X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เสริมสมอง 3 ส่วนให้ลูกน้อยฉลาดรอบด้าน

บทความ 5 นาที
เสริมสมอง 3 ส่วนให้ลูกน้อยฉลาดรอบด้านเสริมสมอง 3 ส่วนให้ลูกน้อยฉลาดรอบด้าน

แน่นอนว่าใคร ๆ ก็อยากให้ลูกเรียนเก่งด้วยกันทั้งนั้น ถ้าเป็นเช่นนี้สิ่งสำคัญที่ต้องดูแล คือ สมองของลูก แต่การเรียนเก่งไม่ใช่ปัจจัยสำคัญของชีวิตทั้งหมด ดังนั้น สมองจึงต้องแบ่งออกเป็น 3 ด้าน แต่การเสริมสร้างและพัฒนาสมองต้องทำโดยรวม มาดูกันว่า จะมีวิธีเสริมสร้างสมองทั้ง 3 ด้านของลูกน้อยอย่างไร ติดตามอ่าน

พัฒนาสมองลูก ทั้ง 3 ส่วน ให้ฉลาดรอบด้านได้ไม่ยาก

อาชีพยอดฮิตที่พ่อแม่ปลื้ม สมอง3ส่วน

พัฒนาสมองลูก ให้ฉลาดรอบด้าน เตรียมความพร้อมอนาคตของลูกน้อย

 

สมองของคน มีน้ำหนักประมาณ 1.4 กิโลกรัม บรรจุอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ เพื่อป้องกันสมองไม่ให้ได้รับการกระทบกระเทือน สมองประกอบด้วยเซลล์ประสาท ร้อยละ 90 ของเซลล์ประสาททั้งหมดในร่างกาย โดยเป็นเซลล์ประสาทประสานงานเป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 สมองส่วนหน้า (forebrain หรือ เซรีบรัม) คือ สมองส่วนที่อยู่บนสุดและมีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งมีน้ำหนักรวมกันประมาณร้อยละ 85 ของน้ำหนักสมองทั้งหมด ทำหน้าที่

1. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ความดันเลือดและความต้องการพื้นฐานของร่างกาย เช่น น้ำ อาหาร การพักผ่อน และการสร้างฮอร์โมนหลายชนิด

2. สมองส่วนหน้าแบ่งเป็น 2 ซีกโดยสมองใหญ่ซีกซ้ายจะควบคุม ร่างกายซีกขวาสมองใหญ่ซีกขวาจะควบคุมร่างกายซีกซ้าย

3. ควบคุมเกี่ยวกับความคิด ความจำ เชาวน์ปัญญา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส

ส่วนที่ 2 สมองส่วนกลาง (midbrain หรือ mesencephalon) เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้าย  ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกตากลอกไปมา ควบคุมการปิดเปิดของ รูม่านตา ให้เหมาะสมกับปริมาณแสงสว่างที่เข้ามากระทบ โดยถ้าแสงมาก รูม่านตาจะเล็กแสงสว่างน้อยรูม่านตาจะขยาย

ส่วนที่ 3 สมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon) อยู่ติดกับสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่

1. ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกาย เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า การหายใจ การฟัง

2. เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น

3. ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

 

เสริมสมอง 3 ส่วนให้ลูกน้อยฉลาดรอบด้าน

สมอง3ส่วน

พัฒนาสมอง 3 ส่วนด้วยอาหาร

1. คาร์โบไฮเดรต   สมองต้องการคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลกลููโคสเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ ควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตในรูปที่ไม่ขัดสี เพราะการรับประทานแป้งและน้ำตาลมากเกินไปส่งผลให้สมองเฉื่อย

2. โปรตีน  ทำหน้าที่ช่วยเป็นสารสื่อระหว่างเซลล์กับเซลล์ ควรเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ชนิดไม่ติดมัน และในหนึ่งสัปดาห์ควรรับประทานปลาน้ำลึกอย่างน้อย 2-3 ครั้ง เนื่องจากมีสารโอเมกา-3 ซึ่งเป็นสารบำรุงสมองที่สำคัญ

