X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ยาลดไข้สำหรับเด็กแรกเกิด ใช้อย่างไร? แบบไหนถึงจะเหมาะกับเด็ก?

บทความ 5 นาที
ยาลดไข้สำหรับเด็กแรกเกิด ใช้อย่างไร? แบบไหนถึงจะเหมาะกับเด็ก?

คุณพ่อคุณแม่มักจะวิตกกังวลเมื่อลูกน้อยของคุณมีไข้ ไม่สบาย เพราะยังไม่สามารถสื่อสารบอกอาการกับคนอื่นได้ เราทำได้เพียบสังเกตุอาการ และคอยให้ยาลดไข้เพื่อบรรเทา แต่การจะให้ ยาลดไข้สำหรับเด็กแรกเกิด เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองอย่างเราต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ยาลดไข้แบบไหนถึงจะเหมาะกับลูกของเรา แล้วถ้ายาลดไข้สำหรับเด็กไม่มี เราจะเอายาของผู้ใหญ่มาใช้แทนได้หรือไม่ วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกับ นพ. วรณัฐ ปกณ์รัตน์ (คุณหมอวอร์ม) แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป กันค่ะ

 

ยาลดไข้สำหรับเด็กแรกเกิด ใช้อย่างไร?

นพ. วรณัฐ ปกณ์รัตน์ (คุณหมอวอร์ม) แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป

อุณหภูมิแค่ไหนเรียกว่าเป็นไข้?

ก่อนอื่นต้องมาดูกันก่อนว่า อุณหภูมิขนาดไหน เราถึงจะนับว่าเด็กเป็นไข้ แล้วอุณหภูมิแค่ไหน จัดว่าไข้ขึ้นสูง

  • อุณหภูมิระหว่าง 37.5 – 38.4 C ไข้ระดับนี้ เรายังนับว่าเป็นไข้ปกติ ที่เราสามารถให้ยาลดไข้ทั่วไปเพื่อบรรเทาอาการเองได้
  • อุณหภูมิระหว่าง 38.5 C ขึ้นไป จัดว่าเป็นไข้สูง ซึ่งยาลดไข้ทั่วไปอาจจะไม่ค่อยได้ผล ผู้ปกครองควรทำการเช็ดตัวเด็กด้วยน้ำอุณหภูมิปกติเพื่อทำการลดความร้อนในตัวเด็กก่อน หากอุณหภูมิลด สามารถให้ยาลดไข้ได้ตามปกติ แต่หากไม่ลดลง ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน
  • หากเด็กมีอุณหภูมิสูงกว่า 39 C มีความเสี่ยงเกิดอาการชัก มีผลต่อพัฒนาการเด็กในระยะยาว ดังนั้นควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ให้ไวที่สุด

 

ยาลดไข้สำหรับเด็กแรกเกิด แบบไหนถึงจะเหมาะกับเด็ก?

ยาที่ใช้ในเด็กมักอยู่ในรูปของยาน้ำ เพราะมีการกะปริมาณที่ง่าย สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตัวไม่มากเท่าผู้ใหญ่ ดังนั้น จึงไม่แนะนำการแบ่งเม็ดยาสำหรับผู้ใหญ่ มาบดผสมน้ำ เนื่องจากอาจได้ปริมาณที่ไม่ตรงความต้องการ ถ้าขนาดยาน้อยเกินไป อาจจะไม่มีผลในการรักษา แต่ถ้ามากเกินไป ก็จะเป็นการให้ยาเกินขนาด เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกเป็นหวัดอาบน้ำได้ไหม สระผมได้หรือเปล่า ลูกป่วยไม่สบายควรดูแลอย่างไร?

 

ยาลดไข้สำหรับเด็กแรกเกิด ใช้อย่างไร?

