ยาหยอดตาเด็ก ถูกใช้กับทารกตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งเป็นหนึ่งในการดูแลที่แพทย์จะทำทันทีเมื่อทารกออกมาจากช่องคลอดของมารดา เพราะขณะที่ทารกกำลังถูกดึงออกจากช่องคลอดอาจมีการติดเชื้อเข้าสู่ตาและมีการอักเสบได้ ถ้าติดเชื้อต้องทำการรักษาทันทีมิฉะนั้น ดวงตาทารกอาจบอดได้
บทความที่เกี่ยวข้อง: การมองเห็นของทารก ทารกเริ่มมองเห็นตอนไหน จะกระตุ้นพัฒนาการมองเห็นได้อย่างไร
ยาหยอดตาเด็ก มีความสำคัญอย่างไร ใช้ได้ตั้งแต่อายุเท่าไร
ขณะที่คุณหมอค่อยๆ เอาร่างทารกน้อยจากร่างคุณแม่ ไม่ว่าจะผ่านทางช่องคลอดหรือผ่าครรภ์ คุณหมอจะทำการหยอดตาทารกน้อยทันที ซึ่งจะทำการหยด AgNOj 1% ข้างละ 1 หยดที่เยื่อบุตา แล้วใช้สำลีซับเอานํ้ายาที่เกินออก ทิ้งไว้ 15 วินาที จึงล้างออกด้วย NSS เพื่อลดการการติดเชื้อ โรงพยาบาลบางแห่งอาจป้ายตาด้วยยาด้านจุลชีพแทน เช่น Erythromycin Eye Ointment 0.5 %, Tetracycline Eye Ointment 1% หรือ Terramycin Eye Ointment (ยาป้ายตา) เพื่อประโยชน์ต่างๆ ดังนี้
1. เชื่อมโยงดวงตาทารกกับโลกภายนอก
ดวงตาของทารกจะถูกปกป้องในถุงน้ำคร่ำมาตลอด เมื่อออกมาลืมตาดูโลกจึงต้องการการป้องกันการติดเชื้อและเชื่อมโยงกับโลกภายนอก เสมือนเป็นการต้อนรับทารกน้อยสู่โลกใบใหม่ อีกทั้งยังกระตุ้นความสามารถในการมองเห็นให้ดีที่สุด
2. เพื่อนำไปสู่การพัฒนาด้านร่างกาย
การหยอดตาคือการเปิดดวงตาเพื่อการประสานอวัยวะต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น เมื่อตาเริ่มรับแสง จะช่วยกระตุ้นมือ เท้าให้เคลื่อนไหวสอดคล้องกัน ทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากจะเอามือเอื้อมไปจับ อยากจะขยับเท้าไปโดนสิ่งที่ดวงตาเห็นซึ่งเป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติ
3. เชื่อมโยงไปสู่สมอง
จากข้อ 1-2 เชื่อมโยงมาสู่ขอ 3 นั่นคือการรับรู้ในสิ่งที่ตาเห็น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาการทางสมองของทารกน้อยและไปสู่พัฒนาการทางด้านร่างกาย เช่น การคว่ำ การคลาน การนั่น การยืนและค่อยๆ ก้าวเท้าเดิน ซึ่งการมีดวงตาที่ดี จะช่วยให้เด็กมีแรงกระตุ้นจากสมองอยากจะเคลื่อนไหวตามพัฒนาการของช่วงวัย
บทความที่เกี่ยวข้อง: 4 เรื่องร้าย สาเหตุสายตาเสียของคุณและลูกน้อย
การดูแลดวงตาลูกเบื้องต้น
นอกจากการหยอดตาแรกเกิดแล้ว การดูแลดวงตาของลูกอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยกว่าโภชนาการ เช่น อาการตาแฉะ มักพบบ่อยมากในทารกอายุ 2-3 สัปดาห์ หรือยังไม่ถึง 1 เดือน สาเหตุเนื่องมาจากท่อน้ำตาของลูกน้อยยังเปิดไม่เต็มที่นั่นเอง ดังนั้น เรามีวิธีดูแลดวงตาของลูกอย่างง่ายๆ คือ
1. คุณแม่สามารถหยอดตาทารกได้
หากคุณแม่พาลูกน้อยไปพบคุณหมอ แน่นอนว่าในเบื้องต้นคุณหมอจะทำการหยอดตาให้ ซึ่งเป็นยาหยอดแก้อักเสบ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ จนไหลออกมาเป็นขี้ตาแฉะ ซึ่งถ้าไม่มีขี้ตามาก ก็สามารถหยอดได้วันละครั้งก่อนนอน แต่หากลุกมีขี้ตาเยอะมาก ตาแฉะจนเกินไป คุณหมอจะแนะนำให้หยอดวันละ 4 เวลา ซึ่งยานี้ไม่มีผลข้างเคียงและก่ออันตรายต่อทารกแต่อย่างใดค่ะ
2. หมั่นทำความสะอาดดวงตาของลูกน้อย
การทำความสะอาดดวงตาไม่ใช่ทำการล้างตาลูกนะคะ แต่หมายถึงการทำความสะอาดรอบดวงตา โดยใช้สำลีเช็ดน้ำสะอาด บีบพอหมาดๆ แล้วค่อยๆ เช็ดรอบดวงตา เอาขี้ตาและฝุ่นละอองออกไปบริเวณนั้น เพื่อป้องกันการกลับเข้าไปสู่ดวงตาลูกน้อยอีกค่ะ
3. นวดหัวตาให้ลูกน้อย
คุณแม่บางท่านอาจกังวลว่า สามารถนวดดวงตาลูกได้หรือ? ตรงนี้สามารถทำได้ค่ะ เพราะจะช่วยกระตุ้นให้ท่อน้ำตาเปิดเร็วขึ้นโดยใช้นิ้วกดบริเวณหัวตาเบาๆ แล้วค่อยๆ คลึงรูดลงมาตามจมูกเบาๆ ทำประมาณ 10-20 ครั้งอย่างเบามือก่อนอาบน้ำก็ได้ค่ะ และทำครั้งสุดท้ายตอนก่อนนอนจากนั้นใช้ยาหยอดตาที่คุณหมอจ่ายมาหยอดให้เขา
มารู้จักโรคเยื่อตาอักเสบในทารก
นอกจากอาการท่อน้ำตายังไม่เปิดหรือโรคตาแฉะ ยังมีโรคเยื่อตาอักเสบในทารก ซึ่งพบได้บ่อยในช่วงอายุ 1 เดือน หากร้ายแรงอาจเสี่ยงทำให้ตาบอดได้ ทารกที่ติดเชื้อจะมีลักษณะหนังตาตก บวม เยื่อบุตาแดงบวม มีขี้ตาหลืองลักษณะคล้ายหนอง ซึ่งมีสาเหตุมาจาก
- ติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส
- ติดเชื้อหนองในเทียมระหว่างคลอดจนเกิดหนองในเทียมที่ลูกตา
- ติดเชื้อหนองในจากช่องคลอดมารดาที่เป็นโรคทางเพศสัมพันธ์จนทำให้ตาบอด
คุณแม่สามารถป้องกันโรคตาของลูกน้อยก่อนและหลังตั้งครรภ์ได้อย่างไร
การใช้ยาหยอดตาเด็กเพื่อป้องกันโรคเยื่อตาอักเสบ ตั้งแต่แรกเกิดต้องทำด้วยความเชี่ยวชาญและระมัดระวังเป็นอย่างสูงถ้าหากพบว่ามีผลข้างเคียง เช่น หนังตาบวม เยื่อบุตาบวมแดงร้อน จะต้องรับการรักษาทันทีแม้จะไม่เป็นอันตรายต่อดวงตาเด็กทารกก็ตาม ทั้งนี้การติดเชื้อต่างๆ ของทารกนั้นผ่านทางมารดา ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถป้องกันได้โดย
- ผู้หญิงเราต้องรู้จักป้องกันโรคต่างๆ จากการมีเพศสัมพันธ์ ฉะนั้น หากยังไม่พร้อมมีบุตร ควรเช็คร่างกายของตนเองและคนรัก อย่าลืมสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง
- ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ในขณะตั้งครรภ์เลยค่ะ เพราะจะทำให้ทารกมีความพิการทางตา เช่น ตาห่าง ตาเหล่ สายตาสั้น หนังตาตกผิดปกติ
- หมั่นตรวจสุขภาพและโรคทางเพศสัมพันธ์เสมอ ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่เป็นเรื่องที่ทั้งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายควรป้องกัน
- แน่ใจว่าทารกได้รับการหยอดตาทันที เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคเยื่อตาอักเสบ โดยเชื้อโรคนั้นก็อยู่ตามช่องคลอดของมารดา นั่นคือสาเหตุว่าทำไมคุณแม่ต้องรักษาสุขภาพให้ดี
- ก่อนตั้งครรภ์และก่อนคลอด หากคุณแม่พบว่าตนเองมีโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาคุณหมอถึงการวางแผนมีบุตรและการคลอด
- ห้ามรับประทานยาที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญของดวงตาทารก ยิ่งช่วงไตรมาสแรกการรับประทานทุกชนิดค่อนข้างอันตราย หากต้องใช้จริงๆ ควรปรึกษาแพทย์
- หากพบกว่าลูกน้อยมีการติดเชื้อที่ดวงตา แม้จะทำการหยอดตาแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบพาลูกน้อยมาพบแพทย์ทันที พร้อมกับตรวจสุขภาพของทั้งคู่ด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง: ลูกเล่นโทรศัพท์จนตาอักเสบหวิดตาบอด เคยได้ยินมาไม่อยากเชื่อ จนลูกเป็น!
สิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะจะส่งผลเสียตาดวงตาลูก
1. การถ่ายรูปทารกโดยใช้แฟลช
การถ่ายรูปลูกน้อยลงโซเชียลฯ หรือพาเขาไปถ่ายภาพเป็นที่ระลึกตอนแรกเกิดมักจะเป็นที่นิยมในสมัยนี้มาก ซึ่งคุณแม่ต้องระวังการถ่ายภาพโดยเปิดแฟลช หากถ่ายภาพในระยะใกล้และกระทบแสงแฟลชบ่อยๆ จะทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อกระจก หากโดนกระทบเพียงสั้นๆ มีผลเสียน้อยก็จริง แต่เพื่อความปลอดภัย หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพโดยใช้แฟลชจะดีกว่า
2. อย่าเอาน้ำนมแม่หยอดตาทารก
ในสมัยโบราณมีความเชื่อว่า น้ำนมแม่นั้นมีความบริสุทธิ์ สามารถชะล้างสิ่งสกปรกและรักษาโรคตาฟางของทารกน้อยได้ ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องนี้คือความเชื่อที่ผิดมหันต์ เพราะน้ำนมแม่คืออาหารชั้นดีของเชื้อโรค ถ้าออกมาโดนอากาศแล้วปะปนเชื้อไปโดนดวงตาลูก จะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย บางคนเห็นลูกเป็นตาแดงจึงเอาน้ำนมแม่หยอดตาเด็ก ซึ่งจะยิ่งเพิ่มการอักเสบรุนแรงมากขึ้น เสี่ยงต่อการทำลานกระจกตาและบอดในที่สุดค่ะ
สัญญาของโรคทางดวงตาที่ต้องรีบมาพบแพทย์อีกครั้ง
ดังนั้นทางการแพทย์ จึงทำการป้องกันโรคที่เกิดจากการติดเชื้อต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในทารก โดยการใช้ยาหยอดตาทันทีเมื่อพวกเขาคลอดออกมาทุกราย เนื่องจากไม่อาจทราบได้ว่า คุณแม่มีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาอย่างดีหรือไม่ หรือคุณแม่ตั้งครรภ์มรโรคประจำตัว ช่องคลอดมีการติดเชื้อมากกน้อยแค่ไหน วิธีการหยอดตาทารกแรกเกิดจึงเป้นวิธีที่ดีที่สุด ทั้งสะอาด ปลอดภัย ทำได้ทันที ลดการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้หากเขามีการติดเชื้อทางดวงตาหลังกลับจาโรงพยาบาลไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตุอาการลูกดังนี้ เพื่อมาทำการรักษาอีกครั้ง
- ทารกมีน้ำตาเอ่อ คลอบริเวณดวงตาตลอด
- มีขี้ตาสะสมมาก แม้จะเช็ดแล้วก็จะเกิดขึ้นมาอีก
- มีอาการตาแดง เนื่องจากการติดเชื้อจนอักเสบ
- สังเกตดูว่าบริเวณแก้วตาหรือเลนส์ตามีฝ้าขาว
- หนังตาบวม ลุกตาดูผิดรูป ผิดปกติกว่าเคย
- รูม่านตาไม่เท่ากัน รวมทัี้งสีของม่านตาเปลี่ยนไป
- หนังตาตก มีลักษณะตาเข จนลูกชอบเอียงคอไปด้านใดด้านหนึ่ง
- ทารกอาจมีความพิการของใบหน้า ตัวเล็กจนมีความเจริญเติบโตช้าหรือมีพัฒนาการผิดปกติ
แม้ทารกน้อยจะลืมตาเมื่อเขาออกจากน้ำคร่ำ แต่จริงๆ แล้วดวงตาเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ประมาณ 4 – 5 สัปดาห์ นั่นหมายความว่า คุณแม่ท้องแค่ 1 เดือนแต่ดวงตาของเขาเริ่มสร้างเนื้อเยื่อสำคัญ ยิ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ไปถึง 7 เดือนนั่นคือ ทารกสามารภลืมตาและตอบสนองต่อแสงสว่างได้ ทั้งนี้ตั้งแต่แรกเกิดไปถึงอายุ 6 – 7 ปี คุณแม่ต้องให้ความสำคัญต่อดวงตาลูก หมั่นดูแลสุขภาพตาและการมองเห็น หากสังเกตว่ามีการติดเชื้อใดๆ ควรรีบพาลูกไปพบจักษุแพทย์ทันที รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การใช้โทรศัพท์ ดูทีวี ที่ส่งผลเสียต่อดวงตาของลูกด้วยค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
6 ความเชื่อที่โบราณว่าไว้เกี่ยวกับทารกแรกเกิด
โกจิเบอร์รี่ช่วยบำรุงสายตาและช่วยชะลอความเสี่ยงต่อโรคจอประสาทตาเสื่อม
6 อาหารบำรุงสายตา ให้ลูกกินอะไรบำรุงสายตาดี อาหารอะไรที่ทำให้ลูกสายตาดี
ที่มา: rakluke , 2
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!