เชื่อว่ามีหลาย ๆ ครอบครัว ที่ยังกังวลเกี่ยวกับการที่ลูกชอบเล่นคนเดียว ทำอะไรคนเดียว โดยไม่ให้คุณพ่อหรือคุณแม่เข้าไปยุ่งวุ่นวายเลยใช่ไหมคะ เพราะพ่อแม่หลาย ๆ คน ก็กลัวว่าลูกที่เล่นคนเดียวนั้น จะเข้ากับใครไม่ได้ ทำอะไรไม่เป็น แต่ไม่ต้องเป็นกังวลค่ะ เพราะจากการวิจัยค้นพบว่าการที่เด็กอายุ 8 ถึง 14 เดือน ที่ชอบเล่นคนเดียวนั้น ถือเป็นอาการปกติ แต่อย่างไรก็ตาม หัวอกคนเป็นพ่อแม่ ก็อดห่วงไม่ได้ใช่ไหมคะ วันนี้เรามี 5 ทริคพัฒนาสมอง ลูกเล่นคนเดียว มาฝากค่ะ
5 ทริคที่เสริมพัฒนาการของลูกและยังสามารถปล่อยให้ลูกน้อยเล่นคนเดียวได้
1. ปล่อยให้ลูกน้อยเล่นอย่างสบายใจ
ลูก เล่นคนเดียว
พออ่านหัวข้อบทความปุ้บ เชื่อว่าพ่อแม่หลาย ๆ คนก็เริ่มอยากจะปล่อยให้ลูกเล่นคนเดียวแล้วใช่ไหมคะ! ซึ่งผิด ทางที่ดีห้ามหักดิบลูกเด็ดขาด! วิธีที่ดีที่สุด คือ กระตุ้นลูกน้อยให้เขาคุ้นชินกับการเล่นคนเดียว สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นทำได้ง่าย ๆ คือการ นั่งเงียบ ๆ ข้าง ๆ ลูกน้อยเวลาเขากำลังเล่น และหลังจากนั้น อาจจะเริ่มไปไกลขึ้น นั่งห่างจากเขามากขึ้น และปล่อยให้เขาเล่นคนเดียวในที่สุด และข้อที่สำคัญที่สุด กล่าวโดย Linda Acredolo ผู้เขียนหนังสือ Baby Minds : Brain-Building Games เธอบอกว่า ไม่ว่าลูกจะมีปฏิกิริยาการเล่นมากน้อยแค่ไหน หรือ ใช้เวลานานแค่ไหนที่จะเล่นคนเดียว สิ่งที่พ่อและแม่ทำได้ คือให้กำลังใจเขาและไม่เร่งรัดเขานั่นเอง
2. ลูกเล่นคนเดียว อยู่ห่าง ๆ อย่างห่วง ๆ
ลูกเล่น คนเดียว
ถ้าคุณอยู่ใกล้ลูกน้อยมากเท่าไหร่ แน่นอนว่า อาการงอแง หรือ เรียกร้องความสนใจมาแน่ ๆ เพราะฉะนั้นสิ่งที่พ่อแม่ทำได้คือ ต้องรักษาระยะห่าง อาจจะอยู่ห่าง ๆ พวกเขา และเฝ้าดูแลลูกน้อยจากระยะไกล และที่สำคัญมาก หากนำของเล่นอะไรก็ตามแต่ ที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา หรือหาทางออก ถ้าพ่อแม่คนไหนไปยืนหรือกำกับ ลูกน้อยจะไม่อยากแก้ไขหรือทำอะไรด้วตัวเอง สิ่งที่ดีที่สุด คือ ให้เขาหาทางออกและแก้ไขปัญหาด้วยตัวของเขาเอง
3. ให้ลูกน้อยอยู่กับของเล่นที่สร้างสรรค์
ลูกน้อยเล่นคนเดียว พัฒนาสมอง
ของเล่นที่สร้างสรรค์ หรือ ของเล่นปลายเปิด ทำให้ลูกน้อยของคุณพ่อแม่นั้น ได้ข้อคิด และ จินตนาการที่หลากหลาย อีกทั้งของเล่นปลายเปิดนั้น มีลูกเล่นไม่รู้จบ ทำให้ลูกน้อยมีโอกาสที่จะใช้เวลากับของเล่นนานกว่าของเล่นชนิดอื่น ๆ
บทความที่น่าสนใจ : 5 ของเล่น STEM ที่เหมาะสำหรับการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน
4. สนับสนุนให้ลูกน้อยเข้าสังคม พัฒนาสมอง
ลูกเล่นกับเพื่อน
คุณพ่อคุณแม่อาจจะจัดตารางกับเพื่อนพ่อแม่คนอื่น ๆ และให้ลูกทุกคนมานัดเล่นรวมกัน จากการเล่นคนเดียว ก็อาจจะอยากให้เขาอยากเล่นกับเพื่อน และเริ่มมีการสื่อสารกันเกิดขึ้น และเหล่าพ่อแม่ก็จะเห็นว่า พวกเขาสามารถสนุกได้โดยที่คุณไม่ต้องไปเล่นกับเขา และในเวลาเดียวกัน เหล่าพ่อแม่ ก็จะได้พักสมองและสังสรรค์กันอีกด้วย
5. น้อยชิ้นสิดี!
ลูกเล่น ลูกเล่นคนเดียว พัฒนาสมอง
ใครว่ามีของเล่นเยอะชิ้นแล้วจะดี มันอาจจะทำให้ลูกน้อยของคุณนั้น ไม่มีสมาธิกับชิ้นใด ชิ้นนึง และเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ทางที่ดีที่สุดคือ ให้นำของเล่นที่ลูกน้อยของคุณไม่เล่นแล้ว ไปบริจาค และเก็บไว้แต่ชิ้นที่ลูกน้อยเอ็นจอยจริง ๆดีกว่าค่ะ
และนี่ก็เป็นทริคพัฒนาสมองเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะทำให้ลูกของคุณพ่อคุณแม่ฉลาดได้โดยไม่จำเป็นต้องเล่นด้วยตลอดเวลา หวังว่าพอได้อ่านแล้วพ่อแม่หลาย ๆ คนจะนำไปปรับใช้กับลูกตัวเองนะคะ วันนี้ขอตัวก่อนนะคะ ^-^
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
5 กลยุทธ์ ฝึกทักษะสังคม (SQ) ให้ลูกรู้จักการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น
วิธีป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน ลูกเล็ก เด็กวัยซน ห้ามลูกเล่นไม่ได้! พ่อแม่ต้องปกป้องลูก
วิธีเลือกของเล่นให้ลูกแต่ละช่วงวัย ซื้อแบบไหนช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อยมากที่สุด
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมองลูก ได้ที่นี่!
พัฒนาสมอง หากลูกเล่นคนเดียวจะทำให้สมองลูกพัฒนาได้สมวัยไหมคะ กังวลมากค่ะ
ที่มา : smartparenting
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!