X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การวางแผนครอบครัว ทำอย่างไร จำเป็นแค่ไหนก่อนมีลูก?

บทความ 5 นาที
การวางแผนครอบครัว ทำอย่างไร จำเป็นแค่ไหนก่อนมีลูก?

รู้หรือไม่ว่า การวางแผนครอบครัว เป็นสิ่งสำคัญของชีวิตยุคใหม่ แนวคิดนี้เกี่ยวข้องกับวิธีการ และเทคนิคที่ช่วยให้คู่รัก หรือคนทั่วไปสามารถวางแผนครอบครัวได้ ซึ่งจะส่งผลต่อทั้งทางการเงิน สังคม และชีวิตส่วนบุคคลในอนาคต สำหรับคู่รักที่ต้องการสร้างครอบครัว การเลือกวิธีการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญมาก

 

การวางแผนครอบครัว คืออะไร?

คำว่า “การวางแผนครอบครัว” หมายถึง กระบวนการตัดสินใจอย่างมีสติในการมีหรือไม่มีลูก การวางแผนครอบครัวเป็นการฝึกบริหารจำนวน และระยะเวลาของการตั้งครรภ์ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของพ่อแม่ และลูก เป้าหมายหลักของการวางแผนครอบครัวคือ การให้อำนาจแก่คู่สามีภรรยาในการตัดสินใจเลือกชีวิตครอบครัวที่ต้องการ ส่งผลได้จริงในอนาคต วิธีการวางแผนครอบครัวหลัก ๆ ได้แก่ การคุมกำเนิดในแบบต่าง ๆ เช่น แบบฮอร์โมน, การคุมกำเนิดแบบธรรมชาติ, การคุมกำเนิดแบบถาวร และการคุมกำเนิดฉุกเฉิน เป็นต้น ไปจนถึงการวางแผนมีลูกตามธรรมชาติ การประมาณช่วงเวลาที่ต้องการมีลูก ต้องการมีลูกกี่คน ห่างกันกี่ปี และการทำหมัน เป็นต้น

การวางแผนครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญของการเป็นพ่อแม่ที่มีความรับผิดชอบ เป็นกระบวนการจัดการจำนวน และระยะห่างของบุตรในครอบครัว โดยใช้การคุมกำเนิด หรือวิธีการอื่น ๆ โดยปกติแล้ววิธีที่ดีที่สุดสำหรับคู่รักนั้น ขึ้นอยู่กับประวัติสุขภาพ ความชอบ และรูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบัน การวางแผนครอบครัวมีความสำคัญเนื่องจากช่วยให้บุคคลสามารถใช้สิทธิในการลดการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ ป้องกันการติดเชื้อ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราการเสียชีวิตของทารกในอนาคตได้ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : เลี้ยงลูกใช้เงินเท่าไหร่ เลี้ยงลูกหนึ่งคนต้องเตรียมเงินแค่ไหน ค่าอะไรบ้าง?

 

วิดีโอจาก : PPAT Channel ปรึกษาวางแผนครอบครัว

 

ทำไมจึงต้องวางแผนครอบครัว?

  • เพื่อควบคุมการตั้งครรภ์ เลี่ยงการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ก่อนที่คู่รักจะเต็มใจตกลงกันว่าจะมีบุตร
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้วิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม เนื่องจากมีหลายวิธี การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้ได้รู้วิธีเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์มากที่สุด
  • ช่วยในการวางแผนการมีลูกในช่วงเวลาที่เหมาะสม หรือในช่วงเวลาที่ต้องการ
  • วางแผนการมีลูกที่มากกว่า 1 คน ทั้งระยะห่างของลูกแต่ละคนตามความต้องการของคู่รัก หรือตามความเหมาะสมของผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุเหมาะสมต่อการตั้งครรภ์
  • ได้รับคำตอบจากคำถามเกี่ยวกับการคุมกำเนิด และการวางแผนมีลูกจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ซึ่งมีประโยชน์กว่าการปรึกษาเพื่อน หรือคนในครอบครัวแน่นอน

 

การวางแผนครอบครัวเบื้องต้น

  • ทุกอย่างเริ่มที่คู่ชีวิต : สิ่งที่สำคัญมากในการวางแผนครอบครัว คือ ชีวิตคู่รัก การเลือกคู่ชีวิตที่จะวางแผนไปด้วยกันสำคัญมาก ต้องตัดสินใจให้ดี เลือกคนที่คิดว่าสามารถอยู่ด้วยกันได้ มีความเข้าใจกัน รู้จักกันในหลายมุมมากพอ เพื่อป้องกันการหย่าร้างในอนาคต
  • คุมกำเนิดตลอด : ในช่วงนี้หากยังไม่ต้องการที่จะมีบุตร ไม่ควรมองข้ามการคุมกำเนิดที่ได้ผลชัดเจน โดยเฉพาะฝ่ายชายไม่ว่าอย่างไรก็ควรสวมถุงยางอนามัย เพราะนอกจากจะคุมกำเนิดแล้ว ยังเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายชายโดยตรง
  • วางแผนมีลูก : คู่รักควรพูดคุยกันอย่างจริงจังว่าต้องการมีลูกตอนไหน ในช่วงเวลาที่เลือกเหมาะสมไหม ต้องพิจารณาให้ดี โดยให้ยึดหลักความพร้อมเป็นสำคัญในเรื่องของการเงิน ที่อยู่อาศัย และความพร้อมของร่างกาย เป็นต้น เพื่อให้ลูกที่เกิดมา มีคุณภาพชีวิตที่ดี
  • เตรียมพร้อมเป็นพ่อแม่ : การวางแผนครอบครัวมีปัจจัยหลัก คือ การพิจารณาเกี่ยวกับการมีลูกเมื่อพร้อม ก่อนที่จะตัดสินใจมีลูก คู่รักต้องมั่นใจในความพร้อมของตนเอง ว่ามีความพร้อมที่จะเลี้ยงลูกไหม โดยไม่ใช่แค่เรื่องเงิน หรือร่างกาย แต่ยังรวมไปถึงความรู้เกี่ยวกับทารก และเด็กเล็กด้วย

 

การวางแผนครอบครัว

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนมีบุตรคืออะไร?

  • ช่วงอายุที่เหมาะสมของผู้หญิง : ในช่วงอายุที่ผู้หญิงสามารถมีลูกได้โดยมีความเสี่ยงต่ออันตราย ความผิดปกติ หรือยังอยู่ในช่วงที่มีลูกได้ง่ายที่สุด จะอยู่ในช่วง 20 – 30 ปี ไม่ควรมากกว่า 35 ปี เพราะความเสี่ยงภาวะต่าง ๆ จะเพิ่มมากขึ้นได้
  • ประจำเดือนของฝ่ายหญิง : หากต้องการวางแผนมีบุตร แต่มีได้ยาก การวางแผนจากรอบเดือนของฝ่ายหญิงสำคัญมาก หากฝ่ายหญิงรอบเดือนไม่ปกติ จะทำให้คำนวณโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ยากมาก
  • การมีเพศสัมพันธ์ : ความบ่อยของการมีเพศสัมพันธ์ไม่ควรบ่อยเกินไป ควรเว้นบ้าง 2 – 3 วัน เนื่องจากการพยายามมากเกินไป บ่อยเกินไป จะยิ่งทำให้ฝ่ายชายอ่อนเพลีย ส่งผลต่ออสุจิทำให้ไม่แข็งแรงได้
  • ความแข็งแรงของร่างกาย : ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายชาย หรือฝ่ายหญิง ควรตรวจร่างกายเสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจทำให้อยู่ในภาวะมีลูกยาก

 

การวางแผนครอบครัว 2

 

ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือไม่?

โดยปกติแล้วหากเลือกใช้การวางแผนครอบครัวแบบเบื้องต้นตามที่เราได้แนะนำไปก็พอจะใช้ได้อยู่บ้าง แต่ความเฉพาะของความต้องการ และรูปแบบการใช้ชีวิตของคู่รักแต่ละคู่นั้นมีความแตกต่างกัน ทำให้อาจเจอปัญหา หรือมีข้อสงสัยเกิดขึ้นระหว่างการวางแผน เมื่อถึงจุดนั้นการหาคำตอบที่ชัดเจน ก็ควรเป็นคำตอบที่มาจากผู้เชี่ยวชาญจึงจะดีที่สุด มากกว่าการคิดเอาเองว่าต้องแก้แบบนั้นแบบนี้

ดังนั้นเราจึงสรุปให้เลยว่า แม้จะมีการวางแผนเอาไว้เป็นพื้นฐานแล้ว แต่เพื่อความครอบคลุม และการรับมือกับปัญหาในอนาคต คู่รักควรจะต้องเข้าพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาในเรื่องนี้ ซึ่งสามารถทำได้ง่ายในสถานพยาบาลต่าง ๆ หรือคลินิกที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังต้องมีการตรวจร่างกาย เพื่อหาเชื้อของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือเชื้อที่ส่งต่อไปยังลูกได้ เช่น ตรวจหาโรคทางพันธุกรรม-ธาลัสซีเมีย (Hb Typing), ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, ตรวจหาการติดเชื้อ เอช ไอ วี หรือ เชื้อเอดส์ (Anti HIV), ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน (Rubella IgG) และตรวจหาเชื้อซิฟิลิส (VDRL) เป็นต้น

 

กินยาคุมนาน ๆ จะมีลูกได้ไหม?

