับขาได้ประมาณ 2-4 ชั่วโมง
  • อาการข้างเคียงจะเกิดใน 12 ชั่วโมงแรก คือ ปัสสาวะไม่ออก คุณแม่จึงมักจะได้รับการสวนสายปัสสาวะช่วย
  • อาจมีอาการปวดหลัง หรือเมื่อยหลังในช่วงแรกหลังผ่าคลอด

เปรียบเทียบ ข้อดี-ข้อเสีย “คลอดธรรมชาติ” กับ “ผ่าคลอด”

  ข้อดี ข้อเสีย

คลอดธรรมชาติ

  • ปลอดภัย เพราะไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ หรือบล็อกหลัง โอกาสติดเชื้อในมดลูกน้อยและมีการเสียเลือดน้อยกว่าผ่าคลอด
  • แผลมีขนาดเล็ก โดยเฉพาะท้องแรก ซึ่งส่วนใหญ่แผลฝีเย็บที่ช่องคลอดจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 2-4 เซนติเมตรเท่านั้น
  • ฟื้นตัวได้รวดเร็ว เนื่องจากมีแผลฝีเย็บที่เล็ก คุณแม่จึงเจ็บไม่นาน ลุก นั่ง เดินได้หลังการคลอด และพักฟื้นไม่นาน
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกได้ ทารกจะได้ภูมิคุ้มกันจากเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดของแม่ และได้รับ Probiotic มากกว่าการผ่าคลอด
  • ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาคลอดล่วงหน้าได้
  • เจ็บครรภ์ระหว่างรอคลอดนาน
  • มีโอกาสใช้เครื่องดูดสุญญากาศ หรือคีม หากคุณแม่หมดแรงเบ่ง
  • หากทารกมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเชิงกรานคุณแม่แคบอาจทำให้การคลอดติดขัดได้

ผ่าคลอด

  • ไม่ต้องรอคลอดนาน ไม่ต้องทนเจ็บระหว่างรอคลอด เพราะไม่ต้องรอให้ปากมดลูกเปิด โดยอาจใช้เวลาผ่าตัดเพียง 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมงเท่านั้น
  • กำหนดวัดคลอดได้ ดูฤกษ์และเลือกวันเวลาคลอดได้ โดยระยะที่เหมาะสมคืออายุครรภ์ 38 สัปดาห์ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความแข็งแรงของทารกเป็นหลัก
  • ลดการยืดหย่อนของเชิงกราน เพราะไม่ต้องใช้แรงเบ่งเหมือนคลอดธรรมชาติ
  • มีความปลอดภัยสูง แพทย์จะต้องหารือและวางแผนร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ฝ่าย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉิน และสามารถแก้ไขให้ความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว
  • ลดการเจ็บปวดขณะคลอด ด้วยการดมยาสลบ หรือบล็อกหลัง ขณะผ่าคลอดคุณแม่จึงไม่เจ็บ และไม่ต้องออกแรงเบ่ง
  • ลดความเสี่ยงสายสะดือถูกกดทับระหว่างทำคลอด
  • สามารถทำหมันหลังคลอดได้เลย
  • มีแผลผ่าตัดที่หน้าท้อง ซึ่งต้องดูแลแผลเสมอและต้องระมัดระวังการติดเชื้อ
  • ฟื้นตัวช้าและเจ็บแผลมากกว่าการคลอดเองธรรมชาติ
  • อาจเกิดพังผืดในช่องท้อง
  • อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตกเลือดหลังคลอด หรือทารกเสี่ยงมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
  • อาจให้นมลูกหลังคลอดได้ช้ากว่าการคลอดธรรมชาติ
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการคลอดธรรมชาติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งที่แม่ผ่าคลอดอยากบอก กับคนที่ไม่เคยผ่า

หากมองในภาพรวมแล้ว ความกังวลของคุณแม่ตั้งครรภ์เกี่ยวกับวิธีการผ่าคลอดแต่ละแบบก็คือ ความเจ็บตอนคลอด กับ การฟื้นตัวหลังคลอด ซึ่งทำให้คุณแม่ชั่งน้ำหนักการตัดสินใจค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตาม มีคุณแม่ผ่าคลอดหลายคนที่อยากถ่ายทอดประสบการณ์ดีๆ จากการผ่าคลอดให้คุณแม่มือใหม่ได้รับรู้ มาดู สิ่งที่แม่ผ่าคลอดอยากบอก กับคนที่ไม่เคยผ่า ที่รวบรวมมาจาก “กลุ่มเฟซบุ๊ก HerKid รวมพลคนเห่อลูก” กันค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง

  • ไม่มีอะไรเจ็บเท่าปวดท้องคลอดค่ะ แผลผ่า ช่วงเวลาที่ผ่า ชิวมาก สบายมากค่ะ ปวดท้องทรมานมากค่ะ มดลูกเปิดช้ายิ่งทรมาน การปวดท้องคลอด รอคลอด ยาเร่งคลอด กระตุ้นคลอดตลอดเวลา มันคือที่สุดแล้ว เจ็บแผลผ่ายังไงก็ยังน้อยกว่า
  • ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้นค่ะ ฉีดยาชาบล็อกหลังไปคือไม่รู้สึกอะไรเลย ถอดสายฉี่ปุ๊บ ฝึกเดินปุ๊บปั๊บ แต่แรกๆ แผลยังไม่หายจะมีจี๊ดๆ บ้างค่ะ
  • ชอบผ่ามากกว่า ไม่ต้องทนปวดเหมือนใจจะขาด รู้เวลาที่แน่นอน ลูกไม่เสี่ยง บ้านนี้น้องคน 2 เกือบแย่เพราะน้ำคร่ำเริ่มแห้ง
  • ตอนบล็อกหลังไม่ทรมานเท่าตอนช่วงล่างไม่รู้สึกอะไรเลย มันเป็นฟีลแบบทรมานอึดอัดที่บริเวณตั้งแต่ใต้ราวนมลงไปไม่รู้สึกอะไรเลย (อาจจะแล้วแต่คน) ไม่เจ็บท้อง แต่เจ็บแผลผ่า ไอ ขำ ทรมานสุดๆ ฟื้นตัวช้ากว่าคลอดธรรมชาติ ใส่แผ่นรัดหน้าท้องช่วยประคองอาการได้เยอะ
  • ผ่าเถอะค่ะไม่เจ็บเลย ใครบอกคลอดเองดีกว่า นอนเจ็บคลอดอยู่ครึ่งวันไม่ออก เร่งคลอด 12 ชั่วโมงยังไม่ออก สรุปต้องผ่า (น้องตัวใหญ่ แม่คลอดเองไม่ได้) ตอนผ่านอนคุยกับหมอพยาบาลสนุกมากค่ะ มีอาการอะไรแจ้งเลยตอนผ่า เขาจะปรับยาให้ หลังผ่าเจ็บทนไหว+ทำหมันถอดสายฉี่รีบใส่แผ่นรัดหน้าท้อง รีบเดิน แข็งแรงไวค่ะ ออก รพ. เดินเก็บบ้านเลี้ยงลูกทำทุกอย่างเองจนลืมว่าผ่าคลอดมา แผ่นรัดหน้าท้องช่วยได้เยอะค่ะ
  • ทำจมูกเจ็บกว่าเยอะ ไปปวด ไม่เจ็บ เลือกวันเกิดลูกได้
  • ตอนผ่าชิวมาก ผ่านมา 8 ปี 11 เดือน 28 วัน ก็ยังปวดหลังง่ายมาก
  • ต้องมีแผ่นรัดหน้าท้องค่ะ ช่วยชีวิตมากๆ ใส่แล้วถึงเดินคล่อง
  • คลอดเองน้ำหนักลดไวมาก ผ่าคลอดน้ำหนักค้าง
  • คลอดธรรมชาติปัญหาน้อย เจ็บก่อนคลอด เดี๋ยวมันก็ผ่านไป แต่ผ่าคลอดหลังคลอดมันทรมานนาน
  • จากประสบการณ์เคยคลอดแบบธรรมชาติกับผ่าคลอด (1) คลอดธรรมชาติจะเจ็บปวดท้องขณะตอนรอคลอด แต่หลังจากคลอดธรรมชาติจะฟื้นตัวเร็วกว่าผ่าคลอด หน้าท้องยุบเร็วขึ้นกว่าการผ่าคลอด ไม่มีอาการข้างเคียงใดๆ (2) การผ่าคลอดไม่เจ็บปวดท้อง แต่หลังจากหมดฤทธิ์ยานั้นก็เจ็บปวดแผลมาก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะทำหมันด้วย แต่หน้าท้องไม่ยุบเหมือนตอนคลอดธรรมชาติเลย แถมยังมีอาการเจ็บจี๊ดๆ ที่ท้องเป็นบางครั้งเหมือนแผลยังไม่หายดี ขนาดผ่าคลอดมาปีนึงแล้วยังรู้สึกเจ็บเจ็บอยู่เลย แถมยังมีอาการปวดหลังด้วยบางครั้ง

การคลอดแต่ละรูปแบบนั้นมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปนะคะ ซึ่งการจะเลือกคลอดแบบไหนนั้นอยากให้คุณแม่คำนึงถึงความจำเป็นและสภาพร่างกายของตัวเอง รวมถึงสุขภาพของทารกในครรภ์เป็นหลักค่ะ โดยควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเพื่อเลือกวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงต้องให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งหลังคลอดด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพของลูกน้อยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ที่มา : HerKid รวมพลคนเห่อลูก , www.vimut.com , www.paolohospital.com , www.khonkaenram.com , www.samitivejhospitals.com , www.sikarin.com

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ฤกษ์มงคล ฤกษ์ผ่าคลอด 2568 ครึ่งปีแรก ให้ลูกน้อยรับพลังบวกตั้งแต่เกิด

ผ่าคลอด น้ำคาวปลาจะหมดตอนไหน ดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดยังไงดี

ผ่าคลอด ห้ามยกของหนักกี่โล หลังคลอดกี่วันออกแรงเยอะ ๆ ได้

8 เคล็ดลับ แม่ผ่าคลอด ฟื้นตัวเร็ว แผลสวย หายไว ร่างกายแข็งแรง

บทความโดย

จันทนา ชัยมี