X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกหลับยาก แม่ทำไงดี มาดูวิธีกล่อมลูกให้หลับใน 5 ขั้นตอน

บทความ 5 นาที
ทารกหลับยาก แม่ทำไงดี มาดูวิธีกล่อมลูกให้หลับใน 5 ขั้นตอน

เป็นเรื่องปกติ ที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ จะต้องเจอกับ ทารกหลับยาก ในตอนกลางคืน การพาลูกเข้านอนไม่ใช่เรื่องง่าย มองผ่าน ๆ อาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่สำหรับพ่อแม่มือใหม่ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะต้องอดหลับอดนอนในตอนกลางคืนบ่อย ๆ จนเหนื่อย วันนี้ เราเลยจะมาแนะนำวิธีกล่อมเด็กที่ได้ผลดี ๆ ให้คุณพ่อคุณแม่กัน จะมีวิธีไหนบ้าง มาดูกันเลย

 

กล่อมลูก ทำยังไงให้เด็กหลับปุ๋ยได้ไว

ลูกนอนยาก ลูกไม่ยอมนอน เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านหนักใจอยู่ไม่น้อย “คุณแม่ขา หนูยังไม่ง่วง” “คุณพ่อครับ ผมอยากเล่นต่ออีก!” “หนูหิว หนูอยากไปห้องน้ำ!” คุณพ่อคุณแม่คงจะคุ้นเคยกับประโยคเหล่านี้กันดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ อาจเป็นสิ่งที่ลูกพูดกับเราคืนแล้วคืนเล่าเพราะยังไม่อยากเข้านอน และถึงแม้ว่าจะทำให้ลูกเข้านอนได้แล้ว แต่ไม่นานลูกก็สามารถหาเหตุผลอื่นเพื่อลุกขึ้นมาจากเตียงได้อยู่ดี หากคุณพ่อคุณแม่ต้องพบเจอกับปัญหาเหล่านี้ในช่วงกลางคืนบ่อย ๆ ลองใช้วิธีต่อไปนี้เลย

 

1. เข้านอนในเวลาเดิม

เพื่อให้ลูกเคยชินกับตารางเวลา และรู้ว่าเมื่อไหร่คือเวลานอนของตัวเอง นอกจากจะช่วยให้เด็กง่วงในเวลาเดิม ๆ ได้แล้ว ยังทำให้เด็กได้ประโยชน์จากการบริหารเวลาอีกด้วยเมื่อเด็กโตขึ้น ซึ่งก็เคยมีคุณแม่ท่านหนึ่งแบ่งปันประสบการณ์ให้เราฟัง ว่าครอบครัวของเธอ เริ่มต้นกิจวัตรยามเย็นด้วยการอาบน้ำ จากนั้นก็เป็นการเล่านิทานก่อนนอน และปิดไฟ ทำแบบนั้นกันตั้งแต่ลูกอายุได้เก้าเดือน จนลูกชินและไม่งอแงตอนที่ต้องเข้านอน

 

2.  ฟังเหตุผลของลูกก่อน

หากลูกลุกขึ้นมาจากเตียง ให้ฟังเหตุผลของลูกก่อน หากลูกลุกขึ้นมาโดยบอกว่าตัวเองหิวน้ำ ก็ให้หาแก้วน้ำหรือหาขวดน้ำมาวางไว้ที่โต๊ะข้างเตียง เพื่อที่ลูกจะได้ดื่มได้และเข้านอนต่อ แต่หากลูกอ้างว่าอยากเข้าห้องน้ำ ก็ให้พาลูกเข้าห้องน้ำก่อนเข้านอนเสีย เขาจะได้ไม่มีข้ออ้างอีก

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ : เคล็ดลับสร้างตารางนอนทารก ให้ลูกนอนเป็นเวลา

 

Advertisement

3. ให้ลูกทำสิ่งต่าง ๆ ให้เสร็จก่อนเข้านอน

ก่อนเข้านอน ให้ถามลูกว่าลูกอยากได้อะไร หรือต้องทำอะไรก่อนนอนหรือเปล่า หากลูกปฏิเสธว่าไม่อยากได้อะไรแล้ว แต่ยังคงลุกขึ้นมาจากเตียงตอนกลางคืน คุณก็จะได้บอกลูกได้ว่า ตอนนั้นลูกบอกว่าไม่ต้องการอะไรแล้ว และให้จัดการส่งลูกเข้านอนต่อได้เลย

 

4. ให้รางวัลเมื่อเด็กทำได้ดี

บางครั้งการให้รางวัลก็ได้ผลเหมือนกัน หากลูกนอนอยู่กับเตียงและไม่ลุกไปไหนเลยในคืนแรก อาจจะลองให้รางวัลลูกเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือให้คำชมก็ได้ รางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรใหญ่โต แค่สติ๊กเกอร์ ขนมเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือรูปหน้ายิ้มปั๊มที่หลังมือก็เพียงพอแล้ว

 

5. ทารกหลับยาก ควรให้ลูกนอนกลางวันน้อยลง

หลาย ๆ ครั้ง เด็กมักจะตื่นตัวในตอนกลางคืนและไม่ง่วงเพราะนอนกลางวันเยอะจนร่างกายกระปรี้กระเปร่า หากเด็กไม่ยอมนอนตอนกลางคืนเลยจริง ๆ ให้ลองชวนเด็กเล่นในตอนกลางวันดูได้ เพื่อที่เขาจะได้ง่วงไวในตอนกลางคืน แต่ก็อย่าให้เด็กอดนอนช่วงกลางวันเยอะจนเกินไป เพราะเด็กอายุน้อย ๆ ยังคงต้องการนอนวันละหลาย ๆ ชั่วโมงอยู่

 

ทารกหลับยาก แม่ทำไงดี มาดูวิธีกล่อมลูกให้หลับใน 5 ขั้นตอน

 

เตรียมตัวเด็กก่อนนอน ให้ผ่อนคลาย สบายตัว

ก่อนการเข้านอน คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้เด็กผ่อนคลายได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • อาบน้ำอุ่นให้ลูก และลดใช้เสียงในระหว่างการอาบน้ำ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย
  • ห่อตัวลูกน้อยด้วยผ้าอ้อมที่บางเบาและอ่อนนุ่ม แต่หากเด็กอายุประมาณ 4 เดือน อาจไม่จำเป็นต้องห่อตัวแล้ว เนื่องจากหากแขนและขาเด็กถูกห่อไว้ เด็กจะไม่สามารถพลิกตัวกลับมานอนหงายได้อีก จนอาจทำให้ขาดอากาศหายใจ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
  • ให้ลูกน้อยดูดจุกนม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายในทารก (เด็กส่วนใหญ่จะเลิกใช้จุกนมเมื่อมีอายุประมาณ 7 เดือน)
  • เลือกชุดนอนที่เหมาะสมให้ลูก ไม่ควรเป็นชุดที่รัดหรือแน่นจนเกินไป เลือกชุดที่ทำจากผ้าฝ้าย และให้หลีกเลี่ยงชุดที่ทำจากผ้าใยสังเคราะห์ เพราะอาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัว เกิดการระคายเคือง และเป็นอุปสรรคต่อการนอน
  • นวดมือลูกเบา ๆ ประมาณ 15 นาทีก่อนเข้านอน เพื่อให้กล้ามเนื้อลูกผ่อนคลาย
  • สร้างบรรยากาศสลัว ๆ ในห้อง โดยการหรี่ไฟ หรือปิดไฟให้หมด
  • เล่านิทานหรือร้องเพลงกล่อมลูกก่อนนอนเป็นจังหวะซ้ำ ๆ และเบาสบาย
  • กอดและหอมลูกก่อนนอน เพื่อเพิ่มความผ่อนคลายให้ลูก
  • เตรียมให้ลูกน้อยนอนในท่าหงาย แผ่นหลังสัมผัสกับที่นอนราบ
  • ใช้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยช่วยสร้างบรรยากาศในการนอน

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ : 10 เคล็ดลับการนอน นอนยังไงให้สุขภาพดี นอนให้ดีก็มีสุขภาพดีได้ด้วย

 

ทารกหลับยาก ทารกหลับยาก ลูกไม่ยอมนอน กล่อมลูก กล่อมทารกนอน กล่อมเด็ก ให้นอนง่าย ๆ ทำยังไงได้บ้าง

 

วิธีปราบเจ้าตัวน้อย ที่ไม่ยอมหลับไม่ยอมนอน

ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะยอมนอนง่าย ๆ โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดในช่วง 3 เดือนแรก ช่วงนี้เด็กยังไม่คุ้นเคยกับโลกภายนอก คุณแม่จึงต้องเลียนแบบโลกใบเดิมของลูก โดยอาจทำได้ดังนี้

  1. ใช้ผ้าห่อตัวลูกเอาไว้ โดยให้แขนลูกแนบข้างลำตัว ราวกับถูกโอบอุ้มไว้ด้วยอ้อมกอดแสนอบอุ่น จะช่วยทำให้ลูกรู้สึกเหมือนกลับไปอยู่ในท้องของแม่อีกครั้ง
  2. อุ้มลูกด้วยท่า Side Stomach Position เพื่อช่วยให้ลูกหลับได้ง่าย และช่วยปลอบลูกให้สงบลงได้
  3. ส่งเสียง ชู่วส์ เพื่อกล่อมให้ทารกหลับได้ง่ายยิ่งขึ้นหรือเปิดเสียง White noise ให้ลูกฟัง ซึ่งเสียง White noise คือ เสียงธรรมชาติ เช่น เสียงฝนตก เสียงลม เสียงสายน้ำ เสียงบรรยากาศในป่าไม้ เป็นต้น

 

เป็นอย่างไรกันบ้างกับเทคนิคพิชิตการหลับยากของเจ้าตัวน้อย มีบ้านไหนเคยทำวิธีไหนแล้วได้ผลบ้างเอ่ย สุดท้ายแล้วถ้าการนอนไม่หลับ หรืออาการหลับยากของลูกน้อยของคุณดูเหมือนจะเป็นอาการเรื้อรัง ใช้วิธีไหนแล้วก็ไม่สามารถทำให้พวกเขานอนหลับได้อย่างมีความสุข ควรพาพวกเขาไปปรึกษาแพทย์นะคะ เพราะบางทีอาจมีสาเหตุมาจากอย่างอื่นก็เป็นได้

 

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

เมลาโทนิน สำหรับเด็ก ปลอดภัยจริงไหม? ผู้ปกครองควรรู้ก่อนให้ลูกกินยา

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

15 กิจกรรมก่อนนอน ช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย ไม่ตื่นกลางดึก

อ่านนิทานให้ลูกฟัง ยิ่งบ่อย ยิ่งดี กิจกรรมก่อนนอน เสริมความสุขในครอบครัว

ที่มา : theAsianparent SG , darling

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ทารกหลับยาก แม่ทำไงดี มาดูวิธีกล่อมลูกให้หลับใน 5 ขั้นตอน
แชร์ :
  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

  • EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

    EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

  • นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
    บทความจากพันธมิตร

    นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก

  • ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง?  ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

    ลูกติดแม่มาก จนไม่เป็นอันทำอะไร รับมือยังไง? ให้ลูกมั่นใจ ติดแม่น้อยลง

  • EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

    EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

  • นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
    บทความจากพันธมิตร

    นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว