X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปวดหัวคิ้ว อาการนี้เป็นบ่อยใช่ไหม เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร ?

บทความ 5 นาที
ปวดหัวคิ้ว อาการนี้เป็นบ่อยใช่ไหม เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร ?

อาการปวดหัวเป็นอาการทางการแพทย์ทั่วไปที่สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย อย่างไรก็ตาม หลายคนไม่ทราบว่าอาการ ปวดหัวคิ้ว อาจเป็นปัญหาที่อาจมาจากอาการปวดศีรษะรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในบริเวณรอบดวงตา และมักมีอาการปวดบริเวณหน้าผาก ขมับ รวมไปถึงบริเวณรอบดวงตาร่วมด้วย อาการปวดหัวคิ้วมีสาเหตุที่แตกต่างกันเล็กน้อย และความรุนแรงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

 

สาเหตุที่เป็นไปได้ ที่ทำให้เกิดอาการ ปวดหัวคิ้ว

อาการปวดหัวคิ้วเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการปวดหัวที่เกิดมาจากอารมณ์ หรือความรู้สึกที่มีความตึงเครียด มักเกิดจากความตึง และจุดกระตุ้นในกล้ามเนื้อ และพังผืดบริเวณคิ้ว และขมับ บริเวณที่เกิดการตึงเหล่านี้ อาจส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้นได้ ซึ่งอาจลามไปถึงบริเวณโดยรอบไม่ว่าจะเป็นดวงตา หน้าผาก และบริเวณอื่น ๆ บนใบหน้า ความเครียดรวมไปถึงความเมื่อยล้า ก็มีส่วนทำให้เกิดอาการปวดหัวคิ้วได้เหมือนกัน นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้จากภาวะต่าง ๆ ได้ด้วย เช่น ไซนัสอักเสบ และอาการปวดตาที่อาจทำให้ปวดหัวคิ้วได้เช่นกัน เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปวดหัวข้างซ้าย ปวดหัวข้างเดียว มีสาเหตุจากอะไร และอันตรายอย่างไร

 

วิดีโอจาก : คุยเรื่องสมอง กับหมอนุ่ม

 

สัญญาณ และอาการของความเสี่ยงปวดหัวคิ้ว

สัญญาณ และอาการที่พบได้บ่อยที่สุดอย่างหนึ่งของอาการปวดหัวคิ้ว คือ ความรู้สึกหม่น ๆ ตุบ ๆ ที่บริเวณเหนือคิ้วโดยตรง ความเจ็บปวดนี้อาจรุนแรงขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของดวงตา หรือเมื่อคุณสัมผัสกับแสงที่จ้ามากเกินไป เช่น การมองหน้าจอมือถือ หรือจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น อาการทั่วไปอื่น ๆ ได้แก่ ความไวต่อแสง และเสียงที่เพิ่มขึ้นจะสามารถทำให้มีอาการปวดรอบขมับ และดวงตาได้

ในบางบุคคลอาการปวดอาจส่งผลกระทบไปถึงการปวดคอ และไหล่ หากอาการปวดหัวคิ้วยังคงอยู่นานกว่า 2 – 3 ชั่วโมง หรือมีท่าทีว่าไม่ได้บรรเทาลง มีอาการที่หนักขึ้นเรื่อย ๆ อย่ารอช้า ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจโดยด่วน

 

3 วิธีช่วยบรรเทา รักษาอาการปวดหัวคิ้ว

เมื่อพูดถึงการรักษาอาการปวดหัวบริเวณคิ้ว มีตัวเลือกอยู่หลายช่องทางที่เราสามารถช่วยแนะนำได้ ตัวเลือกแรก คือ ใช้ยาบรรเทาปวดที่จำหน่ายโดยเภสัชกร เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือพาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นต้น สิ่งนี้สามารถช่วยลดความเจ็บปวด และการอักเสบที่เกิดจากอาการปวดหัวได้ อีกทางเลือกหนึ่งคือการประคบเย็น หรือประคบน้ำแข็งที่บริเวณนั้นเพื่อลดอาการบวม สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ หรือจะเป็นวิธีสุดท้าย คือ การไปพบแพทย์สามารถช่วยระบุสาเหตุของอาการปวดที่อาจซ่อนอยู่ และพิจารณาว่าจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีไหนหรือไม่

 

1. ยาแก้ปวดที่ขายตามร้านยา

ยาแก้ปวดที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ร้านยาต่าง ๆ เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือพาราเซตามอล (Paracetamol) นอกจากนี้ยังมียาชนิดอื่น ๆ แต่ก่อนตัดสินใจซื้อ ควรสอบถามเภสัชกร หรือแพทย์ก่อน อย่าตัดสินใจซื้อยาใด ๆ มาทานเองโดยไม่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ การกินยาง่าย ๆ นี้ เป็นวิธีทั่วไปที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวบริเวณคิ้วได้ ยาเหล่านี้ทำงานโดยลดการอักเสบ และบรรเทาอาการปวดหัวชั่วคราว นอกจากนี้ให้แน่ใจว่าศึกษาวิธีการกิน และจำนวนการกินอย่างถูกต้อง เพื่อผลลัพธ์ที่ออกมาดีที่สุด

 

ปวดหัวคิ้ว

 