3. ไขมัน   มีความสำคัญในการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทและเยื่อบุผิวของเนื้อเยื่อสมอง รับประทานเฉพาะไขมันหรือน้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันสัตว์ กะทิ เป็นต้น

4. โคลีน   เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงสมอง มีอยู่ในอาหารจำพวกข้าวกล้อง ข้าวโพด ซึ่งมีมากในส่วนที่เป็นจมูกข้าวโพด

5. กรดโฟลิก  จำเป็นต่อระบบรับรู้อารมณ์ความรู้สึกในสมอง พบมากในกล้วย ส้ม มะนาว สตรอเบอร์รี แคนตาลูป ผักใบเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง หรือถั่วลันเตา และเป็นกรดที่สำคัญมากสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ ช่วยในการสื่อสารอารมณ์และความรู้สึกจากแม่ไปสู่ลูก

สิ่งที่คุณไม่ควรมองข้ามเมื่อกินข้าวนอกบ้าน กับลูก สมอง3ส่วน

อาหาร ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการพัฒนาสมอง

พัฒนาสมอง 3 ส่วนด้วยกิจกรรมดี ๆ

เมื่อลูกเข้าสู่ช่วงวัย 1-3 ปี คุณแม่จะเริ่มเห็นแล้วว่าลูกมีพัฒนาการทางด้านความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมที่ค่อนข้างเด่นชัดขึ้น นั่นเป็นเพราะเซลล์สมองส่วนนี้พัฒนาขึ้นมาก ยิ่งถ้าได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมอย่างเพียงพอจะช่วยให้สมองพัฒนา พร้อมจดจำมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ชวนลูกมาทำกิจกรรมพัฒนาสมองกันค่ะ

1. นักปีนป่าย การเล่นปีนป่าย เป็นการฝึกกล้ามเนื้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ปีนป่ายเครื่องเล่นต่าง ๆ ในสนามเด็กเล่น การชวนลูกวิ่งเล่นไล่จับกลางแจ้ง เป็นต้น  กิจกรรมนักปีนป่ายจะช่วยพัฒนาสมองส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อใหญ่ การทรงตัว วิ่ง กระโดด เดินสลับเท้าปีนป่าย

บทความจากพันธมิตร
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
การเล่นเพิ่มพัฒนาการ สมอง3ส่วน

ดูแลลูกๆ อย่างใกล้ชิด ในระหว่างที่พวกเค้ากำลังปีนป่ายด้วยนะคะ

2. เรียงร้อย บีบปั้น คุณพ่อคุณแม่ชวนลูกปั้นดินน้ำมัน ระบายสี ในกรอบ ร้อยลูกปัด เล่นหุ่นมือหุ่นนิ้วร่วมกัน เพื่อพัฒนาสมอง ส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แข็งแรง และทำงานร่วมกันได้ดี ทำให้ใช้มือได้คล่องมากขึ้น

สมอง3ส่วน

3. กระต่ายขาเดียว คุณพ่อคุณแม่ชวนลูกวิ่งไล่จับเป็นกระต่ายขาเดียว กิจกรรมนี้จะพัฒนาสมอง ส่วนควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก กล้ามเนื้อใหญ่ ที่เคลื่อนไหวร่วมกันทั้งใช้มือไล่จับและขากระโดด

4. จ๊อกกิ้งวิ่งเหยาะ ๆ คุณพ่อคุณแม่ชวนลูกวิ่งออกกำลังกายไปวิ่งเหยาะ ๆ ไปรอบ ๆ สวนสาธารณะ หรือไปยังที่ที่มีธรรมชาติสวยงาม เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อ พร้อมกับการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว

5. เต้นระบำโยกย้ายส่ายสะโพก คุณพ่อคุณแม่ชวนลูกเต้นระบำโยกย้ายส่ายสะโพกให้เข้ากับจังหวะดนตรี โดยอาจจะให้ลูกได้ฝึกคิดท่าทางขึ้นเอง  แล้วให้คุณพ่อคุณแม่เต้นตาม แล้วผลัดกันคิดท่าทาง ให้คุณพ่อคิดท่าทาง  คุณแม่คิดท่าทาง สลับกันไป กิจกรรมนี้จะพัฒนาส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อเล็กใหญ่ให้ลูกรู้จักทรงตัว เลียนแบบ คิดสร้างสรรค์ได้อย่างดี