 

การให้ยาลดไข้กับเด็กเล็ก

ในกรณีที่เด็กมีไข้ ผู้ปกครองสามารถให้ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำ (สำหรับเด็ก) ได้ทันที โดยให้ปริมาณตามน้ำหนักของเด็กเป็นหลัก โดยไม่จำเป็นต้องอ้างอิงอายุ และส่วนสูง และสามารถให้ซ้ำได้ทุก ๆ 6 ชั่วโมง หากไข้ยังไม่ลด โดยระหว่างนั้น ผู้ปกครองสามารถเช็ดตัวเด็ก ด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง เพื่อเป็นการช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายให้กับเด็ก ก็จะทำให้ไข้สามารถลดลงได้เร็วยิ่งขึ้น (ไม่แนะนำให้ใช้น้ำใส่น้ำแข็งเช็ดตัว)

 

ยาลดไข้สำหรับเด็กแรกเกิด ใช้อย่างไร?

 

การเลือกซื้อยาพาราเซตามอลชนิดน้ำ ควรเลือกอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้ว ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำสำหรับเด็ก มีจำหน่ายมากมายหลายยี่ห้อ แต่โดยทั่วไป ทุกยี่ห้อจะมีตัวยาลักษณะเดียวกัน ดังนั้นผู้ปกครองสามารถเลือกซื้อยาได้ตามความสะดวก แต่สิ่งที่สำคัญกว่ายี่ห้อยาคือ ผู้ปกครองควรใช้ยา หรือให้ยากับลูกน้อยของคุณ ในปริมาณที่ฉลากกำกับเอาไว้อย่างเคร่งครัด หรือตามที่แพทย์สั่ง เพื่อความถูกต้อง และปลอดภัย

 

การให้ยาแก้ไข้ ผสมกับน้ำนม ทำได้หรือไม่?

โดยทั่วไป คุณหมอวอร์มแนะนำให้ผู้ปกครองให้ยาน้ำแก้ไข้แยกกับการให้นมบุตร โดยให้ทานยาก่อน แล้วเว้นช่วงสักนิด แล้วค่อยให้นมตาม เนื่องจากถ้าผสมยาลดไข้ในน้ำนม สารโปรตีนในน้ำนมอาจจะจับตัวกับตัวยา ทำให้ยาไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ หากกรณีที่เด็กดูดนมไม่หมด หรือมีนมตกค้าง ก็เป็นไปได้ว่า เด็กได้รับตัวยาไม่ครบตามที่กำหนดอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฉีดวัคซีนแล้ว ทำไมลูกถึงไม่สบาย อาการต่าง ๆ หลังการรับวัคซีน มีอะไรบ้าง

 

ยาลดไข้สำหรับเด็กแรกเกิด ใช้อย่างไร?

 

การให้ยาลดไข้บ่อยครั้ง ส่งผลเสียกับลูกหรือไม่?

คุณหมอวอร์มได้กล่าวถึงอาการไข้ของเด็ก ว่าเป็นการตอบสนองทางร่างกาย ซึ่งอาจจะเกิดจากการติดเชื้อจากสิ่งแปลกปลอม หรือแม้แต่การได้รับการฉีดวัคซีน สิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กวัยนี้คือ ไม่ควรให้เด็กมีไข้นาน เพราะจะทำให้เสี่ยงกับภาวะขาดน้ำได้ และถ้าหากเด็กมีไข้สูงนาน ๆ ก็ส่งผลให้เกิดอาการชัก ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการของตัวเด็ก ดังนั้น การให้ยาลดไข้ และเช็ดตัว จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และสำคัญมากกว่า แต่ถ้าหากให้ยาลดไข้แล้ว เช็ดตัวแล้ว แต่ไข้ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ก็ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาโดยด่วน

 

ภาวะขาดน้ำของเด็กเล็ก เราควรให้เด็กดื่มน้ำเปล่าทดแทนใช่หรือไม่?