2. เพิ่มการพักผ่อนง่าย ๆ ที่บ้าน

การเยียวยาอาการปวดที่บ้าน สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวบริเวณคิ้ว และความรู้สึกไม่สบายที่เกี่ยวข้องกับอาการนี้ได้ ซึ่งสามารถทำได้ไม่ยาก เช่น ให้พักผ่อนให้เพียงพอ และใช้การประคบเย็นบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อลดการอักเสบ และบวมในบริเวณนั้น นอกจากนี้การดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น ร่วมกับการรับประทานยาที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้อาการปวดบรรเทาได้เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในบางกรณีการทาน้ำมันหอมระเหย เช่น ลาเวนเดอร์ หรือยูคาลิปตัส หรือครีมทาเฉพาะที่ ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่มีประโยชน์เช่นกัน สุดท้ายการประคบอุ่น หรือการอาบน้ำอุ่นให้สบายตัว สามารถช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อในบริเวณที่มีอาการปวดได้ด้วย

 

3. ตัวเลือกสำคัญคือการเข้าพบแพทย์

นอกเหนือจากการกินยาที่ซื้อมาจากร้านยา และการเยียวยาบรรเทาอาการปวดด้วยตนเองที่บ้านแล้ว ยังมีตัวเลือกการรักษาทางการแพทย์สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัวบริเวณคิ้วอีกด้วย ถือเป็นวิธีโดยทั่วไปที่ควรทำ กรณีอาการปวดไม่หาย หรือรุนแรงมากขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาที่แตกต่างจากตัวยาเดิม หรือแนะนำการทำกายภาพบำบัดบรรเทาอาการปวด เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริงว่าอาการปวดมาจากไหน หากมีสาเหตุที่ร้ายแรง เช่น โรคร้ายต่าง ๆ การตรวจพบแต่เนิ่น ๆ จะทำให้สามารถรักษาได้ทันท่วงที

 

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์ ?

หากอาการปวดหัวคิ้วของคุณมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ สับสน หรืออาเจียน เป็นต้น สิ่งสำคัญ คือ ต้องไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้หากอาการปวดหัวคิ้วของคุณยังคงอยู่ และไม่ดีขึ้นกินเวลาหลายชั่วโมง คุณควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจ สามารถช่วยแยกแยะอาการ และสาเหตุของอาการปวดได้ รวมไปถึงอาการปวดที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้แม้อาการปวดจะไม่หนัก เป็นแล้วหาย แต่ถ้าหากเป็นบ่อย หรือทำให้ไม่สบายใจ การเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจ และรับคำแนะนำในการรักษาก็เป็นสิ่งที่ควรทำ

 

ปวดหัวคิ้ว 2

 

จะป้องกันอาการปวดหัวคิ้วได้อย่างไรบ้าง ?

หนึ่งในวิธีที่ช่วยในการป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับการจัดการอาการปวดหัวคิ้ว คือ การป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นตั้งแต่แรก ด้วยการเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ปวดกรณีรู้ที่มาของอาการอย่างแน่ชัด โดยปกติแล้วหากไม่ได้มีโรคร้ายใด อาการปวดหัวคิ้วมักมาจากหลายสิ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้ เช่น ความเครียด ความเหนื่อยล้า การรับประทานอาหาร และผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เป็นต้น  โดยเฉพาะการจัดการระดับความเครียด จะช่วยป้องกันอาการปวดหัวคิ้วได้ในระยะยาว เพราะคนส่วนมากมักมีอาการปวดจากสาเหตุความเครียดเป็นหลัก นอกจากนี้หากคุณรู้สึกปวดหัว สิ่งสำคัญ คือ อย่าลืมที่จะบรรเทาอาการปวด อย่าปล่อยไว้ เพราะคิดว่าจะหายไปเอง

 

สาเหตุของอาการปวดหัวคิ้วนั้นบางรายก็ยากที่จะระบุได้ ทั้งจากสาเหตุความเครียด อาการแพ้ หรือความเมื่อยล้าของดวงตา เป็นต้น  แต่อาการปวดเหล่านี้สามารถวนกลับมาได้ จนหลายคนรู้สึกว่าชินแล้ว คงไม่ต้องหาหมอ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิด เพราะอาการปวดหัวไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายได้ด้วย หากสงสัยในอาการตนเอง อย่าพลาดที่จะไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำตอบที่ชัดเจนที่สุด

 

บทความจากพันธมิตร
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องปวดหัว กินพาราได้ไหม ปวดหัวไมเกรน อันตรายต่อลูกในท้องหรือเปล่า

5 วิธีรักษาอาการปวดหัว ให้กับคุณแม่ที่ทำได้เอง

อาการปวดหัวตอนท้อง คนท้องปวดหัวกินยาอะไร ตั้งครรภ์ ปวดหัวแบบนี้อันตรายหรือเปล่า

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ปวดหัวคิ้ว อาการนี้เป็นบ่อยใช่ไหม เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร ?
แชร์ :
  • โรคถุงน้ำในอัณฑะ โรคที่พบบ่อยในเด็ก มีวิธีรักษาอย่างไร อันตรายไหม ?

    โรคถุงน้ำในอัณฑะ โรคที่พบบ่อยในเด็ก มีวิธีรักษาอย่างไร อันตรายไหม ?

  • สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

    สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • โรคถุงน้ำในอัณฑะ โรคที่พบบ่อยในเด็ก มีวิธีรักษาอย่างไร อันตรายไหม ?

    โรคถุงน้ำในอัณฑะ โรคที่พบบ่อยในเด็ก มีวิธีรักษาอย่างไร อันตรายไหม ?

  • สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

    สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