X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกนอนกรน ลูกนอนหายใจแรง ควรพาไปหาหมอหรือไม่

บทความ 5 นาที
ลูกนอนกรน ลูกนอนหายใจแรง ควรพาไปหาหมอหรือไม่

พญ.อุมาพร พนมธรรม แพทย์โสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวถึงการที่ลูกนอนกรน หรือ ลูกนอนหายใจแรง ว่ามีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ทำให้ลมหายใจเข้าไปได้ยาก ร่างกายจึงพยายามที่จะสร้างแรงเยอะ ๆ เพื่อให้ลมผ่านเข้าไปได้ ก็เลยเกิดเป็นเสียงผิดปกติ เรียกว่า การนอนกรน หายใจแรงเกิดจากอะไร เรามีคำตอบ

 

สาเหตุที่ทำให้ ลูกนอนหายใจแรง หรือกรน เกิดจากอะไร ?

สาเหตุของหายใจติดขัดเวลานอน หรือการกรนขณะนอนหลับ เกิดได้จากหลาย ๆ สาเหตุ เช่น

  • ความผิดปกติของสรีระใบหน้า หรือมีโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของสรีระใบหน้า เช่น มีความผิดปกติของพันธุกรรม หรือโครโมโซมแต่กำเนิด อาทิ กลุ่มดาวน์ซินโดรม จะมีใบหน้าที่ผิดปกติ ลิ้นผิดระยะ ส่งผลให้ทางเข้าของลมหายใจมีน้อย สรีระใบหน้าที่ผิดปกติโดยกรามมีขนาดเล็ก หรือกรามหดเข้าไปข้างใน ทำให้ช่องทางเดินหายใจเล็กลง
  • ต่อมน้ำเหลืองรอบทางเดินหายใจ มีขนาดใหญ่ เช่น ต่อมทอนซิล ต่อมอะดีนอยด์โตผิดปกติ ส่งผลให้บดบังช่องทางเดินหายใจ เกิดเป็นเสียงกรน
  • โพรงจมูกถูกอุดกั้น สาเหตุจากภูมิแพ้ หรือน้ำมูกในจมูก โดยอาการภูมิแพ้ อาจทำให้โพรงจมูกถูกอุดกั้น ทำให้หายใจลำบาก หรือลูกอาจจะมีน้ำมูกอุดตันในรูจมูก ทำให้ช่องทางเดินหายใจถูกปิด

ลูกนอนหายใจแรง

ลักษณะของการนอนกรน ลูกนอนหายใจเสียงดัง

ลักษณะของการนอนกรน ทารกนอนหายใจแรง จะมีทั้งแบบที่เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ และนอนกรนเฉย ๆ ไม่เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งถ้าเป็นการนอนกรนเฉย ๆ ไม่ต้องรักษา เพราะว่ากลุ่มนี้จะไม่มีการทำให้สารเคมีในเลือดผิดปกติ แต่ถ้าเป็นการนอนกรนอีกแบบที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ อันนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรักษา

การนอนกรนเฉย ๆ ไม่ได้เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจลองจัดห้องนอนลูก ให้มีอาการถ่ายเท ปราศจากฝุ่น ไร หรือเกสรดอกไม้ ที่อาจทำให้ลูกมีอาการแพ้ และหายใจลำบาก จัดห้องนอนให้มืด น่านอน เงียบสงบ หากมีสัตว์เลี้ยงในบ้าน ให้อยู่ห่างจากห้องนอนของลูก

ปรับเปลี่ยนท่านอนของลูก ยกตัวอย่างเช่น การนอนตะแคงข้าง วางหมอน หรือผ้าซ้อนกันประมาณ 3 – 4 นิ้ว เพื่อให้ศีรษะของลูกยกสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะนอนหลับ

 