6. เก้าอี้ดนตรี คุณพ่อคุณแม่ชวนลูกและเพื่อน ๆ หรือพ่อแม่จะเล่นร่วมกันกับลูก ๆ ก็ยิ่งดี  โดยแย่งกันนั่งเก้าอี้ให้ได้เมื่อเพลงหยุด แล้วนำเก้าอี้ออกไปทีละตัวจนเหลือผู้ชนะ เพื่อช่วยพัฒนากล้ามเนื้อเล็กใหญ่เคลื่อนไหว การทรงตัว ฝึกสมาธิ การฟังเสียง

7. เล่านิทานฮาเฮ กิจกรรมเล่านิทานชวนลูกผลัดกันเล่านิทานที่แต่งขึ้นเอง ให้ลูกคิด และเล่าให้พ่อแม่ฟัง หรือเล่านิทาน แล้วพ่อแม่ค้างไว้ แล้วให้ลูกแต่งต่อให้จบเพื่อพัฒนาจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ แต่งเรื่อง ฝึกใช้ภาษา การฟัง การพูด

สมอง3ส่วน

8. เล่นกับเงา กิจกรรมเล่นกับเงาชวนลูกเล่นเงา โดยปิดไฟในบ้าน แล้วส่องไฟฉายไปยังมือที่ทำเป็นเงารูปต่าง ๆ เช่น สุนัข ผีเสื้อ ให้ลูกพากย์เสียงเล่าเรื่องฝึกจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ภาษา ฝึกเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ

จะเห็นว่าการเสริมสมองของลูกทั้ง 3 ส่วนทำได้ไม่ยากเลยนะคะ  คุณพ่อคุณแม่ทำอาหารที่มีประโยชน์ และทำกิจกรรมดีๆ ร่วมกับลูก เพียงเท่านี้สมองของลูกก็ได้รับการพัฒนาแล้วค่ะ

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.il.mahidol.ac.th

https://www.student.chula.ac.th

https://www.bumrungrad.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

5 เมนูเพิ่มพลังสมองเสริมความจำให้ลูก

ปั้น..ปั้น พัฒนาสมองจากสองมือ

5 ทริคพัฒนาสมอง ลูกเล่นคนเดียวก็ฉลาดได้

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • เสริมสมอง 3 ส่วนให้ลูกน้อยฉลาดรอบด้าน
แชร์ :
  • พัฒนาการทารก 3 เดือน สิ่งที่ต้องระวัง และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

    พัฒนาการทารก 3 เดือน สิ่งที่ต้องระวัง และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

  • ลูก 3 ขวบ ร้องดิ้น ร้องกรี๊ด อาละวาด คุณแม่จะรับมือยังไงได้บ้าง

    ลูก 3 ขวบ ร้องดิ้น ร้องกรี๊ด อาละวาด คุณแม่จะรับมือยังไงได้บ้าง

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 11 ข้อห้ามคนท้อง แม่ท้องต้องรู้ ดูแลลูกในท้องให้ปลอดภัย อย่าทำแบบนี้ !

    11 ข้อห้ามคนท้อง แม่ท้องต้องรู้ ดูแลลูกในท้องให้ปลอดภัย อย่าทำแบบนี้ !

app info
get app banner
  • พัฒนาการทารก 3 เดือน สิ่งที่ต้องระวัง และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

    พัฒนาการทารก 3 เดือน สิ่งที่ต้องระวัง และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

  • ลูก 3 ขวบ ร้องดิ้น ร้องกรี๊ด อาละวาด คุณแม่จะรับมือยังไงได้บ้าง

    ลูก 3 ขวบ ร้องดิ้น ร้องกรี๊ด อาละวาด คุณแม่จะรับมือยังไงได้บ้าง

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 11 ข้อห้ามคนท้อง แม่ท้องต้องรู้ ดูแลลูกในท้องให้ปลอดภัย อย่าทำแบบนี้ !

    11 ข้อห้ามคนท้อง แม่ท้องต้องรู้ ดูแลลูกในท้องให้ปลอดภัย อย่าทำแบบนี้ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