TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกชอบแย่งของเล่นกัน เล่นด้วยกันได้ไม่นานก็ทะเลาะกันตลอด ควรทำอย่างไรดี

บทความ 5 นาที
ลูกชอบแย่งของเล่นกัน เล่นด้วยกันได้ไม่นานก็ทะเลาะกันตลอด ควรทำอย่างไรดี

ลูกชอบแย่งของเล่นกัน ชอบทะเลาะกันบ่อยๆ เห็นคนอื่นเล่นไม่ได้ ชอบไปแย่งของเล่นของคนอื่นเป็นประจำ เป็นเพราะอะไร อาการแบบนี้ผิดปกติไหม พ่อแม่รู้เครียดเหลือเกิน

การที่ลูกของเรานั้น ชอบแย่งของเล่นกันเป็นเรื่องปกติของเด็กในแต่ละช่วงวัย ซึ่งแต่ละช่วงวัยก็จะมีพัฒนาการการเล่นของเล่นที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งส่งผลทำให้พฤติกรรมการเล่นของเล่นนั้นแตกต่างกันออกไปด้วย วันนี้เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า พัฒนาการการเล่นของเด็กแต่ละวัยมีอะไรบ้าง และถ้าหาก ลูกชอบแย่งของเล่นกัน เรานั้นควรจัดการอย่างไร?

 

พัฒนาการการเล่นของเด็กแต่ละวัย เป็นอย่างไรบ้าง?

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่อธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนของการเล่นของเด็กเล็กไว้ว่า การเล่นของเด็กทำให้พวกเขาได้เรียนรู้ที่จะทำความรู้จักเพื่อน เด็กได้มีการเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง มีทักษะทางสังคมที่ดี โดยพัฒนาการเล่นของเด็กแต่ละวัยมี 5 ขั้นตอน ได้แก่

 

1. เล่นคนเดียว (Solitary Play)

การเล่นคนเดียว เล่นแบบโดดเดี่ยว เป็นรูปแบบการเล่นในระยะแรกสุดของเด็กในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ขวบ เพราะฉะนั้นพ่อแม่ไม่ต้องแปลกใจนะคะว่าทำไมลูกน้องถึงนั่งเล่นอะไรคนเดียวได้อย่างสนุกสนาน ไม่มีเบื่อ ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะพยายามเข้าไปเล่นกับลูก หรือให้เล่นกับเด็กๆ คนอื่น โดยเหตุผลที่เด็กวัยนี้ชอบเล่นคนเดียวก็เพราะว่า เด็กมีความสนใจต่อสิ่งรอบตัวมากเกินไปและต้องการสำรวจสิ่งนั้นๆ หากพ่อแม่สังเกตดีๆ จะเห็นว่าลูกชอบทำเสียงแปลกๆ หรือเสียงเลียนแบบขณะที่นั่งเล่นของเล่นอยู่ สำหรับในช่วงนี้แนะนำให้พ่อแม่เล่นกับลูกบ่อยๆ นะคะ

 

2. ดูคนอื่นเล่น (Spectator Play)

เมื่อลูกอายุได้ประมาณ 2 ขวบ ถึง 2 ขวบครึ่ง จะเห็นว่าเด็กจะเริ่มมีพัฒนาการเล่นที่เปลี่ยนไปไม่เล่นคนเดียวแล้ว แต่จะชอบดูผู้อื่นเล่นมากกว่า ในวัยนี้เขาจะคอยสังเกตว่าคนอื่นเขาทำอะไรกัน เล่นอะไรกันบ้าง คุยอะไรกันนะ ถ้าพ่อแม่เห็นว่าลูกนั่งดูพี่ๆ เล่นก็ไม่ต้องบังคับให้น้องเข้าไปเล่นกับพี่ๆ นะคะ เพราะเด็กแค่ต้องการดูอยู่ห่างๆ ไม่ได้ต้องการเข้าร่วมแต่อย่างใด แต่ก็อาจมีการส่งเสียงบ้าง ชี้นู้นนี่บ้าง ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กค่ะ

บทความที่น่าสนใจ : อาการวัยทอง 2 ขวบ ปัญหาในเด็กที่พ่อแม่ควรรู้ และวิธีการรับมือ

 

ลูกชอบแย่งของเล่นกัน เล่นด้วยกันได้ไม่นานก็ทะเลาะกันตลอด ควรทำอย่างไรดี

ลูกชอบแย่งของเล่นกัน

3. เล่นแบบขนาน (Parallel Play)

พอมาถึงช่วงวัยอายุตั้งแต่ 2 ขวบครึ่ง ไปจนถึง 3 ขวบ ลูกจะเริ่มเข้าไปใกล้ๆ กับเด็กคนอื่น ไปนั่งเล่นใกล้ๆ กับเด็กคนอื่น ถ้าคุณมีลูกสองคนจะเห็นได้ชัดว่าลูกคนเล็กจะเข้าไปนั่งใกล้ลูกคนโต พอเห็นพี่หยิบอะไรก็อยากจะหยิบมาเล่นตาม หรือบางครั้งก็เกิดอาการยื้อแย่งกันก็มี จนทำให้เด็กเกิดการทะเลาะกันนั่นเองค่ะ ในกรณีที่เด็กวัยเดียวกัน เด็กก็จะมีพฤติกรรมคล้ายๆ กัน คือ นั่งเล่นข้างกัน แต่ไม่คุยกันก็มี ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเด็กพ่อแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ

หากลูกทะเลาะกันบ่อยๆ เพราะแย่งของเล่นกัน พ่อแม่ควรทำอย่างไร

  1. พ่อแม่อาจจะต้องคอยบอกให้ลูกแบ่งกันเล่นของ สลับกันเล่นบ้าง และอาจมีการตั้งกฎกติกา เช่น ถ้าลูกเล่นของไม่แบ่งกันแล้วเกิดพังขึ้นมาลูกจะไม่มีของเล่นอีกนะ หรือถ้าลูกยังแย่งของเล่นกันอีกจะไม่ให้ของกินที่ชอบอีกแล้วนะ
  2. ควรสอนให้ลูกรู้จัก “ขอ” เช่น “ขอเล่นหน่อยนะ” “ขอลองถือหน่อย” และเมื่อน้องได้ของแล้วอาจสอนให้น้องรู้จัก “ขอบคุณ” ด้วย
  3. สอนให้น้องรู้จัก “รอ” โดยบอกว่า “รอให้พี่เล่นก่อนนะ”

แต่เหตุการณ์นี้อาจจะวนมาเป็นประจำทุกวัน พ่อแม่เตรียมรับมือได้เลยค่ะ

 

ลูกชอบแย่งของเล่นกัน เล่นด้วยกันได้ไม่นานก็ทะเลาะกันตลอด ควรทำอย่างไรดี

ทำไมลูกชอบแย่งของเล่นกัน

4. เล่นแบบเชื่อมโยง (Associate Play)

การเล่นแบบเชื่อมโยงนี้จะเกิดขึ้นในช่วงวัย 3 ขวบ จนถึง 4 ขวบค่ะ พ่อแม่อาจจะเริ่มเห็นน้อยเริ่มขยับตัวเข้าไปใกล้ๆ กับเพื่อนๆ หรือ พี่ๆ น้องๆ เพื่อต้องการเข้าไปเล่นด้วย ซึ่งเด็กในวัยนี้แค่เข้าไปเล่นด้วยนิดๆ หน่อยๆ เท่านั้นค่ะ จากนั้นเขาก็จะแยกตัวออกมาเล่นคนเดียวสักพัก แล้วก็กลับไปเล่นกับเพื่อนอีกซึ่งเป็นวิธีการเล่นของเด็กในวัยนี้ค่ะ หรือเกิดการเลียนแบบการเล่นที่คล้ายๆ กัน เวลาให้คนอื่นทำก็เกิดการเลียนแบบอยากทำแบบนั้นบ้าง ดังนั้น ช่วงนี้คือโอกาสทองที่พ่อแม่จะสอนลูกในเรื่องของการแบ่งปัน การรอคอยตามคิว การเสียสละค่ะ เพราะเด็กจะเลียนแบบตาม

