baby signs กระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารของทารก

การสอนลูกโดยเฉพาะในช่วงวัยทารก เมื่อลูกยังพูดสื่อสารกับพ่อแม่ไม่ได้ ภาษาท่าทางจึงเป็นสื่อสำคัญในการแสดงความต้องการของทารก พ่อแม่คือครูภาษาคนแรกของลูก baby signs จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสื่อสารระหว่างกัน baby signs คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อคุณพ่อ คุณแม่ และทารก ติดตามอ่าน baby signs ภาษามือสื่อสารกับลูก
baby signs ภาษามือสื่อสารกับลูก
ความหมาย baby signs
baby signs คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร โดยการใช้ภาษาทางกายหรือภาษามือ ซึ่งพ่อและแม่สามารถสอนให้กับลูกๆ ก่อนถึงวัยหัดพูด เพื่อที่จะได้รู้ถึงความต้องการลูก โดยไม่ต้องเดาว่าลูกต้องการอะไรกันแน่ baby signs ยังช่วยในการพัฒนาการสื่อสาร การเพิ่มพูนคำศัพท์ กระตุ้นการเรียนรู้และส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว
การฝึก baby signs ไม่มีกฎตายตัวว่าต้องทำตามแบบที่กำหนดมาทั้งหมด พ่อแม่อาจสร้างภาษาสัญลักษณ์ของครอบครัวขึ้นเพื่อใช้สื่อสารกับลูก ความจริงแล้วพ่อแม่คนไทยแบบเรา ๆ ได้ใช้ baby signs แบบที่ไม่รู้ตัว เช่น คำว่า “ธุจ้า” แปลว่า การยกมือไหว้ การส่งจูบ การบ๊ายบาย ล้วนแล้วแต่เป็น baby signs ทั้งสิ้น
บทความแแนะนำ 10 เทคนิคเสริมพัฒนาการภาษาวัยหัดพูด
ประโยชน์ของ baby signs
1. เมื่อลูกต้องการให้พ่อแม่ช่วยทำสิ่งใดให้หรือต้องการสิ่งใดก็ตาม แต่ยังไม่สามารถพูดออกมาเป็นคำพูดได้ baby signs จึงช่วยลดอาการหงุดหงิดของลูกน้อยได้ ส่วนได้ พ่อแม่เองก็จะรู้สึกแบบนั้นเช่นกัน เนื่องจากไม่รู้ว่าลูกต้องการอะไร
2. baby signs ส่งเสริมกระบวนการคิด การจดจำ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และยังพัฒนาด้านอารมณ์ของลูกด้วย
3. ช่วยส่งเสริมการพัฒนาด้านการพูด ทำให้เด็กพูดได้เร็วขึ้น ทำให้รู้จักคำศัพท์มากขึ้น จากการวิจัยพบว่า เด็กที่เรียนรู้ baby sign มี IQ ที่สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการฝึกฝน baby signs
4. ทำให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากขึ้นระหว่างพ่อแม่และลูก ช่วยเพิ่มความมั่นใจ เชื่อมั่นในตัวเอง ให้กับเด็ก เนื่องจากเด็กสามารถสื่อสารเพื่อบอกความต้องการของตัวเองได้อย่างง่ายดาย และพ่อแม่สามารถตอบสนองความต้องการของพวกเค้าได้ทันที
5. เพิ่มทักษะการเรียนรู้ได้หลายภาษา หรือแม้แต่พ่อแม่บางคนยังบอกอีกว่า baby sign ยังช่วยแก้ปัญหา terrible twos ได้อีกด้วย
Tip : การฝึก baby signs แบบง่าย ๆ
1. ช่วงวัยที่เหมาะสมกับการฝึก baby signs มากที่สุด คือ ช่วงอายุ 8 – 12 เดือน
เพราะเด็กทารกในวัย 8 – 12 เดือน วัยนี้จะชอบตอบสนองและจดจำท่าทางต่าง ๆ ได้ดี แต่จะฝึกลูกก่อน 8 เดือนก็ได้นะคะ ขอบอกก่อนว่าต้องใช้ความพยามและความอดทนมากเสียหน่อย ส่วนเด็กที่อายุมากกว่า 12 เดือนขึ้นไป แม้จะเรียนรู้ signs ได้ไวก็จริง แต่จะมีเวลาที่จะได้ประโยชน์จาก signs นั้นน้อยกว่าเด็กที่อ่อนเดือนกว่า
2. เช็คความพร้อม ด้วยการสังเกตท่าทางของลูก
ให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตดูว่าลูกเริ่มสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวแล้วแสดงออกมาให้คุณเห็นมากแค่ไหน อย่างเช่น ลูกเริ่มชี้นิ้วไปยังสิ่งต่าง ๆ ที่เขามองหรือยัง หรือลูกอาจจะหยิบสิ่งต่าง ๆ มาให้คุณแม่ อยากให้คุณแม่โต้ตอบกับหนู เช่น หยิบหนังสือนิทานหรือของเล่นชิ้นโปรดเพราะอยากให้แม่อ่านหนังสือให้ฟังหรือเล่นด้วย วิธีการสังเกตง่าย ๆ ลูกเริ่มพยักหน้า ส่ายหน้า หรือโบกมือบ๊ายบายได้หรือยัง ถ้าใช่เริ่มฝึก baby signs กันเลยค่ะ
3. “เลือก” คำง่าย ๆ แต่เจ้าหนูยังพูดไม่ได้นี่นา!!!
ฝึกคำที่ใช้บ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน หรือคำเกี่ยวกับสิ่งที่ลูกสนใจจะได้ผลมากที่สุด เวลาสอนคุณพ่อคุณแม่ต้องดึงความสนใจของลูกให้ได้ก่อนนะคะ แล้วจึงพูดคำนั้นเน้น ๆ ซ้ำ ๆ และพูดช้า ๆ พร้อมกับทำท่าประกอบ แล้วจับมือให้ลูกทำตาม
4. อย่าลืมนะคะว่า baby signs เป็นการเล่นสนุก ไม่ใช่การบังคับ !!!
อย่าลืมนะคะว่า baby signs คือ การไม่บังคับ อย่าตั้งหน้าตั้งตาสอนลูกจนลืมนึกถึงความต้องการของเด็กทุกท่าใน baby signs สามารถปรับให้ยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนได้ ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ต้องใช้ความอดทน และอย่าหงุดหงิดไปก่อนนะคะ
กุญแจสำคัญ “ ทำให้เป็นเรื่องสนุก และเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และอย่ายอมแพ้ค่ะ”
10 ข้อคิด สำหรับการสอน baby sign ภาษามือสื่อสารกับลูก
1. เริ่มด้วยการสอนคำศัพท์ใหม่ ๆ เพียง 2 – 3 คำก่อน
2. ทุกครั้งที่พูดคำศัพท์ต้องทำท่าทางประกอบ เช่น
สวมหมวก baby sign เอามือแตะศีรษะ
กิน baby sign ทำท่าหยิบของใส่ปาก
ธุจ้า baby sign ยกมือไหว้
อิ่ม baby sign ลูบท้อง
เบา ๆ baby sign เอานิ้วชี้มาไว้ที่ปาก แสดงว่าให้เงียบ
ส่งจูบ baby sign เอามือมาสัมผัสที่ปาก ส่งเสียงจุ๊บ
เป็นคำง่าย ๆ และใช้กันอยู่เสมอใช่ไหมคะ นี่แหละค่ะ Baby Sign นั่นเอง
3. ที่สำคัญต้องพูดคำศัพท์และทำซ้ำ ๆ อย่างช้า ๆ เพื่อให้ลูกเข้าใจ และจดจำ
4. หากเป็นคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งของ ควรชี้นิ้วไปที่วัตถุนั้นเพื่อให้ลูกเข้าใจได้ง่ายขึ้น
5. จับมือลูกให้ทำท่าตามเพื่อช่วยในการสอนได้
6. เลือกคำศัพท์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันของลูก
7. หาโอกาสที่จะไม่ใช้ Baby Sign แบบยัดเยียด
8. ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับท่าทางจากในตำรา คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดค้นขึ้นมาเองเพื่อให้สามารถสื่อสารกับลูกได้อย่างเข้าใจ
9. อดทนและไม่เร่งรีบ
10. พึงระลึกไว้เสมอว่า Baby Sign เป็นการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน
คลิปน่ารัก Baby Sign นำมาฝากค่ะ
หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดได้ลองฝึกให้ลูกแล้วมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์พูดคุยกันได้นะคะ
ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://jaytinbabysign.wordpress.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อยากให้ลูกเก่งภาษา ห้ามพลาด 5 แอพนี้