การนอนกรนที่เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ

ทารกนอนหายใจเสียงดังการนอนกรนที่เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจนั้น เป็นอันตราย เพราะอาจส่งผลให้ลูกมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โดยจะมักจะเกิดขึ้นตอนอายุ 3 – 6 ปี เด็กบางคนมีการกรน ทานอาหารได้น้อย น้ำหนักต่ำ อาจจะมีความเสี่ยงที่เกี่ยวกับปาก ช่องคอ ปอด หรือหัวใจได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสั่งเกตวิธีการหายใจของลูก ว่าลูกหายใจแรงหรือไม่ หายใจหอบถี่ หรือหายใจทางปาก แล้วรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยต่อไป

 

ลูกนอนกรน

สังเกตการหายใจของลูก

คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตดูการหายใจของลูก เช่น

  • ลูกนอนอ้าปาก และมีการหายใจทางปาก เพราะอากาศไม่สามารถผ่านเข้าทางจมูกได้เพียงพอหรือเปล่า
  • ลูกหายใจกระสับกระส่าย เหมือนนอนหลับไม่สนิท สาเหตุของการนอนกระสับกระส่าย อาจเกิดจากการที่อากาศเข้าสู่ร่างกายได้น้อย ทำให้ออกซิเจนในเลือดลดลง คาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น เลือดเป็นกรด ระบบสารเคมีในร่างกายผิดปกติ จึงเกิดการกระตุ้นให้ร่างกายตื่น จึงทำให้รู้สึกเหมือนแทบไม่ได้นอน
  • ลูกมีเหงื่อออกมาก เนื่องจากการหายใจลำบากทำให้รู้สึกเหนื่อย เด็กบางคนจะปัสสาวะรดที่นอนเป็นประจำในช่วงกลางคืน
  • เมื่อหายใจเข้าหน้าอกยุบ แต่ท้องป่อง ซึ่งถือว่าผิดปกติ เพราะปกติเวลาคนเราหายใจเข้าแล้ว หน้าอกต้องขยาย แต่ท้องยุบ ส่วนช่วงกลางวัน เด็กมักอ้าปากหายใจ ทำให้เหนื่อยง่าย เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง บางครั้งนั่งง่วง เหมือนไม่สดชื่น เด็กบางคนมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ก้าวร้าว บางคนเหมือนเลี้ยงไม่โต ผอมแห้ง มักจะปวดศีรษะในตอนเช้า เพราะเหมือนไม่ได้หลับทั้งคืน

 

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

เด็กที่มีภาวะการกรนรุนแรง อาจมีการหายใจผิดปกติ SDB (sleep disordered breathing) และหยุดหายใจชั่วคราวขณะนอนหลับ OSA (obstructive sleep apnea) ได้ ซึ่งเกิดจากการที่ช่องทางเดินหายใจถูกอุดกั้น การที่ลูกหายใจเอาลมเข้าไป แต่ลมนั้นกลับไม่สามารถผ่านเข้าไปทางช่องคอได้ จึงทำให้เกิดเสียงกรนหยาบ ๆ

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับนี้ อาจเกิดขึ้นประมาณ 10 วินาที โดยส่วนมาก เด็กอาจจะสะดุ้งตื่นขึ้นมาหายใจได้ แต่จะทำให้ลูกไม่ได้พักผ่อนอย่างเหมาะสม และเป็นอันตรายกับลูก และมักพบในกลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) และกลุ่มความผิดปกติแต่กำเนิดที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท หรือลักษณะโครงสร้างของใบหน้า

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น เชื้อชาติแอฟริกันอเมริกัน โรคอ้วน คลอดก่อนกำหนด และมีสมาชิกในครอบครัวที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ และอาการคัดจมูก อาจเป็นสาเหตุของการนอนกรน แต่มักไม่ค่อยเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ลูกนอนหายใจแรง

เมื่อไหร่ที่ควรพาลูกไปตรวจ ?

คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวินิจฉัยว่า ลูกมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นหรือไม่ โดยผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำให้ตรวจการนอนหลับ (polysomnography) ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยบอกได้ว่ามีภาวะหยุดหายใจ หรือเป็นเพียงการนอนกรนธรรมดา

การตรวจการนอนหลับ เป็นการตรวจในช่วงกลางคืน ขณะที่ผู้ป่วยหลับ จะมีการติดอุปกรณ์ไปบนศีรษะ และลำตัวผู้ป่วย เพื่อติดตามดูลักษณะการนอนหลับตลอดทั้งคืน โดยตรวจจากลักษณะของคลื่นสมอง การเคลื่อนไหวของแขนขา การทำงานของกล้ามเนื้อ การทำงานของหัวใจ และการหายใจ การตรวจนี้ ไม่ทำให้เกิดอันตราย และไม่ทำให้ลูกรู้สึกเจ็บ โดยในระหว่างการตรวจผู้ปกครอง ควรจะอยู่กับเด็กตลอดทั้งคืน

การตรวจการนอนหลับ นอกจากจะบอกว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นหรือไม่ ยังช่วยบอกความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจนี้ได้อีกด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการนอนหลับ จึงจะพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมได้

 

การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

1. การผ่าตัด

ผู้ป่วยเด็กส่วนมากจะมีต่อมทอนซิล และต่อมอะดีนอยด์โตซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก โดยแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัด เพื่อเอาต่อมทอนซิล และต่อมอะดีนอยด์ออก (Adenotonsillectomy) สำหรับการผ่าตัดแบบอื่น อาจแนะนำในผู้ป่วยที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างศีรษะ และใบหน้า

บางครั้งการผ่าตัดสามารถทำให้หยุดนอนกรนได้ แต่อาจไม่หายขาดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น การตรวจการนอนหลับหลังการผ่าตัด ก็อาจยังจำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ยังมีอยู่หรือไม่

 

2. การรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศชนิดแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง(Continuous Positive Airway Pressure: CPAP)

เครื่อง CPAP นี้ เป็นหน้ากากอันเล็กครอบบริเวณจมูกในระหว่างการนอนหลับ หน้ากากนี้จะให้แรงดันอากาศ เพื่อประคับประคองไม่ให้ทางเดินหายใจส่วนบนปิดในขณะหลับ การรักษาวิธีนี้จะมีประโยชน์ในผู้ป่วยเด็กที่รักษาโดยการผ่าตัดไม่ได้ หรือ เมื่อรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแล้วไม่หาย

 

3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก

เช่น ในเด็กที่มีโรคอ้วน ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำให้ลดน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ถึงแม้จะรักษาด้วยวิธีอื่น แต่การลดน้ำหนักในผู้ป่วยเด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ควรเป็นเป้าหมายระยะยาวในการรักษา

 

ลูกนอนหายใจแรง

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

ที่มา ผู้จัดการออนไลน์ และ คณะแพทย์ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

บทความที่น่าสนใจ

ลูกนอนกรนเพราะภูมิแพ้ แก้ง่ายๆ ถ้ารู้สาเหตุว่าลูกแพ้อะไร

ทารกนอนกรน หายใจแรง น่าเป็นห่วงมั้ย?

ลูกนอนดึก เสี่ยงเป็น โรคอ้วนในเด็ก ภัยเงียบจากการนอนดึก

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ลูกนอนกรน ลูกนอนหายใจแรง ควรพาไปหาหมอหรือไม่
แชร์ :
  • ลูกนอนกรน หายใจแรง แบบนี้เป็นอะไรไหม ไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะ

    ลูกนอนกรน หายใจแรง แบบนี้เป็นอะไรไหม ไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะ

  • ลูกนอนกรน สัญญาณร้าย สกัดกั้นพัฒนาการเด็ก

    ลูกนอนกรน สัญญาณร้าย สกัดกั้นพัฒนาการเด็ก

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกนอนกรน หายใจแรง แบบนี้เป็นอะไรไหม ไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะ

    ลูกนอนกรน หายใจแรง แบบนี้เป็นอะไรไหม ไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะ

  • ลูกนอนกรน สัญญาณร้าย สกัดกั้นพัฒนาการเด็ก

    ลูกนอนกรน สัญญาณร้าย สกัดกั้นพัฒนาการเด็ก

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