ความเชื่อที่ว่าการกินยาคุมนาน ๆ อาจไม่เป็นความจริง จริงอยู่ที่ยาคุมกำเนิดช่วยป้องกันการตั้งท้อง แต่ก็ไม่ส่งผลให้เกิดภาวะการมีลูกยากแต่อย่างใด เพราะการที่มีลูกยากนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อายุ ร่างกาย โรคประจำตัว คุณภาพของอสุจิและไข่ และปัจจัยอื่น ๆ ดังนั้นการกินยาคุมกำเนิดจึงไม่ทำให้มีลูกยาก

แต่ถ้าหากคุณแม่รับประทานยาคุมกำเนิดเวลานาน ๆ มากกว่า 5 ปีขึ้นไป อาจทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลงได้ ส่งผลให้ตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนว่ามีความแข็งแรงมากเพียงใด หากคุณแม่กินยาคุมมานานกว่า 5-10 ปี ควรมาพบแพทย์เพื่อวางแผนการมีลูกจะดีกว่า

 

หยุดกินยาคุม จะท้องตอนไหน?

สำหรับคุณแม่ที่กังวลว่าหากหยุดกินยาคุมจะตั้งครรภ์ได้ตอนไหน โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อหยุดยาคุมไป 2-3 เดือน และประจำเดือนกลับมาปกติแล้ว ก็แสดงว่าการทำงานของรังไข่และกระบวนการตกไข่กลับมาเป็นปกติ คุณแม่จึงควรวางแผนในการมีเพศสัมพันธ์อย่างดี โดยแนะนำให้ใช้วิธีการนับวันไข่ตกดู หรือให้ลองปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ดู ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการมีลูกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : หยุดกินยาคุม ได้ตอนไหน เมื่อไหร่จะกลับมาตั้งครรภ์ได้เหมือนเดิม?

 

การวางแผนครอบครัว

 

หยุดกินยาคุมจะมีผลข้างเคียงหรือไม่?

เมื่อหยุดกินยาคุมคุณแม่อาจกลัวว่าจะเกิดผลข้างเคียง แต่จริง ๆ แล้วไม่ต้องกังวลใจไป เพราะเมื่อเราหยุดกินยาคุมร่างกายก็จะปรับตัวระยะหนึ่ง โดยช่วงแรกประจำเดือนจะมาน้อยหรือคลาดเคลื่อนขึ้นอยู่กับร่างกายแต่ละคน ซึ่งเมื่อฮอร์โมนกลับมาเป็นปกติคุณแม่ก็จะกลับมามีประจำเดือนเหมือนเดิม นอกจากนี้ หากหยุดกินยาคุมแล้วก็อย่าลืมมีเพศสัมพันธ์กับคุณสามีสม่ำเสมอ หากยังไม่มีการตั้งครรภ์จริง ๆ ก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนการมีบุตรต่อไป

 

บทความจากพันธมิตร
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?

การวางแผนครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้คู่รักสามารถตัดสินใจอย่างรอบรู้เกี่ยวกับการเป็นพ่อแม่ ด้วยการสามารถหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ ลดความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไปจนถึงเลือกการมีลูกอย่างเหมาะสม และปลอดภัย ทุกครอบครัวมีความต้องการและความพอใจที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาว่าวิธีใดดีที่สุดสำหรับคู่รักแต่ละคู่

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วางแผนการศึกษาเพื่อลูก คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มจากอะไรบ้าง

ฝากไข่ คืออะไร ราคาเท่าไหร่ อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนอยากมีลูก

การทำ IVF หรือ เด็กหลอดแก้ว มีขั้นตอนอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • ก่อนตั้งครรภ์
  • /
  • การวางแผนครอบครัว ทำอย่างไร จำเป็นแค่ไหนก่อนมีลูก?
แชร์ :
  • ภาวะน้ำคร่ำมาก อาการเป็นอย่างไร อันตรายในคุณแม่ตั้งครรภ์

    ภาวะน้ำคร่ำมาก อาการเป็นอย่างไร อันตรายในคุณแม่ตั้งครรภ์

  • แพ้ท้องรุนแรง อาเจียนบ่อย จะเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ไหม

    แพ้ท้องรุนแรง อาเจียนบ่อย จะเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ไหม

  • ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน ป้องกันได้ไหม

    ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน ป้องกันได้ไหม

  • ภาวะน้ำคร่ำมาก อาการเป็นอย่างไร อันตรายในคุณแม่ตั้งครรภ์

    ภาวะน้ำคร่ำมาก อาการเป็นอย่างไร อันตรายในคุณแม่ตั้งครรภ์

  • แพ้ท้องรุนแรง อาเจียนบ่อย จะเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ไหม

    แพ้ท้องรุนแรง อาเจียนบ่อย จะเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ไหม

  • ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน ป้องกันได้ไหม

    ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน ป้องกันได้ไหม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว