ในฐานะผู้ปกครอง บางครั้งเราก็มักจะพบพฤติกรรมของลูก ที่เราไม่สามารถเข้าใจได้ เช่น ร้องไห้อย่างรุนแรง ลูกหงุดหงิดง่าย แล้วก็ยากที่จะบอกว่า อันไหนคือพฤติกรรมปกติ และอันไหนคือพฤติกรรมที่ผิดปกติ จะรู้ได้อย่างไร ว่าเมื่อไหร่ลูกของเราต้องการการบำบัดจากแพทย์แล้ว บางครั้งพฤติกรรมเหล่านี้ ก็เป็นสัญญาณบางอย่างที่บอกว่า ผู้ปกครองควรต้องให้ความสนใจกับลูก ๆ เป็นพิเศษแล้วล่ะ มาดู 8 สัญญาณที่บอกว่าเด็กอาจต้องการนักบำบัด
ลูกหงุดหงิดง่าย 8 สัญญาณที่บอกว่าเด็กอาจต้องการนักบำบัด อันตรายมั้ย?
-
การแสดงความรู้สึกอย่างรุนแรง
บางครั้งเด็กจะมีการแสดงความรู้สึกอย่างรุนแรง เกินกว่าเหตุ เช่น ร้องไห้อย่างรุนแรงเวลาผู้ปกครองขัดใจ ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 10 ปี สามารถเกิดขึ้นได้จากความวิตกกังวลภายในใจ สถาบัน Child Mind Institute แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า การตอบโต้ที่มากเกินไป เป็นการตอบสนองทางจิตใจ ที่ดำเนินการโดยความคิดของเด็ก เป็นวิธีการแสดงความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ เนื่องจากเด็กมีความรู้สึกไม่สบายใจ หรือเด็กอาจจะรู้สึกเหมือนกำลังถูกคุกคามอยู่
การที่เด็กรู้สึกไม่สบายใจ จะทำให้พวกเขาสูญเสียการควบคุมอารมณ์ จึงเกิดเป็นการแสดงอารมณ์ออกมาอย่างรุนแรง ทั้งนี้นักจิตวิทยาเด็กสามารถช่วยให้พวกเขาได้ ด้วยให้ทำความเข้าใจปฏิกิริยาของพวกเขา และอธิบายให้พวกเขาเข้าใจว่า สภาพแวดล้อมที่พวกเขาอยู่นั้น ไม่ได้เป็นอันตรายต่อพวกเขา
เด็กบางคนมักจะรู้สึกจมอยู่กับปัญหาบางอย่าง จนบางครั้งกลายเป็นเด็กขี้หงุดหงิด และอาละวาดเป็นประจำ จนเป็นที่หนักใจของคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งจริง ๆ แล้วถ้าหากเด็กขี้หงุดหงิดแบบนี้จนเกินไป บ่อยครั้งอาจเป็นสัญญานของโรควิตกกังวลในเด็ก รวมไปถึงเสี่ยงสมาธิสั้น (ADHD) นักบำบัดหรือนักจิตวิทยาเด็ก สามารถช่วยเหลือได้ โดยค้นหาเหตุผลที่ทำให้เด็กหงุดหงิด และช่วยหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านั้น
-
ความโศกเศร้าและความประหม่าในเด็ก
หากเด็กมีแนวโน้มที่จะเสียใจกับปัญหาที่เราไม่ทราบ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องขุดลึกลงไป เพื่อหาสาเหตุในเบื้องต้น ถ้าเป็นไปได้เราควรถามพวกเขาว่า ทำไมพวกเขาถึงเศร้าขนาดนี้ ถ้าหากเด็กรับรู้ว่า พ่อแม่ของพวกเขากำลังพยายามช่วยเหลือ นั่นจะทำให้พวกเขาสงบลงได้ แต่ถ้าหากเด็กที่ไม่สะดวกใจที่จะคุยกับพ่อแม่ หรือคนอื่น ๆ ในครอบครัว ก็จำเป็นต้องไปหานักบำบัดหรือหมอแทน
ถ้าหากเด็กเกรดตกลงอย่างรวดเร็ว นั่นอาจมีสาเหตุมาจากความกังวลบางอย่าง เกรดมักจะสะท้อนถึงความมั่นคงทางอารมณ์ของเด็ก มากกว่าตัวผลการเรียน บางครั้งอาจจะมีเรื่องอะไรรบกวนใจเด็ก เด็กถึงได้เกรดตกลงอย่างฉับพลัน ควรปรึกษาคุณครูในชั้นเรียนของเขา ลองถามจากตัวเด็ก หรือถ้าหาสาเหตุไม่ได้จริง ๆ อาจจะลองปรึกษานักจิตวิทยา
บทความที่น่าสนใจ : อยากให้ลูกเรียนเก่ง แบบไม่เครียด ไม่ต้องเร่งรัด พ่อแม่ต้องทำอย่างไร?
จริงอยู่ที่ทุกคนก็ต้องการเวลาส่วนตัวเหมือนกันหมด ไม่เว้นแม่แต่เด็ก ๆ แต่ถ้าหากเขาเริ่มเข้าสังคมไม่ได้ เริ่มเก็บตัว ไม่พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ พูดน้อยลง ชอบที่จะเล่นคนเดียวมากกว่าเล่นกับเพื่อน ๆ ในโรงเรียน นี่อาจจะเป็นสัญญาณบอกว่าเขากำลังมีปัญหาอะไรในจิตใจก็ได้ ให้ลองถามคุณครูเพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม
เด็กบางคนก็ชอบที่จะคิดนู่นคิดนี่ ฝันกลางวัน หรือเหม่อลอยบ้างเป็นปกติ แต่พวกเขาก็ยังสามารถจัดการชีวิต ทำการบ้าน เรียน พูด และเขียนได้อย่างเป็นปกติ แต่ถ้าหากเขาเริ่มไม่มีสมาธิ เรียนไม่ค่อยได้ ถูกรบกวนได้ง่ายแล้ว อาจจะต้องปรึกษานักบำบัดเพื่อรักษาได้
ลูกหงุดห งิดง่าย
เด็กสามารถหลงใหลชื่นชอบในอะไรบางอย่างได้ นั่นถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน และเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการเด็ก แต่ถ้าหากเริ่มมากเกินไป คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มฉุกคิดแล้วว่า นั่นเป็นสาเหตุของอาการผิดปกติหรือไม่ โดยมากแล้วมักมาในรูปแบบของโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ obsessive-compulsive disorder (OCD) ถ้าหากพบว่าเสี่ยงเป็น OCD อาจปรึกษานักบำบัดได้
-
มีพฤติกรรมการนอนหลับที่เปลี่ยนไป
ตั้งแต่ลูกยังเป็นเด็กน้อย ไปจนถึงเมื่อเขาเริ่มโตขึ้น ในฐานะพ่อแม่ เรามีส่วนช่วยทำให้พวกเขามีนิสัยการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากการนอนของเด็ก ส่งผลต่อปัญหาด้านพฤติกรรมเด็กด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและอารมณ์ เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกันอยู่เสมอ ถ้าหากเด็กนอนไม่พอ นอกจากจะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองแล้ว ยังทำให้ร่างกายดูโทรมด้วย ถ้าหากเด็กนอนไม่หลับบ่อย ๆ พักผ่อนไม่เพียงพอ อาจปรึกษานักบำบัด เพื่อหาสาเหตุและช่วยในเรื่องนี้ได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
พ่อจ๋ามีเวลาให้หนูบ้าง วิจัยเผยพ่อมีเวลากับลูกไม่พอ ต้องเป็นเวลาที่มีค่าด้วย
กลับไปทำงานหลังคลอด หรืออยู่เลี้ยงลูกที่บ้านดี แบบไหนที่จะทำให้ลูกมีความสุข
10 วิธี การเลี้ยงลูกให้ฉลาด อยากให้ลูกฉลาดเติบโตเป็นคนเก่ง ต้องอ่าน!!
สยบ! ลูกดื้อ เอาแต่ใจ ด้วย Positive Parenting เทรนด์ใหม่ของการเลี้ยงลูก
ที่มา : brightside.me
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!