 

5. เล่นแบบมีส่วนร่วม (Cooperative Play)

มาถึงอีกช่วงวัย คือ วัย 4 ขวบขึ้นไป เด็กวัยนี้เป็นวัยที่พร้อมจะเล่นกับเด็กคนอื่นๆ มากที่สุด และมักจะเกิดการขัดแย้ง การทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยๆ เพราะเด็กมักเกิดการเล่นแบบรวมกลุ่ม การเล่นแบบนี้จำเป็นต้องมีผู้นำ มีกฎกติกาที่ตกลงร่วมกัน ซึ่งอาจทำให้เด็กตกลงกันไม่ได้และเกิดการทะเลาะกันในที่สุด หากพ่อแม่เห็นว่าลูกเริ่มมีปากเสียงกับเพื่อนให้ลองดูอยู่ห่างๆ ก่อน ดูว่าลูกจะแก้ปัญหาอย่างไร แต่ถ้าเห็นแล้วว่าปัญหาน่าจะบานปลายให้รีบเข้าไปจัดการโดยด่วนค่ะ

บทความที่น่าสนใจ : จิตวิทยาเบื้องหลังของเล่นชิ้นโปรดของลูก ลูกแต่ละช่วงอายุควรเล่นอะไร?

 

ลูกแย่งของเล่นกัน 6

 

ลูกชอบแย่งของเล่นกัน พ่อแม่ควรทำยังไง

ลูกชอบแย่งของเล่นกัน เป็นพฤติกรรมในช่วงวัยหนึ่งของเด็กค่ะ ส่วนใหญ่เกิดจากการเล่นนั่นเอง การเล่นของเด็กเป็นหนึ่งในพัฒนาการทางด้านสังคมและการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งทักษะการเข้าสังคมเชิงบวกนี้เป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องควรให้ความสำคัญ เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะหล่อหลอมให้เด็กกลายเป็นคนเช่นไรก็สามารถเริ่มต้นได้จากการเล่นค่ะ เช่น ถ้าเด็กไม่ยอมเล่นกับคนอื่น ไม่ยอมเข้าสังคม ก็จะทำให้เด็กคนนั้นกลายเป็นคนที่ไม่ยอมรับความผิดต่อการกระทำของตนเอง และมีปัญหาไม่ยอมเคารพตามกฎและระเบียบที่วางเอาไว้ ทั้งยังขาดความมั่นใจ ควบคุมตัวเองไม่ได้ และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ยากนั่นเอง โดยถ้าหากลูกของคุณชอบแย่งของเล่นกัน คุณจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

 

  • จับตาดูพฤติกรรมของพวกเขาไว้ให้ดี

    ปกติของเด็กที่ชอบทะเลาะกันแย่งของเล่นพวกเขามักจะเริ่มต้นจากการดึง ยื้อแย่ง จนไปถึงการกัด ต่อย หรือดึงผม ซึ่งนั้นเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นคุณควรจับตาพวกเขาไว้ให้ดี หากพวกเขามีพฤติกรรมดังกล่าวจะต้องรีบจับแยกทันที

  • ซื้อของเล่น 2 ชิ้น

    อาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุแต่สามารถใช้ได้จริงสำหรับพี่น้องที่ชอบแย่งของเล่นชิ้นเดียวกัน และจะไม่ยอมให้อีกฝ่ายเป็นฝ่ายถือครองของเล่นเด็ดขาด ดังนั้นการแยกของเล่นคนละชิ้น เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์มากที่สุด

 

ลูกแย่งของเล่นกัน 7

 

  • สอนพวกเขาเรื่องของการแบ่งปัน

    อาจเป็นเรื่องยากสำหรับการที่คุณจะสอนให้เด็กที่อยู่ในวัยพัฒนาด้านการเข้าสังคม หรือเด็กในวัยหัดเดินนั้นแบ่งปันสิ่งของให้กับคนอื่น ซึ่งแน่นอนว่าการสอนเรื่องของการแบ่งปันจะไม่มีทางสำเร็จในครั้งแรกเด็ดขาด แต่ถ้าหากพวกเขาได้รับการสอนที่ถูกต้อง โดยไม่มีการขู่ ตี หรือการทำร้ายร่างกายจากผู้ปกครองนั้นก็อาจจะสามารถช่วยให้พวกเขาเข้าใจได้ว่าการกระทำแบบไหนถึงจะถูกต้องและเหมาะสม

  • ฝึกให้พวกเขารู้ว่าเป็นรอบการเล่นของใคร

    การแบ่งเวลาในการเล่นของเล่นนั้นก็สามารถนำมาใช้ได้กับเด็กในวัยที่ไม่โตมานักเพื่อตัดปัญหาการทะเลาะกันระหว่างพี่น้องที่อยู่บ้านเดียวกัน โดยคุณอาจให้พวกเขาสังเกตเลขบนนาฬิกา เพื่อเป็นการบอกพวกเขาว่าเวลานี้เป็นการเล่นของใคร

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ลูกบ้านไหนชอบแย่งของเล่นกันบ้างคะ หรือว่าลูกของคุณมีพฤติกรรมแย่งของเล่นเด็กคนอื่นหรือเปล่า สุดท้ายแล้วการแย่งของ หรือการแบ่งปันนั้นเป็นไปตามช่วงวัยของเด็ก ๆ หากคุณเข้าใจว่าช่วงอายุของพวกเขาเป็นช่วงของการพัฒนาการด้านต่าง ๆ คุณก็จะเข้าใจเป็นอย่างดีว่าทำไมพวกเขาจึงมีพฤติกรรมแบบนั้น ดังนั้นในบางครั้งที่ลูกของคุณอาจจะงอแงไปบ้าง ก็ขอให้เข้าใจพวกเขาด้วยนะคะ 

 

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

 

บทความอื่นๆ ที่สำคัญ:

ลูกชอบเล่นมอมแมม มีดีกว่าที่คิด พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกเลอะเทอะบ้าง

กิจกรรมเล่นกับลูกให้ฉลาด กระตุ้นพัฒนาการทารก วิธีเสริมพัฒนาการลูกน้อยวัยทารก เล่นกับลูกให้ฉลาด

กิจกรรมเสริมพัฒนาการเด็ก วัย 6-18 เดือน จากฮาวาร์ด พ่อแม่ควรเล่นกับลูกอย่างไร

ที่มา: healthfully, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • ลูกชอบแย่งของเล่นกัน เล่นด้วยกันได้ไม่นานก็ทะเลาะกันตลอด ควรทำอย่างไรดี
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • หยุดเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น เพราะบางคำของเรา อาจเป็นแผลใจเขาตลอดชีวิต

    หยุดเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น เพราะบางคำของเรา อาจเป็นแผลใจเขาตลอดชีวิต

  • เด็กน้อยกับ TikTok: ให้ลูกเล่น TikTok ดีมั้ย ควรเริ่มตอนอายุเท่าไร

    เด็กน้อยกับ TikTok: ให้ลูกเล่น TikTok ดีมั้ย ควรเริ่มตอนอายุเท่าไร

powered by
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • หยุดเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น เพราะบางคำของเรา อาจเป็นแผลใจเขาตลอดชีวิต

    หยุดเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น เพราะบางคำของเรา อาจเป็นแผลใจเขาตลอดชีวิต

  • เด็กน้อยกับ TikTok: ให้ลูกเล่น TikTok ดีมั้ย ควรเริ่มตอนอายุเท่าไร

    เด็กน้อยกับ TikTok: ให้ลูกเล่น TikTok ดีมั้ย ควรเริ่มตอนอายุเท่าไร

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว