ปัญหาขี้ตาเยอะ ตาแฉะ มักเกิดขึ้นได้กับทารกแรกเกิด ส่งผลให้เด็กบางรายไม่สามารถลืมตาได้เมื่อตื่นในตอนเช้า เนื่องจากเด็กแรกเกิดท่อน้ำตายังขยายไม่เต็มที่ และเป็นสาเหตุทำให้เกิดท่อน้ำตาอุดตันในเด็กตามมาได้ ขี้ตาเยอะ ตาแฉะ เกิดจากอะไร มาดูกัน
ขี้ตาเยอะเกิดจากอะไร อาการตาแฉะเกิดจากอะไร
- ขี้ตาเกิดจาก ตาแฉะ อาจเกิดได้จากการหยอดตาหรือป้ายยาให้กับทารกหลังคลอด ที่ส่งผลให้ทารกบางคนมีอาการระคายเคืองตา น้ำตาไหล ขี้ตาเยอะ หรือก่อให้เกิด ตาแฉะ ขึ้นมาได้
- ขี้ตาเกิดจาก เกิดขึ้นได้กับทารกแรกเกิดบางรายที่ท่อน้ำตาธรรมชาติอาจยังไม่เปิดหรือเปิดช้า เมื่อร่างกายมีการสร้างน้ำตาออกมาแต่ไม่มีที่ระบายออก ก็อาจทำให้เกิดน้ำตาไหลคลอเบ้า ทำให้ตาแฉะได้ ซึ่งท่อน้ำตาอาจจะเปิดไม่พร้อมกันทำให้ทารกบางคนก็ตาแฉะเพียงข้างเดียวหรือสองข้าง
- เกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากการการดูแลรักษาความสะอาดไม่ดี ส่งผลให้เกิดเยื่อบุตาอักเสบ ทำให้ลูกมีขี้ตามาก ตาแฉะ และถ้ามีอาการมากก็อาจทำให้เป็นหนองที่หัวตาได้
- สาเหตุอื่นๆ เช่น เยื่อบุตาอักเสบ กระจกตาอักเสบ แผลถลอกที่กระจกตา หรือมีสิ่งแปลกปลอมในตา
เมื่อลูกตาแฉะ ขี้ตาเยอะ ตาแฉะข้างเดียว จะหาวิธีแก้ยังไงดี?
- ทำความสะอาดดวงตาของลูกข้างที่มีขี้ตาหลังอาบน้ำ ด้วยการนำสำลีชุบน้ำอุ่นที่ต้มสุก เช็ดเบา ๆ โดยเช็ดจากหัวตาไปหางตา 1 ครั้งแล้วทิ้งไป จากนั้นนำสำลีแผ่นใหม่ ชุบน้ำอุ่น เช็ดเบา ๆ บริเวณรอบดวงตาอีกครั้ง แล้วทิ้ง
- ใช้ผ้าสะอาดซับรอบบริเวณดวงตาของลูกให้แห้ง
- ควรเช็ดตาลูกวันละ 2-3 ครั้งหรือเวลาที่ลูกตาแฉะ มีขี้ตาเยอะ
- ใช้วิธีนวด โดยใช้นิ้วชี้กดที่หัวตาตรงบริเวณระหว่างหัวตากับสันจมูก แล้ววนนิ้วลงเบา ๆ ลากมาตามข้างสันจมูกเพื่อสร้างแรงดันไปดันเจ้าพังผืดที่ปิดรูทางออกของท่อน้ำตาให้ทะลุออกไป ทำอย่างน้อย 20 – 30 ครั้ง วันละ 4 รอบ เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน สามารถนวดในตอนที่ลูกหลับหรือทานนมเพื่อจะทำได้ง่าย
- ใช้ยาฆ่าเชื้อมาหยอดตาเพื่อป้องกันการอักเสบติดเชื้อตามที่คุณหมอพิจารณา
อาการที่ทารกตาแฉะ หรือการเกิดท่อน้ำตาอุดตันในเด็กเป็นภาวะที่มักไม่มีอาการรุนแรง พบได้ประมาณ 30% ในเด็กทารก และประมาณร้อยละ 90 ท่อน้ำตาจะสามารถเปิดได้เองภายในอายุ 6 เดือน หรือดูแลอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอก็จะสามารถหายได้เอง แต่หากไม่ดีขึ้น คุณหมอตาจะพิจารณาให้การรักษาโดยการแยงท่อน้ำตาเมื่อลูกอายุประมาณ 1 ขวบ ดังนั้นหากพบว่าลูกน้อยตาแฉะ มีขี้ตาเกรอะกรัง อาการยังไม่หาย คุณแม่เป็นกังวล ควรพาลูกไปพบคุณหมอจักษุแพทย์โดยเฉพาะ เพื่อตรวจหาสาเหตุยืนยันการวินิจฉัย จะปลอดภัยต่อดวงตาทารกมากที่สุดนะคะ อย่าปล่อยให้ลูกเรา ตาแฉะ นานจนเกินไปนะคะ
ตาแฉะ ขี้ตาเยอะเกิดจากอะไร ตาแฉะ ตื่นมาขี้ตาเขรอะ จะหาวิธีแก้ยังไงดี ขี้ ตา ออก บ่อย
ปวดตา ตาแฉะ ขี้ตาเยอะ
เป็นอาการเจ็บปวดในดวงตาที่ผู้ป่วยอาจรู้สึกแสบร้อน ปวดตุบ ๆ รอบดวงตา รู้สึกคล้ายโดนทิ่มแทงบริเวณดวงตา หรือรู้สึกเหมือนมีวัตถุแปลกปลอมอยู่ในดวงตา ซึ่งความผิดปกติอาจเกิดขึ้นบนพื้นผิวของดวงตาหรือโครงสร้างภายในดวงตา อาการปวดตาเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ตาแห้ง ปวดศีรษะ ตาอักเสบ หรือเป็นไข้หวัด อาการส่วนใหญ่อาจหายได้เอง แต่หากอาการทวีความรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ตามแต่กรณี
อาการปวดตา
อาการปวดตาอาจครอบคลุมถึงอาการเจ็บเหมือนโดนทิ่มแทง แสบร้อน ปวดตุบ ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของดวงตา เช่น กระจกตา เยื่อตา ม่านตา กล้ามเนื้อดวงตา เส้นประสาทในตา เบ้าตา ลูกตา หรือหนังตา เป็นต้น
ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ๆ ปรากฏขึ้นร่วมกับอาการปวดตาได้ เช่น
- การมองเห็นแย่ลง
- ตาไวต่อแสง
- รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในตา
- ตาแดง หรือเยื่อบุตาอักเสบ
- มีน้ำตาหรือขี้ตาที่ใส เหนียว หรือมีสีคล้ายหนองที่อาจบดบังดวงตาตอนตื่นนอนได้
- ปวดศีรษะ
อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยปวดตาและมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
- ปวดตารุนแรง โดยเฉพาะเมื่อขยับลูกตา หรือปวดตาต่อเนื่องนานเกิน 2 วัน
- มีปัญหากับการกลอกตา ลืมตา หรือหลับตา
- รอบดวงตา หรือดวงตาบวม แดง
- ปวดตาจากสารเคมี หรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา
- มองเห็นแสงกระจายเป็นรัศมีรอบ ๆ ดวงไฟ
- มองเห็นไม่ชัด
- มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคข้ออักเสบ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน
- คลื่นไส้ อาเจียน
สาเหตุของอาการปวดตา
อาการปวดตาอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การอักเสบ การติดเชื้อบริเวณดวงตา อาการเจ็บป่วยหรือสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
- อาการตาล้า
- ตาแห้ง
- โรคตาแดง
- ดวงตาได้รับการบาดเจ็บ เช่น เป็นแผล ถูกไฟไหม้ หรือโดนวัตถุกระเด็นเข้าตาจากอุบัติเหตุ
- มีวัตถุแปลกปลอมในดวงตา
- กระจกตาถลอก
- อาการอักเสบบริเวณเปลือกตา ม่านตา กระจกตา ตาขาว ผนังลูกตา หรือประสาทตา เป็นต้น
- ตากุ้งยิง
- ภาวะหนังตาม้วนออกด้านนอกหรือม้วนเข้าด้านใน
- โรคต้อหินชนิดเฉียบพลัน
- ท่อน้ำตาอุดตัน
- ปัญหาจากคอนแทคเลนส์ เช่น อาการระคายเคือง
- ปัญหาจากโรคไซนัส เนื่องจากไซนัสอาจทำให้เกิดแรงกดด้านหลังลูกตา จนเกิดอาการปวดตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างได้
- ปวดศีรษะไมเกรน หรือปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headaches)
- ปวดกราม
- โรคภูมิแพ้
- ไข้หวัด
การวินิจฉัยอาการปวดตา
การเลือกวิธีวินิจฉัยอาการปวดตาอาจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยแพทย์จะพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของอาการปวดตาที่ผู้ป่วยเผชิญอยู่มากที่สุด ซึ่งในเบื้องต้นแพทย์อาจสอบถามถึงระยะเวลาที่เริ่มปวดตา และถามถึงอาการอื่น ๆ ที่ปรากฏร่วมกับอาการปวดตา เช่น อาการไวต่อแสง คลื่นไส้ หรืออาเจียน โดยผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากเป็นผู้ที่ใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ เคยผ่าตัดดวงตา หรือเคยได้รับบาดเจ็บบริเวณดวงตา และควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาที่กำลังใช้ และอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ของตนก่อนเริ่มรับการวินิจฉัยอื่น ๆ หลังจากนั้น แพทย์อาจวัดสายตา โดยให้ผู้ป่วยอ่านตัวเลขและตัวหนังสือบนแผ่นตรวจตา เพื่อตรวจการมองเห็นของสายตาทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น
หากแพทย์วินิจฉัยว่าอาการของผู้ป่วยรุนแรงมากกว่าอาการตาแดงหรือตาอักเสบ ผู้ป่วยอาจถูกส่งตัวไปพบจักษุแพทย์ต่อไป เพื่อรับการวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น
- การตรวจวัดความดันลูกตา เพื่อตรวจหาต้อหิน ซึ่งแพทย์อาจใช้ยาชาหยอดตาก่อนเริ่มวินิจฉัย
- การตรวจโดยใช้กล้องจักษุจุลทรรศน์ชนิดลำแสงแคบ เพื่อตรวจหาอาการบาดเจ็บหรือการอักเสบบริเวณดวงตา ซึ่งอาจต้องหยอดสีเพื่อหาความเสียหายอื่น ๆ ที่กระจกตาเพิ่มเติม เช่น การหยดสารฟลูออเรสซีน เพื่อหาความเสียหายที่กระจกตาและสิ่งแปลกปลอมในตา เป็นต้น
การรักษาอาการปวดตา
วิธีรักษาอาการปวดตาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ และหากอาการไม่รุนแรงมากนัก ผู้ป่วยอาจดูแลตนเองในเบื้องต้นได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- พักสายตา โดยการงดใช้สายตาในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น จ้องจอคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ต้องใช้สายตามาก รวมถึงควรหลีกเลี่ยงแสงจ้าด้วย
- ล้างตา การใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดดวงตา หรือใช้น้ำอุ่นล้างดวงตา อาจช่วยขจัดสิ่งแปลกปลอมและบรรเทาอาการปวดตาได้ แต่หากล้างตาด้วยน้ำสะอาดแล้ววัตถุแปลกปลอมยังค้างอยู่ในตา ห้ามขยี้ตาและห้ามให้ผู้อื่นช่วยนำวัตถุดังกล่าวออก เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง โดยผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมแทน
- หยอดน้ำตาเทียม การหยอดน่้ำตาเทียมอาจช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา และบรรเทาอาการปวดตาได้ในบางกรณี ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถึงการใช้น้ำตาเทียมในปริมาณที่เหมาะสม
- ใส่แว่นตา สำหรับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ อาจลองเปลี่ยนมาใส่แว่นตาก่อนสัก 2-3 วัน เพื่อสังเกตว่าอาการปวดตาดีขึ้นหรือไม่
บทความที่เกี่ยวข้อง : แว่นตา เลือกยังไงให้เหมาะกับเด็ก เด็กสายตาสั้นต้องใส่แว่นตาแบบไหน
- ใช้ยาแก้แพ้ ทั้งชนิดที่ใช้หยอดตาหรือชนิดรับประทาน เพื่อบรรเทาอาการปวดตาที่อาจเกี่ยวข้องกับการแพ้
- รับประทานยาแก้ปวด ยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น ยาไอบูโพรเฟน อาจช่วยลดอาการปวดบวมและลดไข้ได้ แต่ยาอาจมีผลข้างเคียงทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับไตได้ ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง และห้ามให้ยานี้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน
ทั้งนี้ หากดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้วอาการไม่ทุเลาลงหรือทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการ และทำการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ตามแต่กรณี เช่น ใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์ รวมถึงอาจทำการผ่าตัด เพื่อรักษาแผลไหม้ หรือแผลที่มีความเสียหายจากวัตถุหรือมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้ไม่บ่อยนัก
ขี้ ตา ออก บ่อย ขี้ตาเยอะเกิดจากอะไร ตาแฉะ ขี้ตาเยอะ
ภาวะแทรกซ้อนจากอาการปวดตา
โดยปกติ อาการปวดตามักไม่รุนแรง อาการอาจหายได้เองหรือบรรเทาอาการได้เองที่บ้าน แต่หากอาการทวีความรุนแรงแล้วไม่ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายขึ้น จนทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น หรืออาจตาบอดได้
การป้องกันอาการปวดตา
วิธีการป้องกันอาการปวดตาอาจขึ้นอยู่กับแต่ละสาเหตุ แต่บางสาเหตุก็ไม่สามารถป้องกันได้
อย่างไรก็ตาม โดยผู้ป่วยอาจป้องกันอาการปวดตาในเบื้องต้นได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
- พักสายตาจากหน้าจอต่าง ๆ เช่น จอโทรศัพท์มือถือ จอทีวี หรือจอคอมพิวเตอร์ ให้พักสายตาทุก ๆ 20 นาทีด้วยการมองไปที่ไกล ๆ ในระยะ 6 เมตรนาน 20 วินาที ก่อนกลับมาใช้จออีกครั้ง รวมถึงเลือกใช้จอที่ป้องกันแสงสะท้อน หรืออาจปรึกษาแพทย์ถึงการใช้แว่นตาเฉพาะสำหรับการมองหน้าจอ
- สวมแว่นตา เพื่อป้องกันดวงตาถลอก ไหม้ และป้องกันวัตถุแปลกปลอมหรือสารเคมีต่าง ๆ เข้าตา โดยเลือกประเภทของแว่นตาให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ใช้แว่นนิรภัยเมื่อต้องตัดหญ้า ทำความสะอาดของใช้ในครัวเรือน หรือขณะใช้ผงซักฟอก เป็นต้น ส่วนผู้ที่ทำงานก่อสร้าง เชื่อมโลหะ ทำงานเกี่ยวกับยานยนต์ หรือสารเคมีอันตรายอย่างยากำจัดแมลง ควรสวมแว่นตานิรภัยที่ออกแบบโดยเฉพาะ
- ทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ ควรทำความสะอาดคอนแทคเลนส์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์นานเกินไป และควรสลับใส่แว่นตาบ้างบางครั้งเพื่อพักสายตา
- หลีกเลี่ยงสารก่ออาการแพ้ หากอาการปวดตาเกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือเข้าใกล้สารที่ทำให้เกิดอาการแพ้
- เลิกบุหรี่ เพราะบุหรี่อาจสร้างความเสียหายต่อเส้นประสาทตา ทำให้เกิดต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อมได้
- บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกบริโภคผักหรือผลไม้ที่เป็นสีเขียวหรือสีเหลืองส้มเข้ม และควรบริโภคปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า และปลาชนิดอื่น ๆ ที่อาจช่วยบำรุงดวงตาได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : กินคอลลาเจนตอนท้องได้ไหม คุณแม่กินสารอาหารบำรุงผิวอะไรได้บ้าง?
- พบจักษุแพทย์เป็นระยะ โรคที่เกี่ยวข้องกับดวงตาบางโรค เช่น โรคต้อหิน อาจไม่ปรากฏอาการใด ๆ เลยในช่วงแรก การตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำอาจช่วยให้แพทย์ตรวจพบและรักษาโรคดังกล่าวได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
ยาหยอดตาเด็ก ใช้ได้ตั้งแต่อายุเท่าไร? ควรดูแลดวงตาลูกน้อยอย่างไร?
ตาบอดสีในเด็ก เกิดจากอะไร? มีวิธีรักษาหรือวิธีแก้อย่างไร?
ลูกตาเหล่ ลูกตาเข วิธีแก้ตาเหล่ รักษาอย่างไร ควรปรึกษาใครดี
ที่มาจาก : pobpad
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!