โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่ใช่โรคที่ควรไว้วางใจ โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจะมีอาการ ในระยะเวลาประมาณ 2.5 ปี และอาการอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต หากมีภาวะหัวใจล้มเหลว และติดเชื้อในปอด ซึ่งโรคร้ายนี้มีความรุนแรงถึงชีวิต มาดูสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาของ กล้ามเนื้ออ่อนแรง กัน
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง คืออะไร?
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic Lateral Sclerosis : ALS) เป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท ที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาท ที่จะนำคำสั่งในสมอง และไขสันหลัง ซึ่งโรคนี้จะค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัวได้ และอาการอาจรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวก็เมื่ออาการป่วยทำให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตประจำวันแล้ว
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจากอะไร?
สาเหตุของโรคนี้มักเกิดจากเซลล์ประสาทเสื่อมสภาพ หรือ เซลล์ประสาทถูกทำลาย ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอ่อนแรง ซึ่งเซลล์ประสาทในส่วนนี้ จะทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหว โดยจากสมมติฐานเชื่อว่า โรคนี้เกิดจากหลากหลายปัจจัยร่วมกัน ดังนี้
- ปัจจัยทางพันธุกรรม
- ปัจจัยทองสิ่งแวดล้อม โดยมีประวติสัมผัสกับโลหะ หรือ สารเคมีบางชนิดที่ทำให้ระบบประสาท ทำงานผิดปกติ
อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อายุเฉลี่ยของผู้ป่วย กล้ามเนื้ออ่อนแรง อยู่ระหว่าง 60-65 ปี ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว มักพบโรคนี้ในผู้ป่วยเพศหญิง มากกว่าเพศชาย 1.5 เท่า และมีโอกาสน้อย ที่จะเกิดในผู้ป่วยที่อายุยังน้อย หรือ รุนลูก รุ่นหลาน
อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงที่มือ แขน ขา หรือ เท้าข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ยกแขนเหนือศีรษะไม่ได้ กำมือถือของไม่ได้ ข้อมือ ข้อเท้าตก เดินแล้วลมบ่อย ๆ หรือ สะดุดบ่อย ขึ้น-ลง บันไดลำบาก
อาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรง จะค่อย ๆ มีอาการรุนแรงขึ้น และอาจลุกลามไปทั้งสองข้าง ซึ่งในบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ของแขน และขา ทั้ง 2 ข้างอยู่ นอกจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้ว อาจมีอาการกล้ามเนื้อรีบร่วมด้วย
ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเวลานอนราบ โดยอาจตื่นมากลางดึก เพราะเกิดอาการเหนื่อย หายใจไม่สะดวกได้
โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งอาจเริ่มต้นที่ มือ เท้า แขน จากนั้นจะค่อย ๆ ลามไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาการต่าง ๆ สามารถสังเกตได้ ดังนี้
- กล้ามเนื้อแขน ทำให้แขนไม่มีแรง ไม่สามารถกำมือได้ จากนั้นแขนจะลีบลง แล้วอาการจะลุกลามไปยังแขนอีกข้างหนึ่ง
- มีอาการปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง อาจมีอาการกระตุกที่แขน ไหล่ และลิ้นแข็ง เกร็ง ขยับร่างกายได้ยาก บางรายอาจมีอาการรุนแรง ถึงขั้นไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้
- ไม่สามารถควบคุมกระบังลมได้ จึงหายใจได้ไม่สะดวก
การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถวินิจฉัยได้ ด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และใช้ตัวช่วยอุปกรณ์เสริม ดังนี้
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยวินิจฉัย เกี่ยวกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อโดยตรง
- การตรวจชักนำประสาท เพื่อการกระตุ้นเส้นประสาท และวัดการทำงานของเส้นประสาท
- การตรวจ MRI เพื่อตรวจความผิดปกติ ของโพรงกระดูก หรือ ไขกระดูก
- การเจาะไขสันหลัง เป็นการวินิจฉัยที่เกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง และสมอง
การป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคนี้มีสาเหตุที่ไม่ชัดเจน จึงไม่สามารถป้องกันได้อย่างแน่นอน แต่สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ ดังนี้
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมี หรือ รังสีต่าง ๆ ที่เป็นอันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง โลหะหนัก เป็นต้น
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงรักษาหายหรือไม่?
โรคนี้ยังไม่มีวิธีการรักษา ที่สามารถทำให้หายขาดได้ สามารถทำได้เพียงการรักษาไปตามอาการ เพื่อชะลออาการของโรคเท่านั้น ซึ่งผู้ป่วยมักเสียชีวิต ภายหลังแสดงอาการได้ประมาณ 2-3 ปี แต่บางรายอาจอยู่ได้นานเป็น 10 ปี หากได้รับการดูแล และการรักษาที่เหมาะสม
ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ของอาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้ยากต่อการรักษา แพทย์จึงทำได้เพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น ดังนั้น ใครที่กำลังสงสัยว่าตนเองป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง และลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้
ที่มาข้อมูล โรงพยาบาลศิครินทร์ , โรงพยาบาลเพชรเวช
บทความที่น่าสนใจ
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อะไรคือสาเหตุทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง?
ผักผลไม้ ป้องกันโรค กล้ามเนื้ออ่อนเเรง
ลูกไม่พลิกคว่ำ อาจเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!