ในกรณีที่เด็กเป็นไข้ และมีการสูญเสียน้ำในร่างกายมากเกินไป โดยปกติเราจะเข้าใจว่าจะต้องให้เด็กกินน้ำเพิ่มเติม แต่มีบทวิจัยเกี่ยวกับ เด็กทารกควรให้ดื่มแต่น้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องให้น้ำเปล่า หากเป็นกรณีร่างกายขาดน้ำแบบนี้ เราควรที่จะให้น้ำเปล่ากับเด็กด้วย หรือควรที่จะให้นมแม่กับเด็กเพียงอย่างเดียว

จากกรณีนี้ คุณหมอวอร์มได้ให้คำตอบว่า “ในทางการแพทย์ น้ำนมแม่ถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดกับทารก เพราะเป็นสารน้ำที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น และมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ทารก ดังนั้น การให้นมแม่อย่างเดียวก็เพียงพอที่จะทำให้เด็กได้สารน้ำครบถ้วนอยู่แล้ว และย่อมดีกว่าการให้น้ำเปล่า อย่างไรก็ดี ถ้าเด็กมีไข้สูงและดูดนมน้อย ก็อาจจะเสี่ยงกับภาวะขาดน้ำได้อยู่ ในกรณีนั้น ก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา และ พิจารณาว่าต้องให้สารน้ำเพิ่มทางหลอดเลือดดำหรือไม่ เป็นต้น”

 

ยาลดไข้สำหรับเด็กแรกเกิด ใช้อย่างไร?

 

ใช้ยาลดไข้บ่อย ๆ จะเกิดการดื้อยาหรือไม่?

เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลาย ๆ คนอยากรู้และเป็นกังวล ซึ่งคุณหมอวอร์ม ก็ได้กล่าวว่า “การดื้อยา เป็นศัพท์ที่ใช้ในกลุ่มยาปฏิชีวนะเป็นหลัก ซึ่งหมายถึงการที่เชื้อโรค (แบคทีเรีย) เริ่มทนต่อฤทธิ์ยา มีสาเหตุมาจากการหยุดยาปฏิชีวนะเร็วเกินไป หรือ ขนาดยาไม่ถึงระดับ แต่ไข้เกิดจากสารเคมีที่เม็ดเลือดขาวผลิตขึ้น และยาลดไข้ก็ช่วยต้านฤทธิ์สารดังกล่าว เพื่อบรรเทาอาการ จึงไม่เกิดภาวะดื้อยาใด ๆ แม้จะมีการใช้หลายครั้ง”

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ ก็สามารถไว้วางใจกับการให้ยาลดไข้ลูกกันแล้วนะคะ เพราะเป้าหมายที่สำคัญสำหรับเด็กวัยนี้ คือการไม่ให้เด็กมีภาวะไข้ตัวร้อนเป็นเวลานานเป็นสิ่งที่เราจะต้องโฟกัสมากที่สุด

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

สุดท้ายนี้ คุณหมอวอร์ม ยังฝากย้ำถึงผู้ปกครองเด็กอีกว่า ถ้าเด็กมีไข้ ก็จะแนะนำให้เช็ดตัว และใช้ยาลดไข้ แต่ถ้าไข้ยังไม่ทุเลาใน 2-3 วัน ก็ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและตรวจรักษาเพิ่มเติม

 

ขอขอบคุณ : นพ. วรณัฐ ปกณ์รัตน์ (คุณหมอวอร์ม) แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เมื่อลูกไม่สบายจะพาไปฉีดวัคซีนดีไหม?

วิธีตวงยาน้ำ และอุปกรณ์ตวงยาน้ำ ตวงยาลดไข้ของลูก แก้อาการลูกเป็นไข้ ตวงยาน้ำอย่างไรให้พอดี

แม่ไม่สบายให้นมลูกได้ไหม ถ้าลูกเข้าเต้าตอนเราป่วยลูกจะป่วยไหม?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Arunsri Karnmana

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ยาลดไข้สำหรับเด็กแรกเกิด ใช้อย่างไร? แบบไหนถึงจะเหมาะกับเด็ก?
แชร์ :
  • รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

    รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

  • สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

    สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

    รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

  • สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

    สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