X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกในครรภ์กับการตอบ รับสัมผัสจากแม่ ลูกเราสัมผัสได้จากที่ไหนบ้างนะ?

บทความ 5 นาที
ทารกในครรภ์กับการตอบ รับสัมผัสจากแม่ ลูกเราสัมผัสได้จากที่ไหนบ้างนะ?

คุณแม่ว่า ระหว่างสัมผัสจากแม่กับเสียงเพลงหรือสิ่งแวดล้อม ทารกในครรภ์จะตื่นตัวกับสิ่งไหนมากกว่ากัน

ทารกในครรภ์กับการตอบ รับสัมผัสจากแม่ ลูกเราสัมผัสได้จากที่ไหนบ้างนะ?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ทารกในครรภ์มักจะตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็น เสียงเพลง เสียงของคุณพ่อ และเสียงของคุณแม่ แต่เสียงและสัมผัสที่ทารกในครรภ์ ตอบสนองได้ดีที่สุดก็คือ รับสัมผัสจากแม่ เมื่อเวลาจับท้อง หรือจับตำแหน่งที่เขาอยู่นั่นเอง

ทารกในครรภ์ สัมผัสจากแม่

จากการศึกษาค้นคว้าจากมหาวิทยาลัย Dundee ประเทศอังกฤษได้ทำการทดสอบคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทั้งหมด 23 คน โดยมีอายุครรภ์อยู่ในช่วง 21 สัปดาห์และ 33 สัปดาห์ โดยคุณแม่ทุก ๆ ท่านจะต้องทำการสัมผัส พูด และ คุยกับทารกในครรภ์ ซึ่งจะมีทีมงานทำการดูปฏิกิริยาของทารกผ่านการทำอัลตร้าซาวด์แบบ 3D และ 4D

ผลการวิจัยพบว่า ทารกในครรภ์จะตอบสนองต่อการสัมผัสของคุณแม่ โดยการจับมือตัวเอง จับขาและจับปาก แต่ทารกในครรภ์ที่อยู่ในช่วงไตรมาสสาม จะมีการหาวและดึงแขนของตัวเองเพิ่มขึ้นมาด้วย

น่าแปลกตรงที่ทารกในครรภ์เหล่านี้ ไม่แสดงปฏิกิริยาดังกล่าวกับเสียงหรือสัมผัสจากคนอื่นเลย ซึ่งคนอื่นที่ว่านี้ก็รวมถึงคุณพ่อของทารกด้วยนะคะ แบบนี้…นี่แหละเขาถึงเรียกว่า “สัมผัสแห่งสายใยรักระหว่างแม่กับลูก”

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ อย่าลืมหมั่นพูดคุย เล่านิทาน ร้องเพลงให้ลูกฟังหรือสัมผัสท้องของตัวเองบ่อย ๆ กันนะคะ

คนเป็นพ่อแม่นอกจากจะหวังให้ลูกคลอดออกมาอย่างปลอดภัยแล้ว ลึก ๆ ก็อยากให้ลูกได้เกิดมาคู่กับความฉลาด หน้าตา ผิวพรรณดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้หลัก ๆ นั้นขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของพ่อแม่ที่ติดตัวลูกมาแต่กำเนิดโดยไม่สามารถแก้ไขได้ แต่ สิ่งเพิ่มเติมที่จะช่วย กระตุ้นความฉลาด ให้ทารกในครรภ์นั้นคุณแม่สามารถสร้างได้ ด้วยสัมผัสของตัวเองนะคะ

5 รับสัมผัสผ่านผิวหน้าท้อง กระตุ้นความฉลาดของทารกในครรภ์

กระตุ้นความฉลาด

#1 สัมผัสจากร่างกาย 

แสดงความรักให้ลูกน้อยในท้องสัมผัสได้ด้วยการสัมผัสผิวหน้าท้อง การลูบเป็นวงกลม ลูบลง และ ขึ้นสลับกัน พร้อมกับจังหวะการสลับการหายใจเข้าออกลึก ๆ สร้างความผูกพันที่พ่อแม่มีให้ลูกรับรู้ได้ สัมผัสที่อ่อนโยน และ ผ่อนคลายจะทำให้ฮอร์โมนแห่งความสุข ( Endorphin) ของคุณแม่หลั่งออกมา ซึ่งจะทำให้คุณแม่รู้สึกสบายทั้งกายและใจ ในขณะเดียวกันอารมณ์แห่งความสุขนี้ก็จะส่งผลต่อลูกในครรภ์ได้เช่นเดียวกัน

#2 สัมผัสจากเสียง 

ในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 4 -5 เดือนลูกในครรภ์จะเริ่มได้ยินเสียงแล้ว ดังนั้นในช่วงนี้คุณแม่ควรเริ่มส่งเสียงพูดคุยกับลูกผ่านผิวหน้าท้องได้แล้วค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง การพูดคุยด้วยคำพูดซ้ำ ๆ หรือเป็นคำคล้องจอง เล่านิทาน เปิดเพลงที่อ่อนโยนฟังด้วยเพลงที่ระดับเสียงที่ไม่ดังเกินไป ประมาณ 10-15 นาที สัมผัสทางเสียงนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ดีงามให้กับลูก โดยน้ำเสียงจะผ่านทางน้ำคร่ำ เดินทางได้อย่างรวดเร็วเป็น 4 เท่าของทางอากาศ ส่งผลต่อประสาทรับรู้ทางหู ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเส้นใยประสาท ช่วยเรื่องประสาทรับรู้เรื่องความจำ และยังเป็นการพัฒนาภาษาขั้นพื้นฐานสำหรับลูกที่เกิดมาอีกด้วย

กระตุ้นความฉลาด

#3 สัมผัสจากรสผ่านรก

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ถ้าคุณแม่ทานอะไรในขณะตั้งครรภ์ลูกก็จะได้รับสารอาหารจากแม่โดยตรง ดังนั้นในระหว่างท้องคุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบหมู่ สารอาหารสำคัญที่แม่ท้องควรรับ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โฟเลต ธาตุเหล็ก อาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ รวมถึงควรงดอาหารประเภทที่มีคาเฟอีน และอาหารที่จะเสี่ยงเป็นอันตรายต่อลูก ฯลฯ

#4 สัมผัสจากการดมกลิ่น 

รับสัมผัส จากแม่

รับสัมผัส จากแม่

ยิ่งอายุครรภ์มากการแบกน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อยล้า เมื่อยง่าย การได้นวดผ่อนคลายด้วยการให้ว่าที่คุณพ่อช่วยนวดเบา ๆ ควบคู่ไปกับการใช้โลชั่นกลิ่นที่คุณแม่ชอบ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่ได้ผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ มีความสุข และจะส่งผลต่ออารมณ์ที่แจ่มใสของลูกในครรภ์ด้วย

Read : คู่มือการนวดขณะตั้งครรภ์จนถึงระยะคลอด

#5 สัมผัสจากสายตา

รับสัมผัส จากแม่

รับสัมผัส จากแม่

การใช้ไฟฉายส่องผ่านทางหน้าท้อง ถือเป็นวิธีง่ายและนิยมมากที่สุดสำหรับการกระตุ้นพัฒนาการของลูกในครรภ์ ซึ่งจะช่วยให้ลูกปรับสภาพการมองเห็นได้ โดยการส่องไฟที่บริเวณหน้าท้อง เป็นสัญญาณไฟกระพริบ ห่างจากบริเวณหน้าท้องพอสมควร มีแสงที่ไม่จ้าจนเกินไป และใช้เวลาไม่นานมากนัก สัมผัสนี้ควรเริ่มต้นเมื่อคุณแม่เข้าช่วงไตรมาสที่ 3 เพราะลูกจะเริ่มลืมตาได้แล้ว และควรทำในช่วงเย็นหลังคุณแม่ทานอาหาร เนื่องจากจะช่วยทำให้ลูกได้ตื่นและนอนในเวลากลางคืนมากขึ้น

นอกจากสัมผัสมหัศจรรย์ที่คุณแม่สามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อกระตุ้นความฉลาดให้ลูกในท้องแล้ว ควรใส่ใจในเรื่องของการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ การออกกำลังกาย ทั้งหมดนี้จะเป็นสัมผัสมหัศจรรย์ที่ส่งผลดีต่อพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างดีทีเดียว

The Asianparent Thailand เพื่อ ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะ คุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือ ทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิง และ เด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

ที่มา: 1

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

สิ่งที่คุณต้องรู้ การปวดหัวในระหว่างตั้งครรภ์ สาเหตุของการปวดหัวและวิธีป้องกัน

คนท้องออกกําลังกาย ช่วยพัฒนาการลูกในครรภ์  ยิ่งออกกำลังกายยิ่งดีต่อลูก

10 อาหารบำรุงลูกในครรภ์ อาหารทำให้ลูกในท้องแข็งแรงและสุขภาพดี

บทความจากพันธมิตร
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ทารกในครรภ์กับการตอบ รับสัมผัสจากแม่ ลูกเราสัมผัสได้จากที่ไหนบ้างนะ?
แชร์ :
  • ทารกในครรภ์โตช้า สังเกตอย่างไร อันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง

    ทารกในครรภ์โตช้า สังเกตอย่างไร อันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง

  • สงสารลูกเถอะ! ถ้าแม่กินไม่ดีพอ ทารกในครรภ์ขาดสารอาหาร จะเกิดผลร้ายอะไรขึ้น?

    สงสารลูกเถอะ! ถ้าแม่กินไม่ดีพอ ทารกในครรภ์ขาดสารอาหาร จะเกิดผลร้ายอะไรขึ้น?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ทารกในครรภ์โตช้า สังเกตอย่างไร อันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง

    ทารกในครรภ์โตช้า สังเกตอย่างไร อันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง

  • สงสารลูกเถอะ! ถ้าแม่กินไม่ดีพอ ทารกในครรภ์ขาดสารอาหาร จะเกิดผลร้ายอะไรขึ้น?

    สงสารลูกเถอะ! ถ้าแม่กินไม่ดีพอ ทารกในครรภ์ขาดสารอาหาร จะเกิดผลร้ายอะไรขึ้น?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว