X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 6 การชงนม และเตรียมนม

บทความ 5 นาที
100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่  6 การชงนม และเตรียมนม

คุณแม่มือใหม่ อาจจะไม่คล่อง และไม่รู้วิธี การชงนม ที่ถูกวิธี เพราะหากชงผิดอาจส่งผลต่อลูกน้อย ทำให้ลูกได้รับสารอาหารน้อยลงได้ วันนี้ theAsianparent จะพามาดูกันว่า การชงนม ที่ถูกต้องควรชงอย่างไร และวิธีชงแบบไหนที่ทำให้ลูกน้อยท้องอืดได้ ไปติดตามกันค่ะ

 

เรื่องควรรู้ก่อนเตรียมผสมนมสำหรับ การชงนม

  • เลือกนมตามอายุของลูก และชงในสัดส่วนตามคำแนะนำข้างกล่อง
  • การชงนมห้ามชงทิ้งไว้ ควรกะในปริมาณที่พอดี ถ้าลูกกินเสร็จจะเก็บได้เพียงแค่ 3 ชั่วโมง (ห้ามตากแดด) คุณแม่ควรชิมก่อนให้นมลูกทุกครั้ง
  • ทารกชอบกินนมที่ไม่เย็นและร้อนเกินไป การอุ่นนมทำได้โดย นำไปอุ่นลงในชาม หรือหม้อที่ใส่น้ำร้อนไว้ แช่ทิ้งไว้สักครู่ ห้ามนำนมไปอุ่นในไมโครเวฟเด็ดขาด เพราะจะทำให้ความร้อนไม่สม่ำเสมอ และทำให้ลวกปากลูกได้
  • นำนมจากตู้เย็นอุ่นร้อนแล้ว ห้ามนำเข้าตู้เย็นอีกเด็ดขาด เพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากเชื้อแบคทีเรีย
  • เวลาให้นมลูก หากเป็นเด็กเล็ก ควรอุ้มลูกในอ้อมแขน จับขวดนมเอียงให้เหมาะสม เพื่อป้องกันอากาศเข้าท้องลูก ระหว่างให้นมควรหยุดพัก 1-2 ครั้ง เพื่อไล่ลมเป็นระยะ ๆ

 

ขั้นตอนการเตรียมนม

  • ต้มขวดนมและจุกนม ในน้ำเดือด 10 นาที
  • ชงนมใช้น้ำต้มสุก โดยจะต้องต้มให้เดือดจนเห็นฟองอากาศผุดออกมา ให้เย็นลงก่อน จึงนำไปป้อนทารกได้
  • น้ำที่ใช้ชงนม ควรมีการปนเปื้อนเชื้อโรคน้อย ปราศจากสารปนเปื้อนต่าง ๆ หากจะใช้น้ำแร่ที่บรรจุขวดควรตรวจสอบปริมาณโซเดียมที่เป็นส่วนผสม ถ้ามากกว่า 20 มิลลิกรัมต่อลิตรจะสูงเกินไปสำหรับทารก
  • ห้ามใช้น้ำร้อนจัดในการชงนม เพราะจะไปทำลายโปรตีนและวิตามินบางส่วน และการใช้น้ำร้อนจะทำให้ไขมันอาจจับตัวเป็นก้อนทำให้นมไม่ละลาย
  • ใส่น้ำอุ่นประมาณ 1 ใน 3 ของขวดนม ตวงนมผงตามมาตราส่วนข้างกระป๋องด้วยช้อนตวงที่บรรจุมากับกระป๋อง และปาดให้เรียบด้วยมีดที่สะอาด
  • ปิดฝาขวด แกว่งขวดเบา ๆ (ไม่จำเป็นต้องเขย่าแรง) หรือใช้ข้อมือหมุนขวดวนเป็นวง เพื่อให้นมผงละลาย และป้องกันการเกิดฟอง
  • ก่อนให้นมลูก ทดลองหยดน้ำนมลงบนหลังมือ เพื่อทดสอบว่าอุ่นพอเหมาะ ไม่ร้อนจัดจะได้ไม่ลวกปาก
  • นมที่เหลือจากการดูด ควรปิดฝาครอบให้สนิททุกครั้ง

 

Advertisement

การชงนม ใช้น้ำอุณหภูมิห้องชงได้ไหม ?

นอกจากการใช้น้ำอุ่นชงนมให้ลูกแล้ว ปัจจุบันได้มีการพัฒนานมผงให้สามารถละลายได้ทั้งในน้ำอุณหภูมิห้องและน้ำอุ่น คุณแม่จึงสามารถใช้ทั้งน้ำอุณหภูมิห้องและน้ำอุ่น (เช่น อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส) ชงนมให้ลูกได้ด้วย และความเชื่อที่ว่าลูกกินนมชงจากน้ำที่ไม่อุ่นแล้วจะทำให้ลูกไม่สบายท้อง ท้องอืดจึงไม่เป็นความจริง ที่สำคัญน้ำที่ใช้ชงนมต้องเป็นน้ำสะอาดที่ผ่านการต้มสุกแล้วเท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีชงนมให้ลูก ชงอย่างไรให้ถูกวิธี

 

การชงนม

 

เทคนิคการเขย่าขวดนมให้เกิดฟองน้อย

การเขย่านมให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกันจนเกิดฟองอากาศขึ้นในขวด ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการ ท้องอืด ไม่สบายท้องของเด็ก เทคนิคการเขย่าให้เกิดฟองน้อยที่สุดที่เป็นวิธีชงนมที่ถูกต้องนั่นก็คือ การจับขวดนมแล้วหมุนมือเป็นวงกลม (คล้ายการเอาขวดนมแกว่งน้ำ) จะทำให้เกิดฟองในขวดน้อยกว่าการเขย่าขวดนมขึ้นลง และหากเห็นว่าในขวดมีฟอง ควรวางให้ฟองลดลงก่อนนำไปป้อนเด็ก

 

สำหรับวิธีฆ่าเชื้อล้างขวดนมลูกอย่างปลอดภัย

วิธีการต้ม

  • เติมน้ำสะอาดลงในกระทะ หรือหม้อ ที่ไม่เคยปรุงอาหารมาก่อน
  • จุ่มอุปกรณ์ที่ต้องการทำความสะอาดลงไป โดยอย่าให้เกิดฟอง
  • ปิดหม้อต้มอย่างน้อย 10 นาที ไม่ควรให้น้ำแห้งจนเกินไป
  • ปล่อยให้อุปกรณ์คลายความร้อนทีละน้อย และปิดฝาหม้อไว้เหมือนเดิม
  • อุปกรณ์ที่เราต้มไปนั้นสามารถอยู่ได้ ประมาณ 3 ชั่วโมงค่ะ

เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อไอน้ำระบบไฟฟ้า

  • เติมน้ำตามปริมาณที่คู่มือได้บอกไว้
  • นำอุปกรณ์ที่ต้องการนึ่ง ใส่เครื่องนึ่งและอุปกรณ์ทั้งหมดต้องแช่อยู่ในน้ำ
  • ปิดฝาและเปิดเครื่อง
  • ปล่อยให้อุปกรณ์ต่าง ๆ คลายความร้อนลงเล็กน้อยก่อนเปิดฝา
  • ใช้ครีมจับจุกนมประกอบขวดนมเพื่อป้องกันไม่ให้ปนเปื้อนเชื้อโรค
  • เมื่อไหร่ที่ปิดฝาอยู่อุปกรณ์ต่าง ๆ จะอยู่ในสภาพที่ปลอดเชื้อโรค และควรล้างคราบต่าง ๆ ที่เหลืออยู่ในเครื่องนึ่งให้สะอาดหลังใช้งานด้วยนะคะ

 

ลูกกินนมทำไมถึงปวดท้อง

  • ลูกดูดนมที่มีฟองอากาศมากเกินไป เช่น การดูดนมจากขวด หรือกินนมผงที่มีฟองอากาศเกิดขึ้นระหว่างชงผสมกับน้ำ ทารกอาจท้องอืดได้หากกลืนฟองอากาศมากเกินไป
  • ทารกบางรายเกิดอาการท้องอืดเพราะว่าแพ้โปรตีนจากอาหารบางชนิดในนมผง
  • หลังจากที่ทารกกินนมเสร็จแล้ว คุณแม่ไม่ได้จับให้ลูกเรอเพื่อขับลม

 

อาการบ่งบอกว่าลูกท้องอืด

อาการท้องอืด สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทารกมีอายุ 2-3 สัปดาห์ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตความผิดปกติได้เมื่อลูกน้อยแสดงอาการต่าง ๆ ดังนี้

  1. ร้องไห้งอแง หงุดหงิด หน้าเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง
  2. กำมือแน่น ยกขาสูง ยืดแอ่นตัว ดิ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะหลังจากที่กินนมเสร็จ
  3. ลูกท้องป่องมาก ท้องแข็ง เมื่อเอามือเคาะท้องจะได้ยินเสียงเหมือนมีลมอยู่ข้างใน
  4. ทารกบางคนอาจมีอาการนอนกรน หรือหายใจทางปากร่วมด้วย เพราะท้องอืดทำให้หายใจได้ไม่ดีนัก
  5. ทารกที่ท้องอืดเป็นประจำ อุจจาระจะมีลักษณะหยาบ
  6. ทารกอาจผายลม หรือเรอเพื่อขับลมออกมาบ้าง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไซส์จุกนม 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 42 เลือกอย่างไรให้เหมาะกับลูก?

 

การชงนม

 

ป้องกันลูกท้องอืดอย่างไร

วิธีป้องกันอาการท้องอืดของทารก สามารถทำได้โดยการพยายามไม่ให้ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปจำนวนมาก รวมไปถึงการรับประทานอาหารของคุณแม่ ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะมาก ซึ่งการป้องกันลูกท้องอืด ทำได้ดังนี้

  • ป้อนนมให้ลูกในปริมาณที่พอเหมาะ
  • อุ้มลูกน้อยขณะให้นม โดยจัดท่าทางให้เหมาะสม หากคุณแม่ให้นมจากขวดก็ควรอุ้มลูกขึ้นมาเช่นเดียวกับท่าให้นมแม่ โดยยกศีรษะลูกให้อยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย จะทำให้น้ำนมไหลลงสู่ท้องได้ดีกว่าให้ลูกนอนดูดนม
  • ขณะป้อนนมควรยกขวดนมขึ้นเพื่อป้องกันอากาศไหลผ่านช่องว่างบริเวณจุกนม หรืออาจเอียงขวดนมทำมุม 30-40 องศา เพื่อให้อากาศลอยอยู่ที่ก้นขวด รวมทั้งปรับขนาดรูจุกนมไม่ให้ใหญ่หรือเล็กเกินไป หรือใช้ขวดนมที่ออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปน้อยที่สุด
  • ถ้าให้ลูกดูดนมจากขวด อย่าหมุนฝาแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดลมในขวดนมได้ค่ะ
  • หากให้ลูกกินนมผง หลังผสมนมเสร็จแล้วควรทิ้งไว้สัก 2-3 นาที เพื่อให้ฟองอากาศแตกตัวก่อนให้ลูกดูดนมจากขวดค่ะ
  • สำหรับคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะมาก เช่น รำข้าว ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี ถั่วต่าง ๆ อาหารที่ทำจากนม เป็นต้น เพราะอาจส่งแก๊สผ่านปริมาณน้ำนมไปสู่ลูกน้อยได้ และหากลูกหย่านมแล้วก็ควรหลีกเลี่ยงให้ลูกกินอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สมากเช่นกัน
  • ควรจับลูกเรอบ่อย ๆ ระหว่างให้นม และหลังให้นม เพื่อไล่ลมที่ลูกอาจกลืนลงไประหว่างดูดนม

 

การชงนม และการเตรียมนม เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณแม่ควรใส่ใจ เพราะหากชงนมไม่ถูกวิธี ก็อาจส่งผลต่อลูกน้อยให้ท้องผูก และไม่สบายท้องได้ นอกจากนี้ การไล่ลมหลังลูกดื่มนม ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ลูกท้องอืด ดังนั้น คุณแม่อย่าลืมให้ความสำคัญกับการเตรียมนมนะคะ

 

บทความจากพันธมิตร
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

การเปลี่ยนผ้าอ้อมนอกบ้าน 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 78

เมื่อต้องกลับไปทำงานตามปกติ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 94

การระบายน้ำนม สำคัญมากแค่ไหน? 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 97

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

nantichaphothatanapongbow

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 6 การชงนม และเตรียมนม
แชร์ :
  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว